28/12/2022
|
McDonald’s (MCD.US)
|
งบ
3Q22
ดีเกินคาดแม้จะมีแรงกดดันหลายปัจจัย
/
มองได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงต้นปี
23
- McDonald’s เผยงบ 3Q22 ดีกว่าตลาดคาด โดยรายได้โตลดลง 5%YoY อยู่ที่ $5.9bn ขณะที่กำไรลดลง 8%YoY อยู่ที่ $1.98bn ขณะที่รายได้จากสาขาเดิมทั่วโลก (same-store sales; SSS) โตกว่าคาด 9.5%YoY หนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมในสหรัฐฯ รวมถึงตลาดที่บริษัทเป็นเจ้าของร้าน เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ 3Q22 ของ McDonald’s ถือว่าดีในช่วงที่มีแรงกดดันจากต้นทุนที่สูง รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่ส่งผลให้การใช้จ่ายผู้บริโภคลดลง โดยเรามองรายได้ลดลงจากปีก่อนเป็นผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งหากหักผลกระทบดังกล่าวออก รายได้ของ McDonald จะเพิ่มขึ้น 2%YoY ขณะที่ยอดขายและกำไรถึงแม้จะลดลง YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ สะท้อนการฟื้นตัวและการรับมือที่ดีต่อเนื่อง โดยเรามองว่าเป็นผล 1) กลยุทธ์การปรับขึ้นราคาสินค้าช่วยชดเชยส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นได้ 2) การจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าร้าน (Traffic) ซึ่งช่วยชดเชยยอดขายที่หายไปได้
- ขณะที่ในระยะถัดไป (4Q22-FY23) เรามองว่ายอดขายจะยังคงมีแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่เราคาดจะส่งผลจนถึงช่วงต้นปีหน้า 23 ขณะที่อัตรากำไรยังคงมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อของต้นทุนอาหารและสาธารณูปโภคที่อยูในระดับสูง แต่อย่างไรก็ดี เราคาดว่าแรงกดดันดังกล่าวจะถูกชดเชยจาก 1) การกำหนดราคาเชิงกลยุทธ์ของบริษัทที่ช่วยหนุนทั้งยอดขายและกำไร 2) การจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่ช่วยกระตุ้นยอดขายได้ดี 3) การท่องเที่ยวและบริโภคที่ฟื้นตัวทางฝั่งเอเชียจะช่วยเป็นแรงหนุนสำคัญให้กับ McDonald’s ได้โดยเฉพาะในจีนที่จะเริ่มมีเปิดประเทศในช่วงต้นปี 23 4) MCD's loyalty program โปรแกรมสะสมแต้มจากยอดคำสั่งซื้ออาหารที่เรามองว่าจะช่วยหนุนยอดขายทางดิจิตัลให้โตขึ้นดีต่อเนื่อง หลังจากนับตั้งแต่เปิดตัวไปในเดือนก.ค. 21 ยอดขายทางออนไลน์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะ $7bn ใน 3Q22 ซึ่งคิดเป็นระดับที่มากกว่าหนึ่งในสามของยอดขายทั้งระบบของตลาดหลัก ทั้งนี้ยังมองบวกต่อโปรแกรมดังกล่าวที่จะช่วยเก็บข้อมูลผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปวางแผนและปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคโดยตรงได้
- ในระยะยาวเรามอง McDonald’s ยังคงน่าสนใจหลัง 1) แบรนด์แกร่งทำให้มีอำนาจการกำหนดราคา 2 ) เครือข่ายแฟรนไชส์มีจำนวนเยอะและกระจายตัวดี 3) ร้านค้ามีอัตราการทำกำไรดีมากช่วยดึงดูดนักลงทุนในร้านแฟรนไชส์ โดยในปี 21 ยอดขายเฉลี่ยต่อร้านแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ อยู่ที่ $3.4Mn ต่อธุรกิจร้านอาหารหนึ่งแห่ง (Burger King $1.4Mn, Wendy’s $1.9Mn) 4) ความได้เปรียบด้านต้นทุน ขณะที่ Valuation ในปัจจุบัน PE อยู่ที่ระดับ 26.6 มากกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อยที่ระดับ 26.0 เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่ในช่วง 1H23 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 287.6USD ซึ่งมี Upside 7.5% จากราคาปัจจุบัน
|
21/12/2022
|
Baidu (9888.Hk)
|
ความเสี่ยง
Delisted
หมดไป
/
Online Marketing
เริ่มฟื้น พร้อมมองบวกต่อ
Cloud
และ
Apollo Intelligent
- คณะกรรมการกำกับดูแลการบัญชี (PCAOB) ของสหรัฐฯ ตรวจสอบบริษัทบัญชีที่มีสำนักงานใหญ่ในจีนและฮ่องกงได้อย่างสมบูรณ์ในปี 22 ทำให้บริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ (ADRs) จะไม่ถูกถอดถอนหุ้น (Delisted) ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ
- รายได้ของ Baidu ในช่วง 3Q22 โตเกินคาด 2%YoY หนุนจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับโฆษณา เช่น Cloud, Intelligent Driving ที่เพิ่มขึ้นกว่า 25%YoY ขณะที่ธุรกิจหลักอย่าง Online Marketing ลดลง 2% กดดันจากรายได้จากโฆษณาที่ลดลง
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่าเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อ Baidu ซึ่งมีหุ้น ADR ที่จดทะเบียนบนตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังความเสี่ยง Delisted ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯลดลง
- เรามองว่างบ 3Q22 ดีเกินคาดเป็นผลจากการควบคุมต้นทุนที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อ ทำให้เราคาดช่วยหนุนรายได้ให้กลับมาโตเป็นบวกได้ในช่วง FY23 ประกอบกับช่วยหนุนมาร์จิ้นโตต่อเนื่อง
- ขณะที่หากมองรายธุรกิจ เรามองว่า1) ธุรกิจหลัก Online Marketing ยังคงถูกกดดันจากการล็อคดาวน์ในช่วงต้นไตรมาส 4 และแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ดี คาดรายได้ใน 4Q22 จะลดลงในกรอบที่แคบว่า 3Q หนุนจากค่าโฆษณาจากกลุ่มการแพทย์และค้าปลีกที่เริ่มฟื้นตัว โดยบริษัทคาดเพิ่มขึ้นในระดับ Double digit 2) AI Cloud คาดโตเหนืออุตฯ ใน FY23 หลังมีเทรนด์การเติบโตที่ดี รวมถึงบริษัทได้สร้างมาตรฐานของระบบคลาวด์ที่ช่วยให้อัตรากำไรดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป (เป้าหมายจุดคุ้มทุนใน 2-3 ปี) 3) ธุรกิจ Apollo Intelligent Driving ที่เราคาดในอนาคตจะสามารถเป็นธุรกิจหลักที่ช่วยสร้างการเติบโตของ Baidu โดยมูลค่าคำสั่งซื้อที่ค้างกับ OEM ที่เป็นตัวชี้วัดความสามารถการแข่งขัน ปัจจุบันมีค้างอยู่กว่า RMB11.4Bn ซึ่งจะเริ่มดำเนินการจริงในช่วง 2H23
- ในระยะยาวเรามองว่า Baidu น่าสนใจ หลัง 1) มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจ 2) มีเทคฯ ที่ล้ำสมัย 3) ฐานะทางการเงินแกร่ง โดยมีเงินสดมากกว่ารายได้ราว 10% และมีหนี้สินต่ำ โดย D/E อยู่ที่ 0.31 ขณะที่ในระยะสั้นยังคงมีแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงซึ่งคาดว่าจะส่งผลจนถึงต้นปี 1H23 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวได้ตามทิศทางการเปิดเมืองและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนใน 2H23 เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวจากประเด็นดังกล่าว ด้าน Valuation ปัจจุบันปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับน่าสนใจ โดย PE อยู่ที่ระดับ 12.1 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับ 40 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 161.3 HKD ซึ่งมี Upside 52.6% จากราคาปัจจุบัน
|
14/12/2022
|
Microsoft (MSFT.US) |
ร่วมมือด้านธุรกิจคลาว ด์ กับ LSEG เรามองบวกหนุนรายได้ / FTC ยื่นฟ้องขัดขวางดีลซื้อกิจการ ATVI
มองผลกระทบจำกัด
- Microsoft เผยความร่วมมือในด้านธุรกิจคลาวด์กับ London Stock Exchange Group (LSEG) เป็นระยะเวลา 10 ปี ผ่านการเข้าซื้อหุ้น LSEG เป็นสัดส่วนราว 4% จาก Blackstone ทั้งนี้ LSEG จะใช้บริการและซัพพอร์ตจาก Microsoft Cloud โดยจะเชื่อมระบบ LSEG Workspace เข้าไปกับบริการดังกล่าวด้วย
- คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission: FTC) ยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อขัดขวางดีลที่ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Activision Blizzard บริษัทเกมอย่าง Call of Duty, Overwatch ฯลฯ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกีดกันคู่แข่ง ให้เกมต้องอยู่เฉพาะในแพลตฟอร์มของ Xbox
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองบวกต่อความร่วมมือกับ LSEG หลังมอง 1. ช่วยหนุนรายได้ Microsoft ได้อย่างน้อยราว $2.8 bn ซึ่งเป็นมูลค่าขั้นต่ำในสัญญาที่ LSEG จะใช้ตลอดระยะเวลา ความร่วมมือ 2. ช่วยสร้างตลาดและดึงดูดฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ในตลาดการเงินเพิ่มได้จากความแตกต่างในการให้บริการของ Microsoft ที่มีวางแผนลงทุนใช้เครื่องมือของบริษัทในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงใช้ AI ที่เป็นกรรมสิทธิ์เพื่อสร้างแบบจำลองทางการเงินและการวิเคราะห์ให้กับ LSEG ซึ่งต่างจากการให้บริการของบริษัทอื่นที่เพียงแค่ให้ใช้บริการ เทคฯ ของตนเท่านั้น เช่น Google Cloud กับ CME Group, Amazon Web Services และ NASDAQ
- จากการยื่นฟ้องของ FTC เรามองความเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1. FTC แพ้การฟ้องร้อง : มีความเป็นไปได้ที่หน่วยงานกำกับดูแลจะอนุมัติข้อตกลงดีลการเข้าซื้อดังกล่าว แต่กระบวนการอาจยืดเยื้อกว่าที่ Microsoft คาดไว้ว่าจะสำเร็จในช่วง ก.ค. 23 ซึ่งเรามองบวกต่อกรณีนี้หลังมองว่าจะช่วยเสริมความแกร่งให้กับธุรกิจเกม 2. FTC ชนะการฟ้องร้อง : มีความเป็นไปได้ที่ดีลการเข้าซื้อกิจการ Activision อาจไม่สำเร็จ ซึ่งจะทำให้ Microsoft เสียค่าธรรมเนียมการเลิกราดีลที่ราว $3bn ซึ่งอาจจะกดดันราคาหุ้นแต่ผลกระทบไม่สูงมากนักที่ $0.2 ต่อหุ้น
- ในระยะยาวเรามองว่า Microsoft น่าสนใจหลัง 1) โมเดลธุรกิจแกร่ง 2 ) เป็นผู้นำตลาด Software และมีมาร์จิ้นสูงที่ 68-69% แม้ว่าอุตสาหกรรมชะลอตัวลง 3) สถานะทางการเงินแกร่งโดยมีเงินสดมากกว่าหนี้สิน 4) ความได้เปรียบด้านต้นทุน ขณะที่ในระยะสั้นเรามองว่าภาพอุตสาหกรรมยังไม่ได้ฟ้ืนตัวเด่นชัดจนกว่าจะ 1Q23 อย่างไรก็ดีมองธุรกิจ Cloud ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีมากกว่า 20% และยังเป็นจุดเด่นในการลงทุน Microsoft ประกอบกับ Valuation เริ่มน่าสนใจ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 27.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 36.9 เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 296.1USD ซึ่งมี Upside 17% จากราคาปัจจุบัน
|
07/12/2022
|
AIA Group (1299.Hk)
|
รัฐ
ฯ
จีนเผยแผนสนับสนุนกลุ่มประกันภัย
/
VONB
เพิ่มดีกว่าคาดใน
3Q22
โดยเฉพาะในจีน
- รัฐบาลจีนเผยแผนการพัฒนากลุ่มประกันภัยในฮ่องกง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของฮ่องกง ในฐานะศูนย์บริหารความเสี่ยงระดับโลกและศูนย์กลางการประกันภัย ทั้งนี้จะดำเนินนโยบายภายใต้กลยุทธ์ Dual Circulation ด้วย
- AIA เผยงบ 3Q22 โดย Value of New Business (VONB) เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด 7%YoY อยู่ที่ $741mn หนุนจากการเติบโตที่ดีของธุรกิจทุกภูมิภาค ขณะที่ VONB ในจีนยังคงเพิ่มขึ้นได้ดี 6%YoY หนุนจากการเติบโตของสาขาที่จัดตั้งขึ้นก่อนการขยายธุรกิจ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่า AIA จะได้รับประโยชน์จากแผนสนับสนุนของรัฐฯโดย 1) ช่วยขยายฐานสมาชิกทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มแกร่งขึ้นซึ่งจะช่วยดึงดูดเงินลงทุนเพิ่มได้ 3) ต้นทุนการทำธุรกิจของบริษัทมีแนวโน้มลดลงหลังถูกแบ่งเบาจากทางภาครัฐฯ เช่น R&D
- เรามองว่า AIA ทำได้ดีมากในการขยาย VONB ในช่วง 3Q22 สะท้อนความยืดหยุ่นของตัวแทนประกันที่มีมากพอจนทำให้ล็อคดาวน์ในจีนช่วงช่วงดังกล่าวมีผลกระทบอย่างจำกัด ขณะที่ระดับ VONB ล่าสุด (3Q22) ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 ทำให้เรามองว่ามีระยะให้โตต่อกว่า 8%-10% โดยคาดโตต่อเนื่องตั้งแต่ 4Q22 เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่าภาพรวม FY22E จะยังคงลดลงที่ถึงแม้จะมีแรงหนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง 2H22 แต่เรามองว่ายังไม่สามารถทดแทนการลดลงในช่วงครึ่งปีแรก (1H22) ได้
- ทั้งนี้เราคาดว่า AIA จะสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ตั้งแต่ในช่วง 2Q23-4Q23 หนุนจาก 1) การฟื้นตัวของธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำโดย สิงคโปร์และไทย 2) ธุรกิจในจีนและฮ่องกงได้รับแรงหนุนจากแผนการขยายธุรกิจไปในเมืองใหม่ ๆ เช่น เมือง Henan ในจีน 3) การเปิดเมืองเต็มรูปแบบของประเทศจีนที่คาดว่าเป็นในช่วง 2Q23
- ปัจจุบันเรามองว่าราคามีการปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นผลประกอบการ, การสนับสนุนของภาครัฐฯ และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคของจีน ทำให้ Valuation อยู่ในระดับ 41 ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 20.2 อย่างไรก็ดี เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวหลังมองว่ายังคงมี Upside จากการเปิดเมืองเต็มรูปแบบของจีน ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 98.5 HKD ซึ่งมี Upside 18.5% จากราคาปัจจุบัน
|
30/11/2022
|
Xiaomi (1811.Hk)
|
งบ
3Q22
หดตัว
/
ในระยะสั้นมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความต้องการสมาร์ทโฟนที่ชะลอตัว
- Xiaomi เผยงบปีบัญชี 3Q22 ดีกว่าคาดเล็กน้อย แต่รายได้ลดลง 10%YoY อยู่ที่ RMB70.5bn ผลจากยอดขายสมาร์ทโฟน ( คิดเป็นสัดส่วน 60% ของรายได้ทั้งหมด) ลดลงกว่า 11%YoY ทั้งนี้ยังขาดทุนกว่า RMB2.2bn โดยลดลง 59%YoY
- Xiaomi เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่แบบพรีเมียม อย่าง "Xiaomi 13 Series” และ "MIUI 14” ในงานเปิดตัวที่จะจัดขึ้นใน 1 ธ.ค. 22 นี้
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่า Xiaomi ยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัย คือ 1) ความต้องการผู้บริโภคในธุรกิจหลักลดลงหลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปทั้งในสมาร์ทโฟนและผลิตภัณฑ์ Internet of Things (IoTs) รวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น 2) แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในช่วงต้นปี FY23 อาจส่งผลกระทบต่อแรงซื้อของผู้บริโภค 3) นโยบาย Zero-Covid ที่ยังคงดำเนินอยู่ส่งผลให้ลูกค้าปรับลดค่าใช้จ่ายส่วนโฆษณาลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ในส่วนการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด) 4) การลงทุนในโครงการใหม่ เช่น Smart EV
- เรามองว่าปัจจัยกดดันดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไปและกดดันต่อรายได้และกำไรลดลงต่อไปอีก 2-3 ไตรมาสหน้า (4Q22-2Q23) ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่จีนเริ่มเปิดประเทศและยกเลิกนโยบาย Zero-Covid ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มเห็นผลได้ในช่วงงบ 3Q22
- ทั้งนี้เราแนะติดตามงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะสะท้อนถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อสินค้าระดับพรีเมียมของ Xiaomi ในปี 2023
- ในระยะสั้น เรายังคงแนะหลีกเลี่ยงหลังมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย อย่างไรก็ดีระยะยาวเรามองว่ายังคงน่าสนใจหลัง 1) ธุรกิจมีโอกาสเติบโตสูงในยุคแห่งอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะ IoTs 2) มีฐานลูกค้าทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาดใหญ่อย่างอินเดียและยุโรป 3) ฐานะทางการเงินแกร่ง โดยมี D/E ที่ระดับ 21.5 ขณะที่ Valuation ปัจจุบันอยู่ที่ 24.6 ซึ่งถือว่าสูงเท่ากับระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 24.6 เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 11.7 HKD ซึ่งมี Upside 20% จากราคาปัจจุบัน
|
23/11/2022
|
Visa (V.US)
|
งบ
4Q22
ดีกว่าคาด
/
สิ้นปีมีแรงหนุนจากช่วงเทศกาล ส่วนปีหน้ามีแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัว
- Visa เผยงบปีบัญชี 4Q22 ดีกว่าคาด โดยรายได้โต 19%YoY อยู่ท่ี $7.8bn ด้านกำไรต่อหุ้นโต 19%YoY แตะ $1.71 หนุนจากปริมาณการชำระเงินข้ามพรมแดน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นกว่า 36%YoY หลังการใช้จ่ายได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าข้ึน
มุมมองของ
InnovestX
- ภาพรวมงบ Visa ใน 4Q22 ถือว่าโตแกร่งทั้งกำไรและรายได้ ถึงแม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า แต่เรามองว่าทำได้ดีในสถานการณ์ที่มีแรงกดดันจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับปริมาณการชำระเงินในจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวผลจากนโยบาย Zero-Covid
- ในช่วงสิ้นปี 2022 (FY1Q23) เรามองว่าปริมาณการชำระเงินจะยังคงโตต่อเนื่อง อานิสงส์จาก 1) ความต้องการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในช่วงเทศกาลคริสต์มาส, ปีใหม่ ประกอบกับ FIFA 2022 World cup ที่อาจได้รับประโยชน์เพิ่มจากการเป็นผู้สนับสนุนงาน 2) การใช้จ่ายของคนสหรัฐฯ ยังคงดีต่อเนื่อง สะท้อนจากผลประกอบการหลายบริษัท เช่น Walmart Best Buy ฯลฯ
- ขณะที่ในช่วงปี 2023 (FY2Q23-1Q24) เรามองว่า Visa จะได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ ที่อาจทำให้ผู้คนใช้จ่ายน้อยลง ส่งผลลบต่อปริมาณการชำระเงินในประเทศ อย่างไรก็ดี เราคาดว่าความเสี่ยงดังกล่าวอาจถูกเยียวยาการเพิ่มขึ้นของปริมาณการชำระเงินในต่างประเทศ ซึ่งเรามองว่ามีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและแนวโน้มการเปิดประเทศที่เรามองว่าอาจเกิดขึ้นได้ในช่วง 2Q23 หลังจากในช่วงที่ผ่านมานั้นจีนได้มีการผ่อนคลายนโยบาย Zero-Covid มากขึ้น
- ในระยะยาว เรามองว่าหุ้น Visa ยังคงน่าสนใจหลัง 1) โมเดลธุรกิจแกร่ง 2) คู่แข่งน้อยราย 3) เทรนด์การชำระเงินแบบดิจิตัลและสังคมไร้เงินสดกำลังเติบโตอย่าง ขณะที่ Valuation ปัจจุบันอยู่ที่ 29.4 ซึ่งถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 36.5 แต่ถือว่าสูงเมื่อเทียบอุตฯ ที่ 18.6 เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 247.0 USD ซึ่งมี Upside 20% จากราคาปัจจุบัน
|
02/11/2022
|
AAPL.US
|
งบ 4Q22 ดีกว่าคาด / ในระยะสั้นมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะค่าเงินผันผวน
- Apple เผยงบปีบัญชี 4Q22 ดีกว่าตลาดคาดทั้งรายได้และกำไร โดยรายได้โต 8%YoY อยู่ที่ $90.1bn ด้านกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 4%YoY อยู่ที่ USD1.29$ แม้ว่าในไตรมาสนี้ Apple จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ขณะที่งบได้รับแรงหนุนจากยอดขาย iPhone ที่โต 9.7%
- Apple ไม่ได้ให้ Guidance ไตรมาสหน้าไว้ อย่างไรก็ดี เผยว่ารายได้ในเดือนธ.ค. (1Q23) จะโตน้อยกว่า 8.1% เมื่อเทียบกับช่วง ก.ย. (4Q22) หลังจากสถิติแล้วยอดขาย Mac จะลดลงในช่วงปลายปี อย่างไรก็ดีรายได้จากบริการจะโตสวนทางจากการปรับขึ้นราคา ขณะที่ภาพรวมยังคงมีแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
มุมมองของ InnovestX
- ภาพรวมงบในไตรมาสนี้ถือว่าทำได้ดีในมุมของยอดขาย iPhone ซึ่งนับเป็นแรงหนุนสำคัญของงบ 4Q22 ที่ถึงแม้จะออกมาโตน้อยกว่าตลาดคาดที่ 9.7% แต่เรามองว่าเป็นระดับที่ไม่แย่เมื่อเทียบกับภาพรวมใหญ่ที่ความต้องการสมาร์ทโฟนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ทั้งนี้ยอดขาย Mac โตกว่า 25.4%YoY หลังได้รับแรงหนุนจากการสินค้าใหม่ที่เปิดตัวในช่วง ก.ย. โดยเฉพาะ MacBook Air และ Pro
- ในระยะสั้น เรามองว่า Apple จะยังคงเผชิญกับแรงกดดันจาก 1) Demand ของสมาร์ทโฟนชะลอตัวจากการออกสินค้ารุ่นใหม่ที่นานขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค 2) ปัญหา Supply Chain ที่ถึงแม้จะมีการย้ายฐานการผลิตออกนอกจีนมากขึ้นแต่มองว่ามีผลกระทบจำกัด อย่างไรก็ดี ยังคงได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีนอยู่ 3) ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายในต่างประเทศ ประกอบกับ Apple เผยทิศทางรายได้ที่อาจโตเล็กน้อยในช่วงบเดือน ธ.ค. ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองเรามองว่างบ 1Q23 มีแนวโน้มที่จะโตลดลง เช่นเดียวกับ Bloomberg ที่คาดรายได้ FY23 ชะลอตัวที่ 4.1%
- อย่างไรก็ดี ในระยะยาว เรามองว่าหุ้น AAPL ยังคงน่าสนใจหลัง 1) แบรนด์แกร่ง 2) เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและทันสมัยทั้ง Software และ Hardware 3) มีระบบนิเวศน์ที่ดี 4) ความเสี่ยงด้านการเงินต่ำ โดยปัจจุบันมี P/CF อยู่ที่ 20.8 ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอุตฯที่ระดับ 13.3 เท่านั้น ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นรับประเด็นผลประกอบการ ทำให้ Valuation ปัจจุบันอยู่ที่ 25.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 23.9 แต่ถือว่าสูงเมื่อเทียบอุตฯ ที่ 17.2 เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 178.2USD ซึ่งมี Upside 16% จากราคาปัจจุบัน
|
26/10/2022
|
PG.US
|
งบ 1Q23 ดีกว่าคาด / ปรับลดคาดการณ์ FY23E ลง กดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่า
- P&G เผยผลประกอบการปีบัญชี 1Q23 ดีกว่าตลาดคาด โดยรายได้รวมโต 1%YoY อยู่ที่ $20.6bn แต่กำไรลดลง 4.2%YoY ถึงแม้จะปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทาราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ด้านรายได้แบบออร์แกนิกส์โตดี 7%YoY ขณะที่ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมีความต้องการสูงขึ้น
- P&G เผยได้รับผลกระทบจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทปรับลดคาดการณ์กำไร FY23 ลงเหลือหดตัว 1%-3% จากครั้งก่อนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2%
มุมมองของ InnovestX
- หากดูรายได้แบบออแกนิกส์ที่ไม่รวมผลกระทบจากค่าเงินนั้นถือว่า P&G ทำได้ดี ประกอบกับปริมาณการขายแบบออร์แกนิกส์ที่ลดลงเพียง 3% ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการขนส่งสินค้าไปยังรัสเซียที่มีปัญหาทำให้ปริมาณการขายสินค้าลดลง ประกอบกับแรงกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ของบริษัทที่สามารถเยียวยาปัญหาได้ เช่น การลดการจัดโปรโมชั่นลง การปรับขึ้นราคาสินค้า
- อย่างไรก็ดี เรามองว่างบของ P&G จะยังคงได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าต่อเนื่องหลังยอดขายเกิน 50% มาจากต่างประเทศ ซ่ึงถึงแม้จะมีแรงหนุนจากยอดขายผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น ประกอบกับกลยุทธ์การลดต้นทุนเพิ่มเติม เช่น การปรับลดค่าขนส่งลงกว่า $100Mn ฯลฯ แต่เรามองว่ายังไม่สามารถช่วยลดกระทบจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าได้ ด้าน Bloomberg คาดการณ์รายได้รวมจะยังคงลดลงราว 0.3% ใน FY23
- ในระยะสั้น หาก P&G มีการปรับลดลงจากประเด็นค่าเงินที่ผันผวนแรงและต้นทุนที่ปรับขึ้นจากเงินเฟ้อ แต่เรามองว่าเป็นโอกาสในการลงทุนระยะกลาง-ยาว เนื่องจากมีผลการดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ ประกอบกับให้เงินปันผลในระดับ 2%-3% พร้อมมองเป็นหุ้นที่ช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตได้ดี อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้น โดยในปัจจุบัน เรามองว่าราคาหุ้นถือว่าปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นผลประกอบการ อย่างไรก็ดีหากดู Valuation โดย PE อยู่ที่ระดับ 22.4 เท่า ถือว่ายังคงต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 34.4เท่า เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัว ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 147USD ซึ่งมี Upside 13.5% จากราคาปัจจุบัน
|
19/10/2022
|
PEP.US
|
งบ 3Q22
ดีกว่าคาด /
ปรับเพิ่มคาดการณ์ FY22
ขึ้นทั้งรายได้และกำไร
- PepsiCo เผยผลประกอบการ 3Q22 ดีเกินคาด โดยรายได้โต 9%YoY อยู่ที่ US$21.97bn ด้านกำไรโต 22%YoY ขณะที่รายได้และกำไรแบบออร์แกนิกส์โต 16%YoY และ 14%YoY ตามลำดับ หนุนจากการปรับเพิ่มราคาสินค้าในเครือทั้งขนมและเครื่องดื่ม
- PepsiCo ปรับเพิ่มประมาณการงบ FY22 ขึ้น โดยคาดยอดขายเพิ่ม 12%YoY ด้านกำไรต่อหุ้นปรับเพิ่มคาดการณ์เพิ่มขึ้น 10%YoY อยู่ที่ US$6.73 จากก่อนหน้านี้ที่ US$6.63
มุมมองของ InnovestX
- เรามองว่า PepsiCo สามารถทำกำไรออกมาได้โดดเด่นมากถึงแม้จะมีแรงกดดันต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเรามองว่าการเพิ่มขึ้นของงบนั้นไม่ได้เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มราคาขายสินค้าอย่างเดียว อย่างไรก็ดี เรามองว่าเป็นผลมาจาก 1) ความแกร่งของแบรนด์ที่มากพอจนทำให้ PEP มี อำนาจในการต่อรองราคาและมีแรงซื้อจากผู้บริโภคอยู่ 2) ความสามารถในการคุมต้นทุนที่ดีจนทำให้กำไรขยายตัวและช่วยชดเชยปริมาณการขายที่ลดลงในบางหมวดได้ เช่น ส่วน Frito-Lay ในอเมริกาเหนือ
- ถึงแม้งบ FY22 จะมีแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่เรามองว่า PepsiCo จะสามารถทำตามคาดการณ์ที่ให้ไว้ได้ หนุนจากการที่บริษัทเร่งควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน เช่น การใช้แพคเกจที่เล็กลงสำหรับสินค้า Variety packs ประกอบกับการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้ ด้าน Bloomberg คาดอัตรากำไรจากการดำเนินงานพลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 1.4%YoY อยู่ที่ระดับ 14.6 ใน FY22
- เรามองว่าหุ้น PEP เหมาะกับการลงทุนในช่วงเวลานี้ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากเป็นหุ้นคุณภาพที่มีความผันผวนน้อยและมีอำนาจในการต่อรองราคา ขณะที่ในช่วงเวลาปกติ เรามองว่าเหมาะกับการลงทุนในระยะกลาง-ยาว เนื่องจากมีผลการดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดีเรามองว่าเป็นหุ้นที่ควรมีติดพอร์ต เนื่องจากช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี โดยในปัจจุบัน เรามองว่าราคาหุ้นถือว่าปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นผลประกอบการ อย่างไรก็ดีหากดู Valuation โดย PE อยู่ที่ระดับ 24.7 เท่า ถือว่ายังคงต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 25.37 เท่า เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัว ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 182 USD ซึ่งมี Upside 5.1% จากราคาปัจจุบัน
|
12/10/2022
|
META.US
|
ชะลอการจ้างาน /
เตรียมเพิ่มโฆษณารูปแบบใหม่บน FB
และ IG
- Meta เริ่มชะลอการจ้างงานและปรับโครงสร้างภายในบริษัทหลังรายได้โตชะลอตัว ประกอบกับเพื่อเตรียมรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจขาลง
- Meta เตรียมเพิ่มโฆษณาแบบใหม่ สำหรับ Facebook จะแสดงโฆษณาหลัง Reels จบ ในส่วน Instagram จะเพิ่ม 1) โฆษณาเข้ามาบนหน้า Explore และหน้าฟีดบนโปรไฟล์ของผู้ใช้งานที่เปิดบัญชี Public 2) โฆษณาแบบ Multi-Advertiser ที่จะโชว์โฆษณาอื่นๆเพิ่มเติม เมื่อคลิกเข้าไปใน Ads เพียงตัวเดียว
มุมมองของ InnovestX
- หลังจากในช่วง 1H22 รายได้หดตัวลง ประกอบกับยอดผู้ใช้งานลดลงเป็นครั้งแรก ทำให้เรามองว่าบริษัทต้องการปรับกลยุทธ์ โดยการชะลอการจ้างงานเพื่อลดต้นทุน รวมถึงมีการหาโฆษณารูปแบบใหม่ ซึ่งเรามองว่า Meta พยายามหาทางทำให้ Growth กลับมาโตเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดียังคงมีปัจจัยกดดันจาก 1) การแข่งขันที่สูงขึ้นของกลุ่มแพลตฟอร์มวิดีโอระยะสั้นโดยเฉพาะ Tiktok แล Youtube 2) แนวโน้มเศรษฐกิจขาลงที่ทำให้ผู้ใช้งานปรับลดค่าใช้จ่ายส่วนโฆษณาลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแหล่งรายได้หลักอย่างโฆษณา 3) หลังจากที่ Apple (AAPL) ไม่อนุญาตให้เก็บข้อมูลผู้ใช้งานโฆษณาทำให้การใช้งานโฆษณาไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ยากขึ้น
- อย่างไรก็ดี เรามองว่าทิศทางการดำเนินงานหลักของ Meta ที่มุ่งเน้นพัฒนา Metaverse ยังคงคลุมเครือและมีแหล่งรายได้ไม่ชัดเจน โดยปัจจุบันธุรกิจ Reality labs (คิดเป็น 1.6% ของรายได้รวม) ยังไม่สามารถสร้างกำไรได้เลย โดยใน 2Q22 ยังคงขาดทุนกว่า $2.8 bn และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก R&D กดดันอัตรากำไรขั้นต้นให้ลดลง ขณะที่รายได้ยังคงโตชะลอตัว
- ด้าน Morningstar คาดกำไรจากการดำเนินงานรวมจะลดลงราว 31% ใน FY22 ทำให้เรามองว่าความไม่แน่นอนของกลุ่มธุรกิจ Reality Labs ยังคงเป็นแรงกดดันใหญ่ที่ทำให้ตลาดอาจจะยังไม่เชื่อว่าธุรกิจนี้จะสามารถเปลี่ยนเป็นธุรกิจหลักได้
- เรามองว่า Meta ยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการเติบโตของบริษัทและผลประกอบการที่อยู่ในช่วงปรับประมาณการลง ประกอบกับด้วยความที่หุ้น Meta มีความผันผวนต่อทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงนี้ เราจึงแนะหลีกเลี่ยงไปจนกว่าจะเห็นการฟื้นตัวและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน โดย Valuation ในปัจจุบัน ถึงแม้ PE จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 11.1x แต่เรามองว่าแพงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่ 7.3% ซึ่ง PEG อยู่ที่ระดับ 1.52 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 213.5 USD ซึ่งมี Upside 59% จากราคาปัจจุบัน
|
05/10/2022
|
BYD (1211.HK)
|
ตัวเลขยอดขายและการผลิตรถยนต์แกร่ง /
เตรียมขยายธุรกิจสู่ตลาดโลก
- BYD เผยยอดขายในเดือนก.ย. 22 โตแกร่ง 2%YoY อยู่ที่ 201,259 คัน ส่งผลให้ยอดขายรวมในไตรมาส 3 อยู่ที่ 538,704 คัน เพิ่มขึ้น 194%YoY และ 52%QoQ ด้านตัวเลขการผลิตโตแกร่งเช่นกัน 160.1%YoY อยู่ที่ 204,893 คัน
- BYD มีแผนขยายธุรกิจไปทั่วโลก โดยในช่วงปลาย ก.ย. ได้เริ่มเข้าสู่ตลาดยุโรปผ่านการเปิดตัวรถ EV 3 รุ่นใหม่ Tang, Han และ Atto 3 ที่คาดจะเริ่มส่งมอบตั้งแต่ช่วง 4Q22 เป็นต้นไป ขณะที่ทางฝั่งเอเชียแปซิฟิก BYD ได้เริ่มส่งมอบรถยนต์ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้บริษัทมีแผนเข้าสู่ตลาดอื่นในเอเชีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น ฯลฯ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
มุมมองของ InnovestX
- เรามองบวกต่อยอดส่งมอบของ BYD และคาดว่าจะโตแกร่งต่อในช่วงที่เหลือของปี 22 หลังยังมียอดคำสั่งซื้อในมือที่ยังไม่ได้ส่งมอบราว 800K คัน หนุนจากโมเดลใหม่ Seal ที่เปิดตัวไปในช่วงส.ค. 22 ประกอบกับยอดส่งมอบนับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ราว 984K ทำให้เราคาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ได้ถึง 5M -1.9M คัน ในช่วง FY22 ทั้งนี้เรามองว่ากำลังการผลิตจะโตแกร่งต่อเนื่องหลังบริษัทได้เปิดตัวโรงงานใหม่ใน Jinan และ Zhengzhou ที่จะทำให้กำลังการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น 20k-30k คันต่อเดือน ซึ่งเรามองว่าจะทำให้กำลังการผลิตรวมสามารถบรรลุเป้าหมาย 4M คันที่บริษัทตั้งไว้ได้ใน FY23
- ขณะที่เราเชื่อว่าแผนขยายธุรกิจ BYD จะช่วย Turn Positions ของ EV จากตลาด Niche Market สู่ตลาด Mass Production ได้ ซึ่งจะช่วยหนุนอัตราการเติบโตของรายได้และกำไรในอนาคต ประกอบกับความสามารถทางการแข่งขันที่แกร่งจากการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ อย่างแบตเตอรี่ยันรถยนต์ EV ทำให้เรามองว่า BYD จะสามารถสู้ Peer ในตลาดโลกได้
- ระยะสั้น หุ้น BYD ยังคงถูกกดดันจากแรงขายของ Berkshire Hathaway ที่ปัจจุบันถือหุ้นอยู่ราว 20% ประกอบกับภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจนอาจส่งผลต่อยอดขาย EVs อย่างไรก็ดี ด้วยสองประเด็นนี้เรามองว่าตลาดอาจจะกังวลมากจนเกินไปหลังยอดขายยังคงแกร่ง ประกอบกับพื้นฐานบริษัทดี ซึ่งเราชอบ BYD หลังมี Supply Chain ที่ครบวงจร แนวโน้มกำไรดี มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน จึงแนะสะสมช่วงที่ราคาย่อตัว ขณะที่ Valuation ในปัจจุบันถึงแม้จะสูง โดย PE อยู่ที่ 5x แต่เรามองว่าอาจจะสมเหตุสมผล เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่ 96% ซึ่ง PEG จะอยู่ที่ระดับ 0.55 เท่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 192 HKD ซึ่งมี Upside 94% จากราคาปัจจุบัน
|
28/09/2022
|
UNH
|
UNH
ร่วมมือ WMT
ในการให้บริการด้านสุขภาพ /
แนะลงทุนหลีกเลี่ยงความผันผวนตลาด
- UNH ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Walmart เพื่อให้บริการด้านสุขภาพของ UNH ผ่านคลินิก WalmartHealth เช่น บริการตรวจสุขภาพและจ่ายยา ซึ่งครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในแผน Medicare Adavantage (MA) , ให้คำปรึกษาทางด้านการแพทย์, ออกแผนประกันสุขภาพ ฯลฯ โดยจะเริ่มให้บริการในรัฐฟลอริดาและจอร์เจียรวม 15 สาขา นับตั้งแต่ปี 2023-2033
มุมมองของ InnovestX
- เรามองบวกต่อการร่วมมือครั้งนี้หลังจะช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการของ UNH ประกอบกับแผนขยายร้าน Walmart Health กว่า 4,000 สาขาทั่วสหรัฐฯ ภายในปี 2029 ซึ่งจะยิ่งช่วยหนุน Volumn การเข้ารับบริการและหนุน Growth สมาชิก MA ให้โตเพิ่มได้ ทั้งนี้เรามองว่าการให้บริการกลุ่มที่อยู่ใน MA ด้วยนั้นจะทำให้ UNH สามารถบรรลุเป้าหมาย Value-Based Health care ได้ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางการแพทย์ในระยะยาวและ Sustain
- ในช่วงเวลานี้ที่ตลาดหุ้นมีทิศทางขาลงประกอบกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว เราแนะลงทุนในหุ้น UNH หลังเป็นหุ้น Quality ที่มีสถานะการเงินที่แกร่ง ประกอบกับหุ้นมีลักษณะ Defensive มีความผันผวนต่อตลาดและเศรษฐกิจน้อยโดยมี Beta อยู่ที่ 8 โดยนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 22 ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น 5% สวนทาง S&P500 ที่ปรับลง 18% เราคาดว่าหุ้นจะยังมีแนวโน้มสร้าง Return ดีในสภาวะแบบนี้ ทั้งนี้เราเชื่อว่าธุรกิจ Healthcare ของ UNH จะยังคงมี Pricing Power ซึ่งส่งผลให้รายได้ในระยะถัดไปของบริษัทได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าอุตฯอื่น
- ขณะที่ในช่วงเวลาปกติ เรามองว่าหุ้น UNH เหมาะกับการลงทุนในระยะกลาง-ยาว เนื่องจากมีความผันผวนน้อย ผลตอบแทนโดยรวมมีความคงที่ อย่างไรก็ดีเรามองว่าเป็นหุ้นที่ควรมีติดพอร์ต เนื่องจากช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี ขณะที่ Valuation ถือว่าใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีโดยมี EV/EBITDA อยู่ที่ 17 ในปัจจุบันซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่าเฉล่ียย้อนหลัง 5 ปีที่ 14 เท่า จึงยังคงแนะสะสมในช่วงที่ย่อตัว ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 8 USD ซึ่งมี Upside 13% จากราคาปัจจุบัน
|
21/09/2022
|
Starbucks (SBUX.US)
|
เปลี่ยนแผนระยะยาว “Reinvention Plan” /
ปรับเพิ่มคาดการณ์ FY23-FY25
- Starbucks เผยแผนระยะยาวใหม่ “Reinvention Plan” โดยปรับการดำเนินงานให้เข้ากับเทรนด์ผู้บริโภคยุคนี้ เช่น เพิ่มร้าน drive thru-only ฯลฯ พร้อมกับพัฒนา Partner Experience และนำเทคฯ มาใช้ในการพัฒนา Operation
- ขณะที่บริษัทเพิ่มคาดการณ์ในช่วง FY23-FY25 โดยคาด EPS อยู่ที่ระดับ 15%-20% ในส่วนของการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมทั่วโลกอยู่ที่ 7%-9% และถึงแม้สาขาในจีนจะได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในช่วงที่ผ่านมาแต่ SBUX คาดจะเห็นแนวโน้ม Growth ที่แกร่งในช่วง 2 ปีข้างหน้า พร้อมคาดการเติบโตจะอยู่ที่ระดับ 4-6% ใน FY25
มุมมองของ InnovestX
- เรามองบวกต่อแผนนี้หลังมองว่าการลงทุนจะช่วยพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทให้ดีขึ้น เช่น นำเทคฯ กลั่นเย็นแบบใหม่มาใช้เพื่อลดเวลาและขั้นตอนในการเตรียมกาแฟได้ ประกอบกับการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น เน้นกลยุทธ์แบบ Drive thru และ Delivery เพิ่มขึ้น จะช่วยสร้างโอกาสในการเติบโตของบริษัทในอนาคตได้
- เรายังคงมองว่า Reopening เป็นแรงหนุนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวในต่างประเทศและจีน ประกอบกับธุรกิจในสหรัฐฯและอเมริกาเหนือยังคงโตต่อเนื่อง
- แต่ในระยะสั้น มาร์จิ้นยังถูกกดดันจากการเน้นลงทุนในการปรับปรุงร้านและการขยายสาขาใหม่ ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มในระยะถัดไปซึ่งสอดคล้องกับ Morning Star ที่คาดการณ์ว่า Operating Margin จะโตเพียง 12.8% ใน FY22 ซึ่งลดลง 320bps YoY แต่จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในระดับ 16% ใน FY26
- ดังนั้นการย่อตัวลงของมาร์จิ้นจะเป็นความเสี่ยงกดดันราคาของหุ้นอยู่ แต่เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวจากประเด็นดังกล่าว โดยเราเชื่อว่า Starbuck มี Pricing Power สูง, มีความผันผวนต่อสภาวะเศรษฐกิจน้อย และได้ภาพการฟื้นตัวในตลาดต่างประเทศ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 95.28 USD ซึ่งมี Upside 3.4% จากราคาปัจจุบัน
|
14/09/2022
|
YUMC
|
Primary listing
ในตลาดหุ้นฮ่องกง /
การตรวจสอบบัญชีจากกลต.สหรัฐฯ
- Yum China ได้ยื่นขอแปลงสถานะหุ้นจาก Secondary listing เป็นสถานะ Primary listing ในช่วงเดือนส.ค. 22 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง HKEX และจะต้องผ่านการอนุมัติของผู้ถือหุ้นในการประชุมเดือน ต.ค. 22 ก่อนถึงจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม 2022 ตามข้อเสนอของบริษัท
- ด้านกลต. สหรัฐฯ จะเริ่มเข้าตรวจสอบบัญชีบริษัทที่จดทะเบียนแบบ ADR อย่าง YUMC ในช่วงกลางเดือน ก.ย. นี้โดยมี Process ในการตรวจสอบประเด็นการ Delisted หุ้นนั้นมีระยะเวลา 3 ปีก่อน ซึ่งคาดจะแล้วเสร็จในปี 2025
มุมมองของ InnovestX
- เรามองบวกต่อประเด็นนี้หลังมีแนวโน้มที่ YUMC จะได้รวมอยู่ในโครงการ Stock Connect หากถูกเปลี่ยนสถานะเป็น Primary listing ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องจากนักทุนจีนแผ่นดินใหญ่ (Southbound)
- ระยะสั้น เราแนะนำให้ลงทุนอย่างระมัดระวัง หลังการล็อคดาวน์ในบางพื้นที่ของเมืองจีนยังคงกดดันผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 อยู่ ทำให้ร้านค้าในเครือบางสาขาจำเป็นต้องหยุดทำการและถูกปิดตัวลง ขณะที่มองว่าการเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น การจัดโปรโมชั่น ฯลฯ จะช่วยเยียวยายอดขายที่ถูกแรงกดดันจากล็อคดาวน์และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อได้ในระดับนึง อย่างไรก็ดีมองว่า Reopening เป็นแรงหนุนที่จะช่วยให้มีการฟื้นตัวของบริษัทได้มากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะเริ่มตั้งแต่ Q4 เป็นต้นไป
- ระยะกลาง-ยาว เรามองว่า YUMC มีแบรนด์ร้านอาหารที่แกร่ง ประกอบกับความได้เปรียบทางต้นทุนและมีโครงสร้าง Supply Chain ที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีศักยภาพพอที่จะโตกว่าอุตฯ ในระยะยาวได้ โดย Morningstar คาดการณ์อัตราการเติบโตในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 15% ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 441 HKD ซึ่งมี Upside 88% จากราคาปัจจุบัน
|
07/09/2022
|
TSMC
|
รัฐบาลสหรัฐฯ จำกัดการส่งออกชิป มอง TSMC ได้รับผลกระทบจำกัด
- รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามบริษัท Semiconductor อย่าง Nvidia และ AMD ส่งออกชิป GPU และ AI เซิร์ฟเวอร์ระดับสูงไปยังรัสเซียและจีน (รวมถึงฮ่องกง) สำหรับชิปที่ได้รับผลกระทบใน NVDA คือ ชิป A100 และ H100 ขณะที่ใน AMD คือ MI250 อย่างไรก็ดี NVDA เผยรัฐฯยังคงอนุญาตให้ส่งออกและถ่ายโอนสินค้าภายในประเทศที่จำเป็นเพื่อพัฒนา H100 AI chip ต่อ โดยจะสามารถส่งออกเพื่อสนับสนุนลูกค้าสหรัฐฯได้จนถึง 1 มี.ค. 2023 ขณะที่ขนส่งผ่านโรงงานในฮ่องกงของบริษัทได้จนถึงวันที่ 1 ก.ย. 2023
มุมมองของ SCBS
- เรามองว่า TSMC ได้รับผลกระทบน้อยจากประเด็นนี้หลังอยู่ในต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทาน โดยผลกระทบจะจำกัดอยู่แค่ใน TSMC 7nm process เป็นหลักเนื่องจาก 1) ชิป TSMC N7 ใช้ในการผลิตชิป A100 ของ NVDA 2) ชิป TSMC N6 ใช้ในการผลิตชิป MI250 ของ AMD และ 3) ชิป TSMC N4 ใช้ในการผลิตชิป H100 ของ NVDA ทั้งนี้เราเชื่อว่ารายได้ที่ได้รับผลกระทบนั้นน้อยกว่า 1% ของรายได้ทั้งหมด หลังสัดส่วนรายได้ของชิปที่ส่งให้ NVDA และ AMD คิดเป็น 5-15% ของสัดส่วนรายได้ชิป N7 ทั้งหมด
- อย่างไรก็ดีเรายังคงมองว่าอุตสาหกรรม Semiconductor มีแรงกดดันจากอีกหลายปัจจัย เช่น สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น, การล็อคดาวน์ในจีน,สัญญาณชะลอการผลิต PC และ Smartphone ฯลฯ ซึ่งเรามองว่าอาจส่งผลต่อผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังและอยู่ในช่วงของการปรับประมาณการลง ดังนั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรไปจนกว่าจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน
- แต่อย่างไรก็ดี ในระยะยาวเรามองว่า TSMC จะยังคงได้ประโยชน์จาก Internet of Things, Automotive App และ AI หรือยุคที่เปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีที่ล้วนต้องอาศัยการผลิตจาก TSMC เป็นหลัก รวมไปถึงแนวโน้มของบริษัทที่เริ่มจ้างผู้อื่นมาผลิตมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มรายได้ยังคงโตต่อเนื่อง ประกอบกับความได้เปรียบในเชิงปริมาณ, ราคา และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่จะช่วยรักษาอัตรากำไรในระยะยาวของบริษัทได้ โดย Morningstar คาดว่า CAGR จะอยู่ที่ราว 5% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ขณะที่ Valuation ถือว่าปรับตัวลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี โดย PE ปัจจุบันอยู่ที่ 17 เท่าซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 24 เท่า แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 11 เท่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายที่ 131 USD ซึ่งมี Upside ราว 42.1% จากราคาปัจจุบัน
|
24/08/2022
|
Tencent (700)
|
งบ 2Q22 ลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มเข้าตลาด
- Tencent เผยผลประกอบการ 2Q22 ดีกว่าตลาดคาด อย่างไรก็ดีมีรายได้ลดลง -3%YoY สู่ Rmb134,034mn ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานและกำไรต่อหุ้นลดลงเช่นกันที่ -14%YoY และ -17%YoY ตามลำดับ โดยนับเป็นการลดลงครั้งแรกของบริษัทหลังได้รับผลกระทบจากปัญหาในประเทศจีน ทั้งจากกฎหมายจำกัดเวลาการเล่นเกมและการล็อคดาวน์
- ขณะที่ธุรกิจ Online Advertising และธุรกิจเกมทั้งในและต่างประเทศ มีรายได้ลดลงราว 18%YoY และ 1.4%YoY ตามลำดับ ด้านธุรกิจ Social Networks และ Fintech and Business Service โตสวนทางธุรกิจอื่นที่ราว 1%YoY
มุมมองของ SCBS
- เรามองว่า Tencent ยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย โดย 1) ธุรกิจเกมมือถือ, โฆษณา และคอมเมิซมีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และการแข่งขันที่สูงขึ้นจากแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอย่าง TikTok 2) ปัจจัยภายนอกจากสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี รวมไปถึงการฟื้นตัวที่ช้าจากมาตรควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวดของประเทศจีน
- อย่างไรก็ดีเรามองว่าการที่บริษัททำตามแผนลดต้นทุน อย่างเช่น การลดจำนวนพนักงาน, การปิดตัวธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร รวมไปถึงการย้ายระบบคลาวด์ จะช่วยทดแทนความเสี่ยงจากการเติบโตที่ไม่ชัดเจนของกลุ่มธุรกิจหลัก และช่วย Turnaround ผลประกอบการของ Tencent ให้กลับมาโตเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเรามองว่าแผนนี้จะสามารถเริ่มเห็นผลได้ตั้งแต่ในช่วงครึ่งปีหลัง 22 โดย Morning Star คาดการณ์รายได้แบบ CAGR จะสามารถโตที่ 17% ใน FY26
- เรายังคงแนะหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรในระยะสั้นหลังยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย ทั้งนี้เรามองว่าหุ้นนี้เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงเนื่องจากราคามีความผันผวนและการเติบโตที่ไม่ค่อยชัดเจน อย่างไรก็ดีเรายังคงมองว่า Tencent น่าสนใจ หลังมีโมเดลธุรกิจที่แกร่งและมีการกระจายตัวของรายได้ ประกอบกับมีสถานะการเงินที่ยังคงแกร่งช่วยในการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจได้ ในขณะที่ Valuation ถือว่าปรับตัวลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี โดย PE ปัจจุบันอยู่ที่ 13 เท่าซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 35 เท่า (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม 10 เท่า) ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายที่ 444.5HKD ซึ่งมี Upside ราว 42.1% จากราคาปัจจุบัน
|
17/08/2022
|
Pfizer
|
งบ 2Q22 โตดี พร้อมเข้าซื้อกิจการ GBT ช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่
- Pfizer เผยงบ 2Q22 มีรายได้และกำไรโตแกร่งที่ 47%YoY และ 78% ตามลำดับ หนุนจากยอดขายวัคซีนและยาเม็ด Paxlovid ต้านโควิด-19 โดยบริษัทคาดการณ์งบ FY22 สำหรับรายได้รวมอยู่ที่ราว $98bn- $102bn ด้านกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ $6.30-$6.45
- Pfizer เข้าซื้อกิจการบริษัท Global Blood Therapeutics (GBT) ผู้ผลิต Oxbryta ยารักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติด้วยมูลค่า $4bn
- ร่างกฎหมาย Inflation Act มีการกำหนดเพดานการจ่ายค่ายาของ Medicare ที่ US$2000 ต่อปี
มุมมองของ SCBS
- ผลประกอบการออกมาดีแต่ราคาหุ้นไม่ได้ตอบสนองต่อประเด็นนี้ โดยเรามองว่านักลงทุนรับรู้ความเสี่ยงรายได้และกำไรที่อาจลดลงจากฐานที่สูงหลังความต้องการวัคซีนและยาเม็ด Paxlovid ที่เป็นแหล่งรายได้หลักมีแนวโน้มชะลอตัวลงในอนาคต
- ขณะที่มองการเข้าซื้อกิจการล่าสุดยังคงมีแรงกดดันหลัง GBT มี Net loss ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีมองว่าบริษัทจะสามารถ Turn around ได้ด้วย Cost Structure และ Cash Flow ที่แกร่ง ทั้งนี้ยังมองว่าการเข้าซื้อกิจการของ PFE จะเป็นกลยุทธ์หลักที่ช่วยขยายการเติบโตของ PFE ได้ในอนาคต ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการเข้าซื้อกิจการอย่างต่อเนื่อง เช่น ดีล Biohaven และ ดีล Arena ฯลฯ เรามองว่าช่วยทดแทนความเสี่ยงจากการสูญเสียแหล่งรายได้หลักอย่างวัคซีนโควิด-19 และยาเม็ด Paxlovid ในอนาคตได้ โดย Morningstar คาดการณ์รายได้จะโตที่ราว 6% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
- หากร่างกฎหมาย Inflation Act ถูกบังคับใช้ในปีหน้า เรามองว่า Pfizer จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นและถูกกดันจากนโยบายกำหนดเพดานการจ่ายยาในระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดีเรามองว่าบริษัทจะสามารถปรับตัวได้ดี จากที่ก่อนหน้านี้ได้ผ่านการ Reform มาแล้วหลายครั้งเช่นกัน
- ระยะสั้นยังคงมีแรงกดดันจากหลากปัจจัย เราแนะหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร อย่างไรก็ดีระยะยาวแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัว แม้ว่าภาพกำไรในปีหน้าจะลดลงแต่เราชอบหุ้น PFE หลังมองว่า valuation ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับน่าสะสม โดย PE ปัจจุบันอยู่ที่ 9.7 เท่าซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 17 เท่า (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม 15 เท่า) ในขณะที่มองว่าชื่อแบรนด์แกร่ง อีกทั้งยังมีการกระจายแหล่งรายได้จากหลายแหล่ง และมีเงินปันผล 3-4% ทั้งนี้หากภาพรวมของ เศรษฐกิจมีความเสี่ยง หุ้นอย่าง Pfizer มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดี ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายที่ 56USD ซึ่งมี Upside ราว 6% จากราคาปัจจุบัน
|
10/08/2022
|
Alibaba
|
งบ 1Q23 ทรงตัว พร้อมยื่นจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักฮ่องกง
- Alibaba เผยงบปีบัญชี 1Q23 ดีกว่าตลาดคาดการณ์ โดยมีรายได้ทรงตัวที่ Bn 205.55 Yuan หนุนจากธุรกิจ Cloud ที่โตราว 10% แต่ถือเป็นธุรกิจที่มองว่าช่วยสร้าง Growth และกำไรของ Alibaba ในอนาคต ขณะที่กำไรลดลง 53%YoY ผลมาจากการล็อคดาวน์ในจีนที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อบริษัท ทั้งนี้ยังส่งผลให้ธุรกิจ E-commerce มีรายได้ลดลง 2%YoY อย่างไรก็ดีมีแรงหนุนจากเทศกาลช้อปปิ้ง 18 ช่วยในการฟื้นตัวได้
- Alibaba เตรียมยื่นคำขอจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลัก (Dual Primary Listing) ของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ในตลาดรอง (Secondary listing) เท่านั้น โดยคาดเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 22 นี้
มุมมองของ SCBS
- เรามองว่างบ 1Q23 จะเป็นจุดต่ำสุดในปีนี้ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการคลายมาตรการ Zero Covid ในจีนจะเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยในการฟื้นตัวของมาร์จิ้น ด้านการควบคุมต้นทุน มองว่าทำได้ดีในทุกกลุ่มธุรกิจส่งผลให้ EBITDA margin ออกมาดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ดี ระยะสั้นมีแนวโน้มลดลงหลัง Alibaba ยังคงลงทุนต่อเนื่อง ระยะยาวมองช่วยในการเติบโตอย่างยั่งยืนของแพลตฟอร์ม โดย Morning Star คาด EBITDA margin ลดลง 8%YoY ในปีบัญชี FY23 และจะสามารถฟื้นตัวโตได้ในปี FY24 ที่ 2%YoY
- ขณะที่มองบวกต่อการยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักฮ่องกงหลังมีความเป็นไปได้ที่หุ้นจะเข้าซื้อขายในโครงการ Stock Connect ที่ช่วยให้นักลงทุนจีนเข้าถึงหุ้น Alibaba ได้โดยตรงหนุน Volumn เพิ่ม เยียวยาความเสี่ยงที่อาจถูก Delisted จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 149 HKD ซึ่งมี Upside ราว 8% จากราคาปัจจุบัน
|
05/08/2022
|
TLSA
|
งบ 2Q22 โตแกร่ง แม้จะเผชิญกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ
- Tesla เผยงบ 2Q22 โดยมีรายได้และกำไรโตแกร่ง 42%YoY และ 98%YoY ตามลำดับ หนุนจากยอดส่งมอบรถยนต์ที่แกร่งและราคาขายเฉลี่ยรถยนต์ (ASP) ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มาร์จิ้นในส่วนธุรกิจรถยนต์ลดลง -46bp ผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อและการแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจเซลล์แบตเตอรี่และส่วนประกอบอื่นๆ ของรถยนต์ EV อย่างไรก็ดีภาพรวมงบแกร่ง
- ในช่วงครึ่งปีหลัง Tesla ตั้งเป้าการเติบโตของยอดส่งมอบรถยนต์เฉลี่ยที่ 50% ต่อปี ส่งผลให้มีแผนเพิ่มกำลังการผลิต
ทุกโรงงานทั้งในแคลิฟอร์เนีย เซี่ยงไฮ้ เท็กซัส และ เบอร์ลิน
มุมมองของ SCBS
- เราคาดว่างบ Tesla ได้ผ่านจุดต่ำสุดของปี 22 ไปแล้วช่วงไตรมาส 2 ประกอบกับมองว่ายอดส่งมอบรถยนต์จะสามารถโตดีตามเป้าหมาย หลังบริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นหนุนจาก 1) โรงงานในเซี่ยงไฮ้สามารถกลับมาผลิตได้เพิ่มขึ้น 67%YoY หลังจากจีนคลายล็อคดาวน์ พร้อมกับมีการปรับปรุงโรงงานช่วยเพิ่มกำลังการผลิต 2x-3x เท่าจากเดิม 2) การเพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานในเบอร์ลินและเท็กซัส ซึ่งจะช่วยให้ยอดส่งมอบโตกว่า 1.5 ล้านคันใน FY22 และแตะ 2 ล้านคันได้ใน FY23 ตามเป้าบริษัทได้
- ด้าน Bloomberg คาดการณ์ยอดส่งมอบรถ FY22 อาจแตะ 1.4 ล้านคันโตราว 50%YoY และคาดหนุนกำไรปี 65 โต 121.3%YoY พร้อมให้ราคาเป้าหมายของ ไว้ที่ $881.98 ขณะที่ Morningstar มองว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า หาก Tesla สามารถเพิ่มกำลังการผลิตและทำยอดขายได้ 20 ล้านคันตามเป้าบริษัท คาดการณ์อัตราการเติบโต (CAGR) ของ
มาร์จิ้นจะอยู่ที่ราว 38%
|
|
|
|
|
|
|
FOLLOW US
SCB's Facbook INVX's Twitter