Wealth Stock Note

13/03/2024 XPG บทสรุป
  • เรายังคงชอบหุ้น XPG และคงคำแนะนำ ซื้อ โดยเรายังคงมองบวกต่อการเติบโตของทุกธุรกิจ ทั้งส่วนของรายได้ดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเติบโตจากส่วนธุรกิจสินเชื่อที่ยังเติบโตได้ รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการต่างๆ ที่คาดว่าจะโดดเด่นจากธุรกิจ Digital Asset ทั้งส่วนการเทรด Crypto และการทำ ICO ขณะที่ AMC ยังมีโอกาสการได้มูลหนี้เพิ่ม ส่วนค่าใช้จ่ายคาดจะควบคุมได้ดี คาดปี 2567 จะสามาถทำรายได้และกำไรสุทธิเป็น New High อย่างต่อเนื่องและหนึ่งในตัวแทนที่ได้ประโยชน์จากการกลับมาฟื้นตัวของ Crypto ในปีนี้
ปัจจัยกระตุ้น

ปัจจัยกระตุ้น#1 : คาดการเติบโตของผลประกอบการต่อเนื่องในทุกธุรกิจ เราประเมินการเติบโตของรายได้รวมในปี 2567 ที่ 48% เท่ากับ 901 ล้านบาทและเป็นรายได้ที่ทำฐาน new high ได้ โดยคาดว่าทุกธุรกิจหลักจะสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย (1) รายได้จากดอกเบี้ยคาดว่าจะเป็นสัดส่วน 67% หรือประมาณ 2/3 ของรายได้ทั้งหมดจะเติบโต 30% YoY จากแรงหนุนของธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ 2) รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการคาดจะเติบโตเด่น 150% YoY และมีสัดส่วน 25% ของรายได้รวมทั้งหมด หนุนจากค่าธรรมเนียมของการ Trade ในกลุ่ม Digital Asset ที่เพิ่มขึ้นโดดเด่นในปีนี้ เป้าหมายการทำ ICO ในปีนี้ที่ประมาณ 3 ดีล และเป้าการประมูลหนี้เพิ่มประมาณ 1,500 - 2,000 ล้านบาทในกลุ่ม AMC เติบโต 50% YoY

ปัจจัยกระตุ้น#2 : แรงหนุนของธุรกิจ Digital Asset จาก BTC Halving ในปีนี้ การเติบโตหลักในปีนี้หนุนจากการฟื้นตัวของธุรกิจ Digital Asset จากปัจจัยราคา Crypto อย่างเช่น BTC ที่ทำ New high และการเกิด Halving ในปีนี้และ ETH ที่ฟื้นตัวเด่นในรอบหลายปี ทำให้ XPG ยอดการเทรดที่เติบโตเด่นนช่วงต้นปี โดยช่วงเดือน ก.พ. มียอด Trade ที่ 1,800 ล้านบาทเติบโต 280% MoM และคาดว่าจะยังมี volume ที่หนาแน่นต่อเนื่องในช่วง 1H67 นี้ ขณะที่ การออก ICO ในปีนี้คาดว่าจะทำให้ได้ 3 ดีล โดยช่วงที่เร็วที่สุดคือช่วงกลางปี 67 จะเป็นการออก ICO แบบ PP มูลค่าระดมทุนประมาณ 500 ล้านบาท และ ICO อีก 2 ดีลจะอยู่ในช่วงสิ้นปีมูลค่าประมาณ 2,000-2,500 ล้านบาท

ปัจจัยกระตุ้น#3 : ผลประกอบการคาดกำไรสุทธิทำ New High ด้วยการเติบโตของรายได้ที่โดดเด่น 48% YoY การควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นความพร้อมของบุคลลากรที่มีเพียงพอและฐานะการเงินแข็งแกร่ง ดอกเบี้ยจ่ายที่ต่ำ และส่วนแบ่งกำไรจาก KTX ที่คาดว่าจะเติบโต YoY คาดจะหนุนให้ XPG มีกำไรสุทธิในปี 2567 ที่ 178 ล้านบาท เติบโต 68%

ความเสี่ยงและความกังวล

  • ข้อกำหนด บทกฎหมาย ของ Digital Asset ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต โอกาสการตั้งสำรองหนี้หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้
คำแนะนำ
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2567 ที่ 2.30-3.10 ต่อหุ้น โดยใช้วิธี Valuation ด้วย PBV ที่ 2-2.8 เท่า โดยเรามองว่า XPG ยังคงเป็นตัวแทนที่ดีของการทำธุรกิจ S Curve บน Digital Asset และมีการเติบโตบนธุรกิจสินเชื่อและการลงทุนที่เป็นธุรกิจ traditional ที่ยังคงเป็น cash cow เราจึงคงคำแนะนำ ซื้อ
12/03/2024 SECURE บทสรุป
  • เรายังคงชอบ SECURE เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ 1x PE ปี 2567 ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการเติบโตของกำไรที่ 16.6% อยู่ที่ 107 ล้านบาทและเป็นการทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยที่ประมาณการของเรามีโอกาสที่จะเห็น Upside ด้วยเช่นกัน คงคำแนะนำซื้อราคาเป้าหมาย 18 บาทต่อหุ้นอิง 17x PE ปี 2567
ปัจจัยกระตุ้น
  • ปัจจัยกระตุ้น#1: ผลประกอบการ 1Q67 มีโอกาสกลับมาเติบโต YoY เราคาดว่าจะเห็นการปรับตัวลดลง QoQ เนื่องจากปัจจัยฤดูกาล แต่ YoY นั้นคาดว่ามีโอกาสที่จะเติบโตจากปีก่อนได้ จากที่ก่อนหน้านี้เรามองว่าน่าจะลดลงเนื่องจากฐานที่สูงในปีที่แล้วจาก Pent-up demand ภายหลังสถานการณ์ Chip shortage ที่ดีขึ้น แต่ด้วยความต้องการทางด้าน Cybersecurity ที่ยังคงดีอย่างต่อเนื่องทำให้ภาพรวมรายได้ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
  • ปัจจัยกระตุ้น#2: มีโอกาสเห็น Upside บนประมาณการปี 2567 ปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 92 ล้านบาทเติบโต 7% YoY ซึ่งถือว่าเป็นระดับ Record high ของบริษัท ปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการเติบโตของรายได้ที่ 19.2% อยู่ที่ 1.1 พันล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากความต้องการทางด้าน Cybersecurity ที่ยังคงดีต่อเนื่อง ในปี 2567 ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ที่ 15-20% YoY โดยผู้บริหารระบุว่าความต้องการของลูกค้ายังมีต่อเนื่องถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะทรงตัวจากปี 2566 ได้ที่ 19.6% โดยประมาณการรายได้ปี 2567 ของเรามองการเติบโตที่ 10% ถ้าบริษัทสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้จะมี Upside ต่อประมาณการกำไรที่ 4.5-9%
  • ปัจจัยกระตุ้น#3: การใช้จ่ายด้าน Cybersecurity ของไทยจะเร่งตัวขึ้นในปี 2567 อ้างอิงจากรายงานของบริษัท Group-IB (บริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์ด้าน Cybersecurity ชั้นนำของโลก) ในปี 2566/67 ประเทศไทยถือว่าอยู่ในลำดับที่ 3 ในเอเชียสำหรับการโดนโจมตีด้วย Ransomware หรือการโจมตีที่คล้ายการเรียกค่าไถ่ ทำให้เราเชื่อว่าประเด็นความกังวลเหล่านี้จะยังคงเป็นแรงผลักดันความต้องการด้าน Cybersecurity ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับทาง Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐได้คาดการณ์ว่าการเม็ดเงินลงทุนในส่วนของ Cybersecurity ของบริษัทในประเทศไทยจะเติบโตที่ 12% ในปี 2567
ความเสี่ยงและความกังวล
  • การผันผวนของค่าเงินบาทที่อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตรากำไรขั้นต้น ในกรณีที่เงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว
  • ในส่วนของความกังวลเรื่องค่าขนส่งสินค้าจากประเด็นความขัดแย้งในทะเลแดง เรามองว่า ณ ปัจจุบันผลประทบค่อนข้างที่จะจำกัดเนื่องจากบริษัทนำเข้าสินค้าที่เป็น Hardware ทั้งหมดประมาณ 13-15% ของรายได้และส่วนใหญ่จะมาจากอเมริกา แต่เรายังคงต้องติดตามประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง
06/03/2024 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • จากผลประกอบการของปี 2566 ที่รายได้เติบโต 11% เท่ากับ 8 พันลบ. อัตราการทำไรขั้นต้นเติบโตสูงมาอยู่ที่ 42.2% เพิ่มจากปี 2564 ที่ 40.9% และกำไรสุทธิทำฐานใหม่ที่ 599 ล้านบาท เติบโตถึง 42% เราคาด HTC จะตั้งเป้าการเติบโตที่ต่อเนื่องในปี 2567 ด้วยปัจจัยหนุนของจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคใต้ที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วนการตลาดที่ยังครองที่ 1
หลังไปได้อะไร
  • HTC ตั้งเป้ารายได้ปี 2567 เติบโต 6-8% ซึ่งจะเป็นรายได้ที่เป็น new high โดยกลยุทธ์นอกจากการออกสินค้าในรสชาติใหม่แล้วจะเพิ่ม category ในส่วนของขนาดเพื่อสร้างความถี่ของการบริโภค รวมไปถึงการขยายช่องทางจัดจำหน่าย เช่น การมขยาการวาง cooler เพิ่ม 20-25% และเพิ่มจำนวน outlet 10% ไปอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นจุด
  • ในปีนี้ HTC วางแผนขึ้นโรงงานขวดแก้วแห่งใหม่ที่อำเภอพุนพิน โดยใชเงินลงทุน 800 ล้านบาท กำลังการผลิต 800 ขวดต่อนาที คาดจะเริ่มผลิตได้ในช่วง 4Q67 นี้ ซึ่งการ reuse ขวดแก้วจะทำให้อัตราการทำกำไรขั้นต้นดีขึ้น จากต้นทุนของบรรจุภัณฑ์เฉลี่ยที่ลดลง ซึ่งจะเริ่มเห็นผลเต็มปีในปี 2568 เป็นต้นไป โดยจะขยายการใช้ขวดแก้วในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วยเช่น น้ำดื่มและน้ำผลไม้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางการเติบโตของ HTC ในปี 2567 ต่อเนื่องไปในระยะยาว เรามองการเติบโตของรายได้ปีนี้ตามประมาณการเดิมที่ 5% เท่ากับ 16 พันลบ. โดยคาด HTC จะยังครองสัดส่วนการตลาดของเครื่องดื่มแบบ Sparkling Soft Drink Market ในปี 2567 ที่ +/-80% จากปี 2566 ที่ 79.3%
  • ในส่วนของอัตราการทำกำไรขั้นต้นในปี 2566 เป็นช่วงที่มีการปรับขึ้นราคาขายบางส่วนเพื่อชดเชยกับภาษีน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นทำให้ Gross margin ของปี 2566 เพิ่มขึ้น 130 bps สำหรับปี 2567 เราคาดว่าต้นทุนน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อ gross margin โดยรวมโดยเฉพาะในช่วง 9M67 โดย HTC จะปรับลดต้นทุนอื่นเพื่อชดเชยและจะใช้กลยุทธ์ด้านราคาเป็นมาตรการท้ายๆ และเมื่อโรงแก้วใหม่เริ่มผลิตเราคาดว่าจะหนุน gross margin ให้ดีขึ้น โดยเราคาด gross margin เฉลี่ยปี 2567 ที่ 2% บนสมมติฐานของการไม่ขึ้นราคาขาย
  • เราคาดกำไรสุทธิของปี 2567 ที่ 686 ล้านบาท (+11%) ทำฐานสูงใหม่ โดยคาดว่าทิศทางผลประกอบการของ 1Q67 จะเติบโต QoQ และอ่อนตัวลงเล็กน้อย YoY แม้ยอดขาย 2M67 คาดว่าจะเติบโตได้ 2 หลักแต่ฐานของ มี.ค. 2566 เป็นช่วงที่ยอดขายสูงก่อนการปรับราคาขาย ดังนั้นคาดว่าจะทำให้ภาพรวมของรายได้ของ 1Q67 อ่อนตัว YoY
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การควบคุมต้นทุนทั้งวัตดุดิบและการขนส่ง สภาพภูมิอากาศที่อาจจะผลต่ออุปสงค์ สภาพรวมเศรษฐกิจและการฟื้นตัวในปี 2567 สภาวะการแข่งขัน
  • HTC ให้ความสำคัญกับ ESG และ Sustainability โดยเริ่มใช้ขวด PET แบบ 100% recycle ใน Coca Cola ขวด 1 ลิตรและขึ้นโรงแก้วใหม่เพื่อปรับเพิ่มการใช้ชวดแก้วของบริษัทที่ปัจจุบันมีสัดส่วน 3% ไปสู่ 10% ในปี 2572
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC มีราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 23.50 บาท/หุ้น อิงจาก PER ที่ 13.75 เท่า (+0.5SD) ปันผล 2H67 ประกาศที่ 56 บาท XD วันที่ 2 พ.ค. ผลตอบแทน 4.6%
01/03/2024 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบแนวโน้มผลประกอบการ 1Q67 และ 2567 และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆภายหลังจากที่บริษัทมีการประกาศเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่
หลังไปได้อะไร
  • ONEE ได้มีการจัดประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ โดยทางผู้บริหารชี้แจงว่าการขายหุ้นของแพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถไม่ได้กระทบในด้านการบริหารเนื่องจากทางแพทย์หญิงไม่ได้มีตำแหน่งด้านการบริหารใดๆในบริษัทอยู่แล้ว
  • ในส่วนของความร่วมมือทางธุรกิจกับคุณพิธาน องค์โฆษิต (ผู้ถือหุ้นใหญ่ท่านใหม่ที่ซื้อหุ้นต่อจากแพทย์หญิง) ยังคงไม่มีความชัดเจนเนื่องจากยังไม่ได้มีการคุยกันในรายละเอียด และธุรกรรมนั้นเพิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยทางคุณพิธานจะมีการส่งคนมาอยู่ใน Board หรือไม่นั้น ทางผู้บริหารเองก็ตอบว่ายังไม่มีความชัดเจนเช่นกัน
  • บริษัทมีการตั้งเป้ารายได้รวมในปี 2567 จะเติบโตที่ 5-7% โดยในส่วนของรายได้ธุรกิจ Artist management และ event (25.5% ของรายได้รวม) จะเติบโตที่ 10% สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 38% จาก 2% ในปี 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากสัดส่วนรายได้ธุรกิจ Artist management ที่จะมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและธุรกิจนี้มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของบริษัท และอัตรากำไรสุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ 8% ใกล้เคียงกับปี 2566 ที่ 7.9%
  • แนวโน้มผลประกอบการ 1Q67 คาดว่าจะเห็นการอ่อนตัวลง QoQ ตามปัจจัยฤดูกาลแต่ YoY คาดว่าจะฟื้นตัวได้แข็งแกร่งจากฐานที่ต่ำในปี 2566
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • ONEE รายงานกำไรปี 2566 ที่ 505 ล้านบาท ลดลง6% YoY แต่ก็ดีกว่าภาพรวมทั้งปีที่เราคาดไว้ที่ 475 ล้านบาทจากรายได้ที่เติบโตกว่าคาดและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีกว่าคาดทำให้เรามีการปรับกำไรปี 2567 ขึ้น 5.4% อยู่ที่ 593 ล้านบาท เติบโต 17.5% YoY
  • คงคำแนะนำ "ซื้อ" โดยเรามีการปรับราคาเป้าหมายขึ้นอยู่ที่ 0 บาทต่อหุ้น (จาก 5.2 บาท) โดยอิง 24x PE (จาก 21.8x) ปี 2567 -0.5SD จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง เรายังคงชอบ ONEE เนื่องจากผลประกอบการกลับมาสู่โหมดของการฟื้นตัวอีกครั้งและการประกาศปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ทำให้ความเสี่ยงจากการขายหุ้น Big lot ของผู้ถือหุ้นใหญ่ท่านเดิมลดลงซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยกดดันราคาหุ้นในอดีตที่ผ่านมา
  • ถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะมีการปรับตัวขึ้นมา 27.6% YTD แต่ปัจจุบันซื้อขายที่ 18.9x PE ปี 2567 ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต
  • ความเสี่ยงคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อ่อนแอซึ่งจะทำให้เม็ดเงินโฆษณาในภาพรวมมีการปรับตัวลดลง
29/02/2024 KLINIQ ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 ทำสถิติกำไรสุทธิรายไตรมาสสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 78 ลบ. เติบโต 10%QoQ ตามผลฤดูกาล และเติบโต 28%YoY ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากยอดขายรวมที่เติบโต 31%YoY หลังการเพิ่มบริการใหม่ๆ ทำให้ยอดขายสาขาเดิมโตเด่น 9%YoY อีกทั้งยังรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น 15 แห่งจาก 4Q65 ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเป็น 53.0% จาก 56.0% ใน 4Q65 เพราะมีสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์ศัลยกรรมและ L.A.B.X ซึ่งมีมาร์จิ้นต่ำกว่า The Klinique แต่ยังถูกชดเชยด้วย SG&A/Sales ซึ่งอยู่ที่ 40.7% ลดลงจาก 41.1% ใน 4Q65 หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขามากขึ้น หนุนให้ปี 2566 KLINIQ มีกำไรสุทธิ 289 ลบ. เติบโต 40.5%YoY ตรงกับที่เราคาดการณ์ไว้ที่ 290 ลบ.
หลังไปได้อะไร
  • KLINIQ ตั้งเป้ารายได้ปี 2567 ที่ 3 พันลบ. เติบโตราว 30%YoY ปัจจัยขับเคลื่อนจะมาจาก 1) การขยายสาขาเชิงรุกปีนี้ 15 แห่ง (จากเดิมที่ขยายสาขาปีละ 10 แห่ง) เพื่อจะได้ครอบคลุมลูกค้าทุกเพศทุกวัย โดยจะเน้นขยายสาขาไปหัวเมืองรองที่มีกำลังซื้อดี ภายใต้แบรนด์ทั้ง The Klinique และ A.B.X ซึ่งล่าสุดเปิดที่เซ็นทรัลนครสวรรค์ โดยคาดสิ้นปี 2567 จะมีสาขารวม 70 แห่ง เพิ่มจาก 55 แห่งในปี 2566 และมีสาขาครบ 100 แห่งภายในปี 2570 และ 2) ยอดขายสาขาเดิมคาดโต 10%YoY จากความต้องการดูแลตัวเองของลูกค้าเดิมที่เพิ่มขึ้น การหาลูกค้าใหม่ทั้งไทยและต่างชาติ (อาทิ จีน และ CLMV) รวมทั้งเพิ่มบริการใหม่ๆ ทั้งนี้ตั้งงบลงทุนปีนี้ไว้ราว 500 ลบ. ซึ่งแหล่งเงินทุนหลักจะมาจาก CFO ที่ทำได้ปีละ 400 ลบ.และเงิน IPO ที่เหลืออยู่อีกราว 1 พันลบ.
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • เรายังคงมุมมองบวกต่อ KLINIQ โดยปี 2567 คาดมีกำไรสุทธิ 360 ลบ. เติบโตต่อเนื่องอีก 24.6%YoY ตามประมาณการเดิม ปัจจัยหนุนจากความต้องการดูแลตัวเองของลูกค้าที่มีมากขึ้น การมีบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ได้เพิ่มขึ้น และการรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากขยายสาขาเชิงรุก อีกทั้งผลการดำเนินงานของศูนย์ศัลยกรรมคาดจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ หลังมีกระแสตอบรับที่ดีจนทำให้ 4Q66 พลิกมีกำไรแล้ว 1-2 ลบ. ขณะที่ 1Q67 คาดจะยังเดินหน้าสร้างสถิติกำไรสูงสุดต่อเนื่อง
  • KLINIQ เป็นหนึ่งในผู้นำคลินิกเวชกรรมด้านผิวหนังความงามของไทย ซึ่งคาดกำไรจะเติบโตได้ดีในระยะยาว หลังผู้บริโภคดูแลสุขภาพและภาพลักษณ์มากขึ้นในทุกเพศทุกวัย อีกทั้งทั่วโลกเข้าสู่สังคมสูงวัยและไทยมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ทำให้อุปสงค์มีแนวโน้มเติบโตทั้งตลาดลูกค้าไทยและต่างชาติ นอกจากนี้การมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มรายได้ระดับกลางถึงบนซึ่งเน้นมาตรฐานให้บริการเป็นสำคัญ ยังทำให้มีศักยภาพเติบโตได้ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน ทั้งนี้เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2567 ด้วยวิธี DCF (อิง WACC ที่ 7.9% และการเติบโตระยะยาวที่ 3%) อยู่ที่หุ้นละ 49 บาท และมีเงินปันผลจ่ายจากกำไร 2H66 หุ้นละ 0.75 บาท (10 เม.ย.) คิดเป็น Yield 1.8% ซึ่งหากรวมกับเงินปันผลที่จ่ายระหว่างกาลไปแล้วหุ้นละ 0.55 บาท จะมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2566 รวมหุ้นละ 1.30 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 3.1%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ มีภาวะการแข่งขันในธุรกิจมีสูง, พฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยีการรักษาดูแลความงามเปลี่ยนแปลงเร็ว ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยและการรักษาข้อมูลการรักษาของผู้มาใช้บริการ (S) รวมทั้งมีผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นของบริษัทเกิน 50% (G)
29/02/2024 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 NER มีกำไรสุทธิ 462 ลบ. เติบโต 47.9%QoQ จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 4%QoQ หลังมีปริมาณขายยาง 1.27 หมื่นตัน เพิ่มขึ้น 13.5%QoQ (มีเลื่อนส่งมอบยางจากจีนมาจาก 3Q66) และราคาขายเฉลี่ยที่ 51.78 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 3.4%QoQ อีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 11.3% จาก 10.9% ใน 3Q66 หลังมีสัดส่วนยอดขายต่างประเทศเพิ่มเป็น 35% จาก 28% ใน 3Q66 ส่วนกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น 25.5%YoY เกิดจากคุมค่าใช้จ่ายได้ดี จึงทำให้ปี 2566 NER มีกำไรสุทธิ 1,546 ลบ. หดตัว 11.6%YoY แต่หากไม่รวมรายการพิเศษ มีกำไรปกติ 1,582 ลบ. หดตัว 14.3%YoY ใกล้เคียงเราคาดที่ 1,532 ลบ. ทั้งนี้บริษัทจ่ายเงินปันผลจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.29 บาท (XD 22 เม.ย.) คิดเป็น Div. Yield 4.9%
หลังไปได้อะไร
  • NER ตั้งเป้าปี 2567 มียอดขายเพิ่มขึ้น 5-10%YoY ปัจจัยหนุนจากคาดมีปริมาณขายยางพารา 5.1 แสนตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.97 แสนตันในปี 2566 (+2.6%YoY) จากความต้องการยางรถยนต์ โดยเฉพาะรถ EV ในจีนที่ดีต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทมีแผนขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ทั้งในไทย จีน สิงคโปร์ และอินเดีย ส่วนราคาขายยางเฉลี่ยคาดปรับขึ้น YoY โดย 1H67 มีโอกาสราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 60-70 บาทต่อกก. จากปกติเข้าสู่พีคราคายางในปลาย Q1-ต้น Q2 ขณะที่ 2H67 เป็นไปได้ที่ราคายางจะปรับลงซึ่งยังต้องติดตาม ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นคาดจะดีขึ้นจากปี 2566 หลังราคาขายยางสูงขึ้น
  • บริษัทมีแผนเพิ่มกำลังผลิตจากปัจจุบัน 156 แสนตัน เป็น 8.18 แสนตัน โดยปีนี้จะกลับมาเตรียมก่อสร้างโรงงานยางแท่งและยางผสมแห่งที่ 3 มีกำลังการผลิต 302,400 ตัน ซึ่งเฟสแรกจะมีกำลังผลิต 1.728 แสนตัน ซึ่งคาดจะสร้างเสร็จปลายปี 2567 และเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2568 ส่วนเฟสสอง (เพิ่มเครื่องจักร) มีกำลังการผลิต 1.296 แสนตัน ซึ่งคาดจะสร้างเสร็จได้ในปี 2569 ทั้งนี้ตั้งงบลงทุนสำหรับขยายกำลังผลิตไว้ราว 1,485 ลบ. แหล่งเงินทุนจะมาจากเงินสดในกิจการ
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • ตั้งแต่ต้นปีราคายางแท่งและยางแผ่นรมควันของไทยปรับขึ้น 13%YTD และ 25%YTD ซึ่งนอกจากเกิดจากผลฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วงปิดกรีดยางแล้ว ตลาดยังกังวลภาวะเอลนีโญจะกระทบอุปทานยางตึงตัว ซึ่งการปรับขึ้นของราคายางดังกล่าวแรงเกินคาด ทำให้มอง 1H67 NER จะมีกำไรเติบโต YoY (ภายใต้ปริมาณขายยางที่ทรงตัว) เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการ โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2567 NER มีกำไรปกติ 1,754 ลบ. เพิ่มขึ้น 13.5%YoY
  • ราคาหุ้น NER ปรับขึ้น 19%YTD ซึ่งมองสะท้อนความคาดหวังผลการดำเนินงาน 1H67 ที่จะเติบโตดี YoY ตามราคาขายยางที่ปรับขึ้นไปพอสมควรแล้ว ขณะที่มีความเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ 1) ปกติอุปทานยางจะเพิ่มเข้ามาในฤดูกรีดยางในไตรมาส 2 (ตั้งแต่ พ.ค.) ซึ่งจะกดดันให้ราคายางเริ่มพลิกติดลบตั้งแต่ เม.ย. และ 2) อุปสงค์ยางรถยนต์ในตลาดโลก ซึ่งปีนี้ตลาดคาดยอดขายรถยนต์ทั่วโลกจะเติบโตชะลอตัวราว 2-3% จากเศรษฐกิจที่ซบเซา อีกทั้งเมื่อเราประเมินราคาเป้าหมายใหม่ปี 2567 อยู่ที่หุ้นละ 5.70 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีที่ 6.0 เท่าเช่นเดิม) พบว่าไม่มี Upside จูงใจ ดังนั้นนักลงทุนระยะสั้นจึงแนะนำให้เพิ่มความระมัดระวัง โดยแนะนำ "หาจังหวะขายทำกำไรไปก่อน" ในช่วงที่ราคาหุ้นปรับขึ้นแรง ทั้งนี้ทางเทคนิคมีแนวต้านกรอบบนที่ 6.00 และ 6.50 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การถดถอยของเศรษฐกิจโลกและจีน, ภาวะภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญอาจกระทบผลผลิต, การแข็งค่าของเงินบาท ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ การแปรรูปยางอาจก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเกิดน้ำเสียได้ อย่างไรก็ดี บริษัทบริหารจัดการกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ และมีการติดตามผลต่อเนื่อง
27/02/2024 TPAC ก่อนไปคิดอะไร
  • TPAC ประกาศกำไรสุทธิที่ 94 ล้านบาท ใน 4Q66 ปรับตัวลดลง 6% QoQ และ 12.0% YoY เนื่องจากการชะอลตัวของผลการดำเนินงานในประเทศอินเดีย เนื่องจากฤดูฝนที่ยาวนานผิดปกติ ขณะที่ปริมาณขายในไทยก็ลดลงเล็กน้อย 3% QoQ จากฐานผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างสูงใน 3Q66 นอกจากนี้มีการชะลอตัวลงของคำสั่งซื้อในประเทศมาเลเซียจากสินค้าคงเหลือที่อยู่ระดับสูง หลังผ่านเทศกาลในช่วง 3Q66 สำหรับประเทศไทย (30% ของ EBIT) มีกำไรจากการดำเนินงานการชะลอตัวลง 11.4% QoQ ทั้งนี้ TPAC มีการปรับเปลี่ยนการรับรู้รายการค่าขนส่ง (Freight expense) จากเดิมที่หักออกจากรายได้ ปรับเปลี่ยนมาเป็นอยู่ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling expense) ทำให้ 4Q66 นั้นเราเห็น SG&A expense ปรับตัวสูงขึ้น 19.3% QoQ และ SG&A/sale ขึ้นมาอยู่ที่ 12.3% ใน 4Q66 จาก 10.4% ใน 3Q66
  • ทางด้าน Gross margin โดยรวมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เป็น 4% ใน 4Q66 จาก 22.5% ใน 3Q66 โดยรวมเกิดจากการชะลอตัวลงของปริมาณความต้องการบรรจุภัณฑ์เกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจในประเทศอินเดียที่ได้รับผลกระทบจากฤดูฝนที่นานผิดปกติ ยกเว้นธุรกิจในประเทศสหรัฐอำหรับเอมิเรตส์ที่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี แต่ขนาดยังค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับธุรกิจในประเทศอินเดีย
หลังไปได้อะไร
  • แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 1Q67 คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ หลังผู้บริหารเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของปริมาณความต้องการบรรจุภัณฑ์โดยรวม โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย (45% ของรายได้รวม) ที่ผ่านช่วงฤดูฝนไปแล้ว รวมถึงการเริ่มเดินเครื่องจักรใหม่ที่นำเข้าจากทวีปยุโรป ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง 2 เครื่อง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 66 ที่ผ่านมา จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดีมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจในประเทศไทยคาดว่าจะเห็นความคืบหน้าโครงการใหม่ จากทั้งลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ทยอยเข้ามาอยู่ในแผนการผลิตของปี 67
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • ในระยะกลางถึงยาว เรายังมองว่า TPAC เป็นอีกหนึ่งหุ้น Small cap น่าจับตาจากการที่เป็นทั้ง Growth stock และ Valuation ที่ยังไม่แพงมาก แม้ว่า 4Q66 จะมีผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวไปบ้าง แต่คาดว่าเป็นระยะสั้น ขณะที่ระยะกลางถึงยาว ยังมองเห็นการเติบโตจากการขยายการผลิตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ที่ยังเป็น Key growth driver หลัก เนื่องจาก TPAC เป็นผู้ผลิต Rigid PET packaging (ไม่รวมขวดน้ำกับน้ำอัดลม) ส่วนแบ่งตลาดอันดับต้นๆ ในอินเดีย และแนวโน้มตลาดยังเติบโตต่อเนื่อง 10.7% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า จาก GDP growth ที่สูงประมาณ 6-7% ต่อปี ขณะที่คาดการณ์การใช้พลาสติกของอินเดียจะเพิ่มขึ้น 5.5 เท่า ภายในปี 2060 เมื่อเทียบกับปี 2019 ทั้งนี้ประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก ที่ 1,425.7 ล้านคน ณ เม.ย. 66 แซงหน้าจีนที่อยู่ 1,422.9 ล้านคน รวมถึงก็ยังอยู่ระหว่างพิจารณา M&A ใหม่ๆ โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย โดยเรายังมอง Upside จากต้นทุนพลังงานที่คิดเป็น 5-6% ของต้นทุนรวม ค่าไฟฟ้าที่ลดลงตามนโยบายภาครัฐ นอกจากนี้ยังอยู่หว่างพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้ระบบ Automation มากขึ้น ช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงได้ระดับหนึ่ง
  • เรามีการปรับลดประมาณการปี 2567 ลดลง 10% โดยการคาดเการณ์เชิงอนุรักษ์นิยม เราได้ปรับเพิ่มสมมติฐาน SG&A/sale เพิ่มขึ้นเป็น 11% จากเดิม 9.9% สะท้อนภาพการปรับเพิ่มขึ้นของ SG&A/sale ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางบัญชี ขณะที่ยังคงคาดการณ์ว่ารายได้จะยังเติบโต 7% YoY และ Gross margin อยู่ที่ระดับ 21.5% ในปี 2567 เท่ากับปี 2566
  • สำหรับคำแนะนำ ราคาหุ้น TPAC ปรับตัวสูงขึ้น 33% จากจุดต่ำสุดในช่วงเดือนกันยายน 66 และปรับตัวสูงขึ้น 7.2% YTD ซึ่ง Outperform SET ค่อนข้างมาก เราจึงแนะนำนักลงทุนระยะสั้นขายทำกำไรบางส่วน รอการย่อตัวค่อนเข้าไปสะสมเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยหลังปรับประมาณการกำไรลง TPAC ซื้อขายที่ระดับ PE 2567F เพียง 12.8X ซึ่งต่ำค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม (อาทิ PJW และ EPG ที่มี 2023 PE ประมาณ 15X และ 16X ตามลำดับ) โดยเราให้ราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 21.4 บาทต่อหุ้น อิงฐาน PER ที่ 14 เท่า หรือ -0.5 SD ของ PE mean ในรอบ 5 ปี
  • ความเสี่ยง หากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงมากขึ้นอาจจะกระทบต่อกำลังซื้อผลิตภัณฑ์ แต่เชื่อว่าผลกระทบจะจำกัด เนื่องจากบริษัทมุ่งเน้นผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่องกับอาหาร ยา และเวชภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และ Free float ที่ต่ำ ~21% จึงมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่น้อย ความเสี่ยงด้าน ESG คือ ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน มีคุณภาพ (S) เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง จึงต้องมีการควบคุมการผลิต และการขนส่งอย่างมาก
27/02/2024 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 AU มีกำไรสุทธิ 47 ลบ. แย่กว่าที่คาดเราราว 6% โดยเติบโต 30%YoY แต่หดตัว 12%QoQ สาเหตุหลักจากยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 20%YoY ต่ำกว่าคาด โดยแม้รับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่ม 10 สาขา จาก 4Q65 และ 2 สาขา จาก 3Q66 แต่ยอดขายสาขาเดิมโตเพียง 5%YoY และหดตัว 8%QoQ จากเหตุกราดยิงที่พารากอนกระทบต่อกลุ่มลูกค้านั่งทานที่ร้านในสาขาที่มีทำเลอยู่ในห้าง ส่วนศักยภาพทำกำไรแย่กว่าคาด โดยอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 64.9% ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 0% ใน 4Q65 และแย่กว่า 66.0% ใน 3Q66 หลัง เกิดผลประหยัดต่อขนาดลดลงจากยอดขายสาขาเดิมเติบโตแย่กว่าคาด ทำให้ปี 2566 AU มีกำไรสุทธิ 178 ลบ. โดยแม้จะเติบโตโดดเด่น 50.4%YoY แต่แย่กว่าที่เราคาดไว้ที่ 190 ลบ.
หลังไปได้อะไร
  • AU ตั้งเป้าปี 2567 มียอดขายรวมเติบโต 10-15%YoY แรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม และการรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ โดยปีนี้มีแผนขยายสาขาร้าน After You 10-12 สาขาในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและย่านชุมชนที่มีกำลังซื้อสูงเพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น, ขยายแฟรนไชส์ After You ในเมืองพนมเปญ กัมพูชา 1 แห่งใน 3Q67 (จากเดิมมีแค่ในฮ่องกง และยังอยู่ระหว่างศึกษาแผนเปิดแฟรนไชส์ในตะวันออกกลาง เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างการเติบโตในระยะยาว) และขยายสาขาร้าน Luggaw 5-7 แห่งซึ่งเป็นพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าที่ กทม. (สิ้นปี 2566 มี 9 แห่ง) อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อวางขายในร้านสะดวกซื้อและช่องทางค้าปลีกอื่นๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการเติบโต
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • 1Q67 คาดกำไรจะเติบโตดี YoY ปัจจัยหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่คาดเติบโตสดใส หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยมากขึ้นและได้อานิสงส์จากเป็นร้านค้าที่ร่วมรายการ Easy E-Receipt อีกทั้งยังจะรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่เปิดต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ด้วยค่าใช้จ่ายรวมปีนี้ที่มีแนวโน้มสูงกว่าคาดการณ์เดิม เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายพนักงานประจำสาขาและค่าเช่าพื้นที่ร้านขนมหวาน เพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการกำไร โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2567 AU จะมีกำไรสุทธิ 214 ลบ. ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง 20%YoY
  • ราคาหุ้น AU ปรับลง 4.4%YTD ซึ่งมองสะท้อนกำไร 4Q66 ที่ออกมาแย่กว่าตลาดคาดไปแล้ว ขณะที่โมเมนตัมกำไรของ AU ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดย 1Q-4Q67 คาดกำไรจะเติบโตดีทั้ง YoY และ QoQ กลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ "ซื้อ" โดยประเมินราคาเป้าหมายใหม่ปี 2567 ที่หุ้นละ 11 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7.2% และอัตราเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) ยังมี Upside 25% และบริษัทยังประกาศจ่ายเงินปันผลจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 21 บาท คิดเป็น Div. Yield 2.4% (XD 7 พ.ค.)
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น, ส่วนราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นคาดกระทบจำกัด หลังมีต้นทุนน้ำตาลคิดเป็นราว 1% ของต้นทุนผลิต ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม (E) และการจัดการด้านความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อลูกค้า (S)
23/02/2024 NYT ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 NYT มีกำไรสุทธิ 161 ลบ. ดีเกินคาด โดยเติบโต 75%YoY แรงหนุนจากรายได้รวมที่เพิ่มขึ้น 8%YoY เนื่องจาก 1) รายได้ให้บริการท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้น 8%YoY หลังตลาดส่งออกรถยนต์ไทยฟื้นตัวดีขึ้นและมีลูกค้ามาใช้พื้นที่ลานพักสินค้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณรถนำเข้า-ส่งออกที่เพิ่มขึ้น และ 2) รายได้จากการให้เช่าคลังสินค้าเพิ่มขึ้น 35%YoY หลังมีพื้นที่เช่าใหม่ที่บ่อวิน 3.4 หมื่นตร.ม. อีกทั้งยังพลิกรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบ.ร่วม (ท่าเรือ C0 ถือ 49%) ราว 45 ลบ. จากขาดทุน 3 ลบ. ใน 4Q65 หลังลูกค้าเริ่มกลับมาส่งสินค้าโครงสร้างขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 46.6% จาก 39.9% ใน 4Q65 หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดตามปริมาณรถยนต์ผ่านท่าที่เพิ่มขึ้น หนุนให้ทั้งปี 2566 NYT มีกำไรสุทธิ 501 ลบ. เติบโตก้าวกระโดด 99.5%YoY ดีกว่าที่เราคาดไว้ 15%
หลังไปได้อะไร
  • NYT มองปี 2567 ผลการดำเนินงานยังแข็งแกร่ง แรงหนุนหลักจากรายได้คลังสินค้าที่คาดเติบโตดีราว 15-20%YoY หลังพื้นที่เช่าเดิม 7 แสนตร.ม. มีอัตราใช้พื้นที่คลังสินค้าเกือบเต็ม 100% ขณะที่พื้นที่เช่าใหม่ที่บ่อวิน 3.4 หมื่นตร.ม. ปัจจุบันมีอัตราเช่าเพิ่มขึ้นเป็น 77% จาก 25% ใน 3Q66 และคาดจะเพิ่มขึ้นได้อีกตามการเติบโตในแถบ EEC ส่วนรายได้จากให้บริการท่าเทียบเรือคาดยังเติบโตได้เล็กน้อยในเลขหลักเดียว YoY โดยเฉพาะจากรถยนต์ EV หลังคาดไทยมีการส่งออกรถ EV เพิ่มขึ้น เนื่องจากจะมีการเริ่มผลิตปีนี้ และยังมีการนำเข้ารถ EV เข้ามาขายในประเทศ
  • ด้านธุรกิจเรือซีฮอร์สเฟอร์รี่อยู่ระหว่างพิจารณาแผนหยุดดำเนินงาน หลังประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง โดยปี 2566 NYT รับรู้ผลขาดทุนจากเรือ (ถือหุ้น 50%) ราว 64 ลบ. (1Q-2Q66 ขาดทุนไตรมาสละ 15 ลบ., 3Q66 ขาดทุน 11 ลบ. และ 4Q66 รับรู้ขาดทุน 23 ลบ.) สูงกว่าปี 2565 ที่รับรู้ผลขาดทุน 44 ลบ. โดยปี 2566 ตั้งขาดทุนจากด้อยค่าของเงินลงทุนไปแล้ว 76.5 ลบ. ในงบเดี่ยว
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • เนื่องจากรายได้จากการให้เช่าคลังสินค้ามีแนวโน้มเติบโตดี หลังปัจจุบันพื้นที่ให้บริการใหม่ที่บ่อวินมีอัตราเช่าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าคาด อีกทั้งบริษัทคุมค่าใช้จ่ายได้ดีและเกิดผลประหยัดต่อขนาดมากกว่าคาด เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไร โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2567 III จะมีกำไรปกติ 526 ลบ. เติบโต 5%YoY โดย 1H67 คาดกำไรจะยังเติบโตเด่น YoY จากรับรู้รายได้ให้เช่าคลังสินค้าใหม่ได้อย่างเต็มที่ หลังเพิ่งทยอยเริ่มเปิดให้บริการในช่วง 1Q66
  • NYT เป็นผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อส่งออกและนำเข้ารถยนต์ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จากการให้บริการท่าเทียบเรือ A5 และ C0 ทั้งนี้เรามอง NYT มีจุดเด่น 1) ผลดำเนินงานได้อานิสงส์บวกโดยตรง จากการเติบโตในตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยและตลาดนำเข้ารถยนต์ EV และ 2) เป็น Dividend Stock โดยมีฐานะการเงิน (IBD/E ต่ำที่ 0.19x) และเงินสดแข็งแกร่ง (CFO ปีละ 1 พันลบ.) สามารถจ่ายปันผลสม่ำเสมอในอัตราสูง โดยล่าสุดประกาศจ่ายเงินปันผลจากกำไร 2566 หุ้นละ 0.36 บาท คิดเป็น Yield สูงปีละ 8.1% (XD 26 เม.ย.) ขณะที่เราประเมินราคาเป้าหมายใหม่ปี 2567 ที่หุ้นละ 5.50 บาท (อิง PER -1SD ที่ 13x เช่นเดิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีของ NYT เพื่อสะท้อนกำไรที่โตลดลงจากในอดีต) กลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ "ซื้อ"
  • ความเสี่ยงสำคัญ : ปัญหาขาดแคลนชิปส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน, ศก. คู่ค้าชะลอ, ธุรกิจเรือซีฮอร์สเฟอร์รี่ยังประสบผลขาดทุนและมีความเสี่ยง write-off, สัญญาสัมปทานท่าเรือ A5 (รายได้หลัก 80%) จะหมดอายุ 30 เม.ย. 69 ซึ่งต้องประมูลใหม่กับ กทท. (คาดยังมีโอกาสชนะประมูลจากประสบการณ์บริหารจัดการท่าเรือที่มีกว่า 30 ปี) ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ การจัดการด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (S)
22/02/2024 III ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 III มีกำไรสุทธิ 393 ลบ. แต่หากไม่รวมรายการพิเศษสุทธิราว 313 ลบ. ซึ่งหลักๆ เกิดจากรับรู้ผลกำไรจากลดสัดส่วนถือหุ้นใน ANI หลังเสนอขาย IPO ไป จะมีกำไรปกติ 80 ลบ. หดตัว 53%YoY ซึ่งมีสาเหตุจากรายได้รวมที่ลดลง 6%YoY จากมีปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทำให้ไม่ได้รับรู้รายได้ของ TAC หลังขายให้แก่ ANI ปลายปีก่อน อีกทั้งค่าระวางยังลดลง ทำให้รายได้จาก Air freight (-18%YoY), Chemical (-5%YoY), Logistics (-38%YoY) ส่วน Sea freight (+11%YoY) ดีขึ้นจากฐานต่ำ นอกจากนี้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง YoY หลังทุกธุรกิจมีมาร์จิ้นลดลง ส่งผลให้ปี 2566 III มีกำไรปกติ 551 ลบ. ทรงตัว YoY แย่กว่าที่เราคาด แต่หากรวมรายการพิเศษจะมีกำไรสุทธิ 866 ลบ. เติบโต 8.9%YoY
หลังไปได้อะไร
  • ผู้บริหาร III ตั้งเป้าการเติบโตปี 2567 ไว้ที่ราว 15%YoY แรงหนุนทั้งจาก Organic และ Inorganic โดยในส่วน Organic (4 ธุรกิจหลักเดิม) คาดค่าระวางขนส่งทางเรือและทางอากาศผ่านจุดต่ำสุดแล้วและจะปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งบ. ร่วมทุน ANI เตรียมขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง อาทิ อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เป็นต้น และจะเริ่มให้บริการด้าน Freighter Service ด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ และมีเส้นทางบินของตัวเอง ส่วน Inorganic จะยังหาโอกาสขยายการลงทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งในรูปของ JV และ M&A ซึ่งในปีนี้คาดจะได้ข้อสรุป 3-4 ดีล โดยแหล่งเงินทุนจะมาจาก CFO และกู้ยืม ซึ่งบริษัทมีศักยภาพกู้ยืมสูงเพราะยังมี Interest Bearing Debt/Equity ต่ำ 0.1 เท่า
  • สำหรับธุรกิจให้บริการภาคพื้นดินในสนามบิน (AOTGA) คาดผลการดำเนินงานยังดีต่อเนื่องหลังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว และกำลังหาโอกาสร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆ ส่วนการประมูลงานให้บริการภาคพื้นดิน (สำหรับบุคคลที่ 3) ที่สนามบินสุวรรณภูมิคาดได้ข้อสรุปในปีนี้
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • แม้มองปริมาณขนส่งและค่าระวางจะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่การฟื้นตัวของค่าระวางขนส่งทั้งทางอากาศและทางทะเลที่ยังล่าช้ากว่าคาดมาก ทำให้คาดจะกดดันศักยภาพการทำกำไรของทั้งธุรกิจหลักและส่วนแบ่งกำไรในบริษัทร่วมฯ ให้ยังมีแนวโน้มอ่อนแอ ดังนั้นเพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการกำไร โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2567 III จะมีกำไรปกติ 575 ลบ. เติบโต 4.4%YoY (แต่กำไรสุทธิจะลดลง 33.6%YoY จากปี 2566 มีรายการพิเศษสุทธิ 315 ลบ.)
  • แม้ล่าสุดบริษัทจะประกาศจ่ายปันผลจากกำไร 2H66 หุ้นละ 18 บาท คิดเป็น Div. Yield 1.9% (XD 30 เม.ย.) และเราประเมินราคาเป้าหมายใหม่ปี 2567 อยู่ที่หุ้นละ 10.70 บาท (อิง PER -1SD ที่ 15x จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี) มี Upside 13% แต่มองช่วงสั้นราคาหุ้นยังขาดปัจจัยกระตุ้น เนื่องจากแนวโน้มกำไรปี 2567 ไม่ได้เติบโตเด่น และมีความเสี่ยงที่ต้องติดตามจาก ศก. โลกถดถอย กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ "Neutral" เพื่อรับปันผลและรอปัจจัยหนุนใหม่ๆ โดยคาดให้ Div. Yield ปีละ 4%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก, ความผันผวนของค่าระวาง, ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม (E) และการจัดการด้านความปลอดภัย (S)
21/02/2024 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 WICE มีกำไรสุทธิ 18 ลบ. หดตัวหนัก 81%YoY ซึ่งเกิดจาก 1) รายได้รวมลดลง 33%YoY โดยแม้มีการเติบโตของรายได้ธุรกิจ Supply Chain Solutions (+46%YoY) หลังเปิดพื้นที่คลังสินค้าเพิ่ม 3 หมื่นตร.ม. แต่ถูถหักล้างด้วยการลดลงของรายได้ธุรกิจ Sea freight (-44%YoY), ธุรกิจ Air freight (-46%YoY) และธุรกิจขนส่งบกข้ามแดน CBS (-20%YoY) หลังมีปริมาณและค่าขนส่งที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และ 2) อัตรากำไรข้นต้นลดลง YoY และ SG&A/Sales เพิ่มขึ้น YoY เนื่องจากเกิดผลประหยัดต่อขนาดลดลงตามรายได้ที่ลดลง หนุนให้ทั้งปี 2566 WICE มีกำไรสุทธิ 170 ลบ. หดตัว 69%YoY ตรงตามที่เราคาดการณ์
หลังไปได้อะไร
  • ผู้บริหาร WICE ตั้งเป้าการเติบโตปี 2567 จะไม่ต่ำกว่า 20%YoY หลังคาดค่าระวางขนส่งทางเรือและทางอากาศผ่านจุดต่ำสุดแล้วและจะปรับตัวดีขึ้น ส่วนปริมาณขนส่งสินค้าทางทะเลคาดจะฟื้นตัวดีขึ้นหลังประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีนมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึง China Relocation ตามการย้ายฐานการผลิตสู่ไทย ขณะที่ธุรกิจ Air Freight จะมีการขยายตลาดสู่เวียดนามและฟิลิปปินส์ และธุรกิจ Supply Chain Solutions มีแผนเปิดพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มอีก 2-3 หมื่นตร.ม. อีกทั้งธุรกิจ CBS เตรียมขยายเครือข่ายสู่ธุรกิจขนส่งสินค้า แบบควบคุมอุณหภูมิ อาทิ ผลไม้ไทยไปจีน และมีแผนนำ EV TRUCK มาช่วยขนส่งแทนรถยนต์สันดาปเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หลังลูกค้าหลายรายของบริษัทมีนโยบายผลักดันเรื่อง ESG ทั้งนี้ปี 2567 ตั้งงบลงทุนไว้สำหรับขยายกิจการต่างๆ ราว 200-300 ลบ.
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • ปี 2567 คงคาด WICE จะมีกำไรสุทธิ 206 ลบ. พลิกเติบโต 21%YoY จากปริมาณขนส่งและค่าระวางที่คาดปรับตัวดีขึ้นหลังผ่านจุดต่ำสุดแล้ว อีกทั้งเศรษฐกิจของลูกค้าหลักจากจีนน่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นได้ใน 2H67 แต่อย่างไรก็ดี ล่าสุดค่าระวางในเส้นทางขนส่งหลักของ WICE ยังฟื้นตัวช้ากว่าคาด โดยจากข้อมูลของ สรท. พบว่า ช่วง ม.ค.-ก.พ. 24 ค่าระวางเรือในเส้นทางไทย-จีน ลดลง YTD และค่าระวางในเส้นทางไทย-ประเทศอื่นๆ ในเอเชียยังทรงตัว YTD (ต่างจากค่าระวางเรือเส้นทางไทยไปยุโรปและสหรัฐที่ปรับขึ้นแรง YTD เพราะเกิดสถานการณ์โจมตีเรือในทะเลแดง) จึงเป็นความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรที่ยังต้องติดตาม
  • แม้บริษัทประกาศจ่ายปันผลจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.24 บาท (XD 4 มี.ค.) คิดเป็น Yield 4.1% แต่ 1Q-2Q67 คาดกำไรจะหดตัว YoY และราคาหุ้นปัจจุบันไม่มี Upside จากราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 5.40 บาท (อิง PER 17x) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงยังคงไม่แนะนำเข้าลงทุน (Underperform) จนกว่าจะเห็นกำไรมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวางขนส่ง ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม (E) และการจัดการด้านความปลอดภัย (S)
20/02/2024 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปี 2567 อย่างไร หลัง 4Q66 TNP มีกำไรสุทธิ 48 ลบ. ดีเกินคาด โดยเติบโต 7%QoQ ตามผลฤดูกาล และเติบโต 13.9%YoY ซึ่งเป็นผลจาก 1) ยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 8.1%YoY จากยอดขายสาขาเดิมที่เพิ่มขึ้น 0.8%YoY และรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4 แห่ง (ไตรมาสนี้มีเปิดสาขาเพิ่ม 2 แห่ง และปิด 1สาขาจากหมดสัญญาเช่า) ทำให้สิ้นปี 66 มีสาขารวม 45 แห่ง และ 2) SG&A/Sales ลดลงเป็น 9.4% จาก 4Q65 ที่ 9.9% หลังคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้นและเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้น หนุนให้ทั้งปี 2566 มีกำไรสุทธิ 156 ลบ. พลิกเติบโต 4.4%YoY
หลังไปได้อะไร
  • ผู้บริหาร TNP ตั้งเป้าปี 2567 มียอดขายรวมเติบโต 10%YoY แรงหนุนจาก 1) การเพิ่มขึ้นของยอดขายสาขาเดิม หลังตลาดนักท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้น และบริษัทมีแผนหาสินค้าใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูงมาจำหน่ายในร้านค้าเพิ่ม และ 2) การรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ โดยตั้งเป้าขยายสาขาใหม่อีก 4-5 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (เชียงราย เชียงใหม่และพะเยา) ซึ่งการขยายสาขาจะทำอย่างระมัดระวังมากที่สุด โดยจะคำนึงถึงเศรษฐกิจในประเทศและอยู่ระหว่างติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยตั้งงบลงทุนไว้ 150-200 ลบ. สำหรับขยายสาขา
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • ปี 2567 คาดยอดขายสาขาเดิมจะเติบโตราว 2-3%YoY (ดีขึ้นจากปี 2566 ที่ -1%YoY) จากกำลังซื้อที่ดีขึ้น ตลาดท่องเที่ยวฟื้นตัว และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรการ Easy e-Receipt ซึ่งเมื่อบวกกับการรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่เปิดเพิ่มต่อเนื่อง จึงคาดจะช่วยหนุนให้ยอดขายรวมเติบโตได้ราว 5-10%YoY ขณะที่การมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นคาดจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าสูงขึ้นและเกิดผลประหยัดต่อขนาด ผลักดันให้ศักยภาพทำกำไรปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้เราคงคาดปี 2567 TNP จะมีกำไรสุทธิ 159 ลบ. เติบโต 2%YoY (ยังไม่รวม Upside จากมาตรการแจกเงินดิจิทัล)
  • 1Q67 คาดกำไรจะเติบโตสดใส YoY หลังตลาดนักท่องเที่ยวฟื้นตัวและมีมาตรการ Easy e-Receipt กระตุ้นการใช้จ่ายช่วง 1 ม.ค.-15 ก.พ. อีกทั้งมอง TNP จัดเป็นหุ้นที่ได้อานิสงส์บวกโดยตรงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่จะทยอยออกมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นและ Upside Risk ต่อประมาณการในระยะถัดไป เมื่อบวกกับ บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยสิ้นปี 2566 แทบไม่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเลย (Net Cash ราว 22 ลบ.) อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside น่าสนใจจากราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 20 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 21x) และล่าสุดบริษัทยังประกาศจ่ายเงินปันผลจากกำไร 2H66 หุ้นละ 0.045 บาท (XD 7 มี.ค.) คิดเป็น Div. Yield 1.4% ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ "ซื้อลงทุน" โดยเทคนิคมีแนวรับ 3.10-3.00 บาท และแนวต้าน 3.24-3.34 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยและการรักษาข้อมูลการรักษาของลูกค้าที่มาใช้บริการ รวมทั้งการมีผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นของบริษัทเกิน 50%
19/02/2024 DELTA ก่อนไปคิดอะไร
  • DELTA ประกาศกำไรสุทธิ 4Q23 ที่ 4.7 พันล้านบาท in line กับตลาด แต่สูงกว่าเราคาด จาก one-time compensation gain จำนวน 546 ล้านบาท ที่นอกเหนือจากคาด ซึ่งมาจากการเจรจากับลูกค้าที่ช่วยอุดหนุนชดเชยผลกระทบจากในอดีตที่มีการล่าช้าในการรับมอบงาน ทั้งในส่วน Data Center และ EV บางราย อย่างไรก็ตามในไตรมาสนี้ก็มีการบันทึกค่าใช้จ่าย Technical service ย้อนหลังให้กับบริษัทแม่ในไต้หวันด้วยจำนวน 1,376 ล้านบาท และการกลับรายการของผลประโยชน์พนักกงาน อาทิ โบนัส ทำให้ค่าใช้จ่าย Administration ลดลงไปประมาณ 800 ล้านบาท ทั้งนี้ Core profit ออกมาอยู่ที่ 4.77 พันล้านบาท ลดลง 5.4% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 6.1% YoY หลักๆ ที่กำไรปกติลดลง QoQ มาจากรายได้ที่ลดลง 6.7% QoQ หลังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงในกลุ่มลูกค้า EV รวมถึงสถานการณ์การขนส่งไปผ่านทะเลแดงก็มีปัญหา ทำให้มีการขนส่งที่ล่าช้าด้วยเช่นกัน ทำให้สัดส่วนรายได้จาก EV on board charging ที่ส่งไปทวีปยุโรปกับสหรัฐฯ นั้นมีสัดส่วนที่ลดลงเหลือ 29.1% ใน 4Q66 จาก 32.9% ใน 3Q66 อย่างไรก็ตาม Gross margin เห็นสัญญาณการฟื้นตัวเป็น 24.5% ใน 4Q23 จาก 22.6% ใน 3Q23 เนื่องจาก Product mix ที่สัดส่วนสินค้า EV ที่มี margin น้อยกว่าลดลง ขณะที่ margin ของ Data Center-related และ AI power system ที่สูงขึ้นมาช่วยชดเชยได้ระดับหนึ่ง
หลังไปได้อะไร
  • ผู้บริหาร DELTA ตั้งเป้ายอดขายในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ทั้งปี 2567 จะเติบโต 10-20% YoY โดยเฉพาะ EV (สัดส่วน 29% ของยอดขายรวม) ยังคงคาดว่าจะเติบโต 30-50% YoY ขณะที่ Data Center คาดว่าจะเติบโตประมาณ 10% YoY นอกจากนี้ Product AI Power system ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งอาจจะยังไม่ได้มีสัดส่วนเยอะ แต่คาดว่าจะเป็น key growth driver ได้ในอนาคต ขณะที่ธุรกิจในประเทศอินเดีย (อุปกรณ์ Telecommunication 5G และ Power supply สำหรับ Data Center) ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ Gross margin ในปี 2024 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้เป็น 23-24% จาก 22.9% ใน 2023 (ยังอยู่ในคาดที่ 23%) โดยมาจาก EV ที่คาดว่าจะมี Gross margin ทยอยปรับขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาจจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับ technical service ให้กับบริษัทแม่ DELTA Taiwan เพิ่มขึ้นบ้าง ประมาณ 1% ของยอดขายรวม แต่ก็พยายามลดค่าใช้จ่ายอื่นๆมาชดเชย
  • 1Q24 outlook คาดว่าจะ flat QoQ เนื่องจาก EV ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความต้องการที่ชะลอตัวลง รวมถึงยังมีผลกระทบบ้างต่อสถานการณ์ใน Red Sea ที่ทำให้อาจจะมีความล่าช้าในการขนส่งบ้าง แต่เป็นแค่ระยะสั้น โดยสถานการณ์อาจจะต่อเนื่องมา 2Q24 บ้าง แต่คาดว่าการเติบโตของ EV จะมาในช่วง 2H24 จาก Commitment ของลูกค้าที่ให้ DELTA เตรียมกำลังการผลิตไว้รองรับ
  • เรามีการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ลงเล็กน้อย 5.4% มาอยู่ที่ 19.8 พันล้านบาท และลดลง 5.5% มาอยู่ที่ 21.0 พันล้านบาท ในปี 2568 โดยปรับ SG&A/Sale ที่เพิ่มขึ้น 1% เป็น 11.6% สะท้อนค่าใช้จ่าย Technical service ให้กับบริษัทแม่ไต้หวันเพิ่มขึ้น
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • เรายังคงแนะนำ Neutral ด้วย Target price ใหม่ที่ 79.5 บาท (จากเดิม 84.0 บาท) อิง PER ที่ 52 เท่าซึ่งเท่ากับ +0.5 SD ของ PE mean ในรอบ 5 ปี แม้ระยะสั้นอาจจะมีการชะลอการเติบโตไปบ้าง แต่ยังคาดว่าครึ่งปีหลังจากกลับมาเติบโตได้อีกครับ รายังคาดว่ากำไรปกติปีนี้จะเติบโต 7% YoY
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรง การแข่งขันที่มากขึ้น และความผันผวนของค่าเงินบาท
02/02/2024 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • เราคาดกำไรสุทธิของ 4Q66 จะสามารถเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ และทำ New High ได้ที่ 181 ล้านบาทโดยได้ปัจจัยหนุนจากระดับ Gross Margin ที่ดีขึ้นจากต้นทุนการผลิตในประเทศเวียดนามที่ต่ำกว่า ขณะที่ยอดขายรวมคาดว่าจะเติบโตจำกัดจากยอดขายในประเทศที่ฟื้นตัวช้า
หลังไปได้อะไร
  • ยอดขายจากประเทศเวียดนามใน 4Q66 คาดจะฟื้นตัวได้ทั้ง YoY และ QoQ คาดที่ประมาณ +/-280 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายจากประเทศเวียดนามในปี 2566 จะทำได้ประมาณ 780 ล้านบาทอ่อนตัวกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 800 ล้านบาทเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคาดว่าทิศทางของ Gross Margin ใน 4Q66 จะเพิ่มขึ้นเด่นจากต้นทุนที่ประหยัดได้จากเวียดนามและส่วนผสมของสินค้าในกลุ่ม Snack ที่มีสัดส่วนรายได้สูงกว่าและมี Gross margin ที่ดีกว่าเครื่องดื่ม
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • เรามีการปรับลดประมาณการรายได้ของปี 2566 ลงเล็กน้อย 8% เท่ากับ 5,976 ล้านบาท (+8%) เพื่อสะท้อนยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อ่อนกว่าเป้าเล็กน้อยและปรับเพิ่ม Gross margin เล็กน้อยเท่ากับ 28.5% จากเดิมที่ 28.3% ดังนั้นประมาณการกำไรสุทธิของปี 2566 คาดที่ 651 ล้านบาทไม่เปลี่ยนแปลงเติบโต 26% ทำ New High โดยใน 4Q66 คาดกำไรสุทธิที่ 181 ล้านบาท (+18.5% YoY และ +12.8% QoQ)
  • ทิศทางของปี 2567 SNNP จะเปิดเผยแผนการเติบโตในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ นี้ซึ่งในเบื้องต้นบริษัทตั้งเป้าการเติบโตของยอดขาย 2 หลักและมองการเติบโตของเวียดนามที่ไม่ต่ำกว่า 20-25% หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท ดังนั้นเราคงประมาณการรายได้ของปี 2567 ที่ 6,771 ล้านบาท (+13%) และกำไรสุทธิทำ New High ที่ 737 ล้านบาท (+13%)
  • ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์นี้ จะออกสินค้าใหม่ในกลุ่มเสริมอาหาร หลังจากที่มีการพัฒนามาระยะหนึ่ง ซึ่งบริษัทมีเป้าที่จะ target กลุ่ม Mass และวางขายผ่านร้านสะดวกซื้อและมี SKU ใหม่ใน line นี้ต่อเนื่องทุกไตรมาสในปี 2567 ซึ่งเรายังไม่ได้รวมอยู่ในประมาณการของเรา
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุนและความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบหลัก การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงินและเศรษฐกิจในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงการปรับขึ้นของค่าแรง
  • ความเสี่ยงด้าน ESG แม้ในรอบปี 2566 SNNP ไม่ได้ถูกจัดอยู่ใน SET ESG Ratings แต่บริษัทมีเป้าในการจัดทำแบบประเมินการเป็นหุ้นยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ ESG Ratings ในปีต่อๆ ไป ซึ่งทางบริษัทมีแผนเพิ่มในส่วนของสังคม (Social) และ Governance และมีความแข็งแกร่งในส่วนของสิ่งแวดล้อม (Environmental)
  • เรามองการเติบโตของปี 2567 ต้องได้ปัจจัยหนุนจากการผลิตในประเทศเวียดนาม ขณะที่ในประเทศเติบโตจำกัดหากขาดสินค้าใหม่ที่ได้รับการตอบรับดี ดังนั้นแนะนำทยอยสะสม ด้วยสมติฐาน PER ที่ 4 เท่า (-0.5SD) ราคาเป้าหมายปี 2567 เท่ากับ 24.80 บาท/หุ้น
09/01/2024 SECURE ก่อนไปคิดอะไร
  • สอบถามถึงแนวโน้มผลประกอบการ 4Q66 และแนวโน้มการเติบโตของรายได้ในและปัจจัยขับเคลื่อนในปี 2567

หลังไปได้อะไร

  • เราคาด SECURE จะรายงานกำไรจากการดำเนินงานปกติ 4Q66 ที่ 6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 157.8% QoQ และ 16.9% YoY โดยภาพรวมแนวโน้มเป็นไปตามที่เราคาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า 4Q66 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี เนื่องจากเป็นไตรมาสที่ลูกค้าภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นประมาณ 80% ของรายได้รวมเร่งการปิดงบประมาณประจำปีทำให้มีการเร่งส่งมอบงานเกิดขึ้น โดยถ้าเป็นไปตามคาดกำไรปี 2566 ของบริษัทจะอยู่ที่ 89 ล้านบาท เติบโต 61.6% YoY ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ โดยงบจะประกาศในวันที่ 29 ก.พ.
  • ในส่วนของรายได้ 4Q66 เราคาดว่าจะอยู่ที่ 310 ล้านบาท เติบโต 2% QoQ และ 33.7% YoY ซึ่งเป็นผลจากการเร่งปิดงานของลูกค้าในช่วงปลายปี อัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 19% จาก 16.3% ใน 3Q66 เนื่องจากช่วง 4Q66 เงินบาทแข็งค่าค่อนข้างเร็วจาก 36.5 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ในช่วงต้นไตรมาสเป็น 34.4 บาท ทำให้เราคาดว่า SECURE จะได้ประโยชน์ทางด้านต้นทุนเล็กน้อยจากประเด็นนี้ SG&A คาดว่าจะปรับตัวขึ้น 6.8% QoQ และ 1.5% YoY อยู่ที่ 25.5 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้ทางบริษัทมีการจัดงาน Solution day หรืองาน Showcase ด้าน Cybersecurity ที่ปีนี้ถือว่าบริษัทจัดงานค่อนข้างใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา
  • ในปี 2567 ทาง SECURE ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ที่ 20% ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นจากที่เราคาดการเติบโตของรายได้ปี 2566 ที่ 6% โดยทางผู้บริหารให้เหตุผลว่าปี 2567 จะมีการเจาะตลาดกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่คือกลุ่มสาธารณูปโภค เนื่องจากเป็นตลาดใหม่และมีความต้องการที่สูง โดยในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะใกล้เคียงปี 2566 โดยประมาณการของเราใกล้เคียงกับที่ผู้บริหารตั้งเป้าไว้ยกเว้นการเติบโตของรายได้ที่เราทำไว้ที่ 10% เนื่องจากเราขอรอดูผลตอบรับของกลุ่มลูกค้าใหม่ที่บริษัทเตรียมที่จะเจาะตลาดเพิ่มก่อน ทำให้ภาพรวมเราคาดกำไรสุทธิปี 2567 อยู่ที่ 108 ล้านบาทเติบโต 17.2% YoY

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 18 บาทต่อหุ้น อิง PE ที่ 17x ปี 2567 เรามองว่า SECURE เป็นหุ้นที่ยังเติบโตบนความต้องการด้าน Cybersecurity ประกอบกับราคาหุ้นยังไม่สะท้อนภาพการฟื้นตัวของกำไรที่ดีขึ้น ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ Valuation ที่น่าสนใจที่ 5x PE ปี 2567 เทียบกับการเติบโตของกำไรปี 2567 ที่ 17% และปี 2568 ที่ 18%
  • ความเสี่ยงคือสถานการณ์ Chip shortage และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะทำให้ลูกค้าชะลอการลงทุนออกไป
03/01/2024 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 4Q66 และเป้าหมายการเติบโตของปี 2567 จะเป็นอย่างไร หลังผ่านพ้นปี 2566 และกำลังเริ่มก้าวเข้าสู่ปี 2567 แล้ว
หลังไปได้อะไร
  • ผู้บริหาร TNP คาด 4Q66 ยอดขายรวมเติบโต YoY แรงหนุนจากรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น 4 แห่งจาก 4Q65 โดย 4Q66 เปิดเพิ่มอีก 2 แห่งในจังหวัดเชียงราย คือ อ. เมือง ขนาด 1,000 ตร.ม. ใกล้แหล่งท่องเที่ยว 1 แห่ง และ อ. เวียงป่าเป้า ขนาด 300 ตร.ม. ซึ่งทำให้สิ้นปี 66 มีสาขารวม 46 แห่ง เพิ่มจากปีก่อนที่มี 42 แห่ง ขณะที่ยอดขายสาขาเดิมมีแนวโน้มทรงตัว YoY เนื่องจากเดือน ต.ค. ยอดขายสาขาเดิมยังติดลบ เพราะมีฐานสูงปี 65 จากมาตรการคนละครึ่งเฟส 5 แต่คาดถูกชดเชยได้ด้วยยอดขายสาขาเดิม พ.ย.-ธ.ค. ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังเข้าสู่ฐานปกติ อีกทั้งการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวปลายปีกลับมาดีขึ้น
  • สำหรับปี 2567 TNP ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 10-15%YoY จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายสาขาเดิม หลังมีแผนหาสินค้าใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูงมาจำหน่ายในร้านค้าเพิ่ม และตั้งเป้าขยายสาขาใหม่อีก 6 แห่ง (ปัจจุบันมีทิ่ดินแน่นอนแล้ว 2 แห่ง และที่เหลือกำลังหาทำเลที่เหมาะสม) ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ แจกเงินดิจิทัล คาดจะเห็นเป็นรูปธรรมใน 2H67 โดยมองจะส่งผลดีต่อบริษัทโดยตรง ทั้งนี้ TNP มีสาขากระจายครอบคลุมภาคเหนือตอนบน ซึ่งคาดลูกค้าจะสะดวกและสามารถเข้ามาใช้เงินดิจิทัลได้ในทุกสาขา
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน
  • 4Q66 TNP จะเป็นไตรมาสที่ดีสุดของปี 2566 โดยคาดมีกำไรสุทธิ 41 ลบ. โต 22.5%QoQ ตามผลฤดูกาล แต่จะทรงตัว YoY เนื่องจากคาดการรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4 แห่ง จะถูกหักล้างบางส่วนด้วยยอดขายสาขาเดิมที่ทรงตัว YoY หลังมีฐานสูงปีก่อน (ต.ค. 65 ยังได้อานิสงส์บวกจากคนละครึ่งเฟส 5) จึงคาดยอดขายรวมเพิ่มขึ้นเพียง 6.6%YoY อีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้นคาดลดลงเป็น 16.6% จาก 17.3% ใน 4Q65 เพราะบริษัทยังไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาขายสินค้าได้หมด อย่างไรก็ดีทั้งปี 2566 คาด TNP จะมีกำไรสุทธิ 149 ลบ. ทรงตัว YoY ตามประมาณการเดิม และจะพลิกเติบโต 6%YoY ในปี 2567 จากกำลังซื้อที่ดีขึ้นและการรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่มีแผนเปิดต่อเนื่องอีก 6 แห่ง
  • เรามองปี 2567 ผลการดำเนินงานของ TNP มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และยังเป็นหุ้นที่ได้อานิสงส์บวกโดยตรงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่จะทยอยออกมา (ในประมาณการของเรายังไม่รวม Upside จากมาตรการแจกเงินดิจิทัล) เมื่อบวกกับ การมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยสิ้น 3Q66 ไม่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายและมีฐานะเงินสดสุทธิราว 69 ลบ. อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside น่าสนใจจากราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 20 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 21x) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ "หาจังหวะซื้อลงทุน" ทั้งนี้เชิงเทคนิคมีแนวรับ 2.94-2.86 บาท และ แนวต้าน 3.08-3.14 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยและการรักษาข้อมูลการรักษาของลูกค้าที่มาใช้บริการ รวมทั้งการมีผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นของบริษัทเกิน 50%