31/05/2023
|
JD.COM (9618.HK)
|
งบ 1Q23
เห็นภาพการฟื้นตัว...แต่ในระยะสั้นเรากังวลต่อภาพการแข่งขันใน
อุต
ฯจะกดดันการฟื้นตัวช่วงที่เหลือของปี
23
-
JD.com
เผยผลประกอบการใน 1
Q23
ดีกว่าคาดโดยรายได้เพิ่มขึ้น 1.4%
YoY
ขณะที่พลิกกลับมากำไรที่
RMB6.3bn
หลังขาดทุนในปีก่อน ส่วน
EBIT margin
ดีกว่าคาดเช่นกันอยู่ที่ 4.6% นอกจากนี้บริษัท
คาดหวังอัตรากำไรรวมที่เพิ่มขึ้นใน
FY23
และมองการฟื้นตัวต่อเนื่องใน
2Q23
มุมมองของ InnovestX
-
ภาพงบ
1Q23
ที่ออกมามีแรงหนุนหลักจาก
1)
รายได้บริการที่เพิ่มขึ้น
34.5%YoY
และกำไรจากการขายปลีกที่เพิ่มขึ้น
2
)
การขาดทุนที่ลดลงในส่วนโลจิสติก
ส์
,
แพลตฟอร์ม
Dada Nexus
ที่จัดส่งของแบบ
Ondemand
และธุรกิจใหม่ ขณะที่เรามองว่าโปรแกรมเงินอุดหนุน
RMB
1
bn
ใน
E-commerce
เริ่มเห็นผลสะท้อนจากจำนวนผู้ใช้งานที่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำมีการเพิ่มขึ้นดี 20%
YoY
ประกอบกับจำนวนผู้ค้าที่ทำธุรกรรม
POP
เพิ่มขึ้น 20% หลังมีราคาขายที่ถูกลงกว่าคู่แข่ง
-
แม้ว่าผลประกอบการ
1Q23
จ
ะออกมาดีและมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ดี
เรายังคงกังวลต่อภาพการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี
FY23
หลังมองมีแรงกดดันจาก
1)
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าคาด
2)
การแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงขึ้นทั้งในธุรกิจ
E-commerce
ที่
JD.com
มีการใช้เงินกระตุ้นไปในเดือน มี.ค. ประกอบกับล่าสุดในกลุ่มธุรกิจคลาว
ด์
ที่
JD.com
ประกาศปรับลดราคา
Cloud computing
ลง 5-10% ซึ่งมีราคาต่ำกว่าคู่แข่งบางรายราว 200-250 หยวน ทำให้ภาพการแข่งขันในสองธุรกิจรุนแรงขึ้นกดดันต่อการขยายตัวของมาร
์จิ้นแ
ละยังมองไม่เห็นการกลับมาทำกำไรได้ในระยะสั้น ดังนั้นถึงแม้เราจะคาดหวังการฟื้นตัวในช่วง
2H23
แต่ในระยะสั้นด้วยภาพแรงกดดันจากการแข่งขันใน
อุตฯแ
ละเศรษฐกิจ ทำให้เรามองการฟื้นตัวธุรกิจจะยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ
-
ในระยะยาวเรามองว่า
JD.com
ยังคงน่าสนใจหลัง 1) ธุรกิจหลักของบริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดจีน เช่น
E-commerce
ขนส่ง 2) ระบบนิเวศน์ของบริษัทครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดยคลังสินค้าและเครือข่ายการจัดส่งมีความ
Competitive
สุดเมื่อเทียบกับ
Peers
3) การขยายตัวของกำไรในระยะยาวค่อนข้าง
Sustain
หนุนจาก ธุรกิจที่มีลักษณะเป็น
First-party
ทำให้มีความได้เปรียบทางต้นทุนที่ต่ำ
ประกอบกับการผสมผสานที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจแพลตฟอร์ม
Third Party
ที่มีอัตรา
การทำ
กำไรสูง
4)
ธุรกิจ
1P
และ
3P
มีขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับประโยชน์จากภาพ
Economic of scale
และมีอำนาจการต่อรองกับ
ซัพพ
ลายเออร์มาก
-
ขณะที่ถึงแม้มูลค่าหุ้นในปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
อยู่ที่ระดับ
11.5
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย
5
ปีที่ระดับ
48.9
แต่ในระยะสั้น เรามองว่าราคาหุ้นยังคงมีความผันผวนหลังมีแรงกดดันจากการแข่งขันใน
อุต
ฯที่รุนแรงขึ้น รวมไปถึงทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าที่คาด ซึ่งทำให้เรามองว่าอาจรอ
เห็นภาพการฟื้นตัวของกำไรที่ชัดเจน
ก่อนแล้วจึงกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
231.1 HKD
ซึ่งมี
Upside 82.2%
จากราคาปัจจุบัน
|
24/05/2023
|
PALO ALTO NETWORKS (PANW.US)
|
ภาพรวมงบ F1Q23
ดีกว่าคาดและโตแกร่ง พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์ทั้งปี
FY23
ขึ้น
-
PANW
เผยงบ
F3Q23
ดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร เพิ่มขึ้น
24%YoY
และ
83%YoY
ตามลำดับ ด้าน
Total Billings
เพิ่มขึ้น
26%YoY
ทั้งนี้บริษัทปรับเพิ่มคาดการณ์
FY23
ขึ้น โดยมองรายได้โต
25%YoY-26%YoY
ด้านกำไรมองโต
69%YoY-70&YoY
นอกนี้ให้คาดการณ์ใน
F4Q23
โดยมองรายได้โต
17%YoY-19%YoY
ด้านกำไรต่อหุ้นมองโต
58%YoY-63%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
เรามีมองบวกต่องบ
F3Q23
ที่ออกมาเติบโตแกร่งในทุกด้าน ประกอบกับการให้คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนว่าบริษัทมั่นใจได้ว่าอุปสงค์ในระยะถัดไปแกร่ง ขณะที่งบมีแรงหนุนจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและ
Digital footprint
ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจและรัฐบาลซึ่งช่วยกระตุ้นความต้องการซอฟต์แวร์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และช่วยเยียวยาผลกระทบจากงบประมาณด้านเทคโนโลยีที่หดตัวลงหลังได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูง
-
ขณะที่เรามองว่างบ
FY23
ยังคงมีแรงกดดันจาก
1)
แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงกลางปี
23
ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของกลุ่มลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัท (มีสัดส่วนรายได้ในสหรัฐฯคิดเป็น
70%
ของรายได้รวม)
2)
ลูกค้าหลักที่ใช้บริการ
Cybersecutrity
ส่วนหนึ่งมาจาก
อุตฯค
ลาว
ด์
ที่มีแรงกดดันจากการเติบโตที่ชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการใช้บริการของบริษัทได้ อย่างไรก็ดี เรามองยังคงมีแรงหนุนที่จะช่วยชดเชยได้จาก
1)
มองการเปลี่ยนผ่านของรายได้ไปสู่กลุ่มที่มีแหล่งรายได้สม่ำเสมออย่าง
Subscription
และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องสวนทางแนวโน้มการขายซอฟต์แวร์ที่ยังคงลดลงต่อเนื่องและเป็นแหล่งรายได้ที่มีความผันผวน ทำให้ภาพการเติบโตค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวก 2) การเติบโตที่สม่ำเสมอของ
Recurring Revenue
สะท้อนได้ถึงความจงรักภักดีของกลุ่มลูกค้า
PANW
ที่มีมาก
-
ในระยะยาวเรามองว่า
PANW
น่าสนใจหลัง
1)
เป็นผู้นำในกลุ่มย่อยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์หลายส่วน ซึ่งรวมถึงการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย การรักษาความปลอดภัยบนคลาว
ด์
และการดำเนินการด้านความปลอดภัย
2)
อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์หลักอย่าง
Cybersecurity
ยังคงเติบโตเนื่องจากทิศทางอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการโจรกรรมทางข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทำให้หลายบริษัทต้องการเพิ่มความปลอดภัยทางดิจิตัล
3)
มีการวิจัยต่อเนื่องทำให้
เทคฯข
องบริษัทมีความล้ำสมัย ซับซ้อนและเป็นเอกลักษณ์ซึ่งยากที่
Peer
จะเลียนแบบ
4)
กลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดีสะท้อนจากการเติบโตที่สม่ำเสมอของ
Recurring Revenue
โดยเฉลี่ย
2
ปีที่ผ่านมาเติบโตได้ในระดับราว
70%
ทุกไตรมาส
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่ามูลค่าหุ้นปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
24.8x
น้อยกว่า
PE
เฉลี่ย 5 ปีที่
47.1x
ทำให้เราแนะมองจังหวะซื้อในช่วง
2Q23-3Q23
ที่ราคาอาจย่อตัวลงมาจากแรงกดดันแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐ
ฯแ
ละหวังการฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงครึ่งปีหลัง
23
โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ราว $
180
หรือต่ำกว่านั้น
ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้
Risk Reward
ที่คุ้มค่า ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 224.9
USD
ซึ่งมี
Upside 17%
จากราคาปัจจุบัน
|
17/05/2023
|
Baidu (9888.Hk)
|
งบเริ่มฟื้นตัวหนุนจากกลุ่มคลาวด์แ
ละโฆษณา
/
ด้าน
Ernie Bot
เตรียมพัฒนาร่วมกับ
Search Engine
-
Baidu
เผยงบ
1Q23
ดีกว่าคาด โดยรายได้โต
10%YoY
สู่
RMB31bn
นอกจากนั้นยังพลิกกลับมากำไรที่
15.9
หยวนต่อหุ้นหลังจากขาดทุนในช่วงปีก่อน ด้านรายได้จาก
Baidu Core
ซึ่งรวมธุรกิจโฆษณาบน
Search Engine,
คลาวด์
และรถยนต์อัตโนมัติเพิ่มขึ้น
8%YoY
และธุรกิจ
Streaming
เพิ่มขึ้น
15%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองบวกต่องบ
1Q23
ของ
Baidu
ที่ออกมาอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวที่แกร่ง
โดย
1)
รายได้ธุรกิจคลาว
ด์แ
ละโฆษณาฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากลูกค้าธุรกิจเริ่มกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นหลังจีนเปิดประเทศ ซึ่งสวนทางกับ
GOOGL
ที่มีลักษณะธุรกิจคล้ายกัน (โดยเฉพาะรายได้โฆษณาที่หดตัวใน
1Q23
)
2)
ด้านบริการรถยนต์อัตโนมัติ
Apollo Go
มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแกร่ง
236%YoY 3)
บริการสตรีมมิ่ง
iQIYI
มีแรงหนุนจากฐานสมาชิกที่เพิ่มขึ้น 28%
YoY
-
นอกจากนี้บริษัทยังเผยแผนนำ
Generative AI
“Ernie Bot”
เข้ากับ
Search Engine
เหมือนกับที่
Google
และ
Bing
ทำ อย่างไรก็ดีไม่ได้ระบุระยะเวลาการเปิดตัวที่ชัดเจน โดยถึงแม้มีการเปิดตัวฟีเจอร์บางส่วนในช่วงกลางเดือนมี.ค. แล้วแต่บริษัทเผยเตรียมเปิดตัวเป็นทางการหลังได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลจีน
-
ในช่วงที่เหลือของปี
FY23
ถึงแม้เรามอง
Baidu
จะมีแรงกดดันจากแนวโน้มการฟื้นตัวของจีนที่อาจช้ากว่าคาด ประกอบกับการลงทุนใน
Ernie Bot
ที่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของมาร
์จิ้น
แต่อย่างไรก็ดี เรายังคงคาดหวังต่อการฟื้นตัวของ
Baidu
และเชื่อว่ายังคงมีแรงหนุนจากกลุ่ม
Baidu core
ที่ช่วยเยียวยาได้
โดย
1)
รายได้
Ads
ที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจจีนนับตั้งแต่
2Q23
เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นและสามารถเยียวยาแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ โดย
Morningstar
คาดในช่วง
2Q23
อัตรากำไรขั้นต้นจะขยายตัว
21%YoY
หนุนจากกลุ่มค่าใช้จ่ายโฆษณาในส่วนการดูแลสุขภาพ อีคอมเมิร์ซ และการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
2)
ธุรกิจคลาว
ด์
ที่คาดว่าจะเร่งความเร็วในการฟื้นตัวขึ้นในช่วง
2H23
ตามทิศทาง
อุต
ฯโดยรวม
3)
เราคาดว่าบริการ
Apollo Go
จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นหนุนจากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นหลังบริษัทได้รับใบอนุญาตจากทางการปักกิ่งในการให้บริการเรียกรถโดยไม่มีคนขับเมื่อมี.ค.
23
ที่ผ่านมา ด้วยภาพเช่นนี้ทำให้เราคาดว่า
Baidu
จะยังคงฟื้นตัวแต่ทิศทางจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมองภาพการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
23
จะดีกว่าครึ่งปีแรก
-
เรามองว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
อยู่ที่ระดับ
13.8
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย
5
ปีที่ระดับ
25.7
ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง
จากแรงกดดันในช่วง
1H23
และหวังการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
176.5 HKD
ซึ่งมี
Upside 41.5%
จากราคาปัจจุบัน
|
10/05/2023
|
Airbnb (ABNB.US)
|
ภาพรวมงบ
1Q23 แกร่ง แต่ราคาหุ้นตอบสนองในเชิงลบต่อคาดการณ์ 2Q23
ที่ต่ำกว่าคาด
-
Airbnb
เผยงบ
1Q23
ดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร โดยโต
20%YoY
และ
6%YoY
ตามลำดับหนุนจากความต้องการเดินทางที่ยังคง
resilient
ทำให้ยอดจองรวมเพิ่มขึ้น
19%YoY
ขณะที่ใน
2Q23
บริษัทคาดว่ารายได้เพิ่มขึ้น 12%
YoY-16%YoY
อยู่ที่
$
2.35
bn
- $
2.45
bn
เป็น 16% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมองยอดจองรวมโตชะลอตัวลง
มุมมองของ
InnovestX
-
งบออกมาดูดีในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มและอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้งบ
1Q23
จะออกมาโตแกร่ง แต่ดูเหมือนราคาหุ้นจะไม่ตอบสนองต่อประเด็นนี้หลังบริษัทให้คาดการณ์
2Q23
ต่ำกว่าคาดและเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความต้องการการเดินทางของผู้บริโภครวมถึงส่งผลให้ต้นทุนบริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ทั้งนี้คาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่บริษัทอื่นๆ อย่างเช่นโรงแรม
Marriott
กังวลเช่นกัน
-
ในช่วง
FY23
แม้เราจะเชื่อว่า
Airbnb
ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องหนุนจากการเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบของจีนและการเดินทางระหว่างประเทศทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่ายังคงมีแรงกดดันจาก
1)
สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ส่งผลต่อความต้องการเดินทางของผู้บริโภคและต้นทุนบริษัท
2)
การแข่งขันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากผู้ให้เช่าที่มีราคาถูกกว่าและจากแพลตฟอร์ม
OTA
อย่าง
Trip.com
หรือ
Booking
ที่มีการจัดโปรโมชั่นต่อเนื่อง
3)
ฐานการเติบโตในปีก่อนที่สูงและยอดการจองที่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโควิด
-19
กดดันการเติบโตในปีนี้
4)
เครื่องมือการกำหนดราคาสำหรับโฮสต์ใหม่มีผลทำให้ผู้เช่าอาจตั้งราคาเช่าแพงขึ้น ซึ่งดึงดูดผู้บริโภคน้อยลง ทำให้เราคาดว่าการเติบโตใน
FY23
จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคาดการณ์
Bloomberg
ที่มองการเติบโตของยอดจองที่พักใน
FY23
โตชะลอตัวลงอยู่ที่
14.3%YoY (FY22
โต
34.8%YoY)
-
ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ
Airbnb
หลัง 1) เป็น
Online Travel Agent
(
OTA
) แบบทางเลือกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เป็นได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้นำตลาดและมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี 2) ลักษณะธุรกิจมีความโดดเด่นและได้เปรียบจากรูปแบบที่แตกต่างจาก
OTA
อื่น อย่าง
Trip.com
หรือ
Booking
โดย
Airbnb
มีเครือข่ายที่พักอาศัยที่ไม่ได้มีแบรนด์โรงแรม หรือรีสอร์ทอื่นมาเกี่ยว ทำให้ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายทั้งท่องเที่ยวในระยะสั้นหรือกลุ่มที่เช่าที่พักในช่วงระยะเวลาหลายเดือน 3) เครือข่ายผู้ให้เช่าแข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ โดยในปี 22 มีจำนวนที่พักที่ใช้งานอยู่ราว 6.6 ล้านรายการและรายชื่อจากเจ้าของที่พักกว่า 4 ล้านคนกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก แหล่งรายได้มีการกระจายตัว โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 25% จากรายได้ทั้งหมด 4) การเติบโตของธุรกิจแกร่งและรวดเร็ว โดยถึงแม้จะในช่วงโควิด
-19
ระบาด แต่การจองที่พักยังสามารถเติบโตได้ ขณะที่ในปี
22
ที่ผ่านมาการจองฟื้นตัวมากกว่า
167%
ของระดับก่อนเกิดโควิด
19
ด้าน
Morningstar
คาดการเติบโตของการจอง
Airbnb
ต่อปี 13.5% ในช่วงปี
FY
23-
FY
27 ซึ่งสูงกว่าที่
Euromoniter
คาดการณ์การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยระยะสั้นในช่วงดังกล่าวที่
10%
-
เรามอง
Valuation
หุ้น
Airbnb
ค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
ในปัจจุบันอยู่ในระดับ
36.3
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่
81.5
ซึ่งเรามองว่าในช่วงนี้อาจเป็นโอกาสการลงทุนสำหรับใครที่ยังไม่มีหุ้นและรับความเสี่ยงได้หลังราคามีการปรับตัวลงมารับประเด็นแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งเรามองว่าแรงกดดันจะค่อยๆผ่อนคลายลงหากผ่านช่วงเดือน 5-7 ผ่านไปและคาดว่าฟื้นตัวต่อเนื่อง ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 139.8
USD
ซึ่งมี
Upside 11.3%
จากราคาปัจจุบัน
|
26/04/2023
|
Alphabet (GOOGL.US)
|
ภาพรวมงบ
1Q23 ดีกว่าคาดแต่หลายส่วนยังคงมีแรงกดดัน…ซึ่งเรามองยังคงกดดันต่อใน FY23
-
Alphabet เผยงบ 1Q23 โดยรายได้เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด 3%YoY ขณะที่กำไรต่อหุ้นดีกว่าคาดเช่นกัน แต่หดตัว 8.4%YoY ส่วนภาพรวมรายได้ตามราย segment ออกมาทิศทางผสม โดย 1) ส่วนโฆษณา Youtube ดีกว่าคาดแต่หดตัว 3%YoY 2) Search&Other โต 3%YoY ดีกว่าคาด 3) Cloud โต 28%YoY แต่ต่ำกว่าคาด 4) Network ผิดคาดและหดตัว 8%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
ถึงแม้ภาพรวมงบไม่ได้เลวร้ายเท่ากับตลาดคาด แต่ในหลายส่วนยังคงมีแรงกดดัน หลัง
1) ค่าใช้จ่ายที่บริษัทพยายามลดยังคงเพิ่มขึ้น 3%YoY กดดันให้กำไรหดตัวลงในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดีถือว่าดูดีกว่าไตรมาสก่อนและชะลอตัวลง 9.5%QoQ 2) รายได้จากโฆษณาทั้งในส่วนเครื่องมือค้นหาข้อมูลและ Youtube ยังคงซบเซาหลังเศรษฐกิจไม่ดีและการแข่งขันในอุตฯที่สูง 3) ถึงแม้ธุรกิจคลาวด์จะเริ่มสร้างกำไรได้ แต่ยังคงโตน้อยกว่าตลาดคาดเล็กน้อย อย่างไรก็ดีเรามองว่าราคาหุ้นในระยะสั้นจะตอบสนองต่อความคาดหวังตลาดที่ออกมาดี
-
ขณะที่เรามองว่างบ
FY23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ Ads และธุรกิจคลาวด์หลังลูกค้ามีแนวโน้มใช้จ่ายอย่างประหยัดขึ้น 2) แพลตฟอร์ม Youtube ยังคงมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งจากธุรกิจสตรีมมิ่งและส่วนวิดีโอสั้นจาก TikTok 3) Google Search Engine มีแรงกดดันจาก Bing ของบริษัท Microsoft ที่มีความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากการใช้ AI โดยล่าสุดมีรายงานว่า Samsung Electronics ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทนั้นกำลังพิจารณานำโปรแกรมค้นหา Bing มาใช้แทนที่ Google และเป็นโปรแกรมหลักของโทรศัพท์มือถือ Samsung ซึ่งหากเป็นไปตามรายงานจริงอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทมากกว่า $3bn ต่อปี (อ้างอิงบทความ Times ที่เผยค่าใช้จ่ายที่ Samsung จ่ายให้ Google) หลัง Samsung มียอดขายมากกว่า 261 ล้านเครื่องในปี 2022 และธุรกิจ Google Search คิดเป็น 57% ของรายได้รวม
-
ในระยะยาวเรามองว่า
Alphabet ยังคงน่าสนใจหลัง 1) มีโครงข่ายผู้ใช้งานขนาดใหญ่ โดย Google ครองตลาดการค้นหาออนไลน์ด้วยส่วนแบ่งกว่า 80% ทั่วโลก ทำให้มีรายได้และกระแสเงินสดเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้นด้วย เช่น การเผยแพร่โฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย 2) ระบบนิเวศน์แกร่งเนื่องจากผลิตภัณฑ์หลากหลายและมีผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น อีเมลล์ แผนที่ 3) แบรนด์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแกร่ง 4) มีการวิจัยต่อเนื่องทำให้บริษัทใช้นวัตกรรมและเทคฯล้ำสมัยมาช่วยในการพัฒนาธุรกิจปัจจุบัน รวมไปถึงมีการลงทุนธุรกิจใหม่เช่นกันที่ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่สร้างรายได้ แต่มีแนวโน้มเป็นสินค้าแห่งอนาคต เช่น Waymo ธุรกิจเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับของ Alphabet โดยจากการศึกษาต่างๆ บริษัทคาดว่าเจาะตลาดที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า
-
สำหรับมุมมองการลงทุน ถึงแม้ภาพ
Valuation จะน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 18.7 น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 22.6 แต่ในระยะสั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยง GOOGL ไปก่อนหลังยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัยโดยเฉพาะจากการแข่งขันที่สูงและแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $95 หรือต่ำกว่านั้น ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 125.4USD ซึ่งมี Upside 18.3% จากราคาปัจจุบัน
|
19/04/2023
|
Netflix (NFLX.US)
|
งบ 1Q23 อ่อนแอหลังการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านช้ากว่าคาด / มอง FY23 ถูกกดดันจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการแข่งขันที่สูงขึ้น
- Netflix เผยงบ 1Q23 โดยรายได้และจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นต่ำกว่าตลาดคาดและโตเพียง 4%YoY อยู่ที่ $8.2bn และ 1.75 ล้านราย ตามลำดับ ด้านกำไรต่อหุ้นดีกว่าคาดเล็กน้อยที่ $2.88 แต่หดตัว 18%YoY นอกจากนี้ให้คาดการณ์งบ 2Q23 น้อยกว่าคาด โดยมองรายได้ที่ $8.24bn และ กำไรต่อหุ้นที่ $2.84 (ตลาดคาดรายได้ที่ $8.5bn กำไรต่อหุ้นที่ $2.8 )
มุมมองของ InnovestX
- ในภาพรวมเรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างอ่อนแอ โดย 1) จำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดราว 24% หลังบริษัทให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านช้ากว่าคาด โดยก่อนหน้านี้บริษัทเผยการจำกัดรหัสผ่านจะถูกบังคับใช้ภายในมี.ค. 23 แต่ปัจจุบันแม้กระทั่งตลาดหลักอย่างสหรัฐฯก็ยังไม่ถูกดำเนินการ ขณะที่เรามองว่ายังคงมีแรงกดดันอื่น เช่น การแข่งขันทางราคาของผู้ให้บริการสตรีมมิ่งที่เพิ่มขึ้น 2) เรายังไม่เห็นการเติบโตของจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญอีกทั้งยังโตชะลอตัว QoQ หลังแผนบริการใหม่แบบรองรับโฆษณาและมีราคาถูกเปิดให้บริการในสหรัฐ ฯช่ วง 1Q23 3) บริษัทเผยเตรียมยกเลิกธุรกิจเช่า DVD หลังรายได้หดตัวอย่างต่อเนื่อง
- ขณะที่เรามองว่างบ FY23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นและ ฟุ่มเฟื่อย เช่น ธุรกิจ Streaming ของบริษัท 2) การแข่งขันในกลุ่ม Streaming ที่ยังคงสูงต่อเนื่องประกอบกับสงครามราคาที่กดดันการเพิ่มขึ้นของมาร ์จิ้น 3) แผนการขยายธุรกิจระหว่างประเทศของ Netflix ซึ่งรวมถึงการลงทุนสร้าง Original Content จะยังคงกดดันการขยายตัวของมาร ์จิ้น 4) การปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านระหว่างผู้ใช้งานที่ในระยะสั้นอาจสร้างความผันผวนและอาจส่งผลให้สมาชิกบางส่วนยกเลิกการใช้งาน อย่างไรก็ดีในระยะยาวเรามองว่าประเด็นนี้จะช่วยให้แนวโน้มการสร้างรายได้มีประสิทธิภาพและมั่นคง 5) แผนบริการใหม่แบบรองรับโฆษณาอาจช่วยหนุนผลประกอบการช้ากว่าคาด ถึงแม้บริษัทจะเผยว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน ( ARM ) มากกว่าแผนมาตรฐานแล้วก็ตาม
- ในระยะยาวเรามองว่า Netflix ยังคงน่าสนใจหลังเป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำธุรกิจสตรีมมิ่งที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่และเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งช่วยหนุนให้บริษัทมีความสามารถทางการแข่งขันด้านต่างๆเพิ่มขึ้น อย่าง 1) ฐานข้อมูลของบริษัทเติบโตส่งผลให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในการประกอบธุรกิจ รวมถึงทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในเรื่อง Economy of Scale อย่างการลงทุนสำหรับการสร้าง contents ใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้คืนทุนได้รวดเร็ว ขณะที่ Morningstar คาดฐานสมาชิกสตรีมมิ่งแบบชำระเงินทั่วโลกจะขยายเป็น 307 ล้านรายภายใน 5 ปีข้างหน้าจากระดับ 230 ล้านรายใน FY22
- สำหรับมุมมองการลงทุน ถึงแม้ภาพ Valuation จะน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 29.1 น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 33.1 แต่ในระยะสั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยง Netflix ไปก่อนหลังยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัยโดยเฉพาะจากการแข่งขันที่สูงในด้านราคา Subscription ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $2 96 -$2 98 ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 365.9USD ซึ่งมี Upside 8.1% จากราคาปัจจุบัน
|
12/04/2023
|
CVS Health (CVS.US)
|
กังวลต่อการเติบโตในระยะถัดไปหลังมีแรงกดดันจากดีลการซื้อกิจการ รวมถึงนโยบายของภาครัฐฯ อย่าง IRA และร่างกฎหมาย PBM
- CVS คาดกำไรต่อหุ้นใน FY23 จะอยู่ที่ $8.70 ถึง $8.90 ซึ่งเป็นไปตามตลาดคาด อย่างไรก็ดีให้แนวโน้มในปี 2024 สำหรับให้คาดการณ์กำไรต่อหุ้นที่ปรับแล้วเพียง $9.00 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ $9.75-$9.95 หลังรวมผลกระทบจากดีลการซื้อกิจการ Oak Street ผู้ให้บริการเครือข่ายการดูแลสุขภาพและผู้สูงอายุเข้าไปใน FY24
มุมมองของ
InnovestX
เราค่อนข้างกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตในระยะสั้นหลังยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย โดย
- พระราชบัญญัติความโปร่งใสของผู้ดำเนินธุรกิจ Pharmacy Benefit Managers (PBMs) ที่เป็นร่างกฎหมายห้ามการกำหนดราคาสเปรดและส่วนลดที่สูงเกิน ซึ่งล่าสุดได้รับการเสนอชื่อขึ้นสู่ชั้นวุฒิสภาจากคณะกรรมการ ซึ่งหากถูกอนุมัติเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้จริง บริษัทจะต้องส่งเงินคืน (Rebates) 100% ให้กับลูกค้า รวมถึงเผยต้นทุนยาและอัตราการชำระเงินคืนแก่ลูกค้า ด้วยภาพนี้ส่งผลกระทบต่อ CVS ที่เป็นผู้นำธุรกิจ PBMs ในสหรัฐฯ (มีสัดส่วนรายได้ 25% จากทั้งหมด) ที่ก่อนหน้านี้มีการสร้างรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินคืน (Rebates) ซึ่งโดยปกติจะได้รับจากผู้ผลิตยาหลังจากยาได้ขายออกไปแล้ว และบริษัทอาจคืนให้ลูกค้าไม่เต็มจำนวนหรือเก็บส่วนเงินคืนนั้นทั้งหมด
- การปรับเปลี่ยนแผน Medicare ของทางการสหรัฐฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้โดยรวมใน FY24 และบางส่วนมีผลบังคับใช้ใน FY23 ซึ่งจะกดดัน CVS ในหลายด้าน โดย 1) การปรับลดราคาขายยาของผู้ผลิตยาตาม IRA ซึ่งจะกดดันธุรกิจ PBMs ในส่วนเงินคืนที่จะได้รับจากผู้ผลิตยาน้อยลง รวมถึงธุรกิจร้านขายยาที่อาจได้รับส่วนต่างราคาขายที่น้อยลงด้วยเช่นกัน 2) การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้แผนประกันแบบใหม่มีความน่าสนใจน้อยลงอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของจำนวนสมาชิกที่สมัครแผนประกัน เช่น การปรับลดคะแนนความเสี่ยงโรค (RAF) แบบใหม่ที่อาจทำให้ในส่วนของบริษัทได้รับประโยชน์จากการเบิกจ่ายประกันในบางโรคที่ลดลง แต่เบี้ยประกันเท่าเดิมทำให้ผู้มีประกันเสียประโยชน์ในภาพนี้
- ดีลการซื้อกิจการ Oak Street ที่คาดว่าสำเร็จเร็วกว่าคาดในช่วง 1H23 ซึ่งจะส่งผลให้การขาดทุนจากการดำเนินงานของ Oak Street กลายเป็นผลประกอบการของ CVS เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดการประมาณการณ์กำไรต่อหุ้นในปี FY23
ด้วยภาพนี้ทำให้เราค่อนข้างกังวลต่อการเติบโตในช่วง FY23-FY24 ของ CVS ที่ยังคงมีแรงกดดันจากsดีลการซื้อกิจการ รวมถึงนโยบายของภาครัฐฯอย่าง IRA และร่างกฎหมาย PBM และคาดว่าภาพรวมจะดูดีขึ้นตั้งแต่ FY25 เป็นต้นไปหลังผลประโยชน์จากดีลซื้อกิจการจะเริ่มเห็นผล รวมถึงมีแผนเร่งการเติบโตของงบ เช่น การเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ลดค่าใช้จ่าย ฯลฯ ที่จะเริ่มในช่วง FY25 เป็นต้นไป เราจึงมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อ CVS ถึงแม้ Valuation ในตอนนี้จะถูกก็ตาม โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ 8.8 น้อยกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 12.9 อย่างไรก็ดี ในระยะยาวเรายังคงชอบ CVS หลังเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจร้านขายยา, แพลตฟอร์มการขายยาให้บริษัทประกัน, คลินิก, ประกันสุขภาพ นอกจากนี้หากดีลซื้อกิจการล่าสุด Oak Street สำเร็จจะมีธุรกิจบริการรักษาทางการแพทย์เบื้องต้นเพิ่มเข้ามาในบริษัท รวมถึงมีฐานลูกค้าใหญ่และมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์หลากหลายทำให้มีอำนาจการต่อรองราคาและมีความได้เปรียบจากต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 110.7 โดยมี Upside จากราคาปัจจุบันราว 45%
|
05/04/2023
|
China Tourism Group Duty Free (1880.Hk
)
|
เริ่มเห็นการฟื้นตัวของธุรกิจใน
4Q22 /คาดฟื้นตัวและพลิกกลับมาเติบโตได้ใน FY23 หนุนจากการเปิดเมืองของจีนเป็นหลัก
-
China Tourism Group Duty Free เผยงบ 4Q22 โดยรายได้หดตัว -17%YoY อยู่ที่ RMB15mn อย่างไรก็ดีหากเทียบกับไตรมาสก่อน รายได้จะเพิ่มขึ้น 29%QoQ โดยมีแรงหนุนจากรายได้ในส่วน Hainan offshores duty free ที่เพิ่มขึ้นกว่า 65% ดีกว่าตลาดคาด ด้านกำไรและอัตรากำไรขั้นต้นยังคงหดตัว -65% และ -34%YoY ตามลำดับ
มุมมองของ
InnovestX
-
ภาพรวมงบ China Tourism Group Duty Free ใน 4Q22 ที่ออกมาค่อนข้างเป็นไปตามที่คาดหลังใน 4Q22 บริษัทยังคงได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีน ด้านอัตรากำไรขั้นต้นหดตัวมากกว่า 3Q22 ราว -3.7ppt QoQ เป็นผลมาจากมาร์จิ้นช่องทางออนไลน์ลดลงจากการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลวันหยุดและสำหรับห้างฯHaikou International ที่เปิดใหม่ในช่วงปลายต.ค. อย่างไรก็ดีเราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจสะท้อนจากการเติบโตรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
-
ในช่วง FY23 เราคาดว่างบจะฟื้นตัวและพลิกกลับมาโตเป็นบวกได้หนุนจาก 1) การเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบของจีนที่จะช่วยหนุนให้การจราจรในสนามบินและ Duty Free เพิ่มขึ้นได้ โดยล่าสุดการจราจรขาเข้าไปยังสาขาไห่หนานในเดือนม.ค.และก.พ.ฟื้นตัวแกร่งโดยโตอยู่ในระดับ 86% และ 90% ของระดับของปี 2019 แล้ว 2) อัตรากำไรที่เราคาดว่าจะฟื้นตัวดีต่อเนื่องหลังบริษัทไม่จำเป็นต้องเสนอส่วนลดราคาหรือกระตุ้นยอดขายผ่านทางออนไลน์มากเท่ากับในช่วงล็อคดาวน์ 3) การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจีน รวมถึงการสนับสนุนและความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของภาครัฐฯจีน 4) การนำเสนอผลิตภัณฑ์ขายที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับการเปิดตัวร้านค้าใหม่ เช่น ส่วนขยาย Haitang Bay Phase 2 ด้าน Bloomberg คาดในปี FY23 รายได้และกำไรต่อหุ้นฟื้นตัวดีและเพิ่มขึ้น 69.4%YoY และ 128.1%YoY ตามลำดับ
-
ในระยะยาว ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดสินค้าปลอดภาษีของไห่หนานที่รุนแรงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผลกระทบค่อนข้างจำกัดเนื่องจากมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เหมือนใคร เช่น ขีดจำกัดโควตา Rmb100k ต่อปีสำหรับการใช้จ่ายใน Duty Free ซึ่งเป็นจุดราคาที่น่าสนใจและต่ำกว่าระดับที่ร้านค้าในต่างประเทศเสนอ ขณะที่เรามีมุมมองบวกต่อ China Tourism Group Duty Free หลัง 1) ผู้ดำเนินการปลอดภาษีในประเทศรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน 2) ส่วนแบ่งรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังค่าใช้จ่ายที่ให้สนามบินมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี FY26 เป็นต้นไปตามกฎระเบียบ 3) มีแผนการเปิดร้านค้าปลอดภาษีใจกลางเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกที่คาดว่าจะได้รับอนุมัติในช่วง FY24 ซึ่งจะเป็นแรงหนุนหลักสำคัญต่อการสร้างรายได้และกำไรของบริษัท
- ขณะที่เรามองราคาหุ้นค่อนข้างน่าสนใจหลัง 1) ราคาหุ้นยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 2) หากดูที่ Valuation โดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 32.1 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 56.9* 3) มี Upside จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อใน FY23 ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ 185.6HKD ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 271 HKD ซึ่งมี Upside 40% จากราคาปัจจุบัน
|
29/03/2023
|
Lululemon Athletica (LULU.US)
|
งบ 4Q22
ภาพรวมแกร่ง ขณะที่สินค้าคงคลังดูดีขึ้น
/
มอง
FY23
ยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัย
Lululemon (LULU) เผยงบ 4Q22 แกร่งและดีกว่าคาด โดยรายได้และยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้นราว 30%YoY ด้านกำไรต่อหุ้นแบบปรับลดเพิ่มขึ้น 29.4%YoY อยู่ที่ $4.4 ด้านกำไรขั้นต้นต่ำกว่าคาด โดยหดตัว 300bps อยู่ที่ 55.1% นอกจากนี้บริษัทคาด FY23 รายได้เพิ่มขึ้น 15%YoYที่ $9.3-$9.4
มุมมองของ
InnovestX
- ในภาพรวมเรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างแกร่งและดูดีกว่ากลุ่ม ถึงแม้กำไรขั้นต้นจะหดตัวมากกว่าคาดเล็กน้อยซึ่งเป็นผลมาจากสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น 50%YoY อย่างไรก็ดีถือว่าชะลอตัวลงอย่างมากหากเทียบกับระดับใน 3Q22 ที่เพิ่มขึ้น 85%YoY เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศที่ลดลงและการลดราคาที่น้อยลง ขณะที่ยอดขายมีแรงหนุนจากฐานลูกค้าที่มีความภักดี โดยส่วนมากจะเป็นกลุ่มลูกค้าทีร่ำรวยทำให้มีแรงซื้อในเสื้อ กางเกงโยคะ และกางเกงขาสั้นที่มีราคาสูงกว่า ตรงกันข้ามกับแนวโน้มลูกค้าในอุตฯที่ประหยัดมากขึ้นหลังถูกกดดันจากเงินเฟ้อที่สูง
- ขณะที่เรามองว่างบ FY23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้ 2) การแข่งขันทางด้านราคาที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มทั้งจากบริษัทใหญ่อย่าง Nike, Adidas รวมถึงร้านค้าท้องถิ่น 3) สินค้าคงคลังที่ถึงแม้จะชะลอตัวลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งบริษัทคาดว่าใน 1Q23 จะเพิ่มขึ้นราว 30%-35% ซึ่งเราคาดว่าจะกดดันต่อผลประกอบการใน 1H23 และจะค่อยๆดูดีขึ้นในช่วง 2H23 อย่างไรก็ดีเรามองแรงซื้อของกลุ่มลูกค้า LULU จะเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยเยียวยาผลประกอบการได้
- ในระยะยาวเรามองว่า LULU ยังคงน่าสนใจหลัง 1) ตำแหน่งธุรกิจที่มีเอกลักษณ์โดยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าโยคะและออกกำลังกายสำหรับผู้หญิงในสหรัฐฯและแคนาดา ซึ่งแบรนด์มักจะสร้างเทรนด์ใหม่ๆในอุตฯเสมอ 2) มีความได้เปรียบในเชิงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนของแบรนด์ โดย ROIC ที่ปรับปรุงแล้วและรวม Goodwill เฉลี่ยอยู่ที่ 36% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มโตต่อ โดย Morningstar คาดโตเฉลี่ย 43% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า 3) รูปแบบการขายหลักแบบ Direct-to-Customer มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่าการขายส่งซึ่งเป็นรูปแบบการขายหลักของ Peers เช่น Nike Adidas ได้เป็นจำนวนมาก โดยสร้างรายได้ได้ราว 100 ดอลลาร์ต่อหน่วยและมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 10 ปีอยู่ที่ 53.6% 4) มีฐานลูกค้าที่จงรักภักดี ประกอบกับกลุ่มลูกค้าที่มี Pricing Power แกร่ง
- สำหรับมุมมองการลงทุน ถึงแม้ภาพ Valuation จะน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 35.0 น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 44.5 แต่ในระยะสั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยง LULU ไปก่อนหลังยังคงมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัวและการแข่งขันทางราคาที่เพิ่มขึ้นใน 1H23 โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $287-$288 ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 368.7USD ซึ่งมี Upside 16.2% จากราคาปัจจุบัน
|
22/03/2023
|
Nvidia (NVDA.US)
|
งบ 4Q22 ภาพรวมแกร่ง และมองรายได้จากธุรกิจเกมเข้าสู่ระดับต่ำสุดแล้ว/ มอง Outlook FY23 เป็นภาพการฟื้นตัว
- Nvidia (NVDA) เผยงบ 4Q23 ดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร อยู่ที่ $6.1bn และ $1.4bn อย่างไรก็ดีรายได้และกำไรหดตัวลง 21%YoY และ 52%YoY ตามลำดับ ขณะที่รายได้ทุกส่วนดีกว่าคาดยกเว้นจาก Data Center แต่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นดี 11%YoY รวมถึง Automotive +135%YoY อย่างไรก็ดีธุรกิจเกมและส่วนธุรกิจ Professional Visualization มีรายได้ลดลง 46%YoY และ 65%YoY ตามลำดับ
มุมมองของ InnovestX
- ในภาพรวมเรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างแกร่ง ถึงแม้รายได้จาก Gaming ที่เป็นแรงหนุนหลักของบริษัทยังคงลดลงตามที่คาดไว้หลังมีการพึ่งพาอุตฯพีซีที่ความต้องการมีทิศทางชะลอตัวลงอย่างมากในปี 22 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี รายได้จาก Data Center ที่เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนหลักกลับเพิ่มขึ้นได้ดีช่วยเยียวยารายได้ Gaming ที่ลดลงได้ โดยรายได้ในส่วนนี้มาจากยอดขาย GPU สำหรับ AI ที่มีแรงหนุนจาก 1) Sofware AI อย่างOpenAI ของบริษัทต่างๆ เช่น ChatGPT ของ MSFT และ BARD ของ GOOGL 2) ผู้ให้บริการคลาวด์ของสหรัฐซื้อผลิตภัณฑ์มากขึ้น
- ขณะที่เรามองบวกต่อเนื่องใน FY24 และคาดว่าบริษัทจะสามารถฟื้นตัวได้ดีนำอุตฯ หลัง 1) มี Inventories ที่ทรงตัวและน้อยกว่า Peers หลังบริษัทมีชิป GPU และ APU 2) ส่วน Data Center ยังคงได้รับประโยชน์จาก OpenAI ต่อเนื่องหลังหลายบริษัทยังคงต้องการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านนี้ 3) ธุรกิจเกม (สัดส่วนรายได้ใน FY23 อยู่ที่ 33.6% ) ที่เรามองว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วง 4Q22 และจะเริ่มฟื้นตัวดีใน 1Q23 เป็นต้นไปสะท้อนได้จากรายได้ของพาร์ทเนอร์ผู้ผลิต add-in board (AIBs) ในไต้หวันที่เริ่มฟื้นตัวในเดือนก.พ.โดย Micro-Star International -5%YoY (เทียบกับ -25%/-21%/-36% YoY ในพ.ย., ธ.ค. ม.ค. ตามลำดับ) Gigabyte +13%YoY และ ASRock +5%YoY 4) มีแรงหนุนจากบริการ AI cloud ใหม่ของบริษัทที่ร่วมมือกับ Oracle , Microsoft และ Google เพื่อนำเสนอความสามารถในการใช้เครื่อง Nvidia GTX เพื่อประมวลผล AI ผ่านการเข้าถึงเบราว์เซอร์อย่างง่าย
- ขณะที่ในระยะยาวเรามองว่า NVDA มีจุดแข็งที่คู่แข่งยากที่จะเลียนแบบจาก 1) ความได้เปรียบการเข้าตลาดก่อนคู่แข่ง 2) มีสิทธิบัตรด้านการออกแบบ 3) มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทมีความเสี่ยงด้านการเงินต่ำและมีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับการเติบโตในระยะยาวทั้งการพัฒนานวัตกรรมหรือการควบรวมกิจการใหม่ นอกจากนี้เรามองว่าตำแหน่งธุรกิจแกร่ง กระจายตัวดี รวมถึงมีแนวโน้มที่เติบโตในอนาคต เช่นชิปที่ใช้ใน AI Cloud Automotive
- สำหรับมุมมองการลงทุน เรามองว่า NVDA เป็นหนึ่งในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแกร่ง รวมถึงมี Sentiment ระยะใกล้ที่ดี แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่าปัจจุบัน Valuation เริ่มอยู่ในระดับสูง โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 57.7 ซึ่งถือว่ามากกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อยที่ 57.4 ทำให้เรามองว่าสำหรับคนที่มีหุ้นอยู่แล้ว เราแนะ Let’s Profit Run โดยมองราคาขายทำกำไรที่ $290 ขณะที่สำหรับคนที่ไม่มีหุ้น เรามองว่าอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $230 ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า โดยอาจจะเป็นช่วง 1Q23 ที่กลุ่มเผยผลประกอบการรวมถึงยังคงมีภาพแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆอยู่ เช่น สินค้าคงคลังที่ยังคงค้างอยู่ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 264.2USD ซึ่งมี Upside 2% จากราคาปัจจุบัน
|
15/03/2023
|
Trip.com (9961.Hk)
|
เริ่มเห็นการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจีนใน
4Q22 /
คาดฟื้นตัวต่อใน
FY23
หนุนจากการเปิดเมืองของจีนเป็นหลัก
- Trip.com เผยงบ 4Q22 โดยรายได้โต 7%YoY หนุนจากรายได้การจองตั๋วเครื่องบินโดยรวมบนแพลตฟอร์มทั่วโลกของบริษัทเพิ่มขึ้น 80%YoY อย่างไรก็ดีที่รายได้หดตัว 27%QoQ หลังได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีน ซึ่งส่งผลให้ยอดจองที่พักมีรายได้ที่หดตัว 12%YoY ขณะที่บริษัทคาดรายได้รวมใน 1Q23 จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีก่อนสู่ RMB7.8bn-RMB8.2bn หรือกลับสู่ระดับ 95-100% ของอัตราการดำเนินการก่อนเกิด COVID-19
มุมมองของ
InnovestX
- ถึงแม้ Trip.com จะได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีนช่วง 4Q22 แต่ภาพรวมงบที่ออกมาค่อนข้างแกร่งหนุนจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเราเริ่มเห็นการฟื้นตัวของธุรกิจในจีนที่มีการจองตั๋วเครื่องบินขาออกและโรงแรมเพิ่มขึ้นกว่า 200%YoY และ 140%YoY หลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และเปิดประเทศเร็วกว่าคาด
- ขณะที่เรายังคงมองบวกต่อ Trip.com และคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ต่อในช่วง FY23 นี้ โดยมีแรงหนุนหลักจาก 1) การเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบของจีนที่จะช่วยหนุนให้การเดินทางขาออกให้ฟื้นตัวได้ โดยในช่วงก่อนเกิดโควิดรายได้จากส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนราว 30% จากรายได้ทั้งหมดของบริษัท ขณะที่ในปัจจุบันเที่ยวบินขาออกอยู่ที่ระดับ 15%-20% ของระดับก่อนเกิดโควิดเท่านั้น 2) การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจีนหลังจากที่ล่าสุดทางการจีนเผยจะเริ่มกลับมาดำเนินการออกวีซ่ากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าในช่วงก่อน 28 มี.ค. 20 สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศได้อีกครั้ง 3) การสนับสนุนของภาครัฐฯจีน รวมถึงท่าทีของนายกรัฐมนตรีจีนที่คาดหวังต่อการเติบโตและฟื้นตัวจากการเปิดเมืองของจีน 4) การเดินทางระหว่างประเทศที่ยังคงดีต่อเนื่อง ด้าน Bloomberg คาดในปี FY23 รายได้และกำไรฟื้นตัวเพิ่มขึ้น 68.4%YoY และ 311.7%YoY ตามลำดับ
- ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ Trip.com หลัง 1) เป็น Online Travel Agent รายใหญ่ที่สุดในจีน ทำให้เป็นได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้นำตลาดและมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี 2) ธุรกิจมีมาร์จิ้นที่สูง เช่น ธุรกิจการเดินทางขาออกจากประเทศจีน รวมถึงมีความสามารถในการทำกำไรที่มีประสิทธิภาพโดยอัตรากำไรจากการดำเนินงานระยะยาวอยู่ที่ 20%-30% 3) แหล่งรายได้มีการกระจายตัว โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 25% จากรายได้ทั้งหมด 4) สถานะทางการเงินดี โดยมี D/E ต่ำที่ 0.5
- เรามองราคาหุ้น Trip.com ค่อนข้างน่าสนใจหลัง 1) ราคาหุ้นยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 2) หากดูที่ Valuation โดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 28.8 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 48.2 3) มี Upside จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อใน FY23 ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ 272 HKD ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 367.8 HKD ซึ่งมี Upside 25.4% จากราคาปัจจุบัน
|
08/03/2023
|
Anta Sports (2020.Hk)
|
ทิศทางงบ
4Q22
ยังคงอ่อนแอ
/
คาดงบ
FY23
ฟื้นตัวดีหนุนจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวและ
Pentup
Demand
Anta Sports เผยพรีวิวงบใน 4Q22 แบรนด์ Anta core, Fila และแบรนด์อื่นๆ มียอดขายเติบโตในระดับ –High Single Digit, -low-teens และ +low-teens yoy ซึ่งภาพรวมเป็นไปตามตลาดคาด อย่างไรก็ดียอดขายในช่วงวันหยุดปีใหม่กลับมาเติบโตในระดับเลขสองหลัก (YoY) ขณะที่เตรียมเผยงบ FY22 และ 2H22 ในวันที่ 21 มี.ค. 2023
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ 2H22 ของ Anta Sports ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวถึงแม้จะมีแรงหนุนจากยอดขายในช่วงวันหยุดสิ้นปีและการเปิดเมืองจีนที่เร็วกว่าคาด แต่อย่างไรก็ดีมองว่าไม่สามารถช่วยเยียวยาแรงกดดันจากการล็อคดาวน์ของจีนในช่วง 2H22 ประกอบกับการเติบโตของยอดขายใน 4Q22 ที่ยังคงหดตัว YoY หลังระดับสินค้าคงคลังยังคงอยู่สูงและทรงตัว QoQ ด้าน Bloomberg คาดใน FY22 รายได้จะโตชะลอตัวที่ 8.1% และคาดกำไรจะลดลง 3.6%YoY
- อย่างไรก็ดี เราคาดว่า Anta Sports จะสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ตั้งแต่ในช่วง 2Q23-4Q23 โดยมีแรงหนุนหลักจาก 1) อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีหลังประเทศจีนมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ 2) การสนับสนุนการขายที่เพิ่มขึ้นทั้งการลดราคาและการจัดโปรโมชั่นช่วยหนุนยอดขายให้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับช่วยลดสินค้าคงคลังได้ 3) ราคาขายที่สูงขึ้นในบางรุ่นสินค้าที่ติดตลาด 4) ได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯจีนมีแผนจะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคบริโภคภายในประเทศ ด้าน Bloomberg คาดในปี FY23 รายได้และกำไรฟื้นตัวเพิ่มขึ้น 17.3%YoY และ 28.8%YoY ตามลำดับ
- ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ Anta Sports หลัง 1) เป็นหนึ่งในแบรนด์ชุดกีฬาชั้นนำของประเทศจีน ที่มีแบรนด์หลากหลาย รวมถึงมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี โดยในปี 21 Anta core brand และ Fila มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 10% และ 6.7% ตามลำดับ 2) มีหน้าร้านและสาขาที่เยอะ รวมถึงกระจายทั่วทุกภูมิภาค โดยในช่วง 1H22 มีสาขารวมจากแบรนด์ทั้งหมดราว 11,579 สาขา 3) มีกลยุทธ์การบริหารงานแยกตามภาพลักษณ์แบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ 4) สถานะทางการเงินดี โดยมี D/E ต่ำที่ 0.6
- ถึงแม้ปัจจุบันราคาหุ้น Anta Sports จะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว แต่อย่างไรก็ดีหากดูที่ Valuation ถือว่าน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 27.4 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 41.9 ประกอบมองว่ายังคงมี Upside จากผลประกอบการที่ฟื้นตัวใน FY23 ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ 100 HKD ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 128.8HKD ซึ่งมี Upside 19.3% จากราคาปัจจุบัน
|
01/03/2023
|
Target (TGT.US)
|
งบ
4Q22
แกร่งหนุนจาก
Traffic
ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีให้
Outlook FY23
ที่อ่อนแอ
- Target เผยงบ 4Q22 ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 1.3%YoY อยู่ที่ $31.4bn ขณะที่ยอดขายสาขาเดิม (SSS) อยู่ที่ 0.7% ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว 1.74% หนุนจาก SSS ของร้าน Brick & mortar ที่เพิ่มขึ้น 1.9% ด้านกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ $1.89 อย่างไรก็ดีบริษัทให้คาดการณ์ 1Q23 ที่ต่ำกว่าตลาดคาด โดยมอง SSS ลดลงหรือเพิ่มขึ้นในระดับ low-single digit ด้าน EPS อยู่ที่ $1.50 - $1.90 ขณะที่คาดการณ์งบใน FY23 โดยมอง SSS ทรงตัวที่ระดับ low-single digit ส่วนกำไรต่อหุ้นมองที่ $7.75 - $8.75
มุมมองของ
InnovestX
- ถึงแม้งบใน 4Q22 มีแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อสูงที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทำให้ SG&A เพิ่มขึ้น 2.5%YoY อย่างไรก็ดีภาพรวมงบที่ออกมาค่อนข้างแกร่งซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากการลดราคาสินค้าทุกกลุ่มตั้งแต่กลุ่มของเล่นไปจนถึงกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อระบายสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในช่วงต้นปี 22 ส่งผลให้มีปัจจัยหนุนงบคือ 1) จำนวนผู้เข้าชมร้าน (Traffic) เพิ่มขึ้นดีราว 0.7% อย่างไรก็ดีมีส่วนทำให้อัตรากำไรขั้นต้นหดลง 3% 2) สินค้าคงคลังลดลง2.9%YoY โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่ลดลงมากถึง 13%YoY 3) ความต้องการซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลังมีการลดราคาสินค้าช่วยหนุนให้ยอดขายขยายตัว
- ในระยะสั้น เรามองว่า Target ยังคงมีแรงกดดันในช่วง FY23 จาก 1) แนวโน้ม Traffic และยอดขายชะลอตัวเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 2) แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ต้นทุนสูงการดำเนินงาน เช่น ค่าสินค้า ค่าขนส่ง และค่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น 3) สภาพแวดล้อมการแข่งขันทำให้บริษัทต้องแข่งขันด้านราคามากขึ้น 4) อัตรากำไรที่ถูกกดดันจากการลงทุนในระบบขนส่งบนแพลตฟอร์ม E-commerce ซึ่งเรามองว่าประเด็นเหล่านี้ทำให้ภาพ Outlook ที่บริษัทให้นั้นออกมาดูอ่อนแอ ซึ่งเราคาดว่าแรงกดดันจะค่อยๆชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง 23 และจะเริ่มฟื้นตัวได้ตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว
- ขณะที่ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกที่รุนแรงขึ้น แต่เรามอง Target ยังคงสามารถแข่งขันในตลาดได้เนื่องจาก 1) หนึ่งในผู้นำตลาดค้าปลีกของสหรัฐฯที่มีแบรนด์แกร่ง โดยถึงแม้จะมีสาขาน้อยกว่าคู่แข่งแต่จะเน้นจุดเด่นในการเสนอประสบการณ์การช็อปปิ้งผ่านขนาดร้านค้าที่ใหญ่ 2) มีอัตราการทำกำไรที่ดูดีกว่า Peers โดย Gross Margin อยู่ที่ 25.9 เมื่อเทียบกับ Walmart ที่ระดับ 24.1 และ Costco ที่ระดับ 10.6 3) มีแผนการควบคุมต้นทุนในระยะยาวส่งผลต่อการขยายมาร์จิ้นอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ธุรกิจ E-Commerce มีความสามารถทางการแข่งขันสู้กับ Walmart และ Amazon ได้ ถึงแม้ฐานธุรกิจจะเล็กกว่า สะท้อนจากการรักษายอดขายให้โตราว 18% ตั้งแต่ปี 20 ที่ผ่านมาและยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดทางดิจิตัลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ระยะสั้นเราแนะหลีกเลี่ยง Target ไปก่อนหลังมองยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย รวมถึงทิศทางตลาดที่ยังคงผันผวน ประกอบกับมูลค่าหุ้นที่ค่อนข้างแพง โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.7 ถือว่ามากกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 19.2 ขณะที่เรามองจังหวะซื้ออยู่ในช่วง 2H23 ที่ราคาน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ตามภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว โดยมองแนวรับแถว $164 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 180.7USD ซึ่งมี Upside 8.3% จากราคาปัจจุบัน
|
22/02/2023
|
Walmart (WMT.US)
|
งบ
4Q23
แกร่งหนุนจากการใช้จ่ายช่วงเทศกาล อย่างไรก็ดีให้
Outlook FY24
ที่อ่อนแอ
- Walmart. เผยงบ F4Q23 ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 7.9%YoY อยู่ที่ $164bn หนุนจากรายได้ทุกกลุ่มที่โต ขณะที่ยอดขายสาขาเดิม (SSS) ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.3%YoY ด้านรายได้รวม FY23 เพิ่มขึ้น 6.7% ขณะที่กำไรต่อหุ้นหดตัว -2.6% อย่างไรก็ดีบริษัทให้คาดการณ์ FY24 ที่ต่ำกว่าตลาดคาด โดยมอง SSS ในสหรัฐฯแบบไม่รวมเชื้อเพลิงโตราว 2%-2.5% และคาดกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 5.9$-6.05$ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่หดตัวลงเมื่อเทียบกับปี FY23
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบใน F4Q23 และ FY23 มีแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อสูงที่ยังคงส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยใน 4Q23 SG&A สูงขึ้น 5.1%YoY แต่เรามองว่าสิ่งที่ช่วยหนุนให้ภาพงบใน F4Q23 ขยายตัวได้เป็นผลมาจาก 1) ความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอาหารในช่วงเทศกาลวันหยุด เช่น วันคริสต์มาส วันปีใหม่ 2) การใช้จ่ายของลูกค้าสมาชิก Sam’s Club ที่ยังคงโตดี โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารแห้งและเครื่องดื่ม 3) ยอดขาย E-commerce ที่เติบโตดี 17%YoY ช่วยหนุน sss ให้เพิ่มขึ้น
- ในระยะสั้น เรามองว่า Walmart ยังคงมีแรงกดดันที่ส่งผลต่อการขยายตัวของมาร์จิ้นในงบ FY24 จาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงและซื้อสินค้าถูกต่อเนื่อง 2) ราคาขายที่อยู่ในระดับต่ำและการจัดส่วนลดที่โดยปกติแล้วเป็นจุดเด่นของบริษัท 3) การปรับเพิ่มค่าจ้างพนักงานที่ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเรามองว่าประเด็นเหล่านี้ทำให้ภาพ Outlook ที่บริษัทให้นั้นออกมาดูอ่อนแอ ซึ่งเราคาดว่าแรงกดดันจะค่อยๆชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง 23 และจะเริ่มฟื้นตัวได้ตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว
- ขณะที่ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกที่รุนแรงขึ้น แต่เรายังคงชอบ Walmart เนื่องจาก 1) ผู้นำตลาดค้าปลีกที่มีแบรนด์แกร่ง และฐานลูกค้าจำนวนมากส่งผลให้มีอำนาจในการกำหนดราคาขาย 2) มีความสามารถในการควบคุมต้นทุนด้วยปริมาณขายที่สูงทำให้ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าสูงตาม ส่งผลให้มีอำนาจการต่อรองราคากับผู้ขายสินค้าในราคาถูกลง 3) ได้ประโยชน์จากขนาดหลังบริษัทมีสาขามากกว่า 10,590 สาขาทั่วโลก ทำให้ทำกลยุทธ์การจัดซื้อและติดต่อกับลูกค้าหลายช่องทางได้ดีขึ้น 4) ธุรกิจ E-Commerce กำลังเติบโตดีสามารถแข่งขันกับ Amazon ได้
- ขณะที่ PE ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.4 ค่อนข้างน่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 24.1 นอกจากนี้เรามองแนวรับไว้ที่แถว $140 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 162.5USD ซึ่งมี Upside 11% จากราคาปัจจุบัน
|
15/02/2023
|
Walt Disney Co (DIS.US)
|
งบ F1Q23
โตแกร่งหนุนจากธุรกิจสวนสนุกที่ฟื้นตัว ช่วยชดเชยส่วนธุรกิจ Streaming
ที่ยังคงขาดทุน
Disney (DIS) เผยงบ F1Q23 ดีกว่าคาด โดยรายได้โต 8%YoY และกำไรต่อหุ้นโต 21%YoY ด้านรายได้ธุรกิจสวนสนุกเพิ่มขึ้น 21%YoY ส่วนจำนวนสมาชิก Disney+ หดตัวลง 2.4 ล้านคนส่งผลให้จำนวนสมาชิกรวมอยู่ที่ 161.8 ล้าน นอกจากนี้บริษัทมีแผนการลดต้นทุนซึ่งรวมถึงการเลิกจ้างงานราว 3% ของทั้งหมดอยู่ที่ 7,000 คน และค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่ใช่กีฬาลง นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างบริษัทเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Entertainment, ESPN Division, Parks Experiences and Products
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองงบ Disney ใน 1Q23 ค่อนข้างแกร่งโดยมีแรงหนุนจากธุรกิจสวนสนุกที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องจนสามารถชดเชยแรงกดดันจาก ) การปิดให้บริการของสวนสนุก Shanghai disneyland หลังจีนล็อคดาวน์ในช่วงปลายปี 22 2) ส่วนธุรกิจ Streaming ที่ยังคงขาดทุนหลังสมาชิก Disney+ หดตัวลง 2.4 ล้านราย (F1Q23) เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้น 11.7 ล้านราย (F1Q22)
-
ขณะที่เรามองงบ FY23 มีแรงหนุนจาก 1) การเปิดเมืองของจีนอย่างเต็มรูปแบบส่งผลให้ธุรกิจสวนสนุกกลับมาดำเนินการได้ปกติ 2) แผนการลดต้นทุนที่คาดช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง $2.5bn 3) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่จะช่วยหนุนให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
อย่างไรก็ดีเรามองการฟื้นตัวยังค่อนข้างจำกัดหลังยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลให้ผู้คนใช้จ่ายสินค้าและบริการฟุ่มเฟือยน้อยลง
เช่น สวนสนุก และ Streaming ของบริษัท 2) การแข่งขันในกลุ่ม Streaming ที่ยังคงสูงต่อเนื่องประกอบกับสงครามราคาที่กดดันการเพิ่มขึ้นของมาร์จิ้น ส่งผลให้เรามองงบจะยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมคาดธุรกิจสวนสนุกจะยังคงเป็นแรงหนุนหลักของกลุ่ม ด้าน Bloomberg คาดรายได้ FY23 จะโตชะลอตัวลง 7.7%YoY ด้านกำไรโตชะลอตัว 3.7%YoY เช่นกัน
-
ในระยะสั้นเรามีมุมมองที่ระมัดระวังต่อ DIS หลังมองราคายังคงปรับตัวขึ้นได้หนุนจาก Peers อย่าง HBO MAX ปรับขึ้นราคา อย่างไรก็ดีเรายังคงไม่ชอบกลุ่ม Streaming หลังการแข่งขันยังคงดุเดือดจนกดดันอัตราการทำกำไร ขณะที่ในระยะยาว เรามองว่าหุ้น Disney ยังคงน่าสนใจหลัง 1) แบรนด์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแกร่ง เช่น ตัวการ์ตูน Disney ส่งผลให้ Peers ยากที่จะเลียนแบบ 2) มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการหารายได้จากตัวละครแฟรนไชส์ Disney
3) ความเสี่ยงด้านการเงินต่ำแม้จะมีการลงทุนต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี D/E อยู่ที่ 0.47 แต่มีกระแสเงินสดต่อรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยหากดูในช่วงสถานการณ์ปกติ (ปีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19) จะอยู่ที่ 16.5% ขณะที่ Valuation ค่อนข้างน่าสนใจ โดย PE ปัจจุบันอยู่ที่ 23.9 ซึ่งถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 29.3 เราแนะทยอยสะสม ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 130.7 USD ซึ่งมี Upside 20.4% จากราคาปัจจุบัน
|
08/02/2023
|
Amazon.com (AMZN.US)
|
กำไร
4Q22
หดตัวหลังมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย
/
ให้คาดการณ์
1Q23
ที่อ่อนแอและต่ำกว่าตลาดคาด
- Amazon (AMZN) เผยงบ 4Q22 โดยมีรายได้โตดีกว่าคาด 9%YoY แตะ $149.2bn แต่กำไรหดตัวลงกว่า 97.8%YoY อยู่ที่ $0.3bn หลังยอดขายร้านออนไลน์หดตัว 2%YoY ด้านธุรกิจคลาวด์โตชะลอตัว 20%YoY ขณะที่บริษัทคาดรายได้ใน 1Q23 จะโตราว 4-8%YoY อยู่ที่ $121-126bn ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาดราว 2%
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ 4Q22 ของ AMZN ถูกกดดันจาก 1) ฐานการเติบโตที่สูงในช่วงล็อคดาวน์ 1Q22 2) แนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีและเงินเฟ้อที่สูงส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ดี เรามองว่างบออกมาดีเกินคาดเป็นผลมาจาก 1) ค่าเงินดอลลาร์ที่ชะลอการแข็งค่าลงใน 4Q22 ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อการเติบโตของรายได้ 2) งบยังคงมีแรงหนุนจากรายได้ธุรกิจค้าปลีกจาก Third-Party, Prime Subscription และหน้าร้านที่เพิ่มขึ้น 20%, 13% และ 6% ตามลำดับ ซึ่งช่วยเยียวยายอดขายร้านค้าออนไลน์ที่ลดลง
- ขณะที่เรามองงบใน 1Q23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯที่อาจส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคใน 1H23 ในธุรกิจค้าปลีกและ E-commerce ประกอบกับการลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าองค์กรที่ใช้ระบบคลาวด์ 2) การเติบโตของธุรกิจคลาวด์ที่เริ่มอิ่มตัวและมีแนวโน้มโตชะลอตัวจากฐานที่สูงในช่วง 1Q22 3) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้เราคาดว่างบใน 1Q23 ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว โดย Bloomberg คาดรายได้และมาร์จิ้นโตชะลอตัวอยู่ที่ราว 7%YoY ขณะที่เรามองว่าธุรกิจจะเริ่มมีการฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจซึ่งคาดว่าจะเป็นในช่วง 2H23
- ในระยะสั้น เรามองว่า Amazon ยังมีทิศทางการชะลอตัวและมีความผันผวนหลังยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย อย่างไรก็ดี ในระยะยาวเรามองว่ายังคงน่าสนใจหลัง 1) ผู้นำตลาด E-commerce ในโลก ที่ Peers ยากที่จะเลียนแบบระยะเวลาอันสั้น 2) รูปแบบการดำเนินธุรกิจแกร่งและเติบโตไปกับเทคฯใหม่ที่มีอัตราการเติบโตสูง 3) มีการบริหารคลังสินค้าและระบบเครือข่ายกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ 4) มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ระบบขนส่ง รวมถึงมีเครือข่ายผู้ค้าที่ใหญ่ ส่งผลให้มาร์จิ้นขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงในระยะยาว ขณะที่ Valuation ปัจจุบันถือว่าน่าสนใจ โดย PE อยู่ที่ 35.0 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 49.5 ขณะที่เราแนะทยอยสะสม โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมามากกว่านี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเรามองที่ระดับราคา ~<100$ และหวัง Upside จากการฟื้นตัวในช่วง 2H23 ที่เรามองว่าน่าจะให้ Risk–Reward ที่คุ้มค้ามากกว่าเดิม ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 134.73 USD ซึ่งมี Upside 30.3% จากราคาปัจจุบัน
|
01/02/2023
|
Costco Wholesale (COST.US)
|
ยอดขายเดือนธ.ค.
22
ฟื้นตัว
/
มีแผนขึ้นราคาสมาชิกรายเดือน
- Costco Wholesale Corp. เผยยอดขายเดือน ธ.ค. 22 เพิ่มขึ้น 7%YoY ซึ่งโตกว่ายอดขายในเดือนพ.ย. 22 ที่ 4% หนุนจากยอดขายสาขาเดิมยังคงโตดีกว่าคาด 5.5%YoY ขณะที่ยอดขายช่องทางออนไลน์ลดลง 6.4%YoY ทั้งนี้บริษัทเตรียมเผยยอดขายเดือนม.ค. 23 ในช่วงวันที่ 1 ก.พ. 23
- บริษัทเผยเตรียมขึ้นราคา Subscription รายเดือนของสมาชิกแบบ Business Goldstar และ Executive อย่างไรก็ดีไม่มีการเผยช่วงเวลาที่แน่นอนในการปรับ
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่าถึงแม้ยอดขายในเดือนธ.ค. 22 จะมีแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ยังคงสามารถโตได้หลังมีแรงหนุนจาก 1) ความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลวันหยุด เช่น วันคริสต์มาส วันปีใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร เครื่องกีฬาและยางรถยนต์ 2) การใช้จ่ายของลูกค้าสมาชิก Executive ที่เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง โดยยอดขายจากกลุ่มนี้มีสัดส่วนราว 73% ของยอดขายยอดขายในเดือนธ.ค.ท
- ขณะที่เรามองบวกต่อการปรับขึ้นราคาสมาชิกของ Costco หลัง 1) มองช่วยหนุนรายได้ให้โตเพิ่มขึ้นกว่า $330mn - $660mn โดยหากอิงกับจำนวนสมาชิกใน FY22 ที่อยู่ที่ราว 66 ล้านคน ประกอบกับในสถานการณ์ที่ Costco ปรับขึ้นราคาสมาชิกที่ราว $5-$10 2) เรามองความเสี่ยงจำนวนสมาชิกลดลงค่อนข้างมีจำกัดเนื่องจากลูกค้าของ Costco เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง ประกอบกับฐานลูกค้ามีความมั่นคงเนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบริษัทมีความ Loyalty สูง โดยมีอัตราการต่ออายุสมาชิกใน 1Q23 มากกว่า 90% ทั่วโลกและ 92.5% ในสหรัฐฯ ทั้งนี้เราคาดว่า Costco เตรียมปรับขึ้นราคาสมาชิกใน 1Q23 นี้ หลังจากหากย้อนไปในอดีต Costco จะมีระยะเวลาเฉลี่ยในการขึ้นราคาสมาชิกอยู่ที่ราว 5 ปี ซึ่งหากนับจากครั้งล่าสุดในปี 2017 จะครบกำหนด 5 ปีอยู่ที่ช่วงเดือนม.ค. 23 นี้
- ในระยะสั้น เรามองว่า Costco ยังคงมีแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคใน 1H23 ซึ่งเราคาดจะฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วง 2H23 ขณะที่ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น แต่เรายังคงชอบ Costco และมองว่าบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกหลัง 1) มีฐานลูกค้าจำนวนมากที่มั่นคงและมีความจงรักภักดี 2) มีความได้เปรียบทางต้นทุนและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยในกระจายสินค้าและเพิ่มความแกร่งการจัดซื้อ 3) มีจำนวนสินค้าคงคลังน้อยกว่า Peers โดย Costco มีอยู่น้อยกว่า 4000 ชิ้น เมื่อเทียบกับ Target ที่ราว 75,000 ชิ้น และ Walmart ที่ราว 140,000 ชิ้น
- ขณะที่ Valuation ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.95 ค่อนข้างน่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 23.94 ขณะที่เราแนะนำทยอยสะสม โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมากกว่านี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงและหวัง Upside จากการฟื้นตัวในช่วง 2H23 ที่เรามองว่าน่าจะให้ Risk–Reward ที่คุ้มค้ามากกว่าเดิม ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 548.8USD ซึ่งมี Upside 9.1% จากราคาปัจจุบัน
|
26/01/2023
|
Hong Kong Exchanges (0388.Hk)
|
HKEX
ขยายเกณฑ์หุ้นใน
Stock Connect /
คาดงบ
FY23
ฟื้นตัวดีตามทิศทางเศรษฐกิจ
ในช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 22 HKEX ประกาศขยายเกณฑ์หุ้นที่เข้าร่วม Stock Connect เพิ่มเติม โดย Southbound (SB) : เพิ่ม 1) บริษัทระหว่างประเทศที่จดทะเบียนแบบ primary-listed ในฮ่องกงซึ่งอยู่บนดัชนี Hang Seng Composite LargeCap/MidCap หรือดัชนี SmallCap ที่มีมูลค่ามากกว่า HKD5bn 2) หุ้น SH-HK Connectบนดัชนี Hang Seng Composite Small Cap ที่มีมูลค่ามากกว่า HKD5bn ขณะที่ Northbound (NB) : เพิ่ม 1) หุ้นบน SSE A Share Index และ SZSE Composite Index ที่มีมูลค่ามากกว่า RMB5bn 2) หุ้นจดทะเบียน SSE/SZSE ที่มีหุ้น H-Share โดยจะมีผลอย่างเป็นทางการในช่วง 3 เดือนให้หลังจากวันที่ประกาศ (ราวเดือน มี.ค. 23)
มุมมองของ
InnovestX
เรามองบวกต่อการขยายเกณฑ์ หลังมองว่า 1) นักลงทุนทั้งจาก SB และ NB จะเข้าถึงหุ้นได้มากขึ้นซึ่งจะช่วยหนุน Volume การเทรดและมูลค่าตลาดให้เพิ่มได้ โดยเฉพาะทางฝั่ง SB ที่สามารถซื้อขายหุ้นบริษัทต่างประเทศเพิ่มได้ 2) การเพิ่มบริษัทต่างชาติเข้ามาในโครงการ Stock Conect จะช่วยดึงดูดบริษัทจากทั่วโลกเข้ามาระดมทุนกับ HKEX ในตลาดหุ้นฮ่องกงได้ โดยในปัจจุบันมีบริษัท MNES หลายบริษัทที่ลิสต์บนตลาดหุ้นฮ่องกง เช่น Prada, L’Occitane
ขณะที่เราคาดว่างบ FY22 ที่จะเผยยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวหลังในปีที่ผ่านมายังคงมีแรงกดดันจากการล็อคดาวน์ในจีน ส่งผลให้ตลาดหุ้นฮ่องกงและจีนยังคงซบเซา ประกอบกับการทำ IPO ยังคงลดลง ด้าน Bloomberg คาดรายได้และกำไรใน FY22 จะลดลง 12.9YoY และ 21.6%YoY ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เราคาดว่า HKEX จะสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ตั้งแต่ในช่วง 2Q23-4Q23 โดยมีแรงหนุนหลักจากมูลค่าการ IPO ที่เพิ่มขึ้น 1) เศรษฐกิจฟื้นตัวดีหลังประเทศจีนมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ 2) แรงกดดันจากการคุมเข้มกฎระเบียบของหน่วยงาน โดยเฉพาะในกลุ่มเทคฯที่เริ่มคลี่คลาย 3) การขยายกฎของ Stock Connect ที่จะมีผลทางการในปี 23 นี้จะช่วยดึงดูดการทำ dual-primary มากขึ้น ด้าน Bloomberg คาดอาจเพิ่มขึ้นสามเท่าสู่ราว $40bn ในปี FY23
ปัจจุบันเรามองว่าราคามีการปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นการเปิดประเทศของจีน ทำให้ Valuation อยู่ในระดับ 47.6 ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 42.9 อย่างไรก็ดี เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวหลังมองว่ายังคงมี Upside จากผลประกอบการที่ฟื้นตัวใน FY23 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 380.4HKD ซึ่งมี Upside 3.3% จากราคาปัจจุบัน
|
18/01/2023
|
Bank of America (BAC.US)
|
งบ 4Q22 ดีเกินคาดหนุนจาก NII ที๋โต / มอง NI ชะลอตัวลงใน FY23 หลังมีแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจและต้นทุนเงินฝากที่เพิ่ม
Bank of America เผยงบ 4Q22 ดีกว่าตลาดคาด โดยรายได้โต 11.2%YoY อยู่ที่ $24.6bn หนุนจากดอกเบี้ยรับ (Net Interest Income : NII) ที่เพิ่มขึ้น 29%YoY อยู่ที่ $14.7bn ด้านส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin: NIM) เพิ่มขึ้นดีเช่นกัน 33.3%YoY อยู่ที่ 2.25 ซึ่งช่วยเยียวยารายได้ในส่วนของ IB ที่ลดลงกว่า 50%YoY ทั้งนี้บริษัทคาดการณ์ว่า NII มีแนวโน้มลดลงใน 1Q23
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ ใน 4Q22 ของ Bank of America ได้รับแรงหนุนจาก 1) NII ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและการเติบโตของสินเชื่อ 2) รายได้จากส่วน consumer banking ที่เพิ่มขึ้น 15%YoY หนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว แม้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯจะอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดีสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี รวมถึงความกังวลสภาวะเศรษฐกิจถดถอยกดดันให้ 1) ธนาคารตั้งเงินสำรองสำหรับ Credit losses เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 120% อยู่ที่ $1.1bn 2) ทิศทางตลาดทุนมีความผันผวนส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมการเทรดและรายได้จากธุรกิจ IB ยังคงลดลงใน 4Q22
- ขณะที่เรามองงบในช่วง FY23 ยังคงได้รับแรงหนุนจาก NII ที่เพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงหลังมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตของสินเชื่อลดลง รวมถึงทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงในการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นเช่นกัน 2) ต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นจากการปรับราคาใหม่และการเปลี่ยนจากเงินฝากไม่มีดอกเบี้ยเป็นมีดอกเบี้ย อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผลประกอบการจะมีแรงหนุนจาก 1) การควบคุมต้นทุนของ BAC ที่มีประสิทธิภาพกว่า Peers โดย BAC คาดค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ราว $200mn ใน 1Q23 2) ค่าธรรมเนียมจากการเทรดในตลาดทุนที่เรามองเริ่มฟื้นตัวดีในช่วง 2H23 ซึ่งจะช่วยเยียวยาการเติบโต NII ที่ชะลอตัวลงได้ โดย Bloomberg คาด NII โตชะลอตัวลงอยู่ที่ 15.9%YoY ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ BAC ให้ไว้ว่า NII มีแนวโน้มโตลดลงใน 1Q23
- ในระยะสั้น เรายังมีมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวังต่อการลงทุนใน BAC และมอง Upside ต่อจากนี้ค่อนข้างจำกัดหลัง 1) ราคาปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นผลประกอบการ ซึ่งส่งผลให้ P/E ในปัจจุบันปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 10.8x มากกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 10.5x 2) หุ้น BAC มีลักษณะ Cyclical (โดยรายได้กว่า 40% มาจาก Consumer Bank) ทำให้มีทิศทางผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วง 1H23 ซึ่งเรามองปัจจัยดังกล่าวจะยังคงกดดันหุ้น BAC ไปซักระยะก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งเรามองว่าตอนนั้นถึงเป็นจังหวะในการเข้าลงทุนที่ให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า โดยเราคาดว่าจะเป็นในช่วง 2H23 ที่ Forward PE อยู่ที่ 9.7 ขณะที่ในระยะยาวเรามอง BAC ยังคงน่าสนใจและควรมีติดพอร์ตเพื่อการกระจายความเสี่ยงหลัง 1) มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ประกอบกับมีเงินลงทุนในเทคฯจำนวนมากซึ่งจะช่วยธนาคารพัฒนาธุรกิจได้ดีต่อเนื่อง 2 ) มีฐานลูกค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะในการรับฝากเงินและการปล่อยสินเชื่อ 3) ให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นผ่าน Dividend Yield ที่ค่อนข้างมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี FY23 อยู่ที่ระดับ 2.65 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 40.8USD ซึ่งมี Upside 15.8% จากราคาปัจจุบัน
|
11/01/2023
|
Meituan (3690.Hk)
|
มองงบ
4Q22
ถูกกดดันการล็อคดาวน์ในจีน
/
เริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน
1H23
ก่อนเต็มที่ใน
2H23
- Meituan เผยงบ 3Q22 โดยกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นกว่า 123%YoY แตะ RMB9.3bn ขณะที่รายได้โตเช่นกัน 28%YoY แตะ RMB62.6bn หนุนจาก 1) รายได้ธุรกิจ Local commerce ที่โต 24.6%YoY 2) รายได้ธุรกิจ New Initiatives โต 40%YoY หนุนจากยอดขาย Meituan Grocery ที่โตกว่า 80%YoY
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองงบ 3Q22 โตแกร่ง โดย 1) Local Commerce มีแรงหนุนจากยอดจัดส่งอาหารและคำสั่งซื้อ Instashopping ในช่วง ก.ค.-ส.ค. 22 ที่เพิ่มขึ้น 2) ธุรกิจ New Initiatives ถือว่าฟื้นตัวดีในทุกกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะ Meituan Grocery เป็นผลจากการเพิ่มไลน์สินค้าทั้งแบบ Local และ Seasonal ช่วยดึงดูดผู้บริโภค ขณะที่อัตราการทำกำไรในธุรกิจอื่นดีขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ Power bank และธุรกิจแพลตฟอร์ม B2B supply-chain “Kuailv” ที่เริ่มเข้าใกล้จุดคุ้มทุน
- ใน 4Q22 เรามองว่าการเติบโตของรายได้จำกัดหลังมีแรงกดดันจากการระบาดของโควิด-19 ในจีนนับตั้งแต่ก.ย. 22 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจจัดส่งอาหารและธุรกิจการจองร้านอาหาร, โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีเรามองว่างบยังคงได้รับการเยียวยาจาก 1) การควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่อง 2) การขาดทุนที่น้อยลงในธุรกิจ New Initiatives 3) Instashopping ที่เราคาดได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยที่สุดและยังรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ได้หนุนจากความต้องการช็อปปิ้งที่ยืดหยุ่น
- ขณะที่ในช่วงปี 2023 เรามองว่าการเปิดประเทศของจีนตั้งแต่ช่วงต้นปี 23 จะเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยในการฟื้นตัวของ Meituan โดยเฉพาะในธุรกิจจัดส่งอาหารและธุรกิจการจองร้านอาหาร, โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีเรามองเป็นภาพการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามทิศทางของเศรษฐกิจในประเทศจีนหลังมองว่าในช่วงต้นปี 23 (1H23) นั้นอาจจะมีแรงกดดันจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในจีนผลจากการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 และจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อโรคโควิด-19 เริ่มกลายเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศจีน ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นในช่วงครึ่งปีหลัง (2H23)
- ในระยะยาว ถึงแม้ Meituan จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้เล่นรายใหม่ในอุตสาหกรรม เช่น Douyin แต่เรามองว่า 1) บริษัทมีความสามารถทางการแข่งขันมากพอที่ทำให้ไม่ถูกทดแทนอย่างสมบูรณ์ 2) เจาะกลุ่มลูกค้าในระดับต่างกัน โดย Douyin มีอัตราการทำธุรกรรมต่อออเดอร์ที่ต่ำกว่า 3) อุตฯใหญ่มากพอที่หลายบริษัทจะมีหนทางและพื้นที่การเติบโต นอกจากนี้เรามองว่า Meituan ยังคงน่าสนใจหลังเป็นผู้นำในธุรกิจจัดส่งอาหารในจีน ธุรกิจมีการกระจายตัวและมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ รวมถึงสถานะทางการเงินแกร่ง โดยสัดส่วนหนี้สินต่อผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 0.4 ขณะที่ Valuation ปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดย P/S ปี 23 อยู่ที่ 3.5 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 5.4 นอกจากนี้มองยังคงมี Risk Reward จากการเปิดเมืองอย่างเต็มที่ในช่วง 2Q23 โดยเราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 225.3 HKD ซึ่งมี Upside 26.2% จากราคาปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
|
FOLLOW US
SCB's Facbook INVX's Twitter