04/10/2023
|
Tesla (TSLA.US)
|
การส่งมอบและยอดการผลิตรถยนต์ใน 3Q23
ต่ำกว่าคาด...มองส่งผลกระทบในเชิงลบต่องบ
-
Tesla
เผยยอดการผลิตรถยนต์ใน
3Q23
เพิ่มขึ้นต่ำกว่าคาด
17.6%YoY
อยู่ที่ 430,488 คัน และหดตัวลง
10.2%QoQ
ขณะที่ยอดการส่งมอบรถยนต์เพิ่มขึ้นต่ำกว่าคาด
26.5%YoY
อยู่ที่ระดับ 435,059 คัน และหดตัว
6%QoQ
เช่นกัน อย่างไรก็ดีบริษัทยังคงยืนยันเป้าหมายการส่งมอบในปี
23
ที่ระดับ
1.8
ล้านคันเช่นเดิม
มุมมองของ InnovestX
-
ยอดส่งมอบที่ชะลอตัวในช่วง
3Q23
ได้รับผลกระทบจากการปิดปรับปรุงโรงงานเพื่อเตรียมการผลิตรถ
EV Model 3
ใหม่และ
Cybertruck
ที่ยังไม่ได้เปิดตัว อย่างไรก็ดีถึงแม้ยอดส่งมอบจะอ่อนแอแต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวขึ้นสวนทางซึ่งเรามองว่าตลาดตอบสนองเชิงบวกต่อการคงเป้าตัวเลขส่งมอบรถ
FY23
ที่ระดับเดิม โดยหากอิงกับยอดส่งมอบรวมในช่วง
1Q23-3Q23
ที่ราว
1.3
ล้านคันสะท้อนได้ว่ายอดการส่งมอบในช่วง
4Q23
จะต้องอยู่ที่ราว 475,926 คันเพื่อให้ยอดส่งมอบทั้งปี
FY23
เป็นไปตามเป้า ซึ่งที่ระดับนี้จะทำให้ยอดส่งมอบกลับมาโตอีกครั้งที่ระดับ
10%QoQ
และ
17%YoY
-
ในระยะสั้น เรามองว่า
Tesla
ยังคงมีแรงกดดดันจากหลายปัจจัย โดย
1)
ด้วยภาพการส่งมอบใน
3Q23
ที่ออกมาอ่อนแออาจส่งผลให้งบออกมาต่ำกว่าที่คาด อย่างไรก็ดีมอง
Cybertruck
ที่จะเริ่มส่งมอบใน 4
Q23
จะช่วยเยียวยาและหนุนให้ผลประกอบการเริ่มดีขึ้น
2)
แนวโน้มการคาดการณ์ใน 2024 อาจจะมีการปรับลงเพราะยังไม่มีแผนการเพิ่มกำลังการผลิตใน
Berlin
และ
Austin
3)
แนวโน้มการปรับลดราคาขายลงต่อเนื่องยังคงส่งผลกระทบต่ออัตรา
การทำ
กำไร อย่างไรก็ดีมองแผนการควบคุมต้นทุนของบริษัทช่วยเยียวยาประเด็นนี้
4)
ภาพการแข่งขันระหว่าง
Peers
ใน
อุต
ฯ
EV
ที่ยังคงรุนแรง
5)
ความเสี่ยงจากการควบคุมของทางการ โดยล่าสุดสหภาพยุโรปได้ต่อต้านการสนับสนุนการผลิตรถยนต์
EV
ในจีนซึ่ง
TSLA
เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตรถในจีนและมีการส่งออกจากจีนไปยุโรปราว 9.4 หมื่นคันหรือ 47% ของการส่งมอบ ซึ่งหากว่ามีการตอบโต้อาจจะส่งผลกระทบกับผลประกอบการในระยะถัดไป
-
ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น แต่เรามองว่า
Tesla
จะยังคงเป็นหนึ่งในผู้นำ
อุตฯห
ลัง
1)
แบรนด์แกร่งหลังได้ประโยชน์จากการเป็นผู้เข้าตลาด
EV
รายแรกๆใน
อุต
ฯ
2)
มี
เทค
ฯที่ล้ำสมัย เช่น
Dojo Supercomputer,
Autonomous car,
แบตเตอรี่ ฯลฯ
ซึ่งสามารถ
Disrupt
กลุ่มรถยนต์และกลุ่มผลิตไฟฟ้าได้
3)
มีระบบนิเวศน์ที่ดี โดยมีการผลิตตั้งแต่แบตเตอรี่ ไปจนถึงมีเครือข่าย
Supercharger
ของบริษัทที่กระจายไปทั่วโลก
4)
มีแผนลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่อเนื่อง รวมถึงมีการจัดการกับห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยหนุนอัตรากำไรในอนาคตให้เติบโตต่อเนื่อง
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่าในระยะถัดไป
Tesla
ยังคงมี
Downside
หลัง
1)
มีแรงกดดันจากหลายปัจจัยทั้งจากแนวโน้มงบที่ชะลอตัวใน
3Q23
การแข่งขันใน
อุต
ฯที่ยังคงดุเดือด และการควบคุมจากทางการยุโรป
2)
ด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแรงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับภาพแนวโน้ม
การทำ
กำไรที่ค่อนข้างจำกัดลงหลังมีการปรับลดราคาขาย ส่งผลให้
Valuation
ในปัจจุบันค่อนข้างแพงโดย
เทรด
อยู่ที่
PE
76x
ซึ่งสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่
38.2x
ด้วยภาพนี้ทำให้เราแนะหลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะสั้น อย่างไรก็ดีสำหรับนักลงทุนในระยะยาวเรามองว่ายังคงสามารถลงทุนได้และแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
267USD
ซึ่งมี
Upside 6%
จากราคาปัจจุบัน
|
27/09/2023
|
Costco Wholesale (COST.US)
|
Member Fee ยังคงเป็นแรงหนุนหลักที่ช่วยเยียวยาความต้องการผู้บริโภคที่ซบเซา
-
Costco Wholesale Corp.
เผยงบ
F4Q23
โดยรายได้เพิ่มขึ้น
9.4%YoY
แต่ต่ำกว่าคาดเล็กน้อยเช่นเดียวกันกับ
SSS
ที่ต่ำกว่าคาดและเพิ่มขึ้น
1.1%YoY
ด้านกำไรดีกว่าคาดและเพิ่มขึ้น
15.6%YoY
หลังมีแรงหนุนจาก
Membership Fee
ที่ยังคงเพิ่มขึ้น
13.7%YoY
ขณะที่ปริมาณการขายเฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งคน
(AVG Ticket)
ลดลง
3.9%YoY
มุมมองของ InnovestX
- งบที่ออกมาสะท้อนได้ว่าสภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอทั้งจากเงินเฟ้อที่สูง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่คงอยู่ในระดับสูงนั้นยังคงส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภค โดย 1)
กลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (ขนาด
Ticket
ใหญ่กว่าอาหาร) ยังคงมีปริมาณการขายที่ลดลง โดยเฉพาะในสินค้าฟุ่มเฟือย
2)
สินค้าคงคลังที่หดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดโดยลดลง
7%YoY
หลังบริษัทปรับลดสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ซบเซา อย่างไรก็ดีเรามองว่ายอดขายในกลุ่มสมาชิกยังคงเป็นแรงหนุนหลักที่ช่วยให้งบเติบโตได้
-
ในช่วงงบ
FY24
เรามองว่า
Costco
ยังมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจมหภาคโดยเฉพาะในสหรัฐฯที่มีการชำระคืนเงินกู้ของนักเรียน รวมถึงราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มจนส่งผลให้เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มคงอยู่ในระดับ
สูงต่อเนื่อง ด้วยภาพนี้จึงทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังและชะลอการใช้จ่าย
แต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อ
Costco
ค่อนข้างจำกัดหลัง
1)
กลุ่มลูกค้า
Membership
ของ
Costco
เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงและมีความ
Loyalty
ทำให้ยังคงมีแรงซื้อที่จะช่วยหนุนยอดขายของบริษัทในระยะถัดไปได้
2)
แนวโน้มการปรับขึ้นราคา
Membership
ของ
Costco
ที่จะช่วยหนุนรายได้เพิ่มขึ้นกว่า
$330mn - $660mn
โดยหากอิงกับจำนวนสมาชิกใน
FY22
ที่อยู่ที่ราว
66
ล้านคน ประกอบกับในสถานการณ์ที่
Costco
ปรับขึ้นราคาสมาชิกที่ราว
$5-$10
ขณะที่มองผลกระทบจากประเด็นนี้ต่อการลดลงของจำนวนสมาชิกนั้นค่อนข้างจำกัดหลังกลุ่มลูกค้ามีฐานรายได้สูงและมีอัตราการต่ออายุสมาชิกโดยเฉลี่ยมากกว่า 90% ทั่วโลกและในสหรัฐฯ
3)
ถึงแม้ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง แต่ในทางกลับกันเราคาดว่าภาพนี้ส่งผลบวกให้กับบริษัทหลัง
Costco
มีการขายน้ำมันดิบที่ราคาถูกกว่าตลาดซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าและช่วยเพิ่มปริมาณ
Traffic
ในร้านได้ ประกอบกับยังคงหนุนกำไรของ
Costco
ได้ด้วยเช่นกัน ขณะที่ด้วยภาพปัจจัยเหล่านี้จึง
ทำให้เราเชื่อว่างบของ
Costco
จะยังคงฟื้นตัวและเติบโตได้แม้จะมีแรงกดดันจากปัจจัยมหภาค
-
ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น แต่เรายังคงชอบ
Costco
และมองว่าบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกหลัง
1)
มีฐานลูกค้าจำนวนมากที่มีความจงรักภักดี ประกอบกับมีแรงซื้อแกร่งหลังกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง
2)
มีความได้เปรียบทางต้นทุนและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยในกระจายสินค้าและเพิ่มความแกร่งการจัดซื้อ
3)
ภาพรวมจำนวนสินค้าคงคลังคงเหลือค่อนข้างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบ
Peers
อย่าง
Target
และ
Walmart
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่า
Valuation
ในปัจจุบันที่ระดับ
PE
40x
มีมูลค่าที่สูงกว่าในอดีตเมื่อเทียบกับระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาที่
37x
ประกอบกับราคาหุ้นทีมีการฟื้นตัวมากจากสิ้นปี
22
ที่ผ่านมา ทำให้เรามองว่า
Upside ในระยะถัดไปค่อนข้างจำกัด ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวลง ทำให้เรายังคงแนะหลีกเลี่ยงการลงทุนไปก่อนจนกว่าจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เราคาดว่าการลงทุนในช่วงนั้นน่าจะให้ Risk–Reward ที่คุ้มค้ามากกว่าปัจจุบัน ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 582.6USD ซึ่งมี Upside 4.3% จากราคาปัจจุบัน
|
21/09/2023
|
FedEx (FDX.US)
|
ภาพรวมงบ F1Q24
ออกมาในทิศทางผสม....รายได้ต่ำกว่าคาดสะท้อนอุปสงค์ที่ซบเซา แต่กำไรเติบโตหลังลดต้นทุน นอกนั้นปรับเพิ่มคาดการณ์
FY24
-
FedEx (FDX
) เผยงบ
F1Q24
โดยรายได้ต่ำกว่าคาดและยังคงหดตัว
6%YoY
ส่วนกำไรดีกว่าคาดและเพิ่มขึ้น
23.4%YoY
ด้าน
Operating Margin
เพิ่มขึ้นดีเช่นกัน โดยอยู่ที่
6.8%
จากปีก่อนที่
5.1%
นอกจากนี้บริษัทปรับเพิ่มประมาณการกำไรทั้งปี
FY24
ในช่วงระดับต่ำสุดขึ้นมาเป็น
$17.0-$18.0
ต่อหุ้น (ก่อนหน้านี้คาด
$16.5-$18.5
ต่อหุ้น)
มุมมองของ InnovestX
- ถึงแม้รายได้ใน F1Q24 จะต่ำกว่าคาดสะท้อนอุปสงค์ที่ยังคงซบเซา แต่อย่างไรก็ดีตลาดกลับตอบสนองเชิงบวกจากการปรับเพิ่มประมาณการณ์ขึ้นและกำไรที่ดูดีหลังมีแรงหนุนจาก 1) ส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นหลัง FedEx Freight ได้รับประโยชน์จากการออกจากตลาดของคู่แข่งอย่าง Yellow เนื่องจากการล้มละลาย ประกอบกับธุรกิจ UPS ที่มีปัญหาในการเจรจาแรงงาน ส่งผลให้สินค้าโดยเฉลี่ยในส่วน FedEx Groud เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 400,000 รายการต่อวันในช่วงสิ้นเดือนส.ค. 2) การควบคุมต้นทุนที่ส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้นแกร่งแม้ว่าอุปสงค์จะซบเซาก็ตาม นอกจากนี้ยังส่งผลให้ส่วน Express มีรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มกว่า 18%YoY ด้วยเช่นกันหลังลดต้นทุนจากเครื่องบินที่จอดรถและการ lay off
- ในช่วงที่เหลือของ FY24 เรามองว่า 1) ด้วยลักษณะการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างอิงกับสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในระยะถัดไป เรามีความกังวลต่อภาพของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 23 หรือช่วง F2Q24 ซึ่งอาจจะทำให้ความต้องการทั่วโลกซบเซาส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งสินค้าที่อาจลดลง และกดดันการขยายตัวของมาร์จิ้นต่อเนื่องในระยะถัดไป แต่อย่างไรก็ดีเรเชื่อว่าความต้องการสินค้าในช่วงเทศกาลใน 4Q23 จะสามารถชดเชยได้ ประกอบกับภาพเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี 24 ซึ่งคาดจะช่วงหนุนงบ F3Q24-F4Q24 ให้เติบโตได้ 2) เราเริ่มเห็นความเร็วในการระบายสินค้าเริ่มลดลงหลังจากจำนวนวันสินค้าคงเหลือเริ่มกลับสู่ปกติมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าผลกระทบของตัวเลขเศรษฐกิจและการระบายสินค้าในช่วง 3Q23 นั้นจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 2Q23 ซึ่งเรายังคงเชื่อว่าแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อยๆตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวและการลดการผลิตลงทำให้เรามองว่าจะเห็นการ Re-stocking ในช่วง 4Q23 ด้วยภาพการหยุดระบายสินค้าจะหนุนให้ปริมาณการขนส่งของ FedEx มีแนวโน้มที่ดีขึ้นและฟื้นตัวได้ 3) มีภาพการปรับปรุงโครงข่ายการจัดส่ง ประกอบกับมีแผนการลดต้นทุนทำให้คาดว่าจะช่วยหนุนผลประกอบการในระยะถัดไปได้ ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าถึงแม้ FedEx จะยังคงมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ประกอบกับการระบายสินค้า แต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผลกระทบของสองประเด็นดังกล่าวเริ่มจะสิ้นสุดลง ทำให้เราภาพงบ FY24 มีแนวโน้มในการฟื้นตัวและเติบโตดีกว่า FY23
- ในระยะยาวเรามองว่า FDX น่าสนใจหลัง 1) มีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในด้านต้นทุนและขนาดที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความสามารถในการควบคุมต้นทุนในการผลิตได้ดีสะท้อนจาก GPM ที่อยู่ในระดับเกิน 20% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา 2) มีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดโลกจำนวนมากและมีคู่แข่งน้อยราย เช่น UPS DHL Express ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ 3) มีเครือข่ายการขนส่งและห่วงโซ่ที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก ทั้งจากการขนส่งทางบก ทางอากาศ รวมไปถึงการคัดแยกสินค้า ฯลฯ
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ PE อยู่ที่ระดับ 16.6x มากกว่าระดับ PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 11.1x ทำให้เราแนะมองจังหวะการลงทุนในช่วงที่ราคาย่อตัวลง และหวังการฟื้นตัวของ FedEx ในระยะถัดไปโดยเฉพาะในช่วงงบ F2H24 ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวช่วยหนุนให้อุปสงค์เติบโตได้ ประกอบกับยังมีภาพการระบายสินค้าคงคลังที่เราคาดว่าจบรอบแล้ว ทำให้แรงกดดันต่อ FedEx ลดลงต่อเนื่อง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 255.0 USD ซึ่งมี Upside 9.2% จากราคาปัจจุบัน
|
13/09/2023
|
Apple (AAPL.US)
|
Apple
เปิดตัว
iPhone 15 series
คาดหนุนอุปสงค์ในระยะถัดไป....ขณะที่มองการแบนจากจีนสร้างผลกระทบจำกัด
-
Apple
เปิดตัวสินค้าใหม่ในงาน
Apple Event 2023
โดย
1)
เปิดตัว
iPhone 15
และ
iPhone 15 Plus
ที่รองรับ
USB-C
และรองรับ
MagSafe
อย่างไรก็ดีดูเหมือนส่วนประกอบอื่นจะคล้าย
iPhone 14 Pro
เดิม เพียงแค่ปรับ
ฟั
งก
์ชั่น
เล็กน้อย
2) Apple Watch Ultra 2
และ
Apple Watch Series 9
ที่มาพร้อมกับชิปใหม่
Apple Silicon
ที่ประมวลผลได้ซับซ้อนมากกว่าเดิม ทำให้
Siri
สามารถตอบคำสั่งต่างๆ ได้เพิ่มเติม
3)
ระบบปฏิบัติการ
iOS 17
และ
watchOS
10
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองว่าในระยะสั้น
Apple
ยังมีแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอหลังรายได้ในช่วง
2Q23
ยังคงหดตัว ประกอบกับสต็อกสินค้าตกต่ำ ซึ่งภาพรวมได้รับผลกระทบมาจากอุปสงค์ใน
อุตฯส
มาร์ทโฟนและ
iPad
ที่ชะลอตัวลง และค่าเงินดอ
ลฯ
ที่แข็งค่า แต่อย่างไรก็ดีเราคาดว่าในระยะถัดไปภาพอุปสงค์ของ
อุต
ฯ สมาร์ทโฟนและ
AAPL
จะเริ่มฟื้นตัวและปรับตัวเพิ่มขึ้นได้หนุนจากภาพการออกสินค้าใหม่ของทั้ง
AAPL
และ
Peers
เช่น
Huawei
ที่ดูเหมือนมีภาพการเปลี่ยนแปลงของ
เทคฯแ
ละพัฒนาฟีเจอร์เพิ่ม ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นภาพการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคได้ดี
-
นอกจากนี้อีกหนึ่งแรงกดดันที่ส่งผลกระทบต่อ
Apple
ในระยะสั้นคือภาพความเสี่ยง
Geopolitical Risk
ที่เพิ่มขึ้นหลังทางการจีนเตรียมขยายขอบเขตการแบน
iPhone
ส่วนสหรัฐฯเล็งยกเลิกส่งออก
เทค
ฯไปจีนซึ่งกดดันต่อ
AAPL
และ
ซัพพ
ลายเชนด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีหากดูในปี
FY22
สะท้อนได้ว่า
AAPL
มีรายได้จากจีนและสัดส่วนการจัดส่ง
iPhone
จากจีนที่ราว
19%
ขณะที่กลุ่มพนักงานของรัฐจีนคิดเป็นสัดส่วน
7.5%
ของประชาชนจีนที่มีงานทำ
*
ซึ่งเราจะสามารถประเมินและ
Imply
ได้ว่าจะประเด็นนี้จะส่งผลกระทบต่อรายได้ที่อาจเกิดขึ้นเพียง
1%
หรือคิดเป็นเพียง
3
ล้านเครื่องจากการจัดส่งรวมทั้งหมดที่ราว
220
ล้านเครื่อง
(FY22)
ซึ่งหากทางการจีนไม่ได้มีการขยายขอบเขตการแบนเพิ่มเติม เราคาดว่าผลกระทบจากประเด็นนี้จะค่อนข้างจำกัด
-
ถึงแม้ในระยะสั้นจะมีแรงกดดันแต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าหุ้น
AAPL
ยังเป็นหุ้นที่ดีในระยะยาวหลัง 1) แบรนด์แกร่ง 2) เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและทันสมัยทั้ง
Software
และ
Hardware 3)
มีระบบนิเวศน์ที่ดี 4) ความเสี่ยงด้านการเงินต่ำและมี
Balance sheet
ที่แกร่ง ด้วยภาพเช่นนี้ทำให้เรามองว่าสำหรับใครมีหุ้น เราแนะถือหุ้นต่อถึงแม้ว่ามูลค่าปัจจุบันจะอยู่ที่
29.6
ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อยที่ 2
6.1
แต่ด้วยภาพการปรับประมาณการณ์กำไรขึ้นตั้งแต่ช่วงส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เรามองว่าอาจส่งผลให้มูลค่าในอนาคตปรับตัวลงจากภาพกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ ส่วนสำหรับใครที่ไม่มีหุ้นและไม่ได้รีบร้อนทำกำไรในระยะสั้น เราแนะทยอยสะสมในช่วงที่ราคาปรับตัวลงมาพร้อมหวังการฟื้นตัวของผลประกอบการในช่วง
4Q23-1Q24
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
204.5USD
ซึ่งมี
Upside 14%
จากราคาปัจจุบัน
|
06/09/2023
|
Trip.com (9961.Hk)
|
งบฟื้นตัวและโตแกร่ง อย่างไรก็ดีตลาดกลับตอบสนองเชิงลบต่องบที่ออกมาดี...
- Trip.com เผยงบ 2Q23 ดีกว่าคาด โดยรายได้โต 180.4%YoY และมากกว่าระดับในปีก่อนเกิดโควิด-19 กว่า 29% แล้ว ด้านกำไรเติบโตแกร่งเช่นกันและอยู่ที่ 5.1RMB ต่อหุ้นจากปีก่อนที่ขาดทุน 0.31RMB ต่อหุ้น ขณะที่งบมีแรงหนุนจากการจองโรงแรมภายในประเทศที่เติบโต 170%YoY และ การจองตั๋วเครื่องบินทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นกว่า 120%YoY
มุมมองของ InnovestX
- เรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างเติบโตและสะท้อนการฟื้นตัวที่แกร่ง อย่างไรก็ดีตลาดกลับตอบสนองเชิงลบต่อผลประกอบการที่ออกมา ซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของ Trip.com ในระยะถัดไปหลัง 1) การฟื้นตัวในภาพรวมเริ่มกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 โดยการจองโรงแรมในประเทศและการจองตั๋วเครื่องบินเติบโตกว่า 60% และมากกว่า 2 เท่าของระดับในปี 2019 ด้วยภาพนี้จึงทำให้ตลาดค่อนข้างกังวลว่า Upside ของการฟื้นตัวในระยะถัดไปจะค่อนข้างจำกัดแล้ว 2) การท่องเที่ยว Outbound หรือขาออกจากประเทศจีนมีภาพการฟื้นตัวที่ช้าหลังการจับจ่ายของผู้บริโภคมีแรงกดดันหลักจากค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าและเศรษฐกิจที่อ่อนแอ 3) ความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวใน 2H23 ที่จะกดดันต่อความต้องการผู้บริโภคที่ใช้บริการในธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนการท่องเที่ยวองค์กรที่การเติบโตค่อนข้างอิงต่อภาพเศรษฐกิจมหภาคมาก
- ถึงแม้ตลาดจะค่อนข้างกังวลต่อภาพการฟื้นตัวในระยะถัดไป แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่า 1) การฟื้นตัวของธุรกิจในช่วงที่ผ่านมานั้นค่อนข้างกระจุกตัวอยู่แต่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ Inbound ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่ามีการฟื้นตัวอย่างเต็มที่แล้วสวนทางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ Outbound ที่การฟื้นตัวทั่วทั้งอุตฯในจีนยังอยู่ที่เพียง 37% ของระดับก่อนเกิดโควิด-19 เท่านั้น (ในแง่ของปริมาณผู้โดยสารทางอากาศระหว่างประเทศ) ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าการฟื้นตัวในระยะถัดไปยังคงมี Room ในการเติบโตอยู่ 2) ถึงแม้ภาพเศรษฐกิจมหภาคและค่าเงินหยวนที่อ่อนแอจะกดดันธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผลกระทบจากประเด็นนี้ไม่ได้เลวร้ายมากเท่าที่ตลาดกังวล สะท้อนได้จากการฟื้นตัวของธุรกิจ Outbound ของ Trip.com ในช่วง 2Q23 ที่ค่อนข้างฟื้นตัวดีมากกว่าทั่วทั้งอุตฯ โดยอยู่ที่ 60% ของระดับก่อน Covid-19 (อุตฯอยู่ที่ระดับ 37% เท่านั้น) ประกอบกับคาดการณ์ของ China Air Aviation Association ที่คาดว่าปริมาณเที่ยวบินขาออกทั่วทั้งอุตฯจีนจะสูงถึง 60%-65% ใน 2H23 ซึ่งมีทิศทางเดียวกันกับ Trip.com ที่ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจ Outboundและคาดฟื้นตัวนำหน้าอุตฯต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง นอกจากนี้บริษัทยังคงเห็นสัญญาณการเข้าพักและการจองบนแพลตฟอร์มที่แกร่งในระยะถัดไป ด้วยภาพเช่นนี้ทำให้ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากหลายปัจจัยแต่เรายังคงมุมมองบวกต่อการฟื้นตัวและเชื่อว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 2H23
- ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ Trip.com หลัง 1) เป็น Online Travel Agent รายใหญ่ที่สุดในจีน ทำให้เป็นได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้นำตลาดและมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี 2) ธุรกิจมีมาร์จิ้นที่สูง เช่น ธุรกิจการเดินทางขาออกจากประเทศจีน รวมถึงมีความสามารถในการทำกำไรที่มีประสิทธิภาพโดยอัตรากำไรจากการดำเนินงานระยะยาวอยู่ที่ 20%-30% 3) แหล่งรายได้มีการกระจายตัว โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 25% จากรายได้ทั้งหมด 4) สถานะทางการเงินดี โดยมี D/E ต่ำที่ 0.5
- ในส่วนของมุมมองการลงทุนเรามองว่าด้วยภาพ Valuation ที่ค่อนข้างน่าสนใจโดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 23.6 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 48.2 ประกอบกับด้วยภาพการฟื้นตัวของ Outbound ที่ยังคงมี Room ในการเติบโต ทำให้เรามองว่าการที่ราคาหุ้นปรับตัวลงมาถือเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีและคาดหวังการเติบโตอย่างต่อเนื่องใน 2H23 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 375.7HKD ซึ่งมี Upside 19.6% จากราคาปัจจุบัน
|
30/08/2023
|
BYD (1211.HK)
|
งบมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากสงครามราคาที่ดุเดือด...อย่างไรก็ดีภาพยอดขายยังคงดูดีสุดในกลุ่ม EV
- BYD เผยงบ 2Q23 โดยรายได้โต 67%YoY ด้านกำไรเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3.7 หยวนต่อหุ้นซึ่งเป็นระดับที่มากกว่าปีก่อนกว่าสองเท่า โดยปีก่อนกำไรอยู่ที่ราว 1.2 หยวนต่อหุ้นเท่านั้น หนุนจากปริมาณการขายรถ EV ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการปรับลดราคาลงเพื่อดึงดูดผู้บริโภคในช่วงเศรษฐกิจซบเซา
มุมมองของ InnovestX
- เรามองว่าภาพงบที่ออกมาไม่ได้เลวร้าย ถึงแม้การเติบโตจะชะลอตัวลงในรอบปีซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจาก 1) การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นโดยในเฉพาะสงครามการลดราคาขายในอุตฯที่ดุเดือดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา 2) เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ความต้องการผู้บริโภคยังคงซบเซา แต่อย่างไรก็ดีถ้าหากดูภาพรวมของงบเรามองว่าตัวเลขที่ออกมายังคงเติบโตได้ดีซึ่งหากเทียบ Peers ถือได้ว่า BYD ยังคงมียอดขายใน 2Q23 ที่แกร่งและเติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่มโดยมียอดขายรถ EV รวมนำ Tesla ราว 100,000 กว่าคันและเป็นผู้นำตลาดเหนือ Volkswagen AG แบรนด์รถยนต์ที่มียอดขายที่ดีที่สุดในจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกนั้น Gross Margin ยังเติบโตเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 18.7 ซึ่งถือว่าดูดีกว่า Tesla ที่ 18.2 เช่นกัน
- ในช่วงที่เหลือของปี FY23 เรามองว่า BYD ยังคงมีแรงกดดันจากภาพการแข่งขันที่สูงในอุตสาหกรรม EV ทั้งจากความสามารถคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสงครามราคาที่หลายบริษัทยังคงมีแนวโน้มปรับลดราคาขายรถลงอยู่เพื่อดึงดูดความต้องการผู้บริโภคในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา ทำให้เราคาดว่าการเติบโตของ BYD ได้รับผลกระทบแน่นอน แต่มองว่าผลกระทบดังกล่าวจะค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบ Peer อื่นหลังเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเสถียรภาพ สถานะการเงินดี และมีความสามารถทางการดำเนินงาน นอกจากนี้บริษัทยังมีการเปิดตัวแบรนด์รถยนต์หรูในเครือ Yangwang และ Fang Cheng Bao ซึ่งทำให้ BYD สามารถตั้งราคาขาย EV ภายใต้แบรนด์ดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นได้โดยคาดสามารถขาย EV ได้ในราคา 1 ล้านหยวนซึ่งเป็นระดับที่มากกว่าต้นทุนของรถยนต์ Hi-End บางรุ่นเกือบสองเท่าตัว ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าในระยะถัดไปแบรนด์ Hi-End ใหม่นี้จะช่วยหนุนมาร์จิ้นให้เพิ่มขึ้นได้
- มุมมองในระยะยาว เรายังคงชอบ BYD ทั้งจาก 1) มีพื้นฐานที่แกร่งจากความสามารถทางการเงินและแนวโน้มกำไรที่ดี 2) มีความสามารถการแข่งขันที่ดี โดยมีการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ มีซัพพลายเชนที่ครบวงจร ทำให้ลดความเสี่ยงในการพึ่งพา Outsource หรือ Third Party 3) มีแผนธุรกิจชัดเจนตั้งแต่ในส่วนการลดต้นทุน ไปจนการขยายตลาด มองช่วยหนุนอัตรากำไรให้โตดีในอนาคต 4) BYD อยู่ในกลุ่มรถยนต์ EV ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเกิดใหม่ที่ได้รับประโยชน์และการสนับสนุนจากทางการจีนต่อเนื่อง
- ในส่วนของมุมมองการลงทุนในระยะสั้น เรามองว่า BYD ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) ราคาหุ้นมีทิศทางผันผวนกดดันจากภาพเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด 2) สงครามราคาในอุตฯ EV ที่เราไม่สามารถตอบได้ว่าจะจบลงเมื่อใด แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพมูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ค่อนข้างน่าสนใจ โดย PE อยู่ที่ระดับ 26.7 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับ 56.1 ประกอบกับงบที่ภาพรวมเติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่ม จึงทำให้เรามองว่าสำหรับใครที่สนใจลงทุน BYD เรามองว่ายังคงสามารถทำได้หากรับความเสี่ยงดังกล่าวได้ แต่ถ้าหากใครที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ เราแนะรอจังหวะลงทุนในช่วงที่สงครามราคาหยุดลงซึ่งจะทำให้หุ้นมีความผันผวนลดลงและพลิกกลับมาเติบโตต่อได้ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 361 HKD ซึ่งมี Upside 52% จากราคาปัจจุบัน
|
23/08/2023
|
Baidu (9888.Hk)
|
งบฟื้นตัวต่อเนื่องและเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ...ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการได้รับประโยชน์จาก AI
-
Baidu
เผยงบ
2Q23
ดีกว่าคาด โดยรายได้โต
15%YoY
และ
9%QoQ
สู่
RMB34bn
ขณะที่กำไรดีกว่าคาดและเพิ่มขึ้น
43%YoY
เช่นเดียวกันกับกำไรขั้นต้นและกำไรจากการดำเนินงานที่ปรับตัวขึ้นดี ด้านรายได้จาก
Baidu Core
ซึ่งรวมธุรกิจโฆษณาบน
Search Engine,
คลาว
ด์
และรถยนต์อัตโนมัติเพิ่มขึ้น
15%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองว่างบ
2Q23
สะท้อนทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมไปถึงออกมาดีกว่าคาดสวนทางความกังวลของตลาดต่อภาพเศรษฐกิจจีนโดยรวม โดยงบมีแรงหนุนจาก
1)
รายได้จากโฆษณาออนไลน์และไม่ออนไลน์เติบโต
15%YoY
และ
12%YoY
ตามลำดับ สะท้อนได้ว่าการใช้จ่ายของลูกค้ากลุ่มธุรกิจยังคงมีอยู่ถึงแม้เศรษฐกิจจะอ่อนแอ
2)
รายได้จากกลุ่มธุรกิจ
AI Cloud
ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่ได้รับประโยชน์จากความต้องการ
AI
ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนได้จาก
PaddlePaddle
แพลตฟอร์มการเรียนรู้เชิงลึกแบบ
open-source
ที่จำนวนผู้ใช้งานเติบโตขึ้นเป็น 8 ล้านคนในช่วงกลางเดือนส.ค. 23 ประกอบกับ
Ernie bot
ที่ยังคงมีความแกร่งและพัฒนาให้มีความสามารถหลายด้านเหนุนความต้องการใช้ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากหลายทาง เช่น การใช้พัฒนาร่วมกับ
Search Engine Baidu
3)
ด้านบริการรถยนต์อัตโนมัติ
Apollo Go
มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า
149%YoY
และกลุ่มธุรกิจ
Streaming
iQIYI
มีรายได้เพิ่มขึ้น
17%YoY
สะท้อนความการเติบโตในทุกกลุ่ม
-
ในช่วงที่เหลือของปี
FY23
ถึงแม้เรามอง
Baidu
จะมีแรงกดดันจากแนวโน้มการฟื้นตัวของจีนที่อาจช้ากว่าคาด แต่อย่างไรก็ดีจากภาพงบ
1H23
ที่ออกมาทำให้ เรามองได้ว่าเศรษฐกิจมหภาคอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจของ
Baidu
มากอย่างที่ตลาดคาด และยังคงสามารถคาดหวังต่อการฟื้นตัวของธุรกิจได้ทั้งจาก
1)
การอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่ได้รับประโยชน์จาก
AI
ซึ่งภายในจีนมีคู่แข่งไม่กี่รายเพียง
Tencent Alibaba
ประกอบกับมอง
Baidu
มีการพัฒนาที่ก้าวหน้าที่สุดใน
อุต
ฯ
2)
เราเชื่อว่ากลุ่ม
Baidu core
จะยังคงเติบโตต่อทั้งจาก
Ads
ที่ยังคงมี
Demand
จากกลุ่มค่าใช้จ่ายโฆษณาในส่วนการดูแลสุขภาพ อีคอมเมิร์ซ และการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
ประกอบกับเราคาดว่าปริมาณการใช้บริการ
Apollo Go
จะยังคงเพิ่มขึ้นหลังล่าสุดบริษัทได้ขยายการให้บริการไปในอีกหลายเมืองเพิ่มเติมเนื่องจากทางการจีนได้ให้ใบอนุญาตเพื่อให้บริการเรียกรถโดยสารไร้คนขับเต็มรูปแบบในอีก 4 เมืองเพิ่มเติม ได้แก่ ปักกิ่ง เซ
ิน
เจ
ิ้น
อู่ฮั่น และฉงชิ่ง
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน ถึงแม้ในระยะสั้นเรามองว่าราคาหุ้นยังคงมีทิศทางผันผวนกดดันจากภาพเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพ
1)
มูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
อยู่ที่ระดับ
13.4
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย
5
ปีที่ระดับ
25.7 2)
ภาพการฟื้นตัวของงบและการเติบโตที่แกร่งในทุกธุรกิจ
3)
บริษัทอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่ได้รับประโยชน์จาก
AI
ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่า
Downside
ในฝั่งธุรกิจค่อนข้างจำกัดและมองบวกต่อ
Baidu
เราจึงแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง
พร้อมคาดหวังการฟื้นตัวต่อ
FY23
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 178.7
HKD
ซึ่งมี
Upside 43.8%
จากราคาปัจจุบัน
|
17/08/2023
|
JD.COM (9618.HK)
|
งบ
2Q23
เห็นภาพการฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้มอง
Downside
เริ่มจำกัด
-
JD.com เผยผลประกอบการใน 2Q23 ดีกว่าคาดโดยรายได้เพิ่มขึ้น 7.6%YoY ขณะที่กำไรเติบโตกว่า 50%YoY ส่วน EBITDA ดีกว่าคาดและเติบโตกว่า 45%YoY ด้าน EBITDA Margin เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3.6% นอกจากนี้รายได้เติบโตทุกกลุ่ม นำโดยกลุ่ม Retail และ Logistic ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น 6.4% จากค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้น
มุมมองของ InnovestX
- เรามองงบ 2Q23 ที่ออกมาค่อนข้างสะท้อนภาพการฟื้นตัวที่ดีและสามารถเติบโตได้ทุกกลุ่มธุรกิจถึงแม้จะมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย โดย 1) ถึงแม้จะมีแรงกดดันในภาพใหญ่จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการ Restocking ที่ยังคงดำเนินอยู่ในจีนแต่กลุ่มโลจิสติกส์ยังสามารถเติบโตแกร่ง 31.2%YoY 2) กลุ่มคอมเมิร์ซที่ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งใหม่ เช่น ByteDance แต่ด้วยแคมเปญส่วนลด 1 หมื่นล้านหยวนที่บริษัทได้ทำไปในช่วงเดือนมี.ค.ช่วยดึงดูดจำนวนผู้ใช้รายใหม่ให้เพิ่มขึ้นได้ ประกอบกับอุปสงค์ในช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง 6.18 ที่ยังคงเพิ่มขึ้นแม้จะมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัว 3) ถึงแม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น แต่เรามองว่าบริษัทยังคงมีการควบคุมต้นทุนได้ดีหลังมีแผนการยกเลิกธุรกิจคอมเมิร์ซในไทยและอินโดนีเซียที่ยังไม่สามารถสร้างกำไรได้เพื่อเยียวยาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าการตลาดและเพิ่มขึ้นในช่วงเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดี 4) ภาพกำไรจากการดำเนินงานที่ดูดีขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจใหม่ที่พลิกกลับมากำไรและในแพลตฟอร์ม Dada Nexus ที่จัดส่งของแบบ Ondemand ที่ขาดทุนน้อยลงจนเหลือ 1%YoY ซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการลดต้นทุนที่ดี
- ใน FY23 เรามองว่าถึงแม้ JD.com จะยังคงมีแรงกดดันจาก 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าคาด 2) การแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงขึ้นทั้งในธุรกิจ E-commerce และกลุ่มธุรกิจคลาวด์ แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพยอดขายในช่วงเทศกาล 6.18 และยอดขาย Retail ใน 2Q23 ที่ยังคงเติบโตได้ในช่วงที่มีแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัวจึงสามารถสะท้อนได้ว่าการจับจ่ายในจีนไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดคาด โดยมีแรงหนุนจากกลุ่มสินค้าจำเป็นและกลุ่มเครื่องใช้ในบ้าน ขณะที่กลุ่มสินค้าไม่จำเป็นยังคงมีภาพการใช้จ่ายที่ลดลงอยู่ นอกจากนี้ยังคงเห็นรายได้จาก Marketplace and marketing และกลุ่มโลจิสติกส์ที่เติบโตดี ทำให้เรามองว่าถึงแม้งบจะยังคงมีแรงกดดันจากปัจจัยมหภาค แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพอุปสงค์ที่ยังคงมี ประกอบกับการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะทำให้งบใน 2H23 จะยังคงฟื้นตัวโดยมีต้นทุนที่ลดลงสนับสนุนเพิ่มเติม
- ในระยะยาวเรามองว่า JD.com ยังคงน่าสนใจหลัง 1) ธุรกิจหลักของบริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดจีน เช่น E-commerce ขนส่ง 2) ระบบนิเวศน์ของบริษัทครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดยคลังสินค้าและเครือข่ายการจัดส่งมีความ Competitive สุดเมื่อเทียบกับ Peers 3) การขยายตัวของกำไรในระยะยาวค่อนข้าง Sustain หนุนจาก ธุรกิจที่มีลักษณะเป็น First-party ทำให้มีความได้เปรียบทางต้นทุนที่ต่ำ ประกอบกับการผสมผสานที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจแพลตฟอร์ม Third Party ที่มีอัตราการทำกำไรสูง 4) ธุรกิจ 1P และ 3P มีขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับประโยชน์จากภาพ Economic of scale และมีอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์
- ในส่วนของมุมมองการลงทุน ถึงแม้ในระยะสั้นเรามองว่าราคาหุ้นยังคงมีทิศทางผันผวนกดดันจากภาพเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพ 1) เรามองว่าราคาหุ้นค่อนข้างรับรู้แรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาพอสมควรสะท้อนจากราคาหุ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 23 ที่ปรับตัวลงมากว่า 50% จากระดับสูงสุด จนทำให้มูลค่าหุ้นปรับตัวลงมาอยู่ในระดับ 13.4x ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับ 48.9x 2) ทิศทางราคาหุ้นที่ปรับตัวลงค่อนข้างสวนทางกับภาพผลประกอบการที่เริ่มฟื้นตัวได้ ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นยังไม่ได้รับรู้ประเด็นการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจเท่าที่ควร ด้วยภาพ Downside ที่ค่อนข้างจำกัด ประกอบกับมูลค่าหุ้นที่ถูก ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวและคาดหวังต่อ Upside จากการฟื้นตัวในช่วง 2H23 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 237 HKD ซึ่งมี Upside
|
09/08/2023
|
Amazon (AMZN.US)
|
งบ 2Q23 ดีกว่าคาดหนุนจาก NII ที่โต / มองแนวโน้ม NII ยังคงโต แต่จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง 23
-
Amazon
เผยงบดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 11%
YoY
หนุนจากรายได้ในกลุ่มคลาว
ด์
(
+12%YoY
) และกลุ่มคอมเมิร์ซ (
+4%YoY
) ที่ออกมาเติบโตและดีกว่าคาด ด้านกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นสู่ $0.63 จาก $0.1 ในปีก่อนหลังมีภาพการควบคุมต้นทุนที่ดี นอกจากนี้บริษัทคาดการณ์รายได้ใน 3
Q23
อยู่ที่ $138
bn-$143bn
ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองเริ่มเห็นพัฒนาการของ
Amazon
มาตั้งแต่
1Q23
ที่สะท้อนได้ว่าการควบคุมต้นทุนเริ่มเป็นผลและดูดีที่สุดทั้งในกลุ่ม
อุต
ฯ เดียวกันและท่ามกลางกลุ่ม
เทค
ฯ ขณะที่ถึงแม้ในส่วนของ
ธุ
รกิจอีคอมเมิร์ซและคลาว
ด์
เติบโตดีกว่าที่คาด แต่
Growth
ที่ออกมาไม่ได้ถือว่าแรงหรืออาจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ
Peer
ด้วยภาพเช่นนี้ทำให้เรามองได้ว่างบไม่ได้มีแรงหนุนจากการเติบโตที่เพิ่มขึ้นแรง แต่เป็นผลมาจากการควบคุมต้นทุนที่บริษัททำได้มีประสิทธิภาพ โดย
operating expenses
เพิ่มขึ้นเพียง
7.5%YoY
ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี
2012
นอกนั้นเราเริ่มเห็นการเติบโตในกลุ่มคลาว
ด์
ที่ค่อนข้างคงที่มา
6
ไตรมาสติดต่อกัน
-
ใน
FY23
เรามองว่าถึงแม้
AMZN
จะยังคงมีแรงกดดันจาก 1) เศรษฐกิจที่ชะลอตัวที่อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ของผู้บริโภคในการจับจ่ายบนธุรกิจคอมเมิร์ซ 2) การแข่งขันในกลุ่ม
Streaming
ที่ยังคงสูงต่อเนื่องประกอบกับสงครามราคาที่กดดันการเพิ่มขึ้นของมาร
์จิ้น
อย่างไรก็ดีด้วยภาพยอดขายในช่วง
Prime Day
และยอดขาย
E-commerce
ใน
2Q23
ที่ออกมาสะท้อนได้ว่าการจับจ่ายไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดคาดโดยยังมีแรงหนุนจากกลุ่มสินค้าจำเป็น ขณะที่กลุ่มสินค้าไม่จำเป็นยังคงมีภาพการใช้จ่ายที่ลดลงอยู่ นอกจากนี้ยังคงเห็นรายได้จากโฆษณาที่เติบโตกว่า
22%
ทำให้เรามองว่าผลประกอบการของ
Amazon
ใน
2H23
ยังคงมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีต้นทุนที่ลดลงสนับสนุนเพิ่มเติม
-
ในระยะยาวเรามองว่า
AMZN
น่าสนใจหลัง
1)
มีโครงข่ายและผู้ใช้งานขนาดใหญ่ จากการเป็นผู้นำในตลาด
E-commerce
ของสหรัฐ
ฯแ
ละยุโรป
2)
ระบบปฏิบัติการมีประสิทธิภาพผ่านการบริหารเครือข่ายและคลังสินค้าพร้อมส่ง
3)
แบรนด์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแข็งแกร่ง ส่งผลให้คู่แข่งยากที่จะเลียนแบบ
4)
ฐานะทางการเงินแกร่งและมีความเสี่ยงด้านการเงินต่ำ
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่า
1)
ในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นค่อนข้างรับรู้แรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงพอสมควร
สะท้อนได้จากราคาหุ้นหากดูตั้งแต่ช่วงกลางปี
22
ที่มีการปรับตัวลงจากระดับสูงสุดจนถึงระดับต่ำสุดในช่วงต้นปี
23
ราว
70%
อย่างไรก็ดีถึงแม้ราคาหุ้นจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่มูลค่าหุ้นในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน่าสนใจ โดย
EV/EBITDA
อยู่ที่ 15.
0x
ซึ่งถือว่าน้อยกว่าระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่
18.4x 2)
การฟื้นตัวของราคาหุ้นหากเทียบ
Peer
ยังถือว่าตามหลัง
3)
ด้วยภาพแนวโน้มที่ดีจากการคาดการณ์ที่บริษัทให้สูงกว่าตลาดคาด ประกอบกับการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพสามารถเยียวแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในระยะถัดไปได้ รวมไปถึงการใช้จ่ายในอีคอมเมิร์ซที่ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ตลาดคาด ทำให้เรามองว่าในระยะถัดไป
Downside
ของหุ้นค่อนข้างจำกัดแล้ว
และสามารถคาดหวังการฟื้นตัวที่ยังคงมี
Upside
จากการฟื้นตัวได้ เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัว ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่
169.5USD
ซึ่งมี
Upside 19.2%
จากราคาปัจจุบัน
|
03/08/2023
|
PayPal (PYPL.US)
|
ภาพรวมงบ
F2Q23
และการให้คาดการณ์
3Q23
ดีกว่าคาด อย่างไรก็ดีตลาดตอบสนองต่อ
Operating margin
ที่ชะลอตัวและต่ำกว่าคาด
- Paypal (PYPL) เผยงบเป็นไปตามคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 8%YoY ส่วนกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นราว 25%YoY หนุนจาก Total payment ที่เพิ่มขึ้น 11%YoY ด้าน Operating margin โตต่ำกว่าคาด 21%YoY ขณะที่บริษัทให้คาดการณ์รายได้ใน 3Q23 อยู่ที่ราว $7.4bn ด้านกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ $1.22-$1.24 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดให้คาดการณ์ไว้
มุมมองของ InnovestX
- หากตัดความหวังตลาดออก เรามองว่าภาพรวมงบ 2Q23 ค่อนข้างดูดีหลังทั้งรายได้ กำไร และปริมาณการชำระเงินยังสามารถเติบโตได้ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประกอบกับบริษัทเผยเริ่มเห็นการฟื้นตัวของกลุ่มอีคอมเมิร์ซ แต่อย่างไรก็ดีราคาหุ้นในช่วง After Hours ตอบสนองในเชิงลบ หลัง Operating margin ที่ออกมาต่ำกว่าคาดและชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ซึ่งเรามองเป็นผลกระทบจาก 1) การตั้งสำรองในพอร์ตสินเชื่อไว้มากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ค้า 2) ผลิตภัณฑ์ธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำเติบโตแกร่ง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีมาร์จิ้นสูงโตชะลอตัวลงหลังมีแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งอย่าง Apple ด้วยภาพนี้จึงทำให้มาร์จิ้นชะลอตัว
- ใน FY23 เรามองว่าถึงแม้ PYPL จะยังคงมีแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีในช่วงครึ่งปีหลัง 23 ที่จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคสะท้อนได้จากเงินสะสมของสหรัฐฯที่ลดลง รวมถึงการจ้างงานที่ชะลอตัวลง แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพการใช้จ่ายใน E-commerce ในสหรัฐฯที่ยังออกมาดีสะท้อนจากตัวเลขในช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง Prime Day ของ AMZN ประกอบกับมีภาพที่เริ่มฟื้นตัวเนื่องหลังเริ่มเห็นภาพผู้บริโภคเริ่มมีการใช้จ่ายตามดุลพินิจซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากภาพเงินเฟ้อในระดับสูงที่เริ่มจะชะลอตัวลง ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าถึงแม้ PYPL จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคแต่อาจไม่ได้มีนัยสำคัญหรือเลวร้ายจนถึงขั้นส่งผลให้ธุรกิจหรือกำไรชะลอตัวลงมากนัก ซึ่งอาจกระทบเพียงทำให้อัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำเท่านั้น
- ในระยะยาวเรามองว่า PYPL น่าสนใจหลัง 1) โมเดลธุรกิจแกร่ง มีคู่แข่งน้อยราย และครอบคลุมการให้บริการทั่วโลก โดยบริษัทเป็นเจ้าของ Xoom ซึ่งเป็นธุรกิจการโอนเงินระหว่างประเทศ และ Venmo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินระหว่างบุคคล 2) เทรนด์การชำระเงินแบบดิจิตัลและสังคมไร้เงินสดกำลังเติบโต 3) การพัฒนาเครือข่ายผู้ค้าและผู้บริโภคของ PayPal ในช่วงเริ่มต้นของ E-Commerce (PYPL เคยเป็นบริษัทลูกของ E-Bay) ทำให้บริษัทมีความสามารถทางการแข่งขันและได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง เช่น มีฐานลูกค้าแกร่ง แบรนด์ติดตลาด ฯลฯ
- ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่า 1) ในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นค่อนข้างรับรู้แรงกดดันจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงพอสมควร สะท้อนได้จากราคาหุ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 23 ที่มีการปรับตัวลงจากระดับสูงสุดราว 25% ส่งผลให้มูลค่าหุ้นปัจจุบันปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 23.9x น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 29.2x ประกอบกับอยู่ต่ำกว่าระดับอุตฯที่ 14x และ Peer ที่ MA 35.2x V 32.3x 2) บริษัทมีการปรับเพิ่มคาดการณ์กำไร FY23 ขึ้น ประกอบกับมุมมองของเราที่คาดว่าการใช้จ่ายในช่วง 2H23 จะออกมาไม่ได้เลวร้ายและคาดจะมีทิศทางการฟื้นตัวตามกลุ่มอย่าง MA และ V ด้วยภาพนี้ทำให้เราเชิ่อว่าหุ้นยังคงมี Upside และสามารถคาดหวังการฟื้นตัวได้ ประกอบกับมองราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาจากผลประกอบการถือเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดี ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 89.8USD ซึ่งมี Upside 18.9% จากราคาปัจจุบัน
|
26/07/2023
|
Microsoft (MSFT.US)
|
งบ 2Q23 ดีกว่าคาดหนุนจาก NII ที่โต / มองแนวโน้ม NII ยังคงโต แต่จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง 23
-
Microsoft
เผยงบ
4Q23
ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น
8%YoY
และกำไรเพิ่มขึ้น
20%YoY
หนุนจากรายได้กลุ่ม
Productivity and Business
และกลุ่มคลาว
ด์
ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดีรายได้จากส่วน
More Personal Computing
หดตัว
4%YoY
นอกจากนี้บริษัทเตรียมเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อขยายศูนย์ข้อมูลและซื้อชิปที่จำเป็นสำหรับการรันระบบ
AI
ที่ซับซ้อน
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองว่างบในภาพรวมออกมาดีกว่าตลาดคาด อย่างไรก็ดีดู
เหมือนตลาดจะค่อนข้างตอบสนองในทิศทางลบ
ซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากในช่วงก่อนที่
ตลาดค่อนข้างคาดหวังอย่างมากต่อการเติบโตในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
AI
โดยเฉพาะ
Cloud
แต่ภาพที่ออกมานั้นผิดไปจากที่ตลาดคาดจึงทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลง โดย
1)
ยอดขายใน
Azure
ที่ถึงแม้จะเพิ่มขึ้น
26%YoY
แต่อย่างไรก็ดีถือว่าโตชะลอตัวลงจากระดับไตรมาสก่อนที่
31%YoY
นอกจากนี้ดูเหมือนคาดการณ์การเติบโตใน
1Q24
อยู่ที่
25%-26%
ซึ่งถือว่ายังชะลอตัวลงจากระดับในปีก่อนใน
FY23
ที่
42%
และ
FY22
ที่
48%
เช่นกัน
ทั้งนี้บริษัทมองรายได้ส่วนนี้จะโตแบบค่อยเป็นค่อยไป
2)
รายได้ใน
กลุ่ม
More Personal Computing
ที่สะท้อนได้ชัดว่า
อุต
ฯที่เกี่ยวข้องกับ
PC
ยังคงมีแรงกดดันและฟื้นตัวไม่เต็มที่
-
ใน
FY24
เรายังคงมองบวกต่อ
MFST
หลัง
1)
ถึงแม้การเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ
PC
อย่างเช่น
ชุดซอฟต์แวร์
Office
จะค่อนข้างอิงกับธุรกิจ
PC
ซึ่งมีทิศทางชะลอตัวลง แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่าด้วยบริการสมัครสมาชิก
Copilot
แบบใหม่ของ
MSFT
ที่จะเพิ่ม
AI
ให้กับผลิตภัณฑ์
Office
โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม $30 ต่อเดือน และสามารถเพิ่มราคารายเดือนสำหรับลูกค้าองค์กรได้มากถึง 83% ทำให้เรามองรายได้เพิ่มเติมผ่านการสมัครสมาชิกแบบประจำจะช่วยเยียวยาได้
2)
ถึงแม้การเติบโตของคลาว
ด์
Azure
ค่อนข้างคงที่แล้ว แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพความต้องการทาง
AI
ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยหนุนการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
3)
การรับรู้รายได้และบริการของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ
AI
ที่เราคาดว่าจะอยู่ในช่วงครึ่งปีหลังของงบประมาณปี
24
นี้ โดยล่าสุดมีการเก็บ ค่าบริการ
Bing Chat Enterprise
เพิ่มเติมเช่นกัน
4) Microsoft
และ
Activision Blizzard (ATVI)
วางแผนที่จะทำงานต่อไปเพื่อบรรลุข้อตกลงมูลค่า $75
bn
โดยจัดการกับปัญหาด้านกฎระเบียบที่ยืดเยื้อหลังเดดไลน์การควบรวมกิจการใกล้เข้ามา ด้วยภาพเช่นนี้ทำให้เรามองว่าทั้งบริการ
Copilot office
ใหม่และกิจการเกม
ATVI
จะช่วยหนุนให้รายได้ของ
MSFT
เพิ่มขึ้นราว 10%-15% ได้
-
ในระยะยาวเรามองว่า
Microsoft
น่าสนใจหลัง
1)
โมเดลธุรกิจแกร่ง
2)
เป็นผู้นำตลาด
Software
และมีมาร
์จิ้น
สูงที่
68-69%
รวมถึงยังมีตำแหน่งธุรกิจที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากธุรกิจและบริการ
AI
ในอนาคต
3)
สถานะทางการเงินแกร่งโดยมีเงินสดมากกว่าหนี้สิน
4)
มีความได้เปรียบด้านต้นทุน หลังมีระบบนิเวศน์ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
-
ในระยะสั้น ถึงแม้ปัจจุบัน
Valuation
ของ
Microsoft
ที่ระดับ
PE
ที่
36.8
จะสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย
5
ปีที่
28.8
แต่อย่างไรก็ดีหากพิจารณา
1)
การปรับประมาณการณ์
EPS
ขึ้นนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนก.ค.
23
สะท้อนได้ว่ายังคงมีแนวโน้มการเติบโต
2)
หากนำ
PE
เทียบกับระดับการเติบโตที่ราว
15%
ต่อปีจะทำให้
PEG
อยู่ที่ระดับ
2.4
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
PEG
ที่
2.5
อยู่ ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจใหม่ เช่น เกม
ATVI
และตำแหน่งธุรกิจที่ยังคงได้รับประโยชน์จาก
AI
มาก ทำให้เรามองว่ายังคงลงทุนในหุ้น
MSFT
ได้ในตอนนี้ โดยเรามองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลงหลังผลประกอบการออกถือเป็นโอกาสในการทยอยสะสม ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
376.3 USD
ซึ่งมี
Upside 9%
จากราคาปัจจุบัน
|
19/07/2023
|
Wells Fargo (WFC.US)
|
งบ 2Q23
ดีกว่าคาดหนุนจาก
NII
ที่โต
/
มองแนวโน้ม
NII
ยังคงโต แต่จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง
23
-
Wells
Fago
(
WFC
) เผยงบ
2Q23
ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น
20%YoY
หนุนจาก
NII
เพิ่มขึ้น
29%YoY
ด้านกำไรเพิ่มขึ้น
69%YoY
หนุนจาก
NIM
ที่เพิ่มขึ้น
29%YoY
ขณะที่รายได้รายธุรกิจภาพรวมเพิ่มขึ้น นำโดย
Commercial Bank
และ
IB
ซึ่งช่วยเยียวยาธุรกิจ
Wealth
ที่มีรายได้หดตัวลงได้ นอกจากนี้
WFC
ปรับเพิ่มคาดการณ์
FY23
ขึ้น โดยมอง
NII
โต
10%YoY-14%YoY
ขณะที่มองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสู่ระดับราว
$50.2bn - $51bn
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองว่าภาพรวมงบ
WFC
ออกมาแกร่งหลัง
1) NII
และ
NIM
โตขึ้นดีเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและการเติบโตของสินเชื่อ ซึ่งถึงแม้ยอดเงินฝากเฉลี่ยจะยังคงหดตัวลงแต่เราเริ่มเห็นการชะลอการลดลงและสะท้อนได้ว่า
WFC
ยังคงมีสถานะที่ดีที่ได้รับผลกระทบอย่างจำกัดจากวิกฤตสภาพคล่อง
2)
แนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นหนุนจากส่วนบัตรเครดิตและเงินฝากที่มีความต้องการแกร่ง
3)
ทุกกลุ่มธุรกิจยังคงโตแกร่ง โดยเฉพาะในกลุ่ม
IB
ที่ถึงแม้ธนาคารอื่นจะยังคงกังวลต่อธุรกิจนี้แต่
WFC
นั้นมีรายได้
โตก
ว่า
30%YoY
นอกจากนี้ถึงแม้
Wealth
จะโตหดตัวแต่เราเริ่มเห็นระดับการชะลอตัวที่ลดลงจากไตรมาสก่อนแล้ว
4)
เห็นการตั้งสำรองหนี้เสีย
(NPLs)
ที่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับเงินสำรอง
CET1
อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่า
Peers
ซึ่งอาจสะท้อนได้ว่า
WFC
มีเสถียรภาพของเงินทุนมากกว่า
-
ขณะที่เรามองงบในช่วงที่เหลือของ
FY23
จะยังมีแรงหนุนจาก
NII
ที่เพิ่มขึ้นแต่ในอัตราชะลอตัวลงจากช่วงครึ่งปีแรกหลัง 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตของสินเชื่อลดลง รวมถึงทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงในการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นเช่นกัน 2) วงจรการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯที่จะใกล้สิ้นสุดลง อาจทำให้ธนาคารได้รับประโยชน์จากภาพนี้น้อยลง ทั้งการเปลี่ยนจากเงินฝากไปลงทุนสินทรัพย์อื่นที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าและต้นทุนเงินฝากที่จะเพิ่มขึ้น
3)
การควบคุมของทางการที่เข้มงวดขึ้นจนส่งผลให้ธนาคารจำเป็นจะต้องสำรองเงินไว้เพิ่มขึ้น
4)
การปรับเพิ่มแนวโน้มค่าใช้จ่ายของ
WFC
เรามองว่ามีสาเหตุจากค่าชดเชยสูงขึ้นและการเลิกจ้างงานที่น้อยกว่าคาด ซึ่งเราคาดมีผลในระยะสั้นเท่านั้น ด้าน
Bloomberg
คาด
NII
ใน
2H23
จะหดตัว
5.6%
จากครึ่งปีแรก
ภาพนี้ทำให้เราเชื่อว่างบ
FY23
อาจต้องใช้แรงหนุนจากการเติบโตของ
NII
ที่แกร่งใน
1H23
มาช่วยเยียวยาการเติบโตที่ชะลอตัวในครึ่งปีหลัง
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน
ในระยะยาวเรามอง
WFC
ควรมีติดพอร์ตเพื่อการกระจายความเสี่ยงหลัง
1)
มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ประกอบกับมีแผนลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวหลังธนาคารพยายามที่จะทำให้
efficiency ratio
กลับมาต่ำกว่า 60%
2 )
เป็นหนึ่งในผู้รับฝากเงินชั้นนำของสหรัฐฯ โดยมีจำนวนเงินฝากมากเป็นอันดับ
3
รองจาก
JPM
และ
BAC
เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายและสาขาธนาคารกระจายอยู่ทั่วสหรัฐฯ
3)
ให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นผ่าน
Dividend Yield
ที่ค่อนข้างมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี
FY23
คาดอยู่ที่ระดับ
2.95
-
ขณะที่ระยะสั้น เรามองว่า
Upside
ค่อนข้างจำกัดหลัง
1)
ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นรับประเด็นผลประกอบการ จนทำให้ภาพมูลค่าหุ้นในปัจจุบัน
เทรด
อยู่ที่
PE 12.8x
ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย
5
ปีเล็กน้อยที่
10x
2)
ด้วยความที่
WFC
เป็นหุ้น
Cyclical
(โดยรายได้กว่า
48%
มาจาก
Consumer Bank
) ที่มีทิศทางผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ในระยะสั้นเรายังคงค่อนข้างกังวลต่อภาพเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ที่ยังคงดูไม่ดีมากนักสะท้อนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงซบเซาและแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนใน
2Q23
ที่ยังคงหดตัวลง ด้วยภาพนี้ทำให้เราแนะรอจังหวะการลงทุนในช่วงที่ราคาย่อตัวลงมาที่ราว
$40
หรือต่ำกว่านั้น พร้อมคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วง
3Q23-4Q23
ซึ่งเรามองว่าตอนนั้นถึงเป็นจังหวะในการเข้าลงทุนที่ให้
Risk Reward
ที่คุ้มค่ามากกว่าตอนนี้
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 50.5
USD
ซึ่งมี
Upside 12.9%
จากราคาปัจจุบัน
|
12/07/2023
|
Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSM.US) |
TSM เผยยอดขายเดือนมิ.ย.ส่งผลให้ยอดขายรวม
2Q23
ดีกว่าคาด....อย่างไรก็ดีการเติบโตยังคงหดตัวจากปีก่อน
-
TSMC
เผยยอดขายเดือนมิ.ย. อยู่ที่
TWD156bn
แต่หดตัว
11.1YoY
อย่างไรก็ดีหากรวมรายได้ในช่วง
2Q23
จะทำให้รายได้อยู่ที่
TWD480.8bn
ซึ่งถือว่าดีกว่าตลาดคาดที่
TWD476.2bn
แต่การเติบโตยังคงหดตัวจากปีก่อน
10%YoY
ขณะที่เตรียมติดตามการเผยผลประกอบการ
2Q23
อย่างเป็นทางการจากบริษัทในวันที่
20
ก.ค.
23
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองว่ายอดขายมีแรงหนุนจาก
1)
ความต้องการ
AI
ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้อุปสงค์ชิปประมวลผลขั้นสูงเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดย
TSMC
ถือเป็น
ซัพพ
ลายเออร์รายใหญ่ที่ผลิตชิปประมวลผล
AI
ตามสัญญาจ้างของ
NVDA
รวมไปถึงยังมีการผลิตให้กับ
AMD INTC
ด้วย
2)
จากการประกาศล่าสุดของ
Oracle
ว่าจะซื้อ
AMD
และชิ้นส่วน
Ampere
มูลค่าหลายพันล้านดอ
ลฯ
ซึ่งบ่งชี้ว่ารายได้สำหรับ
เซิร์ฟเวอร์
CPUs
จะยังคงเปลี่ยนจาก
Intel (INTC)
เป็น
TSMC
ในอนาคตอันใกล้หลัง
AMD
และ
Ampere
ใช้โรงงานแปรรูปของ
TSMC
เพื่อผลิตชิป
-
อย่างไรก็ดี ถึงแม้งบจะออมาดีกว่าคาดและเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวจาก
อุตฯเ
ซมิคอนดัก
เต
อร์ แต่การฟื้นตัวยังคงเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมองว่า
TSM
ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) ผลประกอบการที่ถึงแม้ดีกว่าคาดแต่การเติบโตยังคงติดลบ ประกอบกับคาดการณ์งบที่บริษัทให้ยังสะท้อนภาพอุปสงค์ที่อ่อนแอ 2) ภาพการฟื้นตัวที่ช้ากว่าคาดของตลาดหลักอย่างประเทศจีนที่มียอดขายกว่า
11%
ของรายได้รวมในปี
2022
3)
อุต
ฯที่ใช้สินค้าของบริษัทหลักๆ ยังไม่มีภาพการฟื้นตัวที่ชัดเจน เช่น สมาร์ทโฟน (สัดส่วนรายได้อยู่ที่
39%
ของรายได้รวม) ที่อุปสงค์ยังคงอ่อนแอ แต่อย่างไรก็ดี
Apple
เริ่มมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อาจทำให้อุปสงค์ชิปสมาร์ทโฟนเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง
23
4) ระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเรามองว่าเป็นแรงกดดันที่บริษัทอื่นใน
อุต
ฯได้รับผลกระทบเช่นกันซึ่งหากจบรอบการระบายสินค้าจริงเรามองว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนกว่านี้ซึ่งเราคาดว่าจะเกิดในช่วง
3Q23
เป็นต้นไป ขณะที่เรามองว่าประเด็นเหล่านี้ยังคงไม่จบและจะยังคงกดดันบริษัทในระยะถัดไป โดยเฉพาะการลดระดับสินค้าคงคลังที่ยังคงดำเนินอยู่ ทำให้เรายังคงแนะติดตามระดับสินค้าคงคลังในช่วงงบ 2
Q23
ที่จะเผยว่ามีทิศทางเช่นไร
-
สำหรับมุมมองการลงทุนเรามองว่า
1) Downside
สำหรับ
TSM
ยังคงดำเนินอยู่แต่มองว่าราคาหุ้นค่อนข้างรับรู้ต่อประเด็นแรงกดดันจากการปรับลดคาดการณ์และสินค้าคงคลังระดับสูงมาพอสมควร
2)
ถึงแม้ราคาหุ้น
TSM
หากนับตั้งแต่ต้นปี
23
เป็นต้นมาจะปรับตัวขึ้นแรงรับอานิสงส์ประเด็น
AI
แต่อย่างไรก็ดีในเชิงธุรกิจเราเชื่อว่า
TSM
ยังคงมี
Position
ที่ดีที่จะยังคงได้รับประโยชน์จาก
AI
ในอนาคตที่จะช่วยหนุนให้งบเติบโตดีต่อเนื่องได้ ด้วยภาพนี้ทำให้เราเชื่อว่าหุ้นจะยังคงมี
Upside
จากแนวโน้มการเติบโตที่ดีและการได้รับประโยชน์จาก
AI
ซึ่งหากดูมูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ถึงแม้
PE
จะอยู่ที่ระดับ 1
8.4x
ซึ่งมากกว่าระดับ
PE
เฉลี่ย 5 ปีที่
15.4x
แต่หากเทียบกับระดับของ
อุต
ฯที่
29.9x
แล้วนั้นเรามองว่า
TSM
มีมูลค่าที่ถูกกว่าราว
35%
ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง
5
ปีที่ผ่านมาที่ควรจะ
เทรด
ต่ำกว่า
อุต
ฯที่ระดับ
13.1x
เท่านั้น ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าสามารถสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวและคาดหวังการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง 2
H23
ได้ แต่อย่างไรก็ดีหากต้องการให้ภาพ
Downside
และความเสี่ยงหมดไปทั้งภาพระดับสินค้าคงคลังและการเติบโตของผลประกอบการที่ฟื้นตัว เราก็แนะดูหลังช่วงการเผยผลประกอบการ 2
Q23
เป็นต้นไป ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่
114.2
USD
ซึ่งมี
Upside 14.5%
จากราคาปัจจุบัน
-
ในระยะยาวเรามองว่า
TSMC
จะยังคงได้ประโยชน์จาก
Internet of Things, Automotive App
และ
AI
หรือยุคที่เปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีที่ล้วนต้องอาศัยการผลิตจาก
TSMC
เป็นหลัก รวมไปถึงแนวโน้มของบริษัทที่เริ่มจ้างผู้อื่นมาผลิตมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มรายได้ยังคงโตต่อเนื่อง ประกอบกับความได้เปรียบในเชิงปริมาณ, ราคา และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่จะช่วยรักษาอัตรากำไรในระยะยาวของบริษัทได้ โดย
Morningstar
คาดว่า
CAGR
จะอยู่ที่ราว 16.5% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
|
05/07/2023
|
Nike (NKE.US)
|
สินค้าคงคลังใน
F4Q23
ยังทรงตัว แต่เริ่มเห็นอุปสงค์ฟื้นตัว..ขณะที่ระยะถัดไป
Downside
ยังคงดำเนินต่อ
-
Nike
เผยงบ 4Q23
โดยรายได้เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด 5%
YoY
หนุนจากยอดขายแบบ
Direct
ที่เพิ่มขึ้น 15%
YoY
ซึ่งช่วยชดเชยยอดขายส่งที่หดตัวลงได้ ขณะที่กำไรยังคงลดลง 27%
YoY
อยู่ที่ $0.6 ต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด ส่วนสินค้าคงคลังค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอยู่ที่ $8.5
bn
นอกจากนี้บริษัทคาดว่ารายได้ใน 1
Q24
จะทรงตัวจนถึงตัวเลขหลักเดียวที่ต่ำเมื่อเทียบกับที่ตลาดคาดว่าจะโต 5.8% และคาดว่ารายได้ทั้งปี
FY24
จะเพิ่มขึ้นเป็นเลขกลางหลักเดียว เทียบกับที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.3%
มุมมองของ
InnovestX
-
เรามองว่าราคาหุ้นตอบสนองในทิศทางลบต่อค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่มากกว่าตลาดคาดเล็กน้อยที่
34.1%
และระดับสินค้าคงคลังของ
Nike
ที่ยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดีหากตัดความคาดหวังตลาดออก เรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างฟื้นตัวดีและมีภาพอุปสงค์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีนที่มีการเปิดเมืองส่งผลให้ยอดขายกลับมาเพิ่มขึ้น 16%
YoY
หลังจากที่หดตัวลง 3 ไตรมาสก่อน ด้านยอดขายในอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้น 5%
YoY
ดีกว่าตลาดคาดเช่นกัน แม้จะมีแรงกดดันด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ตลาดต่างประเทศอื่นๆยังมีแรงกดดันจากเงินดอลฯที่แข็งค่า
-
เรามองว่างบใน
FY24
ยังคงมีแรงกดดันจาก
1)
สภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯที่มีทิศทางการชะลอตัวลงยังคงกดดันภาพอุปสงค์ของผู้บริโภค
2)
การฟื้นตัวของธุรกิจและอุปสงค์ผู้บริโภคในจีน (รายได้จากจีนมีสัดส่วนราว
16%
ของรายได้รวม) ยังคงมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด
3)
สินค้าคงคลังที่ยังคงทรงตัวและยังไม่เห็นภาพการลดลงอย่างมีนัยสำคัญฯ ทำให้เรามองว่ายังคงมีการระบายสินค้าคงคลังอยู่ ซึ่งหากจบจะช่วยหนุนให้กำไรฟื้นตัวดีขึ้นได้ โดยเราคาดว่าจะเป็นในช่วง ไตรมาสที่
3
ปี
23
เป็นต้นไป
4)
ค่าเงินดอ
ลฯ
ที่ยังคงแข็งค่ากดดันต่อธุรกิจในต่างประเทศซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า
60%
ของรายได้ทั้งหมด ทำให้เรามองว่าหากค่าเงินดอ
ลฯ
อ่อนค่าลงมากกว่านี้จะทำให้
Nike
จะสามารถ
Outperform
ได้ อย่างไรก็ดีด้วยภาพอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากฐานลูกค้าที่แกร่ง โดยเฉพาะในการขายแบบ
Direct to Customer
ที่ในไตรมาสล่าสุด
โตก
ว่า
18%YoY (Online +14%YoY
และอเมริกาเหนือ
+15%YoY)
ทำให้เรามองว่าในระยะถัดไปยังคงมีแรงหนุนจากประเด็นนี้ที่ช่วยเยียวยาภาพแรงกดดันได้
-
ในระยะยาวเรามองว่า
Nike
ยังคงน่าสนใจหลัง
1)
เป็นผู้นำตลาดเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์และรองเท้ากีฬาที่มีการจัดส่งสินค้าไปทั่วโลกกว่า
190
ประเทศ
2)
มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่แกร่งจากชื่อแบรนด์ที่มีมูลค่าซึ่งมีส่วนทำให้ฐานลูกค้ามั่นคงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
3)
การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ใน
อุต
ฯค่อนข้างจำกัดด้วยขนาดของยอดขาย การขยายทั่วโลกและแบรนด์รายใหญ่ที่ติดตลาด ทำให้การเข้าตลาดต้องใช้การลงทุนที่มีมูลค่าสูง
4)
งบดุลแกร่งและระดับหนี้สินต่ำ โดย
D/E
อยู่ที่
0.8
อีกทั้งยังมีการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่าถึงแม้มูลค่าหุ้นจะปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดย
PE
อยู่ที่ระดับ
31x
น้อยกว่าระดับ
PE
เฉลี่ย 5 ปีที่
33x
แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่า
1)
ความคาดหวังของ
PE
ในปัจจุบันถือว่าสูงเมื่อเทียบกับคาดการณ์การเติบโตของรายได้ใน
FY24
ที่
5.3%
เท่านั้น
2)
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนต้องแรงมากกว่านี้
3)
การระบายสินค้าคงคลังที่ยังคงอยู่และคาดจะจบ
3Q23-4Q23
ทำให้เราแนะรอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงตอบรับกับภาพ
Downside
มากกว่านี้ก่อนและรอจังหวะเข้าซื้อในช่วง $100 หรือต่ำกว่านั้น ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่
127.5 USD
ซึ่งมี
Upside 17%
จากราคาปัจจุบัน
|
28/06/2023
|
Intel (INTC.US)
|
ภาพรวมงบ 1Q23
อ่อนแอและให้คาดการณ์ 2
Q23
ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง...แต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของ
อุต
ฯ
-
Intel (INTC)
เผยงบ
1Q23
ดีกว่าคาดแต่รายได้หดตัว
36%YoY
และขาดทุนที่
$0.04
ต่อหุ้น นอกจากนี้ยังให้คาดการณ์งบ
2Q23
โดยมองว่าจะขาดทุน
4cents
ต่อหุ้นซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่
1
cents
ด้านรายได้มองอยู่ที่
$12bn
ซึ่งถือว่าหดตัวจากระดับในปีก่อนราว
20%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของ
Intel
นับตั้งแต่ต้นปี
23
ปรับตัวขึ้นเพียง
29%
ซึ่งหากเทียบกับ
Peers
อย่าง
TSM 35% AMD +72% NVDA +192%
ถือว่ามีภาพการฟื้นตัวที่น้อยกว่า ซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจาก
1)
ผลประกอบการที่ออกมาอ่อนแอและมีการให้คาดการณ์งบที่ยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง
2)
ภาพการฟื้นตัวที่ช้ากว่าคาดของตลาดหลักอย่างประเทศจีน
3)
อุต
ฯที่ใช้สินค้าของบริษัทหลักๆ ยังไม่มีภาพการฟื้นตัวที่ชัดเจน เช่น กลุ่ม
PC
สมาร์ทโฟน รถยนต์
4)
ระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งประเด็นเหล่านี้เรามองว่ายังคงไม่จบและจะยังคงกดดันบริษัทในระยะถัดไป โดยเฉพาะการลดระดับสินค้าคงคลังที่ยังคงดำเนินอยู่ ทำให้เรายังคงแนะติดตามระดับสินค้าคงคลังในช่วงงบ
2Q23
-
อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของ
อุตฯเ
ซมิคอนดัก
เต
อร์จาก
1)
ตัวเลขการส่งออกของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่มีการฟื้นตัวดี โดยตัวเลขส่งออก 20 วันแรกของเดือน มิ.ย. เกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.3%
YoY
ซึ่งสูงสุดในรอบปี ด้านญี่ปุ่นในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น
0.8%YoY
ดีกว่าตลาดคาดว่าจะหดตัวลง
2
) ยอดขายสมาร์ทโฟนในจีนช่วงเดือนพ.ค.เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้น 23%
YoY
หากเทียบกับระดับราว
+
3% ในเดือนมี.ค. และเม.ย. 3)
Taiwan Industrial Production
ในเดือนพ.ค.ชะลอการลดลงจากเดือนก่อนโดยอยู่ที่ระดับ
-15.7
เทียบกับเดือนเม.ย.ที่
-22.6
ซึ่งด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าเริ่มเห็นสัญญาณการค้าที่ดีขึ้นและจะช่วยหนุนอุปสงค์กลุ่มเซม
ิฯ
ประกอบกับ
Intel
เช่นกัน แต่หากจะให้เห็นเป็นภาพบวกและมั่นคง เรามองว่าต้องรอให้รอบของการระบายสินค้าจบก่อนซึ่งคาดว่าจะเป็นในช่วงปลาย 3
Q23
จึงจะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนกว่านี้
-
เรามองว่าในระยะถัดไป
Downside
สำหรับ
Intel
ยังคงดำเนินอยู่ ประกอบกับมองว่าตลาดค่อนข้างรับรู้แรงกดดันจากการปรับลดประมาณการณ์และสินค้าคงคลังในระดับสูง แต่อย่างไรก็ดีดูเหมือนราคาหุ้นจะยังไม่มีการตอบสนองต่อสัญญาณการฟื้นตัวของ
อุต
ฯที่เราเริ่มเห็นในตอนนี้ ประกอบกับภาพสินค้าใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ
AI
ที่ถึงแม้จะมีการปรับตัวขึ้นแต่ตลาดยังคงมองว่าความสามารถยังไม่เท่าทัน
Peers
ซึ่งหากดูที่สัดส่วนรายได้ใน
FY22
จาก
Datacenter & AI
ที่อยู่ที่
30.1%
จากรายได้รวม ประกอบกับความสามารถของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เรามองว่าภาพที่ออกมาอาจไม่ได้แย่เหมือนที่ตลาดคาดและเชื่อว่าในระยะถัดไป
Intel
จะยังมี
Upside
จากประเด็นการฟื้นตัวของ
อุต
ฯอยู่ แต่อย่างไรก็ดีหากดูที่มูลค่าหุ้นในปัจจุบันเรามองว่าค่อนข้างแพง โดย
EV/EBITDA
ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
12.9x
ซึ่งมากกว่าระดับ
EV/EBITDA
เฉลี่ย 5 ปีที่
7.3x
ด้วยภาพนี้ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลงและคาดหวังการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
2H23
ได้ แต่อย่างไรก็ดีหากต้องการให้ภาพ
Downside
และความเสี่ยงหมดไปทั้งภาพระดับสินค้าคงคลังและการเติบโตของผลประกอบการที่ฟื้นตัว เราก็แนะดูหลังช่วงการเผยผลประกอบการ
2Q23
เป็นต้นไป ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าบริษัทจะมีการเผยในช่วงครึ่งเดือนหลัง ก.ค. ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่
32.5 USD
ซึ่งมี
Downside -2.4%
จากราคาปัจจุบัน
-
ขณะที่ในระยะยาวเรามองว่า
Intel
น่าสนใจหลัง
1)
มีความได้เปรียบด้านต้นทุน
2)
มีลงทุนในการวิจัยและพัฒนามากที่สุดใน
อุต
ฯ
3)
ควบรวมกิจการเพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมและขยายธุรกิจใหม่ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของบริษัทที่จะนำไปต่อยอดสินค้าเดิมและขยาย
เทค
ฯใหม่
4)
กระแสเงินสดแข็งแกร่งและหนี้สินต่ำ โดย
D/E
อยู่ที่
0.5
|
21/06/2023
|
FedEx (FDX.US)
|
ภาพรวมงบ F4Q23
อ่อนแอหลังอุปสงค์หดตัวมากกว่าที่การลดต้นทุนจะช่วยเยียวยาได้...มองงบ
FY24
ยังมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย
- FedEx (FDX ) เผยงบ F4Q23 โดยรายได้ต่ำกว่าคาดและหดตัว 4%YoY ส่วนกำไรดีกว่าคาดแต่หดตัว 30%YoY ด้านยอดขายในธุรกิจ Express ลดลง 13%YoY และ Ground ยอดขายลดลง 2.3%YoY นอกจากนี้บริษัทให้คาดการณ์งบ FY24 ต่ำกว่าคาด โดยมองการเติบโตจะอยู่ที่เลขหลักเดียวซึ่งจะทำให้ EPS อยู่ที่ราว $16.5-$18.5 ต่อหุ้น
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่าภาพรวมงบ F4Q23 ที่ซบเซาเป็นผลมาจากปริมาณการขนส่งที่หดตัวลงหลังอุปสงค์บรรจุภัณฑ์ยังอ่อนแอ โดยใน Express ลดลง 7%YoY Ground ลดลง 6%YoY ที่ถึงแม้บริษัทจะพยายามลดค่าใช้จ่ายและใช้แผนการลดต้นทุนราว $4bn ซึ่งก็ไม่เพียงพอต่อการหนุนงบหรือเยียวยาแรงกดดันจากอุปสงค์อ่อนแอได้
- เรามองว่างบใน FY24 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) ด้วยลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท อย่างเช่น FedEx Express ธุรกิจหลักที่มีการขนส่งทั้งในและต่างประเทศ (ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน) ทำให้ภาพการฟื้นตัว FDX ค่อนข้างอิงกับสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในระยะถัดไป เรามีความกังวลต่อภาพของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 23 หรือช่วง F1Q24-F2Q24 ซึ่งอาจจะทำให้ความต้องการทั่วโลกซบเซาส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งสินค้าที่อาจลดลง และกดดันการขยายตัวของมาร์จิ้นต่อเนื่องในระยะถัดไป 2) หากดูระดับสินค้าคงคลังที่สะท้อนจาก LMI (Logistics Managers Index) จะเห็นได้ว่าถึงแม้ภาพรวมจะเริ่มเห็นการชะลอตัวลง แต่การลดลงมาจากฝั่งผู้ค้าส่งที่เป็นส่วนต้นนำของธุรกิจทางเดียวในขณะที่ผู้ค้าปลีกที่เป็นธุรกิจในปลายน้ำนั้นสินค้าคงคลังยังคงเพิ่มขึ้น ประกอบกับการส่งออกของจีนที่เป็นตลาดหลักของโลกและการนำเข้าทางฝั่งตะวันตกยังคงออกมาน้อยกว่าตลาด ทำให้ยังคงมีการ Destocking หรือ สินค้าคงคลังที่ยังคงมีมาก ลูกค้ายังคงมีการเร่งระบายสินค้าและไม่สั่งของใหม่อยู่ ซึ่งเรายังคงแนะติดตามทิศทางการหยุดระบายสินค้า และเชื่อว่าถ้าจบจะช่วยหนุนให้ปริมาณการขนส่งของ FedEx มีแนวโน้มที่ดีขึ้นและฟื้นตัวได้ 3) พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไปหลังจากเปิดเมือง ทำให้การซื้อขายในอุตฯที่เกี่ยวข้องอย่าง E-commerce ลดลงส่งผลกระทบให้ปริมาณขนส่งของบริษัทหดตัวเช่นกัน 4) การขนส่งทางเรือกลับมาเป็นปกติในช่วงเปิดเมืองทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นหลังมีราคาถูกกว่าการขนส่งทางอากาศที่ใช้ทดแทนในช่วงล็อคดาวน์ อย่างไรก็ดี การขนส่งทางเรือมีมาร์จิ้นที่น้อยกว่าการขนส่งทางอากาศ
- ในระยะยาวเรามองว่า FDX น่าสนใจหลัง 1) มีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในด้านต้นทุนและขนาดที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความสามารถในการควบคุมต้นทุนในการผลิตได้ดีสะท้อนจาก GPM ที่อยู่ในระดับเกิน 20% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา 2) มีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดโลกจำนวนมากและมีคู่แข่งน้อยราย เช่น UPS DHL Express ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ 3) มีเครือข่ายการขนส่งและห่วงโซ่ที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก ทั้งจากการขนส่งทางบก ทางอากาศ รวมไปถึงการคัดแยกสินค้า ฯลฯ
- ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ PE อยู่ที่ระดับ 12.7x มากกว่าระดับ PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 11.1x ทำให้เรามองว่าราคาหุ้น ณ ปัจจุบันค่อนข้างแพง ประกอบกับในยะถัดไป FDX ยังคงมีแรงกดดันจากอุปสงค์ซบเซา เศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกและการระบายสินค้าคงคลังยังคงอยู่ ทำให้เราแนะหลีกเลี่ยงไปก่อนและเมื่อไหร่ที่เริ่มเห็นสัญญาณการหยุดระบายสินค้าถึงจะเป็นจังหวะการเข้าลงทุนที่ลดความเสี่ยงได้ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 255.0 USD ซึ่งมี Upside 9.2% จากราคาปัจจุบัน
|
14/06/2023
|
Oracle (ORCL.US)
|
ภาพรวมงบ
F4Q23
ดีกว่าคาดและโตแกร่ง พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์งบไตรมาสหน้าขึ้น สะท้อนทิศทางกลุ่มคลาวด์ที่
ฟื้นตัว
- Oracle (ORCL) เผยงบ F4Q23 ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 17%YoY หนุนจากรายได้จากกลุ่มคลาวด์ที่เพิ่มขึ้น 54%YoY ด้านกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยอยู่ที่ $1.2 ต่อหุ้น นอกจากนี้บริษัทคาดรายได้รวม F1Q25 จะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 8% -10% ซึ่งค่อนข้าง In Line กับตลาดคาด ขณะที่มองรายรับจากคลาวด์ไม่รวม Cerner FY24 จะเติบโตใกล้เคียงกับ FY23
มุมมองของ InnovestX
- เรามองว่าภาพรวมงบ F4Q23 ของ ORCL ออกมาในทิศทางการฟื้นตัวที่ดีและมีแรงหนุนจากรายได้จาก Cloud Infrastructure (IaaS) ที่เพิ่มขึ้น 76%YoY และ Cloud Application (SaaS) ที่เพิ่มขึ้น 45%YoY ซึ่งค่อนข้าง Surprise เราเนื่องจากในช่วงก่อนหน้านี้เราค่อนข้างกังวลต่อภาพอุตฯคลาวด์ที่มีทิศทางชะลอตัว แต่อย่างไรก็ดีหากดูที่ผลประกอบการในกลุ่ม เช่น Salesforce รวมไปถึง Oracle สะท้อนได้ว่าผลประกอบการกลุ่มคลาวด์ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ประกอบกับมีภาพของการฟื้นตัวต่อเนื่อง
- สำหรับงบ FY24 มองว่า 1) เรายังค่อนข้างกังวลต่อภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะกดดันต่อการใช้จ่ายของลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะในสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัท อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าภาพอุตฯคลาวด์ที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบการประมาณการณ์เพิ่มจะช่วยเยียวยาภาพความเสี่ยงดังกล่าวได้ ทั้งนี้เราคาดว่าความเสี่ยงนี้จะค่อยๆหายไปตามภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 23 2) เราคาดว่า Oracle จะได้รับอานิสงค์ดีจากความต้องการ AI ที่เพิ่มขึ้นหลังแผนการร่วมมือกับ Nvidia ที่ทำให้ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) อยู่ในสถานะที่ดีที่จะกลายเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนา AI ที่สำคัญ ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนสำคัญที่ช่วยในการเติบโตของบริษัทในอนาคตได้
- ในระยะยาวเรามองว่า ORCL น่าสนใจหลัง 1) เป็นผู้นำในตลาดโปรแกรมฐานข้อมูลและวางแผนองค์กร ประกอบกับการได้เปรียบจาก High Switching cost ซึ่งอาจทำให้ลูกค้ามีการย้ายไปที่แพลตฟอร์มอื่นได้ยากขึ้น 2) รูปแบบการสร้างรายได้จากการขายซอฟต์แวร์ แพลทฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้บริษัทมีแหล่งรายได้เพิ่มขึ้น 3) มีการลงทุนในการพัฒนาเทคฯซอฟต์แวร์ต่อเนื่อง ทำให้มีทรัพยากรจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ดีเรายังคงกังวลต่อความสามารถในการใช้งานทรัพยากรหลังระบบคลาวด์ของบริษัทค่อนข้างตามหลัง Peer 4) งบดุลดีโดยพิจารณาจากเงินสดที่เพียงพอและหนี้ที่จัดการได้สะท้อนจากกระแสเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดอยู่ที่ $10bn และมีหนี้สินรวม $90bn ณ สิ้นปีงบ FY23
- ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่าถึงแม้ ORCL จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่ได้รับประโยชน์จากอุปสงค์ AI ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาพอุตฯคลาวด์ที่ฟื้นตัวในระยะถัดไป แต่อย่างไรก็ดีเราค่อนข้างกังวลกับมูลค่าหุ้นในปัจจุบันที่ PE อยู่ที่ระดับ 36.4x มากกว่าระดับ PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 21.9x ทำให้เรามองว่าราคาหุ้น ณ ปัจจุบันค่อนข้างแพงและอาจส่งผลให้ Upside ในระยะถัดไปมีจำกัด ซึ่งสำหรับใครที่สนใจเราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ย่อตัวอยู่ในระดับ $100 หรือต่ำกว่านั้น ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 116.7USD ซึ่งมี Upside 0.2% จากราคาปัจจุบัน
|
07/06/2023
|
PayPal (PYPL.US)
|
ภาพรวมงบ
FY1Q23
ดีกว่าคาดและโตแกร่ง พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์ทั้งปี
FY23
ขึ้น
- Paypal (PYPL) เผยงบภาพรวมดีกว่าคาด โดยกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นราว 33%YoY ด้านรายได้เพิ่มขึ้นดีเช่นกัน 8.6%YoY หนุนจาก Total payment ที่เพิ่มขึ้น 10%YoY ด้าน Operating margin +23% ขณะที่บริษัทปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรต่อหุ้น FY23 ขึ้น โดยคาดขยายตัวราว 20%YoY อย่างไรก็ดีมอง Operating profit margin ขยายตัว 100bps ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาดที่ +125bps
มุมมองของ InnovestX
- เรามองว่าภาพรวมงบ 1Q23 ค่อนข้างดูดีผลจากการลดต้นทุนและการจับจ่ายทางออนไลน์ที่ยังคงดี รวมถึงงบมีทิศทางเดียวกันกับกลุ่มและไม่ได้มีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกมากนัก โดยอาจมีเพียงแรงกดดันจากเงินเฟ้อและแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจกดดันการจับจ่ายของผู้บริโภคบ้าง แต่เรามองว่า downside น้อย อีกทั้งยังคงได้ประโยชน์จากภาพการฟื้นตัวหลังการเปิดเมืองต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดีด้วยภาพคาดการณ์ที่บริษัทให้ต่ำกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ Peers อย่าง Visa และ Master นั้นจะให้ภาพการฟื้นตัวที่ดีกว่า
- ใน FY23 เรามองว่า 1) PYPL ยังคงมีแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงกลางปี 23 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัท (มีสัดส่วนรายได้ในสหรัฐฯคิดเป็น 57% ของรายได้รวม) อย่างไรก็ดีเราคาดว่าความเสี่ยงนี้จะค่อยๆหายไปตามภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 23 และจะช่วยเยียวยางบในช่วงครึ่งปีแรกได้ 2) แนวโน้มจำนวนผู้ใช้งานใหม่ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วง 1Q23 ที่ผ่านมาหดตัวกว่า 2 ล้านราย หลังบริษัทมีแผนให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับฐานผู้ใช้ที่มีอยู่มากกว่า อย่างไรก็ดี ในทางตรงกันข้ามเรามองว่าด้วยแผนธุรกิจจะช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่มี ROI ต่ำและหันมาใช้เงินทุนในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์แทนได้ ประกอบกับมองว่ากลยุทธ์ฯนี้จะช่วยหนุนจำนวนสมาชิกที่ใช้งานแบบ Active ต่อเดือน (MAU) ได้แทน สะท้อนจากระดับใน 1Q23 ที่เพิ่มขึ้นกว่า 190 ล้านคน ทำให้เรามองว่าในระยะถัดไป การใช้งานของ MAU ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นแรงหนุนที่ช่วยเยียวยาแรงกดดันจากจำนวนสมาชิกใหม่ที่ลดลงได้
- ในระยะยาวเรามองว่า PYPL น่าสนใจหลัง 1) โมเดลธุรกิจแกร่ง มีคู่แข่งน้อยราย และครอบคลุมการให้บริการทั่วโลก โดยบริษัทเป็นเจ้าของ Xoom ซึ่งเป็นธุรกิจการโอนเงินระหว่างประเทศ และ Venmo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินระหว่างบุคคล 2) เทรนด์การชำระเงินแบบดิจิตัลและสังคมไร้เงินสดกำลังเติบโต 3) การพัฒนาเครือข่ายผู้ค้าและผู้บริโภคของ PayPal ในช่วงเริ่มต้นของ E-Commerce (PYPL เคยเป็นบริษัทลูกของ E-Bay) ทำให้บริษัทมีความสามารถทางการแข่งขันและได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง เช่น มีฐานลูกค้าแกร่ง แบรนด์ติดตลาด ฯลฯ
- ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่า 1) มูลค่าหุ้นปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 13.0x น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 29.2x ประกอบกับอยู่ต่ำกว่าระดับอุตฯที่ 14x และ Peer ที่ MA 27.9x V 24.1x 2) เรายังคงเชื่อในทิศทางการฟื้นตัวของ PYPL ว่าจะมีทิศทางเดียวกันกับกลุ่มอย่าง MA และ V ที่มีการปรับประมาณการณ์ EPS ขึ้นเช่นเดียวกันกับ PYPL ที่หากนับตั้งแต่เดือนส.ค. 22 จนถึงปัจจุบัน คาดการณ์ EPS ของ PYPL ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 62.3% อย่างไรก็ดีดูเหมือนราคาหุ้น PYPL จะปรับตัวลง 37% สวนทางกลุ่มและการปรับประมาณการณ์เพิ่ม กับส่งผลให้เกิด Divergence ระหว่างคาดการณ์กำไรกับราคาหุ้น ทำให้เรามองว่าราคาหุ้น ณ ปัจจุบันยังไม่ได้รับรู้ภาพการฟื้นตัวของธุรกิจ รวมถึงยังไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เราจึงแนะมองจังหวะซื้อในช่วงที่ราคาย่อตัวอยู่ในระดับ $58-$60 หรือต่ำกว่านั้น ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า และหวังการฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงครึ่งปีหลัง 23 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 92.6USD ซึ่งมี Upside 43.5% จากราคาปัจจุบัน
|
31/05/2023
|
JD.COM (9618.HK)
|
งบ 1Q23
เห็นภาพการฟื้นตัว...แต่ในระยะสั้นเรากังวลต่อภาพการแข่งขันใน
อุต
ฯจะกดดันการฟื้นตัวช่วงที่เหลือของปี
23
-
JD.com
เผยผลประกอบการใน 1
Q23
ดีกว่าคาดโดยรายได้เพิ่มขึ้น 1.4%
YoY
ขณะที่พลิกกลับมากำไรที่
RMB6.3bn
หลังขาดทุนในปีก่อน ส่วน
EBIT margin
ดีกว่าคาดเช่นกันอยู่ที่ 4.6% นอกจากนี้บริษัท
คาดหวังอัตรากำไรรวมที่เพิ่มขึ้นใน
FY23
และมองการฟื้นตัวต่อเนื่องใน
2Q23
มุมมองของ InnovestX
-
ภาพงบ
1Q23
ที่ออกมามีแรงหนุนหลักจาก
1)
รายได้บริการที่เพิ่มขึ้น
34.5%YoY
และกำไรจากการขายปลีกที่เพิ่มขึ้น
2
)
การขาดทุนที่ลดลงในส่วนโลจิสติก
ส์
,
แพลตฟอร์ม
Dada Nexus
ที่จัดส่งของแบบ
Ondemand
และธุรกิจใหม่ ขณะที่เรามองว่าโปรแกรมเงินอุดหนุน
RMB
1
bn
ใน
E-commerce
เริ่มเห็นผลสะท้อนจากจำนวนผู้ใช้งานที่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำมีการเพิ่มขึ้นดี 20%
YoY
ประกอบกับจำนวนผู้ค้าที่ทำธุรกรรม
POP
เพิ่มขึ้น 20% หลังมีราคาขายที่ถูกลงกว่าคู่แข่ง
-
แม้ว่าผลประกอบการ
1Q23
จ
ะออกมาดีและมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ดี
เรายังคงกังวลต่อภาพการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี
FY23
หลังมองมีแรงกดดันจาก
1)
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าคาด
2)
การแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงขึ้นทั้งในธุรกิจ
E-commerce
ที่
JD.com
มีการใช้เงินกระตุ้นไปในเดือน มี.ค. ประกอบกับล่าสุดในกลุ่มธุรกิจคลาว
ด์
ที่
JD.com
ประกาศปรับลดราคา
Cloud computing
ลง 5-10% ซึ่งมีราคาต่ำกว่าคู่แข่งบางรายราว 200-250 หยวน ทำให้ภาพการแข่งขันในสองธุรกิจรุนแรงขึ้นกดดันต่อการขยายตัวของมาร
์จิ้นแ
ละยังมองไม่เห็นการกลับมาทำกำไรได้ในระยะสั้น ดังนั้นถึงแม้เราจะคาดหวังการฟื้นตัวในช่วง
2H23
แต่ในระยะสั้นด้วยภาพแรงกดดันจากการแข่งขันใน
อุตฯแ
ละเศรษฐกิจ ทำให้เรามองการฟื้นตัวธุรกิจจะยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ
-
ในระยะยาวเรามองว่า
JD.com
ยังคงน่าสนใจหลัง 1) ธุรกิจหลักของบริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดจีน เช่น
E-commerce
ขนส่ง 2) ระบบนิเวศน์ของบริษัทครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดยคลังสินค้าและเครือข่ายการจัดส่งมีความ
Competitive
สุดเมื่อเทียบกับ
Peers
3) การขยายตัวของกำไรในระยะยาวค่อนข้าง
Sustain
หนุนจาก ธุรกิจที่มีลักษณะเป็น
First-party
ทำให้มีความได้เปรียบทางต้นทุนที่ต่ำ
ประกอบกับการผสมผสานที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจแพลตฟอร์ม
Third Party
ที่มีอัตรา
การทำ
กำไรสูง
4)
ธุรกิจ
1P
และ
3P
มีขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับประโยชน์จากภาพ
Economic of scale
และมีอำนาจการต่อรองกับ
ซัพพ
ลายเออร์มาก
-
ขณะที่ถึงแม้มูลค่าหุ้นในปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
อยู่ที่ระดับ
11.5
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย
5
ปีที่ระดับ
48.9
แต่ในระยะสั้น เรามองว่าราคาหุ้นยังคงมีความผันผวนหลังมีแรงกดดันจากการแข่งขันใน
อุต
ฯที่รุนแรงขึ้น รวมไปถึงทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าที่คาด ซึ่งทำให้เรามองว่าอาจรอ
เห็นภาพการฟื้นตัวของกำไรที่ชัดเจน
ก่อนแล้วจึงกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
231.1 HKD
ซึ่งมี
Upside 82.2%
จากราคาปัจจุบัน
|
24/05/2023
|
PALO ALTO NETWORKS (PANW.US)
|
ภาพรวมงบ F1Q23
ดีกว่าคาดและโตแกร่ง พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์ทั้งปี
FY23
ขึ้น
-
PANW
เผยงบ
F3Q23
ดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร เพิ่มขึ้น
24%YoY
และ
83%YoY
ตามลำดับ ด้าน
Total Billings
เพิ่มขึ้น
26%YoY
ทั้งนี้บริษัทปรับเพิ่มคาดการณ์
FY23
ขึ้น โดยมองรายได้โต
25%YoY-26%YoY
ด้านกำไรมองโต
69%YoY-70&YoY
นอกนี้ให้คาดการณ์ใน
F4Q23
โดยมองรายได้โต
17%YoY-19%YoY
ด้านกำไรต่อหุ้นมองโต
58%YoY-63%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
เรามีมองบวกต่องบ
F3Q23
ที่ออกมาเติบโตแกร่งในทุกด้าน ประกอบกับการให้คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนว่าบริษัทมั่นใจได้ว่าอุปสงค์ในระยะถัดไปแกร่ง ขณะที่งบมีแรงหนุนจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและ
Digital footprint
ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจและรัฐบาลซึ่งช่วยกระตุ้นความต้องการซอฟต์แวร์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และช่วยเยียวยาผลกระทบจากงบประมาณด้านเทคโนโลยีที่หดตัวลงหลังได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูง
-
ขณะที่เรามองว่างบ
FY23
ยังคงมีแรงกดดันจาก
1)
แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงกลางปี
23
ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของกลุ่มลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัท (มีสัดส่วนรายได้ในสหรัฐฯคิดเป็น
70%
ของรายได้รวม)
2)
ลูกค้าหลักที่ใช้บริการ
Cybersecutrity
ส่วนหนึ่งมาจาก
อุตฯค
ลาว
ด์
ที่มีแรงกดดันจากการเติบโตที่ชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการใช้บริการของบริษัทได้ อย่างไรก็ดี เรามองยังคงมีแรงหนุนที่จะช่วยชดเชยได้จาก
1)
มองการเปลี่ยนผ่านของรายได้ไปสู่กลุ่มที่มีแหล่งรายได้สม่ำเสมออย่าง
Subscription
และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องสวนทางแนวโน้มการขายซอฟต์แวร์ที่ยังคงลดลงต่อเนื่องและเป็นแหล่งรายได้ที่มีความผันผวน ทำให้ภาพการเติบโตค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวก 2) การเติบโตที่สม่ำเสมอของ
Recurring Revenue
สะท้อนได้ถึงความจงรักภักดีของกลุ่มลูกค้า
PANW
ที่มีมาก
-
ในระยะยาวเรามองว่า
PANW
น่าสนใจหลัง
1)
เป็นผู้นำในกลุ่มย่อยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์หลายส่วน ซึ่งรวมถึงการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย การรักษาความปลอดภัยบนคลาว
ด์
และการดำเนินการด้านความปลอดภัย
2)
อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์หลักอย่าง
Cybersecurity
ยังคงเติบโตเนื่องจากทิศทางอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการโจรกรรมทางข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทำให้หลายบริษัทต้องการเพิ่มความปลอดภัยทางดิจิตัล
3)
มีการวิจัยต่อเนื่องทำให้
เทคฯข
องบริษัทมีความล้ำสมัย ซับซ้อนและเป็นเอกลักษณ์ซึ่งยากที่
Peer
จะเลียนแบบ
4)
กลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดีสะท้อนจากการเติบโตที่สม่ำเสมอของ
Recurring Revenue
โดยเฉลี่ย
2
ปีที่ผ่านมาเติบโตได้ในระดับราว
70%
ทุกไตรมาส
-
ในส่วนของมุมมองการลงทุน เรามองว่ามูลค่าหุ้นปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
24.8x
น้อยกว่า
PE
เฉลี่ย 5 ปีที่
47.1x
ทำให้เราแนะมองจังหวะซื้อในช่วง
2Q23-3Q23
ที่ราคาอาจย่อตัวลงมาจากแรงกดดันแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐ
ฯแ
ละหวังการฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงครึ่งปีหลัง
23
โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ราว $
180
หรือต่ำกว่านั้น
ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้
Risk Reward
ที่คุ้มค่า ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 224.9
USD
ซึ่งมี
Upside 17%
จากราคาปัจจุบัน
|
17/05/2023
|
Baidu (9888.Hk)
|
งบเริ่มฟื้นตัวหนุนจากกลุ่มคลาวด์แ
ละโฆษณา
/
ด้าน
Ernie Bot
เตรียมพัฒนาร่วมกับ
Search Engine
-
Baidu
เผยงบ
1Q23
ดีกว่าคาด โดยรายได้โต
10%YoY
สู่
RMB31bn
นอกจากนั้นยังพลิกกลับมากำไรที่
15.9
หยวนต่อหุ้นหลังจากขาดทุนในช่วงปีก่อน ด้านรายได้จาก
Baidu Core
ซึ่งรวมธุรกิจโฆษณาบน
Search Engine,
คลาวด์
และรถยนต์อัตโนมัติเพิ่มขึ้น
8%YoY
และธุรกิจ
Streaming
เพิ่มขึ้น
15%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองบวกต่องบ
1Q23
ของ
Baidu
ที่ออกมาอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวที่แกร่ง
โดย
1)
รายได้ธุรกิจคลาว
ด์แ
ละโฆษณาฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากลูกค้าธุรกิจเริ่มกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นหลังจีนเปิดประเทศ ซึ่งสวนทางกับ
GOOGL
ที่มีลักษณะธุรกิจคล้ายกัน (โดยเฉพาะรายได้โฆษณาที่หดตัวใน
1Q23
)
2)
ด้านบริการรถยนต์อัตโนมัติ
Apollo Go
มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแกร่ง
236%YoY 3)
บริการสตรีมมิ่ง
iQIYI
มีแรงหนุนจากฐานสมาชิกที่เพิ่มขึ้น 28%
YoY
-
นอกจากนี้บริษัทยังเผยแผนนำ
Generative AI
“Ernie Bot”
เข้ากับ
Search Engine
เหมือนกับที่
Google
และ
Bing
ทำ อย่างไรก็ดีไม่ได้ระบุระยะเวลาการเปิดตัวที่ชัดเจน โดยถึงแม้มีการเปิดตัวฟีเจอร์บางส่วนในช่วงกลางเดือนมี.ค. แล้วแต่บริษัทเผยเตรียมเปิดตัวเป็นทางการหลังได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลจีน
-
ในช่วงที่เหลือของปี
FY23
ถึงแม้เรามอง
Baidu
จะมีแรงกดดันจากแนวโน้มการฟื้นตัวของจีนที่อาจช้ากว่าคาด ประกอบกับการลงทุนใน
Ernie Bot
ที่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของมาร
์จิ้น
แต่อย่างไรก็ดี เรายังคงคาดหวังต่อการฟื้นตัวของ
Baidu
และเชื่อว่ายังคงมีแรงหนุนจากกลุ่ม
Baidu core
ที่ช่วยเยียวยาได้
โดย
1)
รายได้
Ads
ที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจจีนนับตั้งแต่
2Q23
เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นและสามารถเยียวยาแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ โดย
Morningstar
คาดในช่วง
2Q23
อัตรากำไรขั้นต้นจะขยายตัว
21%YoY
หนุนจากกลุ่มค่าใช้จ่ายโฆษณาในส่วนการดูแลสุขภาพ อีคอมเมิร์ซ และการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
2)
ธุรกิจคลาว
ด์
ที่คาดว่าจะเร่งความเร็วในการฟื้นตัวขึ้นในช่วง
2H23
ตามทิศทาง
อุต
ฯโดยรวม
3)
เราคาดว่าบริการ
Apollo Go
จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นหนุนจากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นหลังบริษัทได้รับใบอนุญาตจากทางการปักกิ่งในการให้บริการเรียกรถโดยไม่มีคนขับเมื่อมี.ค.
23
ที่ผ่านมา ด้วยภาพเช่นนี้ทำให้เราคาดว่า
Baidu
จะยังคงฟื้นตัวแต่ทิศทางจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมองภาพการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
23
จะดีกว่าครึ่งปีแรก
-
เรามองว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
อยู่ที่ระดับ
13.8
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย
5
ปีที่ระดับ
25.7
ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง
จากแรงกดดันในช่วง
1H23
และหวังการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่
176.5 HKD
ซึ่งมี
Upside 41.5%
จากราคาปัจจุบัน
|
10/05/2023
|
Airbnb (ABNB.US)
|
ภาพรวมงบ
1Q23 แกร่ง แต่ราคาหุ้นตอบสนองในเชิงลบต่อคาดการณ์ 2Q23
ที่ต่ำกว่าคาด
-
Airbnb
เผยงบ
1Q23
ดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร โดยโต
20%YoY
และ
6%YoY
ตามลำดับหนุนจากความต้องการเดินทางที่ยังคง
resilient
ทำให้ยอดจองรวมเพิ่มขึ้น
19%YoY
ขณะที่ใน
2Q23
บริษัทคาดว่ารายได้เพิ่มขึ้น 12%
YoY-16%YoY
อยู่ที่
$
2.35
bn
- $
2.45
bn
เป็น 16% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมองยอดจองรวมโตชะลอตัวลง
มุมมองของ
InnovestX
-
งบออกมาดูดีในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มและอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้งบ
1Q23
จะออกมาโตแกร่ง แต่ดูเหมือนราคาหุ้นจะไม่ตอบสนองต่อประเด็นนี้หลังบริษัทให้คาดการณ์
2Q23
ต่ำกว่าคาดและเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความต้องการการเดินทางของผู้บริโภครวมถึงส่งผลให้ต้นทุนบริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ทั้งนี้คาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่บริษัทอื่นๆ อย่างเช่นโรงแรม
Marriott
กังวลเช่นกัน
-
ในช่วง
FY23
แม้เราจะเชื่อว่า
Airbnb
ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องหนุนจากการเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบของจีนและการเดินทางระหว่างประเทศทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่ายังคงมีแรงกดดันจาก
1)
สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ส่งผลต่อความต้องการเดินทางของผู้บริโภคและต้นทุนบริษัท
2)
การแข่งขันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากผู้ให้เช่าที่มีราคาถูกกว่าและจากแพลตฟอร์ม
OTA
อย่าง
Trip.com
หรือ
Booking
ที่มีการจัดโปรโมชั่นต่อเนื่อง
3)
ฐานการเติบโตในปีก่อนที่สูงและยอดการจองที่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโควิด
-19
กดดันการเติบโตในปีนี้
4)
เครื่องมือการกำหนดราคาสำหรับโฮสต์ใหม่มีผลทำให้ผู้เช่าอาจตั้งราคาเช่าแพงขึ้น ซึ่งดึงดูดผู้บริโภคน้อยลง ทำให้เราคาดว่าการเติบโตใน
FY23
จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคาดการณ์
Bloomberg
ที่มองการเติบโตของยอดจองที่พักใน
FY23
โตชะลอตัวลงอยู่ที่
14.3%YoY (FY22
โต
34.8%YoY)
-
ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ
Airbnb
หลัง 1) เป็น
Online Travel Agent
(
OTA
) แบบทางเลือกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เป็นได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้นำตลาดและมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี 2) ลักษณะธุรกิจมีความโดดเด่นและได้เปรียบจากรูปแบบที่แตกต่างจาก
OTA
อื่น อย่าง
Trip.com
หรือ
Booking
โดย
Airbnb
มีเครือข่ายที่พักอาศัยที่ไม่ได้มีแบรนด์โรงแรม หรือรีสอร์ทอื่นมาเกี่ยว ทำให้ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายทั้งท่องเที่ยวในระยะสั้นหรือกลุ่มที่เช่าที่พักในช่วงระยะเวลาหลายเดือน 3) เครือข่ายผู้ให้เช่าแข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ โดยในปี 22 มีจำนวนที่พักที่ใช้งานอยู่ราว 6.6 ล้านรายการและรายชื่อจากเจ้าของที่พักกว่า 4 ล้านคนกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก แหล่งรายได้มีการกระจายตัว โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 25% จากรายได้ทั้งหมด 4) การเติบโตของธุรกิจแกร่งและรวดเร็ว โดยถึงแม้จะในช่วงโควิด
-19
ระบาด แต่การจองที่พักยังสามารถเติบโตได้ ขณะที่ในปี
22
ที่ผ่านมาการจองฟื้นตัวมากกว่า
167%
ของระดับก่อนเกิดโควิด
19
ด้าน
Morningstar
คาดการเติบโตของการจอง
Airbnb
ต่อปี 13.5% ในช่วงปี
FY
23-
FY
27 ซึ่งสูงกว่าที่
Euromoniter
คาดการณ์การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยระยะสั้นในช่วงดังกล่าวที่
10%
-
เรามอง
Valuation
หุ้น
Airbnb
ค่อนข้างน่าสนใจ โดย
PE
ในปัจจุบันอยู่ในระดับ
36.3
ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่
81.5
ซึ่งเรามองว่าในช่วงนี้อาจเป็นโอกาสการลงทุนสำหรับใครที่ยังไม่มีหุ้นและรับความเสี่ยงได้หลังราคามีการปรับตัวลงมารับประเด็นแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งเรามองว่าแรงกดดันจะค่อยๆผ่อนคลายลงหากผ่านช่วงเดือน 5-7 ผ่านไปและคาดว่าฟื้นตัวต่อเนื่อง ด้าน
Bloomberg
ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 139.8
USD
ซึ่งมี
Upside 11.3%
จากราคาปัจจุบัน
|
26/04/2023
|
Alphabet (GOOGL.US)
|
ภาพรวมงบ
1Q23 ดีกว่าคาดแต่หลายส่วนยังคงมีแรงกดดัน…ซึ่งเรามองยังคงกดดันต่อใน FY23
-
Alphabet เผยงบ 1Q23 โดยรายได้เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด 3%YoY ขณะที่กำไรต่อหุ้นดีกว่าคาดเช่นกัน แต่หดตัว 8.4%YoY ส่วนภาพรวมรายได้ตามราย segment ออกมาทิศทางผสม โดย 1) ส่วนโฆษณา Youtube ดีกว่าคาดแต่หดตัว 3%YoY 2) Search&Other โต 3%YoY ดีกว่าคาด 3) Cloud โต 28%YoY แต่ต่ำกว่าคาด 4) Network ผิดคาดและหดตัว 8%YoY
มุมมองของ InnovestX
-
ถึงแม้ภาพรวมงบไม่ได้เลวร้ายเท่ากับตลาดคาด แต่ในหลายส่วนยังคงมีแรงกดดัน หลัง
1) ค่าใช้จ่ายที่บริษัทพยายามลดยังคงเพิ่มขึ้น 3%YoY กดดันให้กำไรหดตัวลงในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดีถือว่าดูดีกว่าไตรมาสก่อนและชะลอตัวลง 9.5%QoQ 2) รายได้จากโฆษณาทั้งในส่วนเครื่องมือค้นหาข้อมูลและ Youtube ยังคงซบเซาหลังเศรษฐกิจไม่ดีและการแข่งขันในอุตฯที่สูง 3) ถึงแม้ธุรกิจคลาวด์จะเริ่มสร้างกำไรได้ แต่ยังคงโตน้อยกว่าตลาดคาดเล็กน้อย อย่างไรก็ดีเรามองว่าราคาหุ้นในระยะสั้นจะตอบสนองต่อความคาดหวังตลาดที่ออกมาดี
-
ขณะที่เรามองว่างบ
FY23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ Ads และธุรกิจคลาวด์หลังลูกค้ามีแนวโน้มใช้จ่ายอย่างประหยัดขึ้น 2) แพลตฟอร์ม Youtube ยังคงมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งจากธุรกิจสตรีมมิ่งและส่วนวิดีโอสั้นจาก TikTok 3) Google Search Engine มีแรงกดดันจาก Bing ของบริษัท Microsoft ที่มีความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากการใช้ AI โดยล่าสุดมีรายงานว่า Samsung Electronics ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทนั้นกำลังพิจารณานำโปรแกรมค้นหา Bing มาใช้แทนที่ Google และเป็นโปรแกรมหลักของโทรศัพท์มือถือ Samsung ซึ่งหากเป็นไปตามรายงานจริงอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทมากกว่า $3bn ต่อปี (อ้างอิงบทความ Times ที่เผยค่าใช้จ่ายที่ Samsung จ่ายให้ Google) หลัง Samsung มียอดขายมากกว่า 261 ล้านเครื่องในปี 2022 และธุรกิจ Google Search คิดเป็น 57% ของรายได้รวม
-
ในระยะยาวเรามองว่า
Alphabet ยังคงน่าสนใจหลัง 1) มีโครงข่ายผู้ใช้งานขนาดใหญ่ โดย Google ครองตลาดการค้นหาออนไลน์ด้วยส่วนแบ่งกว่า 80% ทั่วโลก ทำให้มีรายได้และกระแสเงินสดเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้นด้วย เช่น การเผยแพร่โฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย 2) ระบบนิเวศน์แกร่งเนื่องจากผลิตภัณฑ์หลากหลายและมีผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น อีเมลล์ แผนที่ 3) แบรนด์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแกร่ง 4) มีการวิจัยต่อเนื่องทำให้บริษัทใช้นวัตกรรมและเทคฯล้ำสมัยมาช่วยในการพัฒนาธุรกิจปัจจุบัน รวมไปถึงมีการลงทุนธุรกิจใหม่เช่นกันที่ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่สร้างรายได้ แต่มีแนวโน้มเป็นสินค้าแห่งอนาคต เช่น Waymo ธุรกิจเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับของ Alphabet โดยจากการศึกษาต่างๆ บริษัทคาดว่าเจาะตลาดที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า
-
สำหรับมุมมองการลงทุน ถึงแม้ภาพ
Valuation จะน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 18.7 น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 22.6 แต่ในระยะสั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยง GOOGL ไปก่อนหลังยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัยโดยเฉพาะจากการแข่งขันที่สูงและแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $95 หรือต่ำกว่านั้น ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 125.4USD ซึ่งมี Upside 18.3% จากราคาปัจจุบัน
|
19/04/2023
|
Netflix (NFLX.US)
|
งบ 1Q23 อ่อนแอหลังการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านช้ากว่าคาด / มอง FY23 ถูกกดดันจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการแข่งขันที่สูงขึ้น
- Netflix เผยงบ 1Q23 โดยรายได้และจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นต่ำกว่าตลาดคาดและโตเพียง 4%YoY อยู่ที่ $8.2bn และ 1.75 ล้านราย ตามลำดับ ด้านกำไรต่อหุ้นดีกว่าคาดเล็กน้อยที่ $2.88 แต่หดตัว 18%YoY นอกจากนี้ให้คาดการณ์งบ 2Q23 น้อยกว่าคาด โดยมองรายได้ที่ $8.24bn และ กำไรต่อหุ้นที่ $2.84 (ตลาดคาดรายได้ที่ $8.5bn กำไรต่อหุ้นที่ $2.8 )
มุมมองของ InnovestX
- ในภาพรวมเรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างอ่อนแอ โดย 1) จำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดราว 24% หลังบริษัทให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านช้ากว่าคาด โดยก่อนหน้านี้บริษัทเผยการจำกัดรหัสผ่านจะถูกบังคับใช้ภายในมี.ค. 23 แต่ปัจจุบันแม้กระทั่งตลาดหลักอย่างสหรัฐฯก็ยังไม่ถูกดำเนินการ ขณะที่เรามองว่ายังคงมีแรงกดดันอื่น เช่น การแข่งขันทางราคาของผู้ให้บริการสตรีมมิ่งที่เพิ่มขึ้น 2) เรายังไม่เห็นการเติบโตของจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญอีกทั้งยังโตชะลอตัว QoQ หลังแผนบริการใหม่แบบรองรับโฆษณาและมีราคาถูกเปิดให้บริการในสหรัฐ ฯช่ วง 1Q23 3) บริษัทเผยเตรียมยกเลิกธุรกิจเช่า DVD หลังรายได้หดตัวอย่างต่อเนื่อง
- ขณะที่เรามองว่างบ FY23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นและ ฟุ่มเฟื่อย เช่น ธุรกิจ Streaming ของบริษัท 2) การแข่งขันในกลุ่ม Streaming ที่ยังคงสูงต่อเนื่องประกอบกับสงครามราคาที่กดดันการเพิ่มขึ้นของมาร ์จิ้น 3) แผนการขยายธุรกิจระหว่างประเทศของ Netflix ซึ่งรวมถึงการลงทุนสร้าง Original Content จะยังคงกดดันการขยายตัวของมาร ์จิ้น 4) การปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่านระหว่างผู้ใช้งานที่ในระยะสั้นอาจสร้างความผันผวนและอาจส่งผลให้สมาชิกบางส่วนยกเลิกการใช้งาน อย่างไรก็ดีในระยะยาวเรามองว่าประเด็นนี้จะช่วยให้แนวโน้มการสร้างรายได้มีประสิทธิภาพและมั่นคง 5) แผนบริการใหม่แบบรองรับโฆษณาอาจช่วยหนุนผลประกอบการช้ากว่าคาด ถึงแม้บริษัทจะเผยว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน ( ARM ) มากกว่าแผนมาตรฐานแล้วก็ตาม
- ในระยะยาวเรามองว่า Netflix ยังคงน่าสนใจหลังเป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำธุรกิจสตรีมมิ่งที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่และเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งช่วยหนุนให้บริษัทมีความสามารถทางการแข่งขันด้านต่างๆเพิ่มขึ้น อย่าง 1) ฐานข้อมูลของบริษัทเติบโตส่งผลให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในการประกอบธุรกิจ รวมถึงทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในเรื่อง Economy of Scale อย่างการลงทุนสำหรับการสร้าง contents ใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้คืนทุนได้รวดเร็ว ขณะที่ Morningstar คาดฐานสมาชิกสตรีมมิ่งแบบชำระเงินทั่วโลกจะขยายเป็น 307 ล้านรายภายใน 5 ปีข้างหน้าจากระดับ 230 ล้านรายใน FY22
- สำหรับมุมมองการลงทุน ถึงแม้ภาพ Valuation จะน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 29.1 น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 33.1 แต่ในระยะสั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยง Netflix ไปก่อนหลังยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัยโดยเฉพาะจากการแข่งขันที่สูงในด้านราคา Subscription ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $2 96 -$2 98 ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 365.9USD ซึ่งมี Upside 8.1% จากราคาปัจจุบัน
|
12/04/2023
|
CVS Health (CVS.US)
|
กังวลต่อการเติบโตในระยะถัดไปหลังมีแรงกดดันจากดีลการซื้อกิจการ รวมถึงนโยบายของภาครัฐฯ อย่าง IRA และร่างกฎหมาย PBM
- CVS คาดกำไรต่อหุ้นใน FY23 จะอยู่ที่ $8.70 ถึง $8.90 ซึ่งเป็นไปตามตลาดคาด อย่างไรก็ดีให้แนวโน้มในปี 2024 สำหรับให้คาดการณ์กำไรต่อหุ้นที่ปรับแล้วเพียง $9.00 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ $9.75-$9.95 หลังรวมผลกระทบจากดีลการซื้อกิจการ Oak Street ผู้ให้บริการเครือข่ายการดูแลสุขภาพและผู้สูงอายุเข้าไปใน FY24
มุมมองของ
InnovestX
เราค่อนข้างกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตในระยะสั้นหลังยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย โดย
- พระราชบัญญัติความโปร่งใสของผู้ดำเนินธุรกิจ Pharmacy Benefit Managers (PBMs) ที่เป็นร่างกฎหมายห้ามการกำหนดราคาสเปรดและส่วนลดที่สูงเกิน ซึ่งล่าสุดได้รับการเสนอชื่อขึ้นสู่ชั้นวุฒิสภาจากคณะกรรมการ ซึ่งหากถูกอนุมัติเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้จริง บริษัทจะต้องส่งเงินคืน (Rebates) 100% ให้กับลูกค้า รวมถึงเผยต้นทุนยาและอัตราการชำระเงินคืนแก่ลูกค้า ด้วยภาพนี้ส่งผลกระทบต่อ CVS ที่เป็นผู้นำธุรกิจ PBMs ในสหรัฐฯ (มีสัดส่วนรายได้ 25% จากทั้งหมด) ที่ก่อนหน้านี้มีการสร้างรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินคืน (Rebates) ซึ่งโดยปกติจะได้รับจากผู้ผลิตยาหลังจากยาได้ขายออกไปแล้ว และบริษัทอาจคืนให้ลูกค้าไม่เต็มจำนวนหรือเก็บส่วนเงินคืนนั้นทั้งหมด
- การปรับเปลี่ยนแผน Medicare ของทางการสหรัฐฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้โดยรวมใน FY24 และบางส่วนมีผลบังคับใช้ใน FY23 ซึ่งจะกดดัน CVS ในหลายด้าน โดย 1) การปรับลดราคาขายยาของผู้ผลิตยาตาม IRA ซึ่งจะกดดันธุรกิจ PBMs ในส่วนเงินคืนที่จะได้รับจากผู้ผลิตยาน้อยลง รวมถึงธุรกิจร้านขายยาที่อาจได้รับส่วนต่างราคาขายที่น้อยลงด้วยเช่นกัน 2) การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้แผนประกันแบบใหม่มีความน่าสนใจน้อยลงอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของจำนวนสมาชิกที่สมัครแผนประกัน เช่น การปรับลดคะแนนความเสี่ยงโรค (RAF) แบบใหม่ที่อาจทำให้ในส่วนของบริษัทได้รับประโยชน์จากการเบิกจ่ายประกันในบางโรคที่ลดลง แต่เบี้ยประกันเท่าเดิมทำให้ผู้มีประกันเสียประโยชน์ในภาพนี้
- ดีลการซื้อกิจการ Oak Street ที่คาดว่าสำเร็จเร็วกว่าคาดในช่วง 1H23 ซึ่งจะส่งผลให้การขาดทุนจากการดำเนินงานของ Oak Street กลายเป็นผลประกอบการของ CVS เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดการประมาณการณ์กำไรต่อหุ้นในปี FY23
ด้วยภาพนี้ทำให้เราค่อนข้างกังวลต่อการเติบโตในช่วง FY23-FY24 ของ CVS ที่ยังคงมีแรงกดดันจากsดีลการซื้อกิจการ รวมถึงนโยบายของภาครัฐฯอย่าง IRA และร่างกฎหมาย PBM และคาดว่าภาพรวมจะดูดีขึ้นตั้งแต่ FY25 เป็นต้นไปหลังผลประโยชน์จากดีลซื้อกิจการจะเริ่มเห็นผล รวมถึงมีแผนเร่งการเติบโตของงบ เช่น การเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ลดค่าใช้จ่าย ฯลฯ ที่จะเริ่มในช่วง FY25 เป็นต้นไป เราจึงมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อ CVS ถึงแม้ Valuation ในตอนนี้จะถูกก็ตาม โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ 8.8 น้อยกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 12.9 อย่างไรก็ดี ในระยะยาวเรายังคงชอบ CVS หลังเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจร้านขายยา, แพลตฟอร์มการขายยาให้บริษัทประกัน, คลินิก, ประกันสุขภาพ นอกจากนี้หากดีลซื้อกิจการล่าสุด Oak Street สำเร็จจะมีธุรกิจบริการรักษาทางการแพทย์เบื้องต้นเพิ่มเข้ามาในบริษัท รวมถึงมีฐานลูกค้าใหญ่และมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์หลากหลายทำให้มีอำนาจการต่อรองราคาและมีความได้เปรียบจากต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 110.7 โดยมี Upside จากราคาปัจจุบันราว 45%
|
05/04/2023
|
China Tourism Group Duty Free (1880.Hk
)
|
เริ่มเห็นการฟื้นตัวของธุรกิจใน
4Q22 /คาดฟื้นตัวและพลิกกลับมาเติบโตได้ใน FY23 หนุนจากการเปิดเมืองของจีนเป็นหลัก
-
China Tourism Group Duty Free เผยงบ 4Q22 โดยรายได้หดตัว -17%YoY อยู่ที่ RMB15mn อย่างไรก็ดีหากเทียบกับไตรมาสก่อน รายได้จะเพิ่มขึ้น 29%QoQ โดยมีแรงหนุนจากรายได้ในส่วน Hainan offshores duty free ที่เพิ่มขึ้นกว่า 65% ดีกว่าตลาดคาด ด้านกำไรและอัตรากำไรขั้นต้นยังคงหดตัว -65% และ -34%YoY ตามลำดับ
มุมมองของ
InnovestX
-
ภาพรวมงบ China Tourism Group Duty Free ใน 4Q22 ที่ออกมาค่อนข้างเป็นไปตามที่คาดหลังใน 4Q22 บริษัทยังคงได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีน ด้านอัตรากำไรขั้นต้นหดตัวมากกว่า 3Q22 ราว -3.7ppt QoQ เป็นผลมาจากมาร์จิ้นช่องทางออนไลน์ลดลงจากการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลวันหยุดและสำหรับห้างฯHaikou International ที่เปิดใหม่ในช่วงปลายต.ค. อย่างไรก็ดีเราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจสะท้อนจากการเติบโตรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
-
ในช่วง FY23 เราคาดว่างบจะฟื้นตัวและพลิกกลับมาโตเป็นบวกได้หนุนจาก 1) การเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบของจีนที่จะช่วยหนุนให้การจราจรในสนามบินและ Duty Free เพิ่มขึ้นได้ โดยล่าสุดการจราจรขาเข้าไปยังสาขาไห่หนานในเดือนม.ค.และก.พ.ฟื้นตัวแกร่งโดยโตอยู่ในระดับ 86% และ 90% ของระดับของปี 2019 แล้ว 2) อัตรากำไรที่เราคาดว่าจะฟื้นตัวดีต่อเนื่องหลังบริษัทไม่จำเป็นต้องเสนอส่วนลดราคาหรือกระตุ้นยอดขายผ่านทางออนไลน์มากเท่ากับในช่วงล็อคดาวน์ 3) การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจีน รวมถึงการสนับสนุนและความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของภาครัฐฯจีน 4) การนำเสนอผลิตภัณฑ์ขายที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับการเปิดตัวร้านค้าใหม่ เช่น ส่วนขยาย Haitang Bay Phase 2 ด้าน Bloomberg คาดในปี FY23 รายได้และกำไรต่อหุ้นฟื้นตัวดีและเพิ่มขึ้น 69.4%YoY และ 128.1%YoY ตามลำดับ
-
ในระยะยาว ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดสินค้าปลอดภาษีของไห่หนานที่รุนแรงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผลกระทบค่อนข้างจำกัดเนื่องจากมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เหมือนใคร เช่น ขีดจำกัดโควตา Rmb100k ต่อปีสำหรับการใช้จ่ายใน Duty Free ซึ่งเป็นจุดราคาที่น่าสนใจและต่ำกว่าระดับที่ร้านค้าในต่างประเทศเสนอ ขณะที่เรามีมุมมองบวกต่อ China Tourism Group Duty Free หลัง 1) ผู้ดำเนินการปลอดภาษีในประเทศรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน 2) ส่วนแบ่งรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังค่าใช้จ่ายที่ให้สนามบินมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี FY26 เป็นต้นไปตามกฎระเบียบ 3) มีแผนการเปิดร้านค้าปลอดภาษีใจกลางเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกที่คาดว่าจะได้รับอนุมัติในช่วง FY24 ซึ่งจะเป็นแรงหนุนหลักสำคัญต่อการสร้างรายได้และกำไรของบริษัท
- ขณะที่เรามองราคาหุ้นค่อนข้างน่าสนใจหลัง 1) ราคาหุ้นยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 2) หากดูที่ Valuation โดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 32.1 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 56.9* 3) มี Upside จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อใน FY23 ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ 185.6HKD ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 271 HKD ซึ่งมี Upside 40% จากราคาปัจจุบัน
|
29/03/2023
|
Lululemon Athletica (LULU.US)
|
งบ 4Q22
ภาพรวมแกร่ง ขณะที่สินค้าคงคลังดูดีขึ้น
/
มอง
FY23
ยังคงมีแรงกดดันหลายปัจจัย
Lululemon (LULU) เผยงบ 4Q22 แกร่งและดีกว่าคาด โดยรายได้และยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้นราว 30%YoY ด้านกำไรต่อหุ้นแบบปรับลดเพิ่มขึ้น 29.4%YoY อยู่ที่ $4.4 ด้านกำไรขั้นต้นต่ำกว่าคาด โดยหดตัว 300bps อยู่ที่ 55.1% นอกจากนี้บริษัทคาด FY23 รายได้เพิ่มขึ้น 15%YoYที่ $9.3-$9.4
มุมมองของ
InnovestX
- ในภาพรวมเรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างแกร่งและดูดีกว่ากลุ่ม ถึงแม้กำไรขั้นต้นจะหดตัวมากกว่าคาดเล็กน้อยซึ่งเป็นผลมาจากสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น 50%YoY อย่างไรก็ดีถือว่าชะลอตัวลงอย่างมากหากเทียบกับระดับใน 3Q22 ที่เพิ่มขึ้น 85%YoY เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศที่ลดลงและการลดราคาที่น้อยลง ขณะที่ยอดขายมีแรงหนุนจากฐานลูกค้าที่มีความภักดี โดยส่วนมากจะเป็นกลุ่มลูกค้าทีร่ำรวยทำให้มีแรงซื้อในเสื้อ กางเกงโยคะ และกางเกงขาสั้นที่มีราคาสูงกว่า ตรงกันข้ามกับแนวโน้มลูกค้าในอุตฯที่ประหยัดมากขึ้นหลังถูกกดดันจากเงินเฟ้อที่สูง
- ขณะที่เรามองว่างบ FY23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้ 2) การแข่งขันทางด้านราคาที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มทั้งจากบริษัทใหญ่อย่าง Nike, Adidas รวมถึงร้านค้าท้องถิ่น 3) สินค้าคงคลังที่ถึงแม้จะชะลอตัวลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งบริษัทคาดว่าใน 1Q23 จะเพิ่มขึ้นราว 30%-35% ซึ่งเราคาดว่าจะกดดันต่อผลประกอบการใน 1H23 และจะค่อยๆดูดีขึ้นในช่วง 2H23 อย่างไรก็ดีเรามองแรงซื้อของกลุ่มลูกค้า LULU จะเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยเยียวยาผลประกอบการได้
- ในระยะยาวเรามองว่า LULU ยังคงน่าสนใจหลัง 1) ตำแหน่งธุรกิจที่มีเอกลักษณ์โดยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าโยคะและออกกำลังกายสำหรับผู้หญิงในสหรัฐฯและแคนาดา ซึ่งแบรนด์มักจะสร้างเทรนด์ใหม่ๆในอุตฯเสมอ 2) มีความได้เปรียบในเชิงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนของแบรนด์ โดย ROIC ที่ปรับปรุงแล้วและรวม Goodwill เฉลี่ยอยู่ที่ 36% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มโตต่อ โดย Morningstar คาดโตเฉลี่ย 43% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า 3) รูปแบบการขายหลักแบบ Direct-to-Customer มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่าการขายส่งซึ่งเป็นรูปแบบการขายหลักของ Peers เช่น Nike Adidas ได้เป็นจำนวนมาก โดยสร้างรายได้ได้ราว 100 ดอลลาร์ต่อหน่วยและมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 10 ปีอยู่ที่ 53.6% 4) มีฐานลูกค้าที่จงรักภักดี ประกอบกับกลุ่มลูกค้าที่มี Pricing Power แกร่ง
- สำหรับมุมมองการลงทุน ถึงแม้ภาพ Valuation จะน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 35.0 น้อยกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 44.5 แต่ในระยะสั้นเรายังคงแนะหลีกเลี่ยง LULU ไปก่อนหลังยังคงมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัวและการแข่งขันทางราคาที่เพิ่มขึ้นใน 1H23 โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $287-$288 ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 368.7USD ซึ่งมี Upside 16.2% จากราคาปัจจุบัน
|
22/03/2023
|
Nvidia (NVDA.US)
|
งบ 4Q22 ภาพรวมแกร่ง และมองรายได้จากธุรกิจเกมเข้าสู่ระดับต่ำสุดแล้ว/ มอง Outlook FY23 เป็นภาพการฟื้นตัว
- Nvidia (NVDA) เผยงบ 4Q23 ดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร อยู่ที่ $6.1bn และ $1.4bn อย่างไรก็ดีรายได้และกำไรหดตัวลง 21%YoY และ 52%YoY ตามลำดับ ขณะที่รายได้ทุกส่วนดีกว่าคาดยกเว้นจาก Data Center แต่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นดี 11%YoY รวมถึง Automotive +135%YoY อย่างไรก็ดีธุรกิจเกมและส่วนธุรกิจ Professional Visualization มีรายได้ลดลง 46%YoY และ 65%YoY ตามลำดับ
มุมมองของ InnovestX
- ในภาพรวมเรามองว่างบที่ออกมาค่อนข้างแกร่ง ถึงแม้รายได้จาก Gaming ที่เป็นแรงหนุนหลักของบริษัทยังคงลดลงตามที่คาดไว้หลังมีการพึ่งพาอุตฯพีซีที่ความต้องการมีทิศทางชะลอตัวลงอย่างมากในปี 22 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี รายได้จาก Data Center ที่เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนหลักกลับเพิ่มขึ้นได้ดีช่วยเยียวยารายได้ Gaming ที่ลดลงได้ โดยรายได้ในส่วนนี้มาจากยอดขาย GPU สำหรับ AI ที่มีแรงหนุนจาก 1) Sofware AI อย่างOpenAI ของบริษัทต่างๆ เช่น ChatGPT ของ MSFT และ BARD ของ GOOGL 2) ผู้ให้บริการคลาวด์ของสหรัฐซื้อผลิตภัณฑ์มากขึ้น
- ขณะที่เรามองบวกต่อเนื่องใน FY24 และคาดว่าบริษัทจะสามารถฟื้นตัวได้ดีนำอุตฯ หลัง 1) มี Inventories ที่ทรงตัวและน้อยกว่า Peers หลังบริษัทมีชิป GPU และ APU 2) ส่วน Data Center ยังคงได้รับประโยชน์จาก OpenAI ต่อเนื่องหลังหลายบริษัทยังคงต้องการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านนี้ 3) ธุรกิจเกม (สัดส่วนรายได้ใน FY23 อยู่ที่ 33.6% ) ที่เรามองว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วง 4Q22 และจะเริ่มฟื้นตัวดีใน 1Q23 เป็นต้นไปสะท้อนได้จากรายได้ของพาร์ทเนอร์ผู้ผลิต add-in board (AIBs) ในไต้หวันที่เริ่มฟื้นตัวในเดือนก.พ.โดย Micro-Star International -5%YoY (เทียบกับ -25%/-21%/-36% YoY ในพ.ย., ธ.ค. ม.ค. ตามลำดับ) Gigabyte +13%YoY และ ASRock +5%YoY 4) มีแรงหนุนจากบริการ AI cloud ใหม่ของบริษัทที่ร่วมมือกับ Oracle , Microsoft และ Google เพื่อนำเสนอความสามารถในการใช้เครื่อง Nvidia GTX เพื่อประมวลผล AI ผ่านการเข้าถึงเบราว์เซอร์อย่างง่าย
- ขณะที่ในระยะยาวเรามองว่า NVDA มีจุดแข็งที่คู่แข่งยากที่จะเลียนแบบจาก 1) ความได้เปรียบการเข้าตลาดก่อนคู่แข่ง 2) มีสิทธิบัตรด้านการออกแบบ 3) มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทมีความเสี่ยงด้านการเงินต่ำและมีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับการเติบโตในระยะยาวทั้งการพัฒนานวัตกรรมหรือการควบรวมกิจการใหม่ นอกจากนี้เรามองว่าตำแหน่งธุรกิจแกร่ง กระจายตัวดี รวมถึงมีแนวโน้มที่เติบโตในอนาคต เช่นชิปที่ใช้ใน AI Cloud Automotive
- สำหรับมุมมองการลงทุน เรามองว่า NVDA เป็นหนึ่งในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแกร่ง รวมถึงมี Sentiment ระยะใกล้ที่ดี แต่อย่างไรก็ดีเรามองว่าปัจจุบัน Valuation เริ่มอยู่ในระดับสูง โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 57.7 ซึ่งถือว่ามากกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อยที่ 57.4 ทำให้เรามองว่าสำหรับคนที่มีหุ้นอยู่แล้ว เราแนะ Let’s Profit Run โดยมองราคาขายทำกำไรที่ $290 ขณะที่สำหรับคนที่ไม่มีหุ้น เรามองว่าอาจรอราคาย่อตัวลงมาที่ราว $230 ถึงเป็นจังหวะซื้อที่น่าจะให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า โดยอาจจะเป็นช่วง 1Q23 ที่กลุ่มเผยผลประกอบการรวมถึงยังคงมีภาพแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆอยู่ เช่น สินค้าคงคลังที่ยังคงค้างอยู่ ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยไว้ที่ 264.2USD ซึ่งมี Upside 2% จากราคาปัจจุบัน
|
15/03/2023
|
Trip.com (9961.Hk)
|
เริ่มเห็นการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจีนใน
4Q22 /
คาดฟื้นตัวต่อใน
FY23
หนุนจากการเปิดเมืองของจีนเป็นหลัก
- Trip.com เผยงบ 4Q22 โดยรายได้โต 7%YoY หนุนจากรายได้การจองตั๋วเครื่องบินโดยรวมบนแพลตฟอร์มทั่วโลกของบริษัทเพิ่มขึ้น 80%YoY อย่างไรก็ดีที่รายได้หดตัว 27%QoQ หลังได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีน ซึ่งส่งผลให้ยอดจองที่พักมีรายได้ที่หดตัว 12%YoY ขณะที่บริษัทคาดรายได้รวมใน 1Q23 จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีก่อนสู่ RMB7.8bn-RMB8.2bn หรือกลับสู่ระดับ 95-100% ของอัตราการดำเนินการก่อนเกิด COVID-19
มุมมองของ
InnovestX
- ถึงแม้ Trip.com จะได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ในจีนช่วง 4Q22 แต่ภาพรวมงบที่ออกมาค่อนข้างแกร่งหนุนจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเราเริ่มเห็นการฟื้นตัวของธุรกิจในจีนที่มีการจองตั๋วเครื่องบินขาออกและโรงแรมเพิ่มขึ้นกว่า 200%YoY และ 140%YoY หลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และเปิดประเทศเร็วกว่าคาด
- ขณะที่เรายังคงมองบวกต่อ Trip.com และคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ต่อในช่วง FY23 นี้ โดยมีแรงหนุนหลักจาก 1) การเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบของจีนที่จะช่วยหนุนให้การเดินทางขาออกให้ฟื้นตัวได้ โดยในช่วงก่อนเกิดโควิดรายได้จากส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนราว 30% จากรายได้ทั้งหมดของบริษัท ขณะที่ในปัจจุบันเที่ยวบินขาออกอยู่ที่ระดับ 15%-20% ของระดับก่อนเกิดโควิดเท่านั้น 2) การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจีนหลังจากที่ล่าสุดทางการจีนเผยจะเริ่มกลับมาดำเนินการออกวีซ่ากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าในช่วงก่อน 28 มี.ค. 20 สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศได้อีกครั้ง 3) การสนับสนุนของภาครัฐฯจีน รวมถึงท่าทีของนายกรัฐมนตรีจีนที่คาดหวังต่อการเติบโตและฟื้นตัวจากการเปิดเมืองของจีน 4) การเดินทางระหว่างประเทศที่ยังคงดีต่อเนื่อง ด้าน Bloomberg คาดในปี FY23 รายได้และกำไรฟื้นตัวเพิ่มขึ้น 68.4%YoY และ 311.7%YoY ตามลำดับ
- ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ Trip.com หลัง 1) เป็น Online Travel Agent รายใหญ่ที่สุดในจีน ทำให้เป็นได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้นำตลาดและมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี 2) ธุรกิจมีมาร์จิ้นที่สูง เช่น ธุรกิจการเดินทางขาออกจากประเทศจีน รวมถึงมีความสามารถในการทำกำไรที่มีประสิทธิภาพโดยอัตรากำไรจากการดำเนินงานระยะยาวอยู่ที่ 20%-30% 3) แหล่งรายได้มีการกระจายตัว โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 25% จากรายได้ทั้งหมด 4) สถานะทางการเงินดี โดยมี D/E ต่ำที่ 0.5
- เรามองราคาหุ้น Trip.com ค่อนข้างน่าสนใจหลัง 1) ราคาหุ้นยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 2) หากดูที่ Valuation โดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 28.8 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 48.2 3) มี Upside จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อใน FY23 ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ 272 HKD ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 367.8 HKD ซึ่งมี Upside 25.4% จากราคาปัจจุบัน
|
08/03/2023
|
Anta Sports (2020.Hk)
|
ทิศทางงบ
4Q22
ยังคงอ่อนแอ
/
คาดงบ
FY23
ฟื้นตัวดีหนุนจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวและ
Pentup
Demand
Anta Sports เผยพรีวิวงบใน 4Q22 แบรนด์ Anta core, Fila และแบรนด์อื่นๆ มียอดขายเติบโตในระดับ –High Single Digit, -low-teens และ +low-teens yoy ซึ่งภาพรวมเป็นไปตามตลาดคาด อย่างไรก็ดียอดขายในช่วงวันหยุดปีใหม่กลับมาเติบโตในระดับเลขสองหลัก (YoY) ขณะที่เตรียมเผยงบ FY22 และ 2H22 ในวันที่ 21 มี.ค. 2023
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ 2H22 ของ Anta Sports ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวถึงแม้จะมีแรงหนุนจากยอดขายในช่วงวันหยุดสิ้นปีและการเปิดเมืองจีนที่เร็วกว่าคาด แต่อย่างไรก็ดีมองว่าไม่สามารถช่วยเยียวยาแรงกดดันจากการล็อคดาวน์ของจีนในช่วง 2H22 ประกอบกับการเติบโตของยอดขายใน 4Q22 ที่ยังคงหดตัว YoY หลังระดับสินค้าคงคลังยังคงอยู่สูงและทรงตัว QoQ ด้าน Bloomberg คาดใน FY22 รายได้จะโตชะลอตัวที่ 8.1% และคาดกำไรจะลดลง 3.6%YoY
- อย่างไรก็ดี เราคาดว่า Anta Sports จะสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ตั้งแต่ในช่วง 2Q23-4Q23 โดยมีแรงหนุนหลักจาก 1) อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีหลังประเทศจีนมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ 2) การสนับสนุนการขายที่เพิ่มขึ้นทั้งการลดราคาและการจัดโปรโมชั่นช่วยหนุนยอดขายให้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับช่วยลดสินค้าคงคลังได้ 3) ราคาขายที่สูงขึ้นในบางรุ่นสินค้าที่ติดตลาด 4) ได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯจีนมีแผนจะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคบริโภคภายในประเทศ ด้าน Bloomberg คาดในปี FY23 รายได้และกำไรฟื้นตัวเพิ่มขึ้น 17.3%YoY และ 28.8%YoY ตามลำดับ
- ในระยะยาว เรายังมองบวกต่อ Anta Sports หลัง 1) เป็นหนึ่งในแบรนด์ชุดกีฬาชั้นนำของประเทศจีน ที่มีแบรนด์หลากหลาย รวมถึงมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดี โดยในปี 21 Anta core brand และ Fila มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 10% และ 6.7% ตามลำดับ 2) มีหน้าร้านและสาขาที่เยอะ รวมถึงกระจายทั่วทุกภูมิภาค โดยในช่วง 1H22 มีสาขารวมจากแบรนด์ทั้งหมดราว 11,579 สาขา 3) มีกลยุทธ์การบริหารงานแยกตามภาพลักษณ์แบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ 4) สถานะทางการเงินดี โดยมี D/E ต่ำที่ 0.6
- ถึงแม้ปัจจุบันราคาหุ้น Anta Sports จะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว แต่อย่างไรก็ดีหากดูที่ Valuation ถือว่าน่าสนใจ โดย PE ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 27.4 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 41.9 ประกอบมองว่ายังคงมี Upside จากผลประกอบการที่ฟื้นตัวใน FY23 ทำให้เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง โดยมองจังหวะซื้ออยู่ที่ 100 HKD ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 128.8HKD ซึ่งมี Upside 19.3% จากราคาปัจจุบัน
|
01/03/2023
|
Target (TGT.US)
|
งบ
4Q22
แกร่งหนุนจาก
Traffic
ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีให้
Outlook FY23
ที่อ่อนแอ
- Target เผยงบ 4Q22 ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 1.3%YoY อยู่ที่ $31.4bn ขณะที่ยอดขายสาขาเดิม (SSS) อยู่ที่ 0.7% ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว 1.74% หนุนจาก SSS ของร้าน Brick & mortar ที่เพิ่มขึ้น 1.9% ด้านกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ $1.89 อย่างไรก็ดีบริษัทให้คาดการณ์ 1Q23 ที่ต่ำกว่าตลาดคาด โดยมอง SSS ลดลงหรือเพิ่มขึ้นในระดับ low-single digit ด้าน EPS อยู่ที่ $1.50 - $1.90 ขณะที่คาดการณ์งบใน FY23 โดยมอง SSS ทรงตัวที่ระดับ low-single digit ส่วนกำไรต่อหุ้นมองที่ $7.75 - $8.75
มุมมองของ
InnovestX
- ถึงแม้งบใน 4Q22 มีแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อสูงที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทำให้ SG&A เพิ่มขึ้น 2.5%YoY อย่างไรก็ดีภาพรวมงบที่ออกมาค่อนข้างแกร่งซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากการลดราคาสินค้าทุกกลุ่มตั้งแต่กลุ่มของเล่นไปจนถึงกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อระบายสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในช่วงต้นปี 22 ส่งผลให้มีปัจจัยหนุนงบคือ 1) จำนวนผู้เข้าชมร้าน (Traffic) เพิ่มขึ้นดีราว 0.7% อย่างไรก็ดีมีส่วนทำให้อัตรากำไรขั้นต้นหดลง 3% 2) สินค้าคงคลังลดลง2.9%YoY โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่ลดลงมากถึง 13%YoY 3) ความต้องการซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลังมีการลดราคาสินค้าช่วยหนุนให้ยอดขายขยายตัว
- ในระยะสั้น เรามองว่า Target ยังคงมีแรงกดดันในช่วง FY23 จาก 1) แนวโน้ม Traffic และยอดขายชะลอตัวเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 2) แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ต้นทุนสูงการดำเนินงาน เช่น ค่าสินค้า ค่าขนส่ง และค่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น 3) สภาพแวดล้อมการแข่งขันทำให้บริษัทต้องแข่งขันด้านราคามากขึ้น 4) อัตรากำไรที่ถูกกดดันจากการลงทุนในระบบขนส่งบนแพลตฟอร์ม E-commerce ซึ่งเรามองว่าประเด็นเหล่านี้ทำให้ภาพ Outlook ที่บริษัทให้นั้นออกมาดูอ่อนแอ ซึ่งเราคาดว่าแรงกดดันจะค่อยๆชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง 23 และจะเริ่มฟื้นตัวได้ตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว
- ขณะที่ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกที่รุนแรงขึ้น แต่เรามอง Target ยังคงสามารถแข่งขันในตลาดได้เนื่องจาก 1) หนึ่งในผู้นำตลาดค้าปลีกของสหรัฐฯที่มีแบรนด์แกร่ง โดยถึงแม้จะมีสาขาน้อยกว่าคู่แข่งแต่จะเน้นจุดเด่นในการเสนอประสบการณ์การช็อปปิ้งผ่านขนาดร้านค้าที่ใหญ่ 2) มีอัตราการทำกำไรที่ดูดีกว่า Peers โดย Gross Margin อยู่ที่ 25.9 เมื่อเทียบกับ Walmart ที่ระดับ 24.1 และ Costco ที่ระดับ 10.6 3) มีแผนการควบคุมต้นทุนในระยะยาวส่งผลต่อการขยายมาร์จิ้นอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ธุรกิจ E-Commerce มีความสามารถทางการแข่งขันสู้กับ Walmart และ Amazon ได้ ถึงแม้ฐานธุรกิจจะเล็กกว่า สะท้อนจากการรักษายอดขายให้โตราว 18% ตั้งแต่ปี 20 ที่ผ่านมาและยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดทางดิจิตัลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ระยะสั้นเราแนะหลีกเลี่ยง Target ไปก่อนหลังมองยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย รวมถึงทิศทางตลาดที่ยังคงผันผวน ประกอบกับมูลค่าหุ้นที่ค่อนข้างแพง โดย PE ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.7 ถือว่ามากกว่า PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 19.2 ขณะที่เรามองจังหวะซื้ออยู่ในช่วง 2H23 ที่ราคาน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ตามภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว โดยมองแนวรับแถว $164 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 180.7USD ซึ่งมี Upside 8.3% จากราคาปัจจุบัน
|
22/02/2023
|
Walmart (WMT.US)
|
งบ
4Q23
แกร่งหนุนจากการใช้จ่ายช่วงเทศกาล อย่างไรก็ดีให้
Outlook FY24
ที่อ่อนแอ
- Walmart. เผยงบ F4Q23 ดีกว่าคาด โดยรายได้เพิ่มขึ้น 7.9%YoY อยู่ที่ $164bn หนุนจากรายได้ทุกกลุ่มที่โต ขณะที่ยอดขายสาขาเดิม (SSS) ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.3%YoY ด้านรายได้รวม FY23 เพิ่มขึ้น 6.7% ขณะที่กำไรต่อหุ้นหดตัว -2.6% อย่างไรก็ดีบริษัทให้คาดการณ์ FY24 ที่ต่ำกว่าตลาดคาด โดยมอง SSS ในสหรัฐฯแบบไม่รวมเชื้อเพลิงโตราว 2%-2.5% และคาดกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 5.9$-6.05$ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่หดตัวลงเมื่อเทียบกับปี FY23
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบใน F4Q23 และ FY23 มีแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อสูงที่ยังคงส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยใน 4Q23 SG&A สูงขึ้น 5.1%YoY แต่เรามองว่าสิ่งที่ช่วยหนุนให้ภาพงบใน F4Q23 ขยายตัวได้เป็นผลมาจาก 1) ความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอาหารในช่วงเทศกาลวันหยุด เช่น วันคริสต์มาส วันปีใหม่ 2) การใช้จ่ายของลูกค้าสมาชิก Sam’s Club ที่ยังคงโตดี โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารแห้งและเครื่องดื่ม 3) ยอดขาย E-commerce ที่เติบโตดี 17%YoY ช่วยหนุน sss ให้เพิ่มขึ้น
- ในระยะสั้น เรามองว่า Walmart ยังคงมีแรงกดดันที่ส่งผลต่อการขยายตัวของมาร์จิ้นในงบ FY24 จาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงและซื้อสินค้าถูกต่อเนื่อง 2) ราคาขายที่อยู่ในระดับต่ำและการจัดส่วนลดที่โดยปกติแล้วเป็นจุดเด่นของบริษัท 3) การปรับเพิ่มค่าจ้างพนักงานที่ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเรามองว่าประเด็นเหล่านี้ทำให้ภาพ Outlook ที่บริษัทให้นั้นออกมาดูอ่อนแอ ซึ่งเราคาดว่าแรงกดดันจะค่อยๆชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง 23 และจะเริ่มฟื้นตัวได้ตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว
- ขณะที่ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกที่รุนแรงขึ้น แต่เรายังคงชอบ Walmart เนื่องจาก 1) ผู้นำตลาดค้าปลีกที่มีแบรนด์แกร่ง และฐานลูกค้าจำนวนมากส่งผลให้มีอำนาจในการกำหนดราคาขาย 2) มีความสามารถในการควบคุมต้นทุนด้วยปริมาณขายที่สูงทำให้ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าสูงตาม ส่งผลให้มีอำนาจการต่อรองราคากับผู้ขายสินค้าในราคาถูกลง 3) ได้ประโยชน์จากขนาดหลังบริษัทมีสาขามากกว่า 10,590 สาขาทั่วโลก ทำให้ทำกลยุทธ์การจัดซื้อและติดต่อกับลูกค้าหลายช่องทางได้ดีขึ้น 4) ธุรกิจ E-Commerce กำลังเติบโตดีสามารถแข่งขันกับ Amazon ได้
- ขณะที่ PE ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.4 ค่อนข้างน่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 24.1 นอกจากนี้เรามองแนวรับไว้ที่แถว $140 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 162.5USD ซึ่งมี Upside 11% จากราคาปัจจุบัน
|
15/02/2023
|
Walt Disney Co (DIS.US)
|
งบ F1Q23
โตแกร่งหนุนจากธุรกิจสวนสนุกที่ฟื้นตัว ช่วยชดเชยส่วนธุรกิจ Streaming
ที่ยังคงขาดทุน
Disney (DIS) เผยงบ F1Q23 ดีกว่าคาด โดยรายได้โต 8%YoY และกำไรต่อหุ้นโต 21%YoY ด้านรายได้ธุรกิจสวนสนุกเพิ่มขึ้น 21%YoY ส่วนจำนวนสมาชิก Disney+ หดตัวลง 2.4 ล้านคนส่งผลให้จำนวนสมาชิกรวมอยู่ที่ 161.8 ล้าน นอกจากนี้บริษัทมีแผนการลดต้นทุนซึ่งรวมถึงการเลิกจ้างงานราว 3% ของทั้งหมดอยู่ที่ 7,000 คน และค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่ใช่กีฬาลง นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างบริษัทเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Entertainment, ESPN Division, Parks Experiences and Products
มุมมองของ InnovestX
-
เรามองงบ Disney ใน 1Q23 ค่อนข้างแกร่งโดยมีแรงหนุนจากธุรกิจสวนสนุกที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องจนสามารถชดเชยแรงกดดันจาก ) การปิดให้บริการของสวนสนุก Shanghai disneyland หลังจีนล็อคดาวน์ในช่วงปลายปี 22 2) ส่วนธุรกิจ Streaming ที่ยังคงขาดทุนหลังสมาชิก Disney+ หดตัวลง 2.4 ล้านราย (F1Q23) เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้น 11.7 ล้านราย (F1Q22)
-
ขณะที่เรามองงบ FY23 มีแรงหนุนจาก 1) การเปิดเมืองของจีนอย่างเต็มรูปแบบส่งผลให้ธุรกิจสวนสนุกกลับมาดำเนินการได้ปกติ 2) แผนการลดต้นทุนที่คาดช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง $2.5bn 3) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่จะช่วยหนุนให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
อย่างไรก็ดีเรามองการฟื้นตัวยังค่อนข้างจำกัดหลังยังคงมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลให้ผู้คนใช้จ่ายสินค้าและบริการฟุ่มเฟือยน้อยลง
เช่น สวนสนุก และ Streaming ของบริษัท 2) การแข่งขันในกลุ่ม Streaming ที่ยังคงสูงต่อเนื่องประกอบกับสงครามราคาที่กดดันการเพิ่มขึ้นของมาร์จิ้น ส่งผลให้เรามองงบจะยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมคาดธุรกิจสวนสนุกจะยังคงเป็นแรงหนุนหลักของกลุ่ม ด้าน Bloomberg คาดรายได้ FY23 จะโตชะลอตัวลง 7.7%YoY ด้านกำไรโตชะลอตัว 3.7%YoY เช่นกัน
-
ในระยะสั้นเรามีมุมมองที่ระมัดระวังต่อ DIS หลังมองราคายังคงปรับตัวขึ้นได้หนุนจาก Peers อย่าง HBO MAX ปรับขึ้นราคา อย่างไรก็ดีเรายังคงไม่ชอบกลุ่ม Streaming หลังการแข่งขันยังคงดุเดือดจนกดดันอัตราการทำกำไร ขณะที่ในระยะยาว เรามองว่าหุ้น Disney ยังคงน่าสนใจหลัง 1) แบรนด์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแกร่ง เช่น ตัวการ์ตูน Disney ส่งผลให้ Peers ยากที่จะเลียนแบบ 2) มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการหารายได้จากตัวละครแฟรนไชส์ Disney
3) ความเสี่ยงด้านการเงินต่ำแม้จะมีการลงทุนต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี D/E อยู่ที่ 0.47 แต่มีกระแสเงินสดต่อรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยหากดูในช่วงสถานการณ์ปกติ (ปีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19) จะอยู่ที่ 16.5% ขณะที่ Valuation ค่อนข้างน่าสนใจ โดย PE ปัจจุบันอยู่ที่ 23.9 ซึ่งถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 29.3 เราแนะทยอยสะสม ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 130.7 USD ซึ่งมี Upside 20.4% จากราคาปัจจุบัน
|
08/02/2023
|
Amazon.com (AMZN.US)
|
กำไร
4Q22
หดตัวหลังมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย
/
ให้คาดการณ์
1Q23
ที่อ่อนแอและต่ำกว่าตลาดคาด
- Amazon (AMZN) เผยงบ 4Q22 โดยมีรายได้โตดีกว่าคาด 9%YoY แตะ $149.2bn แต่กำไรหดตัวลงกว่า 97.8%YoY อยู่ที่ $0.3bn หลังยอดขายร้านออนไลน์หดตัว 2%YoY ด้านธุรกิจคลาวด์โตชะลอตัว 20%YoY ขณะที่บริษัทคาดรายได้ใน 1Q23 จะโตราว 4-8%YoY อยู่ที่ $121-126bn ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาดราว 2%
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ 4Q22 ของ AMZN ถูกกดดันจาก 1) ฐานการเติบโตที่สูงในช่วงล็อคดาวน์ 1Q22 2) แนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีและเงินเฟ้อที่สูงส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ดี เรามองว่างบออกมาดีเกินคาดเป็นผลมาจาก 1) ค่าเงินดอลลาร์ที่ชะลอการแข็งค่าลงใน 4Q22 ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อการเติบโตของรายได้ 2) งบยังคงมีแรงหนุนจากรายได้ธุรกิจค้าปลีกจาก Third-Party, Prime Subscription และหน้าร้านที่เพิ่มขึ้น 20%, 13% และ 6% ตามลำดับ ซึ่งช่วยเยียวยายอดขายร้านค้าออนไลน์ที่ลดลง
- ขณะที่เรามองงบใน 1Q23 ยังคงมีแรงกดดันจาก 1) สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯที่อาจส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคใน 1H23 ในธุรกิจค้าปลีกและ E-commerce ประกอบกับการลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าองค์กรที่ใช้ระบบคลาวด์ 2) การเติบโตของธุรกิจคลาวด์ที่เริ่มอิ่มตัวและมีแนวโน้มโตชะลอตัวจากฐานที่สูงในช่วง 1Q22 3) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้เราคาดว่างบใน 1Q23 ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว โดย Bloomberg คาดรายได้และมาร์จิ้นโตชะลอตัวอยู่ที่ราว 7%YoY ขณะที่เรามองว่าธุรกิจจะเริ่มมีการฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจซึ่งคาดว่าจะเป็นในช่วง 2H23
- ในระยะสั้น เรามองว่า Amazon ยังมีทิศทางการชะลอตัวและมีความผันผวนหลังยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย อย่างไรก็ดี ในระยะยาวเรามองว่ายังคงน่าสนใจหลัง 1) ผู้นำตลาด E-commerce ในโลก ที่ Peers ยากที่จะเลียนแบบระยะเวลาอันสั้น 2) รูปแบบการดำเนินธุรกิจแกร่งและเติบโตไปกับเทคฯใหม่ที่มีอัตราการเติบโตสูง 3) มีการบริหารคลังสินค้าและระบบเครือข่ายกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ 4) มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ระบบขนส่ง รวมถึงมีเครือข่ายผู้ค้าที่ใหญ่ ส่งผลให้มาร์จิ้นขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงในระยะยาว ขณะที่ Valuation ปัจจุบันถือว่าน่าสนใจ โดย PE อยู่ที่ 35.0 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 49.5 ขณะที่เราแนะทยอยสะสม โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมามากกว่านี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเรามองที่ระดับราคา ~<100$ และหวัง Upside จากการฟื้นตัวในช่วง 2H23 ที่เรามองว่าน่าจะให้ Risk–Reward ที่คุ้มค้ามากกว่าเดิม ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 134.73 USD ซึ่งมี Upside 30.3% จากราคาปัจจุบัน
|
01/02/2023
|
Costco Wholesale (COST.US)
|
ยอดขายเดือนธ.ค.
22
ฟื้นตัว
/
มีแผนขึ้นราคาสมาชิกรายเดือน
- Costco Wholesale Corp. เผยยอดขายเดือน ธ.ค. 22 เพิ่มขึ้น 7%YoY ซึ่งโตกว่ายอดขายในเดือนพ.ย. 22 ที่ 4% หนุนจากยอดขายสาขาเดิมยังคงโตดีกว่าคาด 5.5%YoY ขณะที่ยอดขายช่องทางออนไลน์ลดลง 6.4%YoY ทั้งนี้บริษัทเตรียมเผยยอดขายเดือนม.ค. 23 ในช่วงวันที่ 1 ก.พ. 23
- บริษัทเผยเตรียมขึ้นราคา Subscription รายเดือนของสมาชิกแบบ Business Goldstar และ Executive อย่างไรก็ดีไม่มีการเผยช่วงเวลาที่แน่นอนในการปรับ
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่าถึงแม้ยอดขายในเดือนธ.ค. 22 จะมีแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ยังคงสามารถโตได้หลังมีแรงหนุนจาก 1) ความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลวันหยุด เช่น วันคริสต์มาส วันปีใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร เครื่องกีฬาและยางรถยนต์ 2) การใช้จ่ายของลูกค้าสมาชิก Executive ที่เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง โดยยอดขายจากกลุ่มนี้มีสัดส่วนราว 73% ของยอดขายยอดขายในเดือนธ.ค.ท
- ขณะที่เรามองบวกต่อการปรับขึ้นราคาสมาชิกของ Costco หลัง 1) มองช่วยหนุนรายได้ให้โตเพิ่มขึ้นกว่า $330mn - $660mn โดยหากอิงกับจำนวนสมาชิกใน FY22 ที่อยู่ที่ราว 66 ล้านคน ประกอบกับในสถานการณ์ที่ Costco ปรับขึ้นราคาสมาชิกที่ราว $5-$10 2) เรามองความเสี่ยงจำนวนสมาชิกลดลงค่อนข้างมีจำกัดเนื่องจากลูกค้าของ Costco เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง ประกอบกับฐานลูกค้ามีความมั่นคงเนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบริษัทมีความ Loyalty สูง โดยมีอัตราการต่ออายุสมาชิกใน 1Q23 มากกว่า 90% ทั่วโลกและ 92.5% ในสหรัฐฯ ทั้งนี้เราคาดว่า Costco เตรียมปรับขึ้นราคาสมาชิกใน 1Q23 นี้ หลังจากหากย้อนไปในอดีต Costco จะมีระยะเวลาเฉลี่ยในการขึ้นราคาสมาชิกอยู่ที่ราว 5 ปี ซึ่งหากนับจากครั้งล่าสุดในปี 2017 จะครบกำหนด 5 ปีอยู่ที่ช่วงเดือนม.ค. 23 นี้
- ในระยะสั้น เรามองว่า Costco ยังคงมีแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคใน 1H23 ซึ่งเราคาดจะฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วง 2H23 ขณะที่ในระยะยาวถึงแม้จะมีแรงกดดันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น แต่เรายังคงชอบ Costco และมองว่าบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีกหลัง 1) มีฐานลูกค้าจำนวนมากที่มั่นคงและมีความจงรักภักดี 2) มีความได้เปรียบทางต้นทุนและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยในกระจายสินค้าและเพิ่มความแกร่งการจัดซื้อ 3) มีจำนวนสินค้าคงคลังน้อยกว่า Peers โดย Costco มีอยู่น้อยกว่า 4000 ชิ้น เมื่อเทียบกับ Target ที่ราว 75,000 ชิ้น และ Walmart ที่ราว 140,000 ชิ้น
- ขณะที่ Valuation ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.95 ค่อนข้างน่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 23.94 ขณะที่เราแนะนำทยอยสะสม โดยอาจรอราคาย่อตัวลงมากกว่านี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงและหวัง Upside จากการฟื้นตัวในช่วง 2H23 ที่เรามองว่าน่าจะให้ Risk–Reward ที่คุ้มค้ามากกว่าเดิม ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 548.8USD ซึ่งมี Upside 9.1% จากราคาปัจจุบัน
|
26/01/2023
|
Hong Kong Exchanges (0388.Hk)
|
HKEX
ขยายเกณฑ์หุ้นใน
Stock Connect /
คาดงบ
FY23
ฟื้นตัวดีตามทิศทางเศรษฐกิจ
ในช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 22 HKEX ประกาศขยายเกณฑ์หุ้นที่เข้าร่วม Stock Connect เพิ่มเติม โดย Southbound (SB) : เพิ่ม 1) บริษัทระหว่างประเทศที่จดทะเบียนแบบ primary-listed ในฮ่องกงซึ่งอยู่บนดัชนี Hang Seng Composite LargeCap/MidCap หรือดัชนี SmallCap ที่มีมูลค่ามากกว่า HKD5bn 2) หุ้น SH-HK Connectบนดัชนี Hang Seng Composite Small Cap ที่มีมูลค่ามากกว่า HKD5bn ขณะที่ Northbound (NB) : เพิ่ม 1) หุ้นบน SSE A Share Index และ SZSE Composite Index ที่มีมูลค่ามากกว่า RMB5bn 2) หุ้นจดทะเบียน SSE/SZSE ที่มีหุ้น H-Share โดยจะมีผลอย่างเป็นทางการในช่วง 3 เดือนให้หลังจากวันที่ประกาศ (ราวเดือน มี.ค. 23)
มุมมองของ
InnovestX
เรามองบวกต่อการขยายเกณฑ์ หลังมองว่า 1) นักลงทุนทั้งจาก SB และ NB จะเข้าถึงหุ้นได้มากขึ้นซึ่งจะช่วยหนุน Volume การเทรดและมูลค่าตลาดให้เพิ่มได้ โดยเฉพาะทางฝั่ง SB ที่สามารถซื้อขายหุ้นบริษัทต่างประเทศเพิ่มได้ 2) การเพิ่มบริษัทต่างชาติเข้ามาในโครงการ Stock Conect จะช่วยดึงดูดบริษัทจากทั่วโลกเข้ามาระดมทุนกับ HKEX ในตลาดหุ้นฮ่องกงได้ โดยในปัจจุบันมีบริษัท MNES หลายบริษัทที่ลิสต์บนตลาดหุ้นฮ่องกง เช่น Prada, L’Occitane
ขณะที่เราคาดว่างบ FY22 ที่จะเผยยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวหลังในปีที่ผ่านมายังคงมีแรงกดดันจากการล็อคดาวน์ในจีน ส่งผลให้ตลาดหุ้นฮ่องกงและจีนยังคงซบเซา ประกอบกับการทำ IPO ยังคงลดลง ด้าน Bloomberg คาดรายได้และกำไรใน FY22 จะลดลง 12.9YoY และ 21.6%YoY ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เราคาดว่า HKEX จะสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ตั้งแต่ในช่วง 2Q23-4Q23 โดยมีแรงหนุนหลักจากมูลค่าการ IPO ที่เพิ่มขึ้น 1) เศรษฐกิจฟื้นตัวดีหลังประเทศจีนมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ 2) แรงกดดันจากการคุมเข้มกฎระเบียบของหน่วยงาน โดยเฉพาะในกลุ่มเทคฯที่เริ่มคลี่คลาย 3) การขยายกฎของ Stock Connect ที่จะมีผลทางการในปี 23 นี้จะช่วยดึงดูดการทำ dual-primary มากขึ้น ด้าน Bloomberg คาดอาจเพิ่มขึ้นสามเท่าสู่ราว $40bn ในปี FY23
ปัจจุบันเรามองว่าราคามีการปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นการเปิดประเทศของจีน ทำให้ Valuation อยู่ในระดับ 47.6 ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 42.9 อย่างไรก็ดี เราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวหลังมองว่ายังคงมี Upside จากผลประกอบการที่ฟื้นตัวใน FY23 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 380.4HKD ซึ่งมี Upside 3.3% จากราคาปัจจุบัน
|
18/01/2023
|
Bank of America (BAC.US)
|
งบ 4Q22 ดีเกินคาดหนุนจาก NII ที๋โต / มอง NI ชะลอตัวลงใน FY23 หลังมีแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจและต้นทุนเงินฝากที่เพิ่ม
Bank of America เผยงบ 4Q22 ดีกว่าตลาดคาด โดยรายได้โต 11.2%YoY อยู่ที่ $24.6bn หนุนจากดอกเบี้ยรับ (Net Interest Income : NII) ที่เพิ่มขึ้น 29%YoY อยู่ที่ $14.7bn ด้านส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin: NIM) เพิ่มขึ้นดีเช่นกัน 33.3%YoY อยู่ที่ 2.25 ซึ่งช่วยเยียวยารายได้ในส่วนของ IB ที่ลดลงกว่า 50%YoY ทั้งนี้บริษัทคาดการณ์ว่า NII มีแนวโน้มลดลงใน 1Q23
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองว่างบ ใน 4Q22 ของ Bank of America ได้รับแรงหนุนจาก 1) NII ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและการเติบโตของสินเชื่อ 2) รายได้จากส่วน consumer banking ที่เพิ่มขึ้น 15%YoY หนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว แม้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯจะอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดีสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี รวมถึงความกังวลสภาวะเศรษฐกิจถดถอยกดดันให้ 1) ธนาคารตั้งเงินสำรองสำหรับ Credit losses เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 120% อยู่ที่ $1.1bn 2) ทิศทางตลาดทุนมีความผันผวนส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมการเทรดและรายได้จากธุรกิจ IB ยังคงลดลงใน 4Q22
- ขณะที่เรามองงบในช่วง FY23 ยังคงได้รับแรงหนุนจาก NII ที่เพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงหลังมีแรงกดดันจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตของสินเชื่อลดลง รวมถึงทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงในการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นเช่นกัน 2) ต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นจากการปรับราคาใหม่และการเปลี่ยนจากเงินฝากไม่มีดอกเบี้ยเป็นมีดอกเบี้ย อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผลประกอบการจะมีแรงหนุนจาก 1) การควบคุมต้นทุนของ BAC ที่มีประสิทธิภาพกว่า Peers โดย BAC คาดค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ราว $200mn ใน 1Q23 2) ค่าธรรมเนียมจากการเทรดในตลาดทุนที่เรามองเริ่มฟื้นตัวดีในช่วง 2H23 ซึ่งจะช่วยเยียวยาการเติบโต NII ที่ชะลอตัวลงได้ โดย Bloomberg คาด NII โตชะลอตัวลงอยู่ที่ 15.9%YoY ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ BAC ให้ไว้ว่า NII มีแนวโน้มโตลดลงใน 1Q23
- ในระยะสั้น เรายังมีมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวังต่อการลงทุนใน BAC และมอง Upside ต่อจากนี้ค่อนข้างจำกัดหลัง 1) ราคาปรับตัวขึ้นมาสูงรับประเด็นผลประกอบการ ซึ่งส่งผลให้ P/E ในปัจจุบันปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 10.8x มากกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 10.5x 2) หุ้น BAC มีลักษณะ Cyclical (โดยรายได้กว่า 40% มาจาก Consumer Bank) ทำให้มีทิศทางผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วง 1H23 ซึ่งเรามองปัจจัยดังกล่าวจะยังคงกดดันหุ้น BAC ไปซักระยะก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งเรามองว่าตอนนั้นถึงเป็นจังหวะในการเข้าลงทุนที่ให้ Risk Reward ที่คุ้มค่า โดยเราคาดว่าจะเป็นในช่วง 2H23 ที่ Forward PE อยู่ที่ 9.7 ขณะที่ในระยะยาวเรามอง BAC ยังคงน่าสนใจและควรมีติดพอร์ตเพื่อการกระจายความเสี่ยงหลัง 1) มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ประกอบกับมีเงินลงทุนในเทคฯจำนวนมากซึ่งจะช่วยธนาคารพัฒนาธุรกิจได้ดีต่อเนื่อง 2 ) มีฐานลูกค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะในการรับฝากเงินและการปล่อยสินเชื่อ 3) ให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นผ่าน Dividend Yield ที่ค่อนข้างมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี FY23 อยู่ที่ระดับ 2.65 ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 40.8USD ซึ่งมี Upside 15.8% จากราคาปัจจุบัน
|
11/01/2023
|
Meituan (3690.Hk)
|
มองงบ
4Q22
ถูกกดดันการล็อคดาวน์ในจีน
/
เริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน
1H23
ก่อนเต็มที่ใน
2H23
- Meituan เผยงบ 3Q22 โดยกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นกว่า 123%YoY แตะ RMB9.3bn ขณะที่รายได้โตเช่นกัน 28%YoY แตะ RMB62.6bn หนุนจาก 1) รายได้ธุรกิจ Local commerce ที่โต 24.6%YoY 2) รายได้ธุรกิจ New Initiatives โต 40%YoY หนุนจากยอดขาย Meituan Grocery ที่โตกว่า 80%YoY
มุมมองของ
InnovestX
- เรามองงบ 3Q22 โตแกร่ง โดย 1) Local Commerce มีแรงหนุนจากยอดจัดส่งอาหารและคำสั่งซื้อ Instashopping ในช่วง ก.ค.-ส.ค. 22 ที่เพิ่มขึ้น 2) ธุรกิจ New Initiatives ถือว่าฟื้นตัวดีในทุกกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะ Meituan Grocery เป็นผลจากการเพิ่มไลน์สินค้าทั้งแบบ Local และ Seasonal ช่วยดึงดูดผู้บริโภค ขณะที่อัตราการทำกำไรในธุรกิจอื่นดีขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ Power bank และธุรกิจแพลตฟอร์ม B2B supply-chain “Kuailv” ที่เริ่มเข้าใกล้จุดคุ้มทุน
- ใน 4Q22 เรามองว่าการเติบโตของรายได้จำกัดหลังมีแรงกดดันจากการระบาดของโควิด-19 ในจีนนับตั้งแต่ก.ย. 22 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจจัดส่งอาหารและธุรกิจการจองร้านอาหาร, โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีเรามองว่างบยังคงได้รับการเยียวยาจาก 1) การควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่อง 2) การขาดทุนที่น้อยลงในธุรกิจ New Initiatives 3) Instashopping ที่เราคาดได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยที่สุดและยังรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ได้หนุนจากความต้องการช็อปปิ้งที่ยืดหยุ่น
- ขณะที่ในช่วงปี 2023 เรามองว่าการเปิดประเทศของจีนตั้งแต่ช่วงต้นปี 23 จะเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยในการฟื้นตัวของ Meituan โดยเฉพาะในธุรกิจจัดส่งอาหารและธุรกิจการจองร้านอาหาร, โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีเรามองเป็นภาพการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามทิศทางของเศรษฐกิจในประเทศจีนหลังมองว่าในช่วงต้นปี 23 (1H23) นั้นอาจจะมีแรงกดดันจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในจีนผลจากการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 และจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อโรคโควิด-19 เริ่มกลายเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศจีน ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นในช่วงครึ่งปีหลัง (2H23)
- ในระยะยาว ถึงแม้ Meituan จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้เล่นรายใหม่ในอุตสาหกรรม เช่น Douyin แต่เรามองว่า 1) บริษัทมีความสามารถทางการแข่งขันมากพอที่ทำให้ไม่ถูกทดแทนอย่างสมบูรณ์ 2) เจาะกลุ่มลูกค้าในระดับต่างกัน โดย Douyin มีอัตราการทำธุรกรรมต่อออเดอร์ที่ต่ำกว่า 3) อุตฯใหญ่มากพอที่หลายบริษัทจะมีหนทางและพื้นที่การเติบโต นอกจากนี้เรามองว่า Meituan ยังคงน่าสนใจหลังเป็นผู้นำในธุรกิจจัดส่งอาหารในจีน ธุรกิจมีการกระจายตัวและมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ รวมถึงสถานะทางการเงินแกร่ง โดยสัดส่วนหนี้สินต่อผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 0.4 ขณะที่ Valuation ปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดย P/S ปี 23 อยู่ที่ 3.5 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 5.4 นอกจากนี้มองยังคงมี Risk Reward จากการเปิดเมืองอย่างเต็มที่ในช่วง 2Q23 โดยเราแนะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลง ด้าน Bloomberg ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 225.3 HKD ซึ่งมี Upside 26.2% จากราคาปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
|
FOLLOW US
SCB's Facbook INVX's Twitter