Wealth Stock Note 2564

27/12/2021 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • ยอดขายของเดือน ต.ค. 2564 ทำได้ดีขึ้นเติบโตกว่า 10% MoM และเราคาดหวังการฟื้นตัวต่อเนื่องในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. จากการ Re-opening ของประเทศ การลดการกักตัวและการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้

หลังไปได้อะไร

  • แม้ยอดขายของเดือน ต.ค. ฟื้นตัวดีขึ้น MoM แต่ในเดือน พ.ย. มีเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ ทำให้กระทบต่อการขนส่งและยอดขายของเดือน พ.ย. อ่อนตัว MoM ส่งผลให้ HTC ปรับเป้ายอดรายได้รวมในปีนี้ลงจากเดิมคาดเติบโต 3-4% เท่ากับประมาณ 1-2%
  • ทิศทางรายได้ของ 4Q64 คาดยังสามารถเติบโต YoY และ QoQ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • จากยอดขายของ 4Q64 ทีไม่ฟื้นตัวตามคาดด้วยผลกระทบจากภัยธรรมชาติในภาคใต้ ทำให้เรามีการปรับประมาณการรายได้ปี 2564 ลง 2% เท่ากับ 6,505 ล้านบาท (+1% YoY) และคาดรายได้ของ 4Q64 ที่ 1,594 ล้านบาท (+9.5% YoY และ +0.5% QoQ) และเรามีการปรับประมาณการ Gross Margin ของปี 2564 ลงจาก 42% เป็น 41% จาก Economy of Scale ทำให้คาดว่าปี 2564 กำไรสุทธิจะเท่ากับ 560 ล้านบาท (-1% YoY) ลดลงจากประมาณการเดิม 7% โดยคาดกำไรสุทธิของ 4Q64 ที่ 101 ล้านบาท (+17.7% YoY แต่ลดลง 5% QoQ)
  • ปี 2565 เราคาดว่ารายได้และยอดขายจะกลับมาฟื้นตัวแต่เชื่อว่าจะไม่ถึงประมาณการเดิมที่เราตั้งไว้ เรามีการปรับประมาณการรายได้ลดลง 2% เท่ากับ 6,830 ล้านบาท (+5% YoY) และกำไรสุทธิลดลง 9% เท่ากับ 601 ล้านบาท (+7% YoY) โดย HTC วางแผนธุรกิจในส่วนเครื่องดื่ม โดยเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายของสินค้า Zero Sugar รวมไปถึงการทำ Re-branding ของสินค้าปัจจุบัน และขยายช่องทางส่วนของ e-commerce เพิ่มขึ้น
  • หนึ่งในการ Diversify ที่คาดว่าจะเพิ่มเข้ามาในปี 2565 คือการขยายโครงการอสังหาริมทรัพย์ ในพื้นที่หาดใหญ่ คาดว่าจะเริ่มเปิด Presales ได้ในช่วง 2H65 นี้โดยขนาดใครงการในเฟสที่ 1 ประมาณ 250 ล้านบาทเป็นบ้านเดี่ยวขนาดเล็ก ราคาขายเฉลี่ยประมาณ 4 ล้านบาท ซึ่งเรามองว่าเป็น Good Opportunity เนื่องจากเป็นช่วงที่ LTV มีการผ่อนผัน ประกอบกับที่ตั้งโครงการเป็นส่วนของสินทรัพย์เดิมของ HTC ทำให้คาดว่าต้นทุนที่ดินจะ ได้เปรียบคูแข่งได้
  • ความเสี่ยงและประเด็นติดตาม คือ การกลับมาระบาดของ COVID-19 ซึ่งอาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวในบางพื้นที่ ภัยธรรมชาติ การควบคุมต้นทุน และราคาน้ำมันตลาดโลก
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC ราคาเป้าหมายปี 2565 เท่ากับ 45 บาท/หุ้น ปรับลงจากเดิมที่ 49 บาท/หุ้น ด้วยเป้า PER ที่ 15 เท่าซึ่งเท่ากับเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีและเราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลสูง 5.5-6% ต่อปี โดยเราคาดเงินปันผลของ 2H64 ที่ 05 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น 2H64 Yield ที่ 3% นอกจากนี้ HTC มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ระดับ DE Ratio ที่ 0.5 เท่า
23/12/2021 DELTA ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทมีกลยุทธ์หรือปัจจัยอะไรที่จะช่วยผลักดันการเติบโตต่อจากนี้ไปหรือไม่ หลังสถานการณ์การขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลายและค่าขนส่งเริ่มลดลง และบริษัทอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมใหม่อะไรบ้างที่เป็นตัวสนับสนุนสำคัญในปี 65

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทตั้งเป้ารายได้และกำไรปี 65 จะดีกว่าปี 64 จากคำสั่งซื้อที่อยู่ในระดับสูงและฐานต่ำจากผลกระทบจาก COVID-19 น้ำท่วม และการขาดแคลนชิปที่ลดน้อยลงโดยประเมินว่าภาวะการขาดแคลนนี้จะกลับมาสู่ภาวะปกติช่วงกลางปีหน้า และจะยังมีแรงหนุนจากการเกิดขึ้นของ Metaverse ด้วย นอกจากนั้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะทำให้ขยายตลาดได้มากขึ้น บริษัทมีงบลงทุนไว้ 1,000 ล้านบาท สำหรับใช้ลงทุนก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในประเทศเพิ่มเติม

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ว่าเราจะมองเหมือนที่ตลาดมองว่า Valuation ค่อนข้างสูง แต่เราเชื่อว่า Valuation จะอยู่ในระดับสูงต่อไปเพราะบริษัทอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงอาทิเช่น Cloud, Data Center, รถยนต์ไฟฟ้า, เครื่องชาร์จ EV, โทรคมนาคม, Automation และสินค้าเกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นธีมที่มีพัฒนาการเชิงบวกของเทคโนโลยี จึงมองภาพการเติบโตของบริษัทในธีมต่างๆมากกว่า Valuation
  • ในระยะกลางถึงยาวเราเชื่อว่าธุรกิจของ Delta ที่เชื่อมโยงกับการลงทุนในพลังงานสะอาด (EV, Energy Storage, พลังงานลมและพลังงานแสอาทิตย์) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ 5G จะยังเป็นจุดเด่นในการเติบโตซึ่งถือว่าบริษัทมีตำแหน่งทางการตลาดค่อนข้างชัดเจน
  • เรามองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงราว 48% จากช่วงเดือน ก.ย. นั้นได้สะท้อนปัจจัยลบจากผลประกอบการที่ต่ำกว่าที่คาด การกระจายการถือหุ้นที่ต่ำและการถูกถอดออกจาก SET50 (มีผลต้นปี 2565) ไปแล้ว
  • สำหรับ 4Q64 คาดกำไรมีแนวโน้มฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการขาดแคลนชิปที่เป็นปัจจัยทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นเริ่มคลี่คลาย ค่าขนส่งที่ลดลง ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า และความต้องการสินค้ายังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ปี 2565 นั้นคาดว่ากำไรจะเติบโต 45% YoY ตามการคลี่คลายของการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และชิปที่จะทำให้อัตราการทำกำไรดีขึ้น และจะเติบโตอีก 18% ในปี 2566 ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 อยู่ที่ 514 บาท (อิงวิธี DCF) ยังมี Upside เกิน 20%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ค่าเงินบาทแข็งค่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการ Lockdown ถ้า COVID-19 กลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้ง
21/12/2021 XPG ก่อนไปคิดอะไร
  • หลังจาก XPG มีการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยเริ่มเน้นในส่วนของ Digital Asset มากขึ้น รวมถึงเป็น ICO Portal รายแรกที่ออก TOKEN ในปี 2564 การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ เปลี่ยนทีมผู้บริหาร รวมไปถึงการเพิ่มทุน และแนวโมการเติบโตของธรุกิจ Digital Asset ในปี 2565

หลังไปได้อะไร

  • XPG ตั้งเป้าขยายธุรกิจในทุกบริษัทที่ XPG ถือสัดส่วน 100% XSPRING Digital ที่คาดว่าจะสามารถออก Asset Backed TOKEN ต่อเนื่องหลังจากประสบความสำเร็จจากการออก SIRIHUB รวมไปถึงการทำ Utility TOKEN และโอกาสการออก Investment TOKEN คาดปี 2565 สามารถทำดีลสำเร็จ 4-6 ดีล ขณะที่ส่วนของ XSPRING Asset Management คาดขยายธุรกิจส่วนของ Mutual Fund ได้ในช่วงปลาย 2Q65 เป็นต้นไป และส่วนของ XSPRING AMC จากความร่วมกับ SIRI ซื้อกองสินทรัพย์มาบริหารคาดว่าจะต่อเนื่องและเริ่มเห็นผลตอบแทนในปี 2565

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดว่าธุรกิจ Digital Asset ของ XPG จะโดดเด่นมากขึ้นในปี 2565 จากปี 2564 ที่ XPG เป็นผู้มีใบอนุญาต ICO Portal และประสบความสำเร็จกับการออก TOKEN แรก เราคาดว่าในปี 2565 XPG จะสามารถทำ TOKEN เพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 4 ดีล ทั้งในส่วนของ Investment TOKEN กับเครือศูนย์การค้าใหญ่ และ Utility TOKEN ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ขณะที่การได้รับใบอนุญาตส่วนของ Digital TOKEN Broker และ Dealer และ Cryptocurrency Broker และ Dealer คาดเริ่มธุรกิจได้ปลาย 1Q65 โดยจะเน้นที่ฐานลูกค้ากลุ่ม Premium และ High Net-worth
  • แม้เราคาดว่าปี 2564 ผลประกอบการของ XPG จะสามารถมีกำไรได้ที่ 62 ล้านบาท (ปี 2563 ขาดทุน 17 ล้านบาท) แต่เป็นปัจจัยหนุนที่ได้จากส่วนแบ่งกำไรของ KTZ ขณะที่ในปี 2565 เรามองว่าด้วยการเติบโตที่ก้าวกระโดดของธุรกิจ Digital Asset และสมมุติฐานของการทำ TOKEN ที่ไม่น้อยกว่า 4 TOKEN จะเปลี่ยนภาพรายได้ของบริษัทให้เติบโต 440% YoY เท่ากับ 362 ล้านบาทและส่วนของธุรกิจหลักจะสามารถ Turnaround และมีกำไรสุทธิที่ 37 ล้านบาทรวมกับประมาณการของส่วนแบ่งกำไรจาก KTZ คาดกำไรสุทธิโดดเด่นที่ 285 ล้านบาทเติบโต 363% YoY
  • ความเสี่ยง : ข้อกำหนด บทกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Asset และการลงทุนในธุรกิจ Digital Asset ในช่วงต้นคาดว่าต้องติดตามทั้งเม็ดเงินการลงทุน บุคลากรที่มีทักษะ รวมไปถึงการบริหารและการขยายตัวของฐานลูกค้า
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2565 ที่ 4.50 บาท/หุ้น ด้วยวิธี PBV ที่ 3.7 เท่า ซึ่งเป็นระดับ PBV เฉลี่ยปี 2565 ของหุ้นที่มีลักษณะการทำธุรกิจที่คล้ายคลึง คือ JMART SINGER KTC โดยเรามองว่าในปี 2565 คือช่วงต้นของ Growth Stage และการ Transform จากธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ Trend ของโลกใหม่อย่าง Fintech และเราเชื่อว่าแม้ในปี 2565-2566 Valuation ดูมี Premium แต่เป็นการสะท้อน Cycle แรกของการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และเราไม่ห่วงฐานะเงินทุนเนื่องจาก XPG มีการเพิ่มทุนในปี 2564 และมอง XPG เป็นหุ้น proxy หนึ่งกลุ่ม Digital Asset ในปี 2565 และคาดว่าจะเริ่มกลับมาจ่ายปันผลได้ตั้งแต่ปี 2565 ไป
16/12/2021 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทมีกลยุทธ์หรือปัจจัยอะไรที่จะช่วยผลักดันการเติบโตต่อจากนี้ไปหรือไม่ หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้ 10M64 เม็ดเงินโฆษณาในไทยพลิกโต 1%YoY โดยเม็ดเงินโฆษณาผ่าน TV และ Internet (นับเป็นช่องจัดจำหน่ายหลักของ ONEE) เติบโต 3%YoY และ 13%YoY ตามลำดับ

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 65 เติบโตราว 10%YoY ซึ่งมีกลยุทธ์หลักดังนี้ 1) ช่องทางทีวี : เพิ่มเรตติ้งและฐานผู้ชม โดยเลือกลงทุน Content และเวลาอื่นเพิ่มเพื่อดันปีหน้าให้มี utilization rate ที่ 88-92% จากปีนี้ที่ 80% รวมทั้งมีแผนปรับขึ้นค่าโฆษณา 5-15%YoY 2) ช่องทาง Online : เพิ่มความถี่ยอดวิว และพันธมิตร OTT Platform จากปัจจุบันที่มี 7 รายเป็น 8 ราย จากมี Disney+ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ธ.ค. 64 และ 3) ตลาดต่างประเทศ : มีแผนร่วมมือผลิตคอนเทนต์กับผู้ผลิตรายใหญ่ในต่างประเทศ 5-6 เรื่องเพื่อขยายตลาดลูกค้าจากปัจจุบันที่มี 4-5 ประเทศ เพิ่มเป็น 10 ประเทศ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราชอบ ONEE จากความที่เป็นหนึ่งในหุ้นที่เป็น Proxy ของภาพการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา และยังจัดเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ชั้นนำของไทยที่มีจุดแข็งในการผลิตคอนเทนต์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ชมได้หลากหลายและยังดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (ผลิตจนถึงหารายได้) ทั้งนี้มองผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยที่บริษัทสามารถปรับตัวและก้าวผ่านทั้งช่วง Digital Disruption ซึ่งมีการแข่งขันที่สูงและการชะลอตัวของรายได้จากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้นับจากนี้คาด ONEE จะเริ่มมีผลการดำเนินงานอยู่ในทิศทางขาขึ้นสอดคล้องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • นอกเหนือจากการเติบโตจากธุรกิจหลักของบริษัท เรายังมองเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเป็นแหล่งรายได้ทางใหม่ของบริษัท อาทิเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับ NFT โดยจะเป็นการนำจุดแข็งทางด้าน Content ที่หลากหลายของบริษัทมาสร้างรายได้เพิ่มเติม โดยเราเชื่อว่ามีโอกาสได้เห็นความชัดเจนเกี่ยวกับธุรกิจใหม่ในปี 2565 และจะเป็นประเด็กที่ผลักดันราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะถัดไป
  • แม้ 4Q64 คาดกำไรอ่อนตัว YoY จากฐานปีก่อนสูง แต่ยังเติบโตดี QoQ หลังการคลายล็อกดาวน์ทำให้เม็ดเงินโฆษณาดีขึ้น ขณะที่ทั้งปี 64 คาด ONEE มีกำไรสุทธิ 823 ลบ. เติบโต 30%YoY และเติบโตต่อเนื่องอย่างน้อย 18%YoY ในปี 65 ตามการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณาและกลยุทธ์ของบริษัทที่จะรุกขยายรายได้เพิ่มเติมในทุกช่องทาง ควบคู่ไปกับ การคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 อยู่ที่ 12.30-13.10 บาท (อิง PER 30-32x ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของธุรกิจเดียวกัน) ยังมี Upside เกิน 20% และคาดเริ่มจ่ายปันผลครั้งแรกจากกำไรปี 65 
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ธุรกิจมีการแข่งขันสูง, การเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาขึ้นกับการฟื้นตัวของ ศก. และการ Lockdown ถ้า COVID-19 กลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้ง
15/12/2021 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดหวังการเติบโตของยอดขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศฟื้นตัวใน 4Q21 และผลตอบรับของการออกสินค้าใหม่ ในกลุ่ม Jele Chewy ในเดือน พ.ย.

หลังไปได้อะไร

  • SNNP มียอดขายของเดือน พ.ย. 2564 สูงที่สุดของปีนี้ โดยได้ปัจจัยหนุนทั้งจากการ Re-opening การลดเวลาและพื้นที่ Curfew ที่ส่งผลให้ยอดขายของ Modern Trade กลับมามีสัดส่วนที่สูงขึ้นจากเฉลี่ยของ 9M64 ที่ Modern Trade มีสัดส่วน 53% รวมถึงการออกสินค้าใหม่ของกลุ่ม Jele Chewy ที่ได้รับตอบรับดีและเริ้มมีสัดส่วนประมาณ 3% ของยอดขายรวมในประเทศ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดว่าทิศทางผลประกบอการของ SNNP ใน 4Q64 จะฟื้นตัวได้ดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ และสูงที่สุดของปีเท่ากับประมาณ 92 ล้านบาท (+149% YoY และ +49% QoQ) โดยได้ปัจจัยหนุนจาก 1) การ Re-opening ที่หนุนการฟื้นตัวของการบริโภคโดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว 2) การตอบรับที่ดีของสินค้าใหม่กลุ่ม Jele ที่มีหลายรสชาติและหลายราคาขาย 3) ช่องทางการจัดจำหน่ายทาง Modern Trade ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 4) การฟื้นตัวของตลาดต่างประเทศ และ 5) การออกสินค้าใหม่ในกลุ่มกัญชงประเภทขนมขบเคี้ยวแบรนด์ โลตัส ในช่วงเดือนธันวาคมนี้
  • คงประมาณการรายได้ปี 2564 เท่ากับ 4,315 ล้านบาท (-2.3% YoY) และกำไรสุทธิที่ 408 ล้านบาท (+335% YoY)
  • เรามองการฟื้นตัวปี 2565 ด้วยความพร้อมและการสินค้าใหม่ต่อเนื่องทั้งกลุ่ม กัญชงและ CBD ทั้งมนส่วนของเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยวและอาหารเสริม ดังนั้นคงประมาณการของปีหน้าที่ 4,992 ล้านบาท (+16% YoY) และในส่วนของต้นทุนเรามองว่า SNNP ได้รับผลกระทบจำกัด และส่วนของ สิริโปร คาดว่าจะเริ่มมีกำไร ดังนั้นคาดกำไรสุทธิเติบโต 14% เท่ากับ 465 ล้านบาท
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2565 ที่ 12.40 บาท/หุ้น และปี 2566 ที่ 13.60 บาท/หุ้น บนเป้า PER ที่ 25.5 เท่าซึ่งเท่ากับเฉลี่ยของ 3 บริษัทที่มีลักษณะ Business Model ใกล้เคียงกันโดย SNNP มีจุดที่ครอง Market Share อันดับที่ 1 ในกลุ่มเจลลี่พร้อมดื่มและขนมขบเคี้ยวในกลุ่มปลาหมึก
  • ความเสี่ยง : เรากังวลและติดตามการระบาดต่อเนื่องของ COVID-19 ในสายพันธ์อื่นๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันยอดขายในประเทศและอาจส่งผลต่อเนื่องถึง Utilization rate ของโรงงานโดยรวม
13/12/2021 AMATA ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดหวังการกลับมาเติบโตของรายได้รวมทั้งจากการขายที่ดินภายในประเทศและต่างประเทศในปี 2565 จากการ Re-opening ของไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 และความคาดหวังของการลดการกักตัวในประเทศฐานลูกค้าสำคัญ เช่น ลูกค้าชาวจีน

หลังไปได้อะไร

  • AMATA คงเป้าการขายที่ดินในประเทศของปี 2564 ที่ 650 ไร่ โดยใน 9M64 ทำยอดขายได้ประมาณ 259 ไร่ โดยคาดว่ายอดขายของ 4Q64 จะโดดเด่นที่สุดแม้มีความกังวลเรื่อง COVID-19 กลายพันธุ์ และมองการเติบโตของปีหน้าจะก้าวกระโดดและ AMATA มีความมั่นใจว่ารายได้จากธุรกิจค่าบริการและสาธารณูปโภคจะสามารถเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 10% รวมถึงแนวโน้มจากธุรกิจ EV car และแบตเตอรี่ คาดว่าเป็น new s-curve ในอนาคต

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราเชื่อว่าแม้มี COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ระบาดเพิ่มเติมแต่ยอดโอนของ AMATA จะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ 4Q64 นี้เป็นต้นไปและต่อเนื่องไปถึงปี 2565 จากการเริ่ม Re-opening ของประเทศไทย และแนวโน้มเศรษฐกิจที่จะเติบโตในปีหน้า ฐานลูกค้ายังคงเป็นกลุ่ม พลังงาน ยานยนต์ และ logistic โดยเราตั้งเป้ายอดขายของปี 2565 ที่นิคมอมตะชลบุรี 200 ไร่ (เป้าปี 2564 ที่ 100 ไร่) เขตอุตสาหกรรมระยองไทยจีน 200 ไร่ (เป้าปี 2564 ที่ 100 ไร่) และนิคมอมตะระยอง 450 ไร่เท่ากับปี 2564
  • AMATA มี Backlog ในมือเท่ากับ 2,771 ล้านบาทคาดว่าน้ำหนักการบันทึกรายได้จะอยู่ใน 2Q65 และ 4Q65 เราคาดปีนี้ AMATA จะผ่านจุดต่ำสุดของกำไรสุทธิในรอบ 12 ปี คาดรายได้ที่ 4,191 ล้านบาทไม่เติบโต YoY สัดส่วนรายได้จากการขายที่ดิน +/-20% ส่วนที่เหลือมาจากค่าเช่าและรายได้จากสาธารณูปโภคและคาดกำไรสุทธิที่ 998 ล้านบาท (-7% YoY)
  • ปี 2565 AMATA จะกลับมาเติบโตบนรายได้รวมที่ 34% YoY เท่ากับ 5,621 ล้านบาท และการกลับมาฟื้นตัวของ Gross Margin บนสมมติฐานของการกลับมาขายและโอนนิคมอมตะชลบุรีเพิ่มขึ้นจากปี 2564 รวมถึงนิคมอมตะ ประเทศเวียดนามทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะฟื้นตัวจากปีนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่นกัน โดยเราคาดกำไรสุทธิเติบโต 38% YoY เท่ากับ 1,378 ล้านบาท (EPS ’65 เท่ากับ 1.23 บาท/หุ้น)
  • ความเสี่ยง การระบาดของ COVID-19 ที่เกินควบคุมมากกว่าในปี 2564 ที่อาจส่งผลต่อการเดินทางเข้าประเทศและการชะลอการตัดสินใจซื้อของลูกค้าทั้งในประเทศไทยและ CLMV รวมถึงติดตามโอกาสและความเสี่ยงชองการย้ายฐานการผลิตของบางอุตสาหกรรม
  • ประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2565 ที่ 24.60 บาท/หุ้น แนะนำ ซื้อ บนเป้า PER ที่ 20 เท่าซึ่งเท่ากับ +1SD ในรอบ 7 ปีของ AMATA ด้วยแนวโน้มการกลับมาเติบโตโดดเด่นจากฐานที่ต่ำและธรุกิจการขายที่ดินมีแนวโน้มเติบโตสูงบนต้นทุนที่ควบคุมได้ ขณะที่ธุรกิจสาธารณูปโภคยังมีระดับการเติบโตเฉลี่ยกว่า 10% ต่อปีบนฐานที่มั่นคง 
22/11/2021 IIG ก่อนไปคิดอะไร
  • อัพเดตทิศทางผลประกอบการ 4Q64 รวมถึง ปี 2565 รวมถึงความคืบหน้าของธุรกิจใหม่ๆที่ได้มีการประกาศไปก่อนหน้านี้ และโอกาสในการทำ M&A เพิ่มเติม

หลังไปได้อะไร

  • ภาพรวมของธุรกิจยังอยู่ในแนวโน้มของการเติบโตต่อเนื่อง โดยผู้บริหารยังคงเป้ารายได้ปี 2564 ที่ 650-700 ล้านบาท เติบโต 20-27% YoY โดย Backlog ณ ปัจจุบันคาดว่ารายได้จะออกมาที่ระดับประมาณ 670 ล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับที่เราคาดการณ์ไว้ที่ 700 ล้านบาท ปี 2565 ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 900-950 ล้านบาทหรือเติบโต 28-35% โดยปัจจัยสนับสนุนมาจาก 1) Recurring revenue ปีละ 326 ล้านบาท 2) Backlog 288 ล้านบาท และ 3) งานที่อยู่ในระหว่างการนำเสนออีก 467 ล้านบาท (โดยผู้บริหารแจ้งว่าปกติบริษัทจะสามารถปิดงานได้ไม่ต่ำกว่า 50%) ในส่วนของอัตรากำไรสุทธินั้นคาดว่าจะสามารถปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 13-14% เพิ่มจาก 11% ในช่วง 9M64 โดยปัจจัยที่จะช่วยผลักดันมาจากการควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสัดส่วนของรายได้จากทาง iiG Data ที่เป็น Software ที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาเองคาดว่าจะเห็นสัดส่วนที่สูงขึ้นแตะระดับร้อยล้านบาท จากระดับประมาณ 10-20 ล้านบาทในปี 2564
  • ในส่วนของความคืบหน้าของธุรกิจที่ได้จัดตั้ง JV กับทางวิริยะ เบื้องต้นคาดว่า Product แรกน่าจะเห็นในช่วง 4Q65 แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างนั้นทางผู้บริหารแจ้งว่าทางวิริยะก็จะมีการป้อนงานเข้ามาช่วยให้ทาง JV มีรายได้เข้ามาเพื่อที่จะได้ไม่กระทบผลประกอบการของ IIG ในช่วงปี 2565
  • ในปี 2565 พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะมีการนำมาเริ่มใช้ ทางผู้บริหารแจ้งว่าทางบริษัทมีส่วนที่จะได้ประโยชน์จากส่วนนี้เช่นกันจากการที่แต่ละบริษัทต้องมีการทำสิ่งที่เรียกว่า Consent management โดย IIG สามารถทำสิ่งนี้ได้เช่นกัน แต่ ณ ปัจจุบันรายได้จากส่วนธุรกิจนี้อาจจะยังไม่มากเท่าไหร่
  • เราคงคาดการณ์รายได้ปี 2564 ที่ 700 ล้านและกำไรสุทธิที่ 85 ล้านบาท (+34.9% YoY) แต่ในส่วนปี 2565 ภายหลังจากที่เราได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารทำให้เรามีมุมมองบวกมากขึ้นต่อผลประกอบการในปีหน้าของบริษัท โดยเรามีการปรับกำไรเพิ่มขึ้น 7.3% อยู่ที่ 117 ล้านบาท เติบโต 38% YoY โดยหลักๆมาจากการปรับในส่วนของอัตรากำไรสุทธิเป็น 13% จาก 12% ซึ่งใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้บริหารตั้งเป้าไว้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อเนื่อง เรามองว่า IIG ได้พิสูจน์ตัวเองเรียบร้อยแล้วจากการที่สามารถรายงานผลประกอบการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในภาวะที่ถูกรายล้อมด้วยปัจจัยลบจากผลกระทบของ COVID-19 เรามีการปรับราคาเป้าหมายเป็น 47 บาท (จาก 27-33) อิง PE 40x ปี 2565 โดยปัจจุบันเรามองว่า Valuation ของ IIG ที่ 35.4x PE ปี 2565 ถือว่าน่าสนใจเมื่อเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันเช่น BE8 ที่ 58x PE และ BBIK ที่ 62x PE
15/11/2021 NYT ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลดำเนินงานระยะถัดไปจะเป็นอย่างไร หลัง 3Q64 มีกำไรสุทธิ 38 ลบ. เติบโต 72%YoY จากมีปริมาณรถส่งออกผ่านท่าเทียบเรือเพิ่ม 17%YoY จากฐานต่ำปีก่อน และมีกำไรเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลดีขึ้นเป็น 2 ลบ. จาก 3Q63 ขาดทุนเงินลงทุน 9 ลบ. รวมทั้งมีส่วนแบ่งขาดทุนในบ.ร่วม (ท่าเรือ C0 ถือ 49%) ลดลงเป็น 10 ลบ. จาก 3Q63 มีส่วนแบ่งขาดทุนฯ 20 ลบ. ส่วนกำไรที่หดตัว 34%QoQ ตามปริมาณรถส่งออกฯ ลดลงจากล็อกดาวน์และมีการบันทึกค่าใช้จ่ายเรื่องโควิด-19

หลังไปได้อะไร

  • NTY คงเป้ารายได้ปีนี้โต 5-10%YoY (9M64 รายได้โต 9%YoY) จากการฟื้นตัวของรายได้บริการท่าเทียบเรือ โดยแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์เข้มใน 3Q64 และปัญหาการแคลนชิปทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ทั่วโลกหยุดผลิตชั่วคราวเป็นระยะๆ แต่ด้วยฐานส่งออกรถยนต์ปีก่อนที่ต่ำมากและปีนี้เศรษฐกิจคู่ค้าฟื้นตัว จึงคาดปริมาณรถยนต์ส่งออกผ่านท่าเทียบเรือปีนี้ยังเติบโต YoY ส่วนรายได้บริการคลังสินค้าคาดยังโต YoY หลังมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น จนปัจจุบันอัตราใช้พื้นที่คลังสินค้าเกือบเต็ม 100% อีกทั้งค่าเช่ายังมีการปรับขึ้นเฉลี่ยราว 10% ทุก 3 ปี
  • NYT เป็นผู้นำให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อส่งออกและนำเข้ารถยนต์ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จากให้บริการท่าเทียบเรือ A5 และ C0 สะท้อนได้จาก 9M64 ปริมาณรถยนต์ผ่านท่าเทียบเรือของ NYT เติบโต 28.4%YoY สอดคล้องกับยอดส่งออกรถยนต์ของไทยที่เติบโต 30.6%YoY สู่ระดับ 6.81 แสนคัน โดยมีโอกาสที่ยอดส่งออกรถยนต์ปีนี้จะสูงกว่าเป้าของ ส.อ.ท. ที่ตั้งไว้ 8.5 แสนคัน หลังล่าสุดการคลายล็อกดาวน์ทำให้ปัญหาขาดชิปและชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศคู่ค้าคลี่คลาย

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ 4Q64 คาดกำไรฟื้นตัวเด่น QoQ หลังการคลายล็อกดาวน์ทั่วโลกทำให้ธุรกิจยานยนต์ฟื้น หนุนยอดส่งออกรถยนต์ในไทยกลับมาเร่งตัวขึ้น แต่กำไรสุทธิ 9M64 คิดเป็น 58% ของประมาณการทั้งปีซึ่งต่ำเกินไปจากการล็อกดาวน์เข้มและปัญหาขาดแคลนชิปใน 3Q64 เพื่อยึดหลักอนุรักษ์นิยมเราจึงปรับลดประมาณการลง โดยคาดปี 64 NYT มีกำไรสุทธิ 254 ลบ. ยังเติบโต 11%YoY และโตดีขึ้น 30%YoY ในปี 65 จาก ศก. ของคู่ค้าฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มคลี่คลายลง
  • gเรยเราคงแนะนำ “ซื้อ” จากกำไรปี 65 ที่คาดกลับมาโตเด่นและการมีศักยภาพจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ โดยคาดให้ Div. Yield ปีละ 5% อีกทั้งช่วงสั้นราคาหุ้น NYT อาจมีปัจจัยกระตุ้นเชิงบวกหากสัปดาห์หน้า ส.อ.ท. เผยยอดส่งออกรถยนต์เดือน ต.ค. ออกมาดีและปรับเพิ่มเป้าส่งออกรถยนต์ปีนี้จาก 8.5 แสนคันเป็น 9 แสนคัน อีกทั้งเราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 หุ้นละ 4.80-5.30 บาท (อิง PER 18-20x เช่นเดิม) ยังมี Upside เกิน 15% ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 4..06/3.96
  • ความเสี่ยงสำคัญ : ปัญหาขาดแคลนชิปส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานยานยนต์หยุดชะงัก, ศก. คู่ค้าชะลอ
12/11/2021 STARK ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลดำเนินงานระยะถัดไปจะเป็นอย่างไร หลัง 3Q64 ทำกำไรสุทธินิวไฮ 913 ลบ. (ดีเกินที่เราคาดไว้ 603 ลบ.) โตเด่น 97%YoY แต่หากไม่รวมรายการพิเศษสุทธิ -167 ลบ. มีกำไรปกติ 1,079 ลบ. เติบโต 121%YoY จากรายได้เพิ่ม 110%YoY หลังโครงการภาครัฐและเอกชนในไทยและเวียดนามดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องตามแผนงาน อีกทั้งรับรู้รายได้อีก 1 พันลบ.ที่เลื่อนส่งมอบมาจาก 2Q64 ส่วนอัตรากำไรปกติเพิ่มเป็น 0% ดีกว่า 2Q64 และ 3Q63 เพราะเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีอัตราใช้กำลังผลิตที่สูงขึ้นและมีสัดส่วนรายได้สินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงอย่าง MV-EHV ที่เพิ่มขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • STARK มั่นใจปี 64 รายได้เติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่ต่ำกว่า 15-20%YoY เนื่องจากธุรกิจหลักจำหน่ายสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลมีแนวโน้มเติบโตที่ไปตามการลงทุนโครงการของภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในไทยและเวียดนาม ขณะที่ EBITDA Margin ยังคงคาดไม่ต่ำกว่า 15-18% (EBITDA Margin 9M64 ที่ 17.2% เพิ่มจาก 15.7% ใน 9M63) หลังมีแผนเพิ่มยอดขายสินค้ามาร์จิ้นสูงอย่าง Medium to Extra High Voltage Cables (MV-EHV) และนำต้นทุนผลิตที่ต่ำในเวียดนามมาใช้เพิ่มศักยภาพแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดเดิม (ไทย, เวียดนาม) และรุกตลาดใหม่
  • ส่วนปี 65 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 15-20%YoY หลังปัจจุบันมี Backlog อยู่ 1 หมื่นลบ. และอยู่ระหว่างรอผลประมูลงาน High Potential ในไทยและเวียดนามอีกจำนวนมาก ขณะที่ศักยภาพทำกำไรจะดีขึ้นหลังมีแผนเพิ่มสัดส่วนยอดขาย MV จากปัจจุบัน 34% เป็น 40% และ EHV จากปัจจุบัน 20% เป็น 30-35% ขณะที่ระยะยาวคาดรายได้เติบโตอย่างน้อยปีละ 12-15%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราปรับเพิ่มประมาณการ เนื่องจากกำไรสุทธิ 9M64 อยู่ที่ 1,875 ลบ. สูงกว่าประมาณการทั้งปีแล้ว ขณะที่ 4Q64 แม้คาดกำไรอ่อนตัว QoQ แต่ยังเติบโตดี YoY ตามแผนส่งมอบสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลทั้งในไทยและเวียดนามที่ยังสูง โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 64 STARK มีกำไรสุทธิ 2,255 ลบ. เติบโต 40%YoY และเติบโตต่อ 17%YoY ในปี 65 จากอุปสงค์สายไฟและสายเคเบิลในไทยและเวียดนามที่ยังเติบโตดีตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐและการลงทุนของเอกชน (EEC, EV, Power Plant, อสังหาฯ) พร้อมมีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนยอดขายสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง
  • มองเป็นหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และช่วงสั้นราคาหุ้นยังมี Catalyst จากมีโอกาสเข้าคำนวณดัชนี SET100 ใน 1H65 ขณะที่เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 อยู่ที่ 30-5.50 บาท (อิง PER 24-25x ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 1 ปี และใกล้เคียงกับการเติบโตของกำไรในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้) พบมี Upside น่าสนใจ จึงแนะนำ “ซื้อ” โดยเทคนิคมีแนวรับ 4.50/4.40
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การเลื่อนแผนลงทุนโครงการภาครัฐและเอกชน, บาทอ่อนกระทบต่อต้นทุน
12/11/2021 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลดำเนินงานระยะถัดไปจะเป็นอย่างไร หลัง 3Q64 ทำสถิติกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 อยู่ที่ 162 ลบ. เติบโต 189%YoY ดีเกินเราและตลาดคาด ซึ่งเกิดจากรายได้รวมที่เพิ่มขึ้น 151%YoY หลักๆ มาจากการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบกข้ามแดน (CBS) ที่เติบโตเด่นถึง 692%YoY และ 119% YoY ตามลำดับ หลังมีดีมานด์และค่าระวางสูง อีกทั้ง SG&A/Sales ยังอยู่ที่ 5.4% ลดลงทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจากเกิดผลประหยัดต่อขนาดมากขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • WICE มีความมั่นใจว่า 4Q64 จะเห็นการเติบโตต่อเนื่อง จากดีมานด์ขนส่งที่ยังเติบโตดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (หลักๆ จากสหรัฐฯ และจีน) โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางทะเลและ CBS ส่วนค่าระวางคาดยังอยู่ในระดับสูงจนถึงกลางปี 2565 เนื่องจากยังมีปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนและ Congestion ในท่าเรือ หนุนให้มีโอกาสสูงที่รายได้ปีนี้จะสูงกว่าที่ตั้งเป้าเติบโตไว้ 40-50%YoY
  • ศักยภาพทำกำไรยังอยู่ในทิศทางดีขึ้น เนื่องจากบริษัทพยายามบริหารเครือข่ายโลจิสติกส์ในมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และคาดเกิดผลประหยัดต่อขนาดหลังมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จาก Net Margin 9M64 ที่ 6.8% เพิ่มจาก 5.5% ใน 9M63 รวมทั้งตั้งแต่ 31 ส.ค. 64 บริษัทยังเพิ่มทุนใน บ.ร่วมทุน ETL ซึ่งดำเนินธุรกิจ CBS จากเดิม 40% เป็น 51% ทำให้จะรับรู้กำไรที่เติบโตได้เพิ่มขึ้นและยังมีแผนนำ ETL เข้าจดทะเบียนใน ตลท. ในปี 65 เพื่อขยายกำลังให้บริการรับดีมานด์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากความนิยมที่พุ่งขึ้นอย่างมากในเส้นทางสิงค์โปร์ มาเลเซีย ไทย และจีน

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับเพิ่มประมาณการ สะท้อนกำไรสุทธิ 9M64 คิดเป็น 90% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป บวกกับ 4Q64 แม้คาดกำไรอ่อนตัว QoQ ตามฤดูกาล แต่จะยังโตดี YoY จากดีมานด์และค่าระวางที่ทรงตัวสูง อีกทั้งจะรับรู้ผลขยายกำลังให้บริการ อาทิ ตั้งแต่ปลาย 2Q64 CBS มีตู้คอนเทนเนอร์เพิ่ม 200 ตู้ เป็น 1,400 ตู้ เพื่อรองรับการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ (LTL), ตั้งแต่ 3Q64 มีเปิดคลังสินค้าใหม่ 1 หมื่นตร.ม. เพื่อรองรับลูกค้าพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 64 WICE จะมีกำไรสุทธิ 491 ลบ. เติบโต 144%YoY และเติบโตต่อ 10%YoY ในปี 65 
  • จากผลการดำเนินงานที่ออกมาโดดเด่นและยังมีโมเมนตัมเชิงบวกในระยะยาว เนื่องจาก WICE มีจุดแข็งด้านการให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรและมีเครือข่ายรองรับทุกประเทศการค้าสำคัญ ซึ่งคาดจะเติบโตได้อีกมากจาก Inorganic และ Organic อีกทั้งมี Catalyst จากแผนนำ ETL จดทะเบียนใน ตลท. และกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 ที่ 16.60-17.40 บาท (อิง PER 20-21x) ยังมี Upside เกิน 25% ดังนั้นเราจึงแนะนำ “ซื้อ” ทั้งนี้ช่วงสั้นทางเทคนิคมีแนวรับ 12.50/12.00
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ สงครามการค้าจีน-สหรัฐ, ความผันผวนของค่าระวางซึ่งเป็นต้นทุนหลัก
12/11/2021 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลประกอบการของ 3Q64 รายงานตามคาด คาดหวังการฟื้นตัวของยอดขายใน 4Q64 จากการ Re-opening และการเปิดสินค้าใหม่ในกลุ่ม Snack

หลังไปได้อะไร

  • เราเห็นความพร้อมของบริษัทในการออกสินค้าใหม่ทั้งในกลุ่ม snack ที่มีส่วนผสมของกัญชงและกัญชาซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายได้ในปลายปีนี้ ขณะที่กลุ่มเครื่องเดิมสินค้าใหม่ของ Jele Chewy ได้รับการตอบรับดี และเป็นกลุ่มที่มี Gross Margin สูง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • รายได้ 3Q64 ที่ 978 ล้านบาท (-10.0% YoY และ -8.5% QoQ) ใกล้เคียงกับที่เราคาดที่ 975 ล้านบาท ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศอ่อนตัวจากการ Lockdown สัดส่วนรายได้จากในประเทศอยู่ที่ 84% ต่างประเทศที่ 16% และมีรายได้จากเครื่องดื่ม 44% และ snack ที่ 56% ขณะที่ระดับ Gross Margin ทำได้ที่ 25.1% ใกล้เคียงคาดที่ 25.2% อ่อนตัวลงจาก 25.6% ใน 2Q64 และ 28% SG&A ยังควบคุมได้ดีแม้มีค่าใช้จ่าย one-time จากการทำ IPO และรายการเกี่ยวข้องกับ COVID-19 ขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายคาดลดลงจากการคืนหนี้และส่วนแบ่งจาก สิริโปรมีบันทึกขาดทุน 10 ล้านบาทตามคาด ดังนั้นเรากำไรสุทธิของ 3Q64 อยู่ที่ 62 ล้านบาท (+21.1% YoY แต่ -19.8% QoQ) ใกล้เคียงคาด 66 ล้านบาท 9M64 รายได้รวมเท่ากับ 3,148 ล้านบาท (Flat YoY) และกำไรสุทธิที่ 316 ล้านบาท (+455% YoY)
  • เราคาดว่าทิศทางของ 4Q64 จะฟื้นตัวจาก 1) การ Re-opening ที่หนุนการฟื้นตัวของการบริโภคโดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว 2) SNNP วางแผนออกสินค้าใหม่ในกลุ่มเจเล่ คาดหนุนยอดขาย และ Snack ในกลุ่มกัชาและกัญชง เราคาดรายได้ปี 2564 เท่ากับ 4,315 ล้านบาท (-2.3% YoY) และกำไรปีนี้ที่ 408 ล้านบาท (+335% YoY)
  • มองการฟื้นตัวปี 2565 คาดการออกสินค้าใหม่ในกลุ่มกัญชงจะหนุนรายได้ เราคงประมาณการของปีหน้าที่ 4,992 ล้านบาท (+16% YoY) และในส่วนของต้นทุนเรามองว่า SNNP ได้รับผลกระทบจำกัด และส่วนของ สิริโปร คาดว่าจะเริ่มมีกำไร ดังนั้นคาดกำไรสุทธิเติบโต 14% เท่ากับ 465 ล้านบาท
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2565 ที่ 12.40 บาท/หุ้น และปี 2566 ที่ 13.60 บาท/หุ้น บนเป้า PER ที่ 25.5 เท่าซึ่งเท่ากับเฉลี่ยของ 3 บริษัทที่มีลักษณะ Business Model ใกล้เคียงกันโดย SNNP มีจุดที่ครอง Market Share อันดับที่ 1 ในกลุ่มเจลลี่พร้อมดื่มและขนมขบเคี้ยวในกลุ่มปลาหมึก
10/11/2021
NER
ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลดำเนินงานระยะถัดไปจะเป็นอย่างไร หลัง 3Q64 มีกำไรสุทธิ 440 ลบ. โต 189%YoY แต่หากไม่รวมขาดทุน Fx จะมีกำไรปกติ 610 ลบ. โตเด่น 204%YoY และ 30%QoQ ดีกว่าตลาดคาด ซึ่งเกิดจากยอดขายเพิ่มขึ้น 65%YoY และ 14%QoQ หลังมีปริมาณขาย 1.4 แสนตัน เติบโต 31%YoY และ 20%QoQ ส่วนราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 51.2 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 26%YoY แต่ลดลง 5%QoQ ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 13.2% ดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY จากยางที่ประมูลจากรัฐมา 1 แสนตันมีคุณภาพดีทำให้ลดต้นทุนการผลิตและยังเกิดผลประหยัดต่อขนาดตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • NER ยังคงเป้ารายได้ปีนี้ไว้ที่ระดับ 2.45 หมื่นลบ. เติบโต 50%YoY และโตต่อ 14%YoY สู่ระดับ 2.8 หมื่นลบ. ในปี 65 ภายใต้เป้าปริมาณขายปีนี้ที่ 4.4 แสนตัน และเพิ่มเป็น 5 แสนตันในปี 65 หลังคาดดีมานด์ยางจะเติบโตตามการฟื้นตัวของ ศก. โลก โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ อีกทั้งบริษัทยังมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นจากโรงงานยางแท่งแห่งที่ 2 (เริ่มผลิต 3Q63) ทำให้รองรับการเติบโตของดีมานด์ ช่วยหนุนให้มีปริมาณขายเพิ่มขึ้น ส่วนปี 65 แม้ราคาขายเฉลี่ยลดลงจากปี 64 ที่ปรับขึ้นแรงเกือบ 25%YoY แต่คาดการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ศักยภาพทำกำไรให้อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น
  • ปี 65 NER ยังคงแผนเดินหน้าเพิ่มสินค้าใหม่แผ่นปูรองนอนวัวเพื่อเพิ่มศักยภาพทำกำไร เพราะมี Net Margin ราว 20% ดีกว่าธุรกิจขายยางซึ่งมีมาร์จิ้น 4-7% โดยคาดจะจ้าง OEM ไปก่อนเพื่อเริ่มขายในต้นปีหน้า และจะติดตั้งเครื่องจักรผลิตเองใน ก.พ. 65 ซึ่งจะมีกำลังผลิตราว 8.4 แสนแผ่นต่อปี โดยปี 65 คาดมีรายได้จากธุรกิจใหม่ 500 ลบ. ภายใต้ปริมาณขาย 2 แสนแผ่น และจะเพิ่มเป็น 7.55 แสนแผ่นในปี 67 (คืนทุน 2 ปี 8 เดือน) ทั้งนี้เรายังไม่รวมรายได้นี้ในประมาณการ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับเพิ่มประมาณการปีนี้ เพื่อสะท้อนกำไรปกติ 9M64 ซึ่งคิดเป็น 91% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป บวกกับ 4Q64 คาดกำไรปกติยังเติบโตดี YoY จากราคาขายที่สูงขึ้นและมีมาร์จิ้นดีขึ้นจากผลประหยัดต่อขนาด (แต่กำไรปกติจะลดลง QoQ จากมีปริมาณขายลดลงและต้นทุนสูงขึ้น) โดยประมาณการใหม่คาดปี 2564 NER จะมีกำไรปกติ 1.94 พันลบ. เติบโต 105%YoY
  • แม้ระยะยาวคาดอุปสงค์ยางจะสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของ ศก. และกลุ่มยานยนต์ และเรายังคงประมาณการปี 65 ทำให้กรอบราคาเป้าหมายยังอยู่ที่ 8-10 บาท (อิง PER 8-10x) แต่ช่วงสั้นคาดราคาหุ้น NER จะยังถูกกดดันจากตลาดกังวลอุปสงค์ยางในกลุ่มยานยนต์ชะลอตัวจากปัญหาขาดแคลนชิป กลยุทธ์จึงแนะนำไม่ไล่ราคาและรอจังหวะซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยเทคนิคมีแนวรับที่ 6.95/6.75
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และบาทแข็งค่า
10/11/2021
SFT
ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลดำเนินงานระยะถัดไปจะเป็นอย่างไร โดยแม้ 3Q64 SFT มีกำไรสุทธิ 33 ลบ. เติบโต 53%YoY แต่หากไม่รวมกำไร Fx จะมีกำไรปกติ 24 ลบ. เติบโต 20%YoY แรงหนุนจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 23%YoY หลังมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและรับรู้กำลังผลิตจากเครื่องจักรกราเวียร์ตัวใหม่ซึ่งติดตั้งตั้งแต่ มิ.ย. 64 อย่างไรก็ดีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 28.5% ลดลงทั้ง QoQ และ YoY จากมีผลประหยัดต่อขนาดลดลงหลังมีอัตราใช้กำลังผลิตลดลงจากผลล็อกดาวน์ อีกทั้งยังรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทมั่นใจรายได้ปี 2564 เติบโต 15-20%YoY ตามเป้าได้ (9M64 รายได้โต 23%YoY) จากคำสั่งผลิตฉลากที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องของลูกค้าเก่าและใหม่ อีกทั้งมองการคลายมาตรการล็อกดาวน์และแผนออกแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายส่งท้ายปีของลูกค้ากลุ่มเครื่องดื่ม อาหาร และสินค้าเสริมความงามจะหนุนให้คำสั่งผลิตใน 4Q64 ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสอดรับกับการที่บริษัทมีกำลังผลิตเพิ่ม 25% หลังติดตั้งเครื่องจักรระบบกราเวียร์ตัวที่ 5 ตั้งแต่ มิ.ย. 64 ซึ่งทำให้สามารถรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นได้
  • อัตรากำไรขั้นต้นคาดปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ 4Q64 เนื่องจากเกิดผลประหยัดต่อขนาดมากขึ้นตามการมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ และยังรับรู้ผลจากการทยอยปรับขึ้นราคาขายเพื่อสะท้อนต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยคาดจะสามารถรักษา Net Margin ไม่ต่ำกว่า 10% (9M64 มี Net Margin 16.2%) ส่วนโรงงานใหม่แห่งที่ 2 ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างคาดจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ใน 3Q65 เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังมีแผนขยายฐานลูกค้าใหม่ในตลาดจีนและญี่ปุ่น

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ 4Q64 คาดกำไรเติบโต YoY และ QoQ จากคำสั่งซื้อที่สูงขึ้นหลังการคลายล็อกดาวน์ช่วยหนุนบรรยากาศใช้จ่ายและจะรับรู้ผลการทยอยปรับขึ้นราคาขายกับลูกค้าตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อีกทั้งตั้งแต่กลาง ต.ค. ต้นทุนวัตถุดิบหลักอย่าง PVC เริ่มปรับลงแล้ว ซึ่งน่าจะหนุนมาร์จิ้นกลับมาดีขึ้นแต่เพื่อยึดหลักอนุรักษ์นิยมสะท้อนต้นทุนที่สูงกว่าที่คาดเดิม เราจึงปรับลดประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 64 โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 64 SFT มีกำไรสุทธิ 132 ลบ. เติบโต 68%YoY และเติบโตต่ออย่างน้อย 10%YoY ในปี 65 จากกำลังซื้อฟื้นตัว มีกำลังผลิตเพิ่ม และรุกขยายลูกค้าในตลาดเอเชีย 
  • SFT เป็นหุ้นเล็กที่กำไรยังมีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาว เนื่องจากธุรกิจมีความสัมพันธ์สูงกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 ที่หุ้นละ 8.20-8.60 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER กลุ่ม Packaging ที่ 25-26x เช่นเดิม) ซึ่งยังมี Upside 20% และคาดให้ Div. Yield ปีนี้ 1.8% จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยเชิงเทคนิคมีแนวรับ 6.60/6.35 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ต้นทุน PVC, PET ที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบกดดันต่อศักยภาพทำกำไร
21/10/2021 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดว่าแนวโน้มผลประกอบการของ 3Q64 จะได้รับผลกระทบจากการ Lockdown ในช่วงต้นไตรมาสและคาดหวังการฟื้นตัวใน 4Q64

หลังไปได้อะไร

  • ใน 3Q64 คาดยอดขายของ SNNP ในประเทศอ่อนตัวลงจาก Lockdown ในประเทศและสินค้าขาดแคลนจากข้อจำกัดของกำลังการผลิตคาดจะอ่อนตัวลง 8% QoQ และการระบาดในต่างประเทศที่เป็นตลาดหลักคือ เวียดนามและกัมพูชา คาดยอดจากต่างประเทศอ่อนตัวลง 15% QoQ
  • สิริโปร (บริษัทร่วมค้าในธุรกิจกระจายสินค้าที่ SNNP ถือ 50%) มีผลขาดทุนมากกว่าคาดด้วยแรงกดดันของต้นทุน ขณะที่รายได้อ่อนตัวจากสินค้าขาดและ Curfew
  • ระดับ Gross Margin อ่อนตัวลงเล็กน้อยจาก volume ของการผลิตที่ลดลงและต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดรายได้ของ SNNP ใน 3Q64 ที่ 975 ล้านบาท (-10.2% YoY และ -8.7% QoQ) ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศคาดอ่อนตัว ขณะที่ระดับ Gross Margin เราคาดที่ 25.2% อ่อนตัวลงจาก 25.6% ใน 2Q64 และ 28% ใน 3Q63 สำหรับ SG&A ยังควบคุมได้ดีแม้มีค่าใช้จ่าย one-time จากการทำ IPO และรายการเกี่ยวข้องกับ COVID-19 ขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายคาดลดลงจากการคืนหนี้ และส่วนแบ่งจาก สิริโปรคาดมีบันทึกขาดทุน 10 ล้านบาท ดังนั้นเราคาดกำไรสุทธิของ 3Q64 ที่ 66 ล้านบาท (+29.3% YoY แต่ -14.3% QoQ)
  • เราคาดว่าทิศทางของ 4Q64 จะฟื้นตัวจาก 1) การ Re-opening ที่หนุนการฟื้นตัวของการบริโภคโดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว 2) SNNP วางแผนออกสินค้าใหม่ในกลุ่มเจเล่ คาดหนุนยอดขาย อย่างไรก็ตามด้วยแรงกดดันของ 3Q64 เราจึงมีการปรับประมาณการรายได้ปีนี้ลง 4% เท่ากับ 4,315 ล้านบาท (-2.3% YoY) และเพิ่มการขาดทุนของสิริโปร ทำให้คาดกำไรปีนี้ที่ 408 ล้านบาท
  • มองการฟื้นตัวปี 2565 คาดการออกสินค้าใหม่ในกลุ่มกัญชงจะหนุนรายได้ เราคงประมาณการของปีหน้าที่ 4,992 ล้านบาท (+16% YoY) และในส่วนของต้นทุนเรามองว่า SNNP ได้รับผลกระทบจำกัด และส่วนของ สิริโปร คาดว่าจะเริ่มมีกำไร ดังนั้นคาดกำไรสุทธิเติบโต 14% เท่ากับ 465 ล้านบาท
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2565 ที่ 12.40 บาท/หุ้น และปี 2566 ที่ 13.60 บาท/หุ้น บนเป้า PER ที่ 25.5 เท่าซึ่งเท่ากับเฉลี่ยของ 3 บริษัทที่มีลักษณะ Business Model ใกล้เคียงกันโดย SNNP มีจุดที่ครอง Market Share อันดับที่ 1 ในกลุ่มเจลลี่พร้อมดื่มและขนมขบเคี้ยวในกลุ่มปลาหมึก
12/10/2021 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • ทิศทางผลประกอบการของ 2H64 จะเป็นอย่างไรและผลกระทบจากการ Lockdown ของช่วงต้น 3Q64 มีผลต่อประมาณการอย่างไร และการ Re-opening ใน 4Q64 จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของยอดขายอย่างไร ขณะที่ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบหลัก เช่น น้ำตาล อลูมิเนียม ราคาน้ำมัน มีผลกระทบต่อ HTC อย่างไร

หลังไปได้อะไร

  • HTC ยังคงเป้าการเติบโตของปีนี้ที่รายได้ 3-6% YoY แม้ไม่สูงมากแต่บริษัทได้เริ่มบริหาร Efficiency โดยการลดค่าใช้จ่าย SG&A เพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าในส่วนที่มี Gross margin สูงขึ้น และการขยายไปธุรกิจอื่นในอนาคตเพื่อเพิ่มช่องทางการเติบโต
  • คาดทิศทางผลประกอบการของ 3Q64 อ่อนตัว YoY และ QoQ จากการ Lockdown และการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตามการ Re-opening ใน4Q64 คาดส่งผลให้รายได้ในภาคใต้เติบโต โดยเฉพาะจากจังหวัดท่องเที่ยวหลัก

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • คาดรายได้ของ 3Q64 ที่ 1,546 ล้านบาท (-4% YoY และ -9.4% QoQ) โดยยอดขายอ่อนตัวลงจากทุกธุรกิจจากการเกิด Lockdown ขณะที่กำไรขั้นต้นคาดที่ 40% อ่อนตัวลงจาก 41% ใน 3Q63 และ 41.3% ใน 2Q64 ผลจากต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้นซึ่งทีผลต่อ PET เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม HTC มีจุดแข็งที่มี Partner ในการช่วยบริหารต้นทุนจากการทำการสั่งซื้อแบบ Big Volume ดังนั้นเราคาดกำไรสุทธิที่ 110 ล้านบาท (-34.5% YoY และ -41.1% YoY)
  • Re-opening ใน 4Q64 คาดว่าจะหนุนให้ยอดซื้อกลับมาโดยเฉพาะในกลุ่มพื้นที่ท่องเที่ยงภาคใต้และเราคาดว่ากำไรสุทธิของ 4Q64 จะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ เราคงคาดรายได้ปีนี้ที่ 6,665 ล้านบาท (+4% YoY) กำไรสุทธิ 602 ล้านบาท (+6% YoY) เป็น Record High และในปีนี้ 2565 รายได้เติบโตต่อเนื่อง 5% YoY และกำไรสุทธิเติบโต 9% YoY
  • โครงสร้างรายได้ของ HTC ประมาณ 80% มาจากเครื่องดื่มแบบขวด PET ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนน้ำมันหากราคาน้ำมันเฉลี่ยเกินกว่า US$80/บาร์เรล อาจกดดันส่วน Gross Margin เล็กน้อย ขณะที่อะลูมินัมหรือส่วนกระป๋อง HTC มีสัดส่วนประมาณ 10% ซึ่งทั้ง 2 รายการ HTC มีการบริหารต้นทุนจากความสัมพันธ์ของ partner ทำให้ได้รับผลกระทบไม่มาก ขณะที่ราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นเป็นต้นทุนที่ 20% และจะมีสัดส่วนน้อยลงจากการออกสินค้าที่เป็น Low และ No Sugar มากขึ้น
  • เรายังคงมองว่า HTC จะเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม Re-opening และได้ผลบวกจากกลุ่มท่องเที่ยวในภาคใต้
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 49 บาท/หุ้น จากเป้า PER ที่ 15 เท่าซึ่งเท่ากับ เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีและเราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลสูง 5.5-6.3% ต่อปี โดยเราคาดเงินปันผลของ 2H64 ที่ 1.19 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น 2H64 Yield ที่ 3.4% นอกจากนี้ HTC มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ระดับ DE Ratio ที่ 0.5 เท่า
  • ความเสี่ยง คือ การควบคุมต้นทุน และราคาน้ำมันตลาดโลก
05/10/2021 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • เราอยากทราบผลดำเนินงานช่วงที่เหลือปีนี้ เป้าหมายการเติบโตและแผนขยายสาขาในระยะถัดไป

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณพิทยา จิตมาเส ผอ. ฝ่ายบัญชีและการเงิน TNP เผยว่า แม้กำลังซื้อจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ TNP จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นหลัก บวกกับ 2H64 ยังได้อานิสงส์ทางตรงจากมาตรการเติมเงินให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มอีกเดือนละ 200 บาท (ก.ค.-ธ.ค. 64) และอานิสงส์ทางอ้อมจากมาตรการคนละครึ่งซึ่งหนุนยอดขายของลูกค้ากลุ่มโชห่วย จึงคาด 2H64 ยอดขายสาขาเดิมยังเติบโตได้ดี YoY ขณะที่ 2H64 มีแผนเปิด 3 สาขาใหม่ในเชียงราย และ 1 สาขาใหม่ในเชียงใหม่ ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มีสาขารวม 38 แห่ง
  • ผู้บริหารมีการปรับเพิ่มเป้ารายได้ปี 2564 ที่วางไว้ต้นปีจะเติบโต 10-15%YoY เป็น 15-20%YoY หลังมองการคลายล็อกดาวน์จะช่วยให้บรรยากาศจับจ่ายใช้สอยดีขึ้นและคาดได้อานิสงส์ต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะทยอยออกมา อีกทั้งบริษัทยังปรับแผนขยายสาขาเพิ่มจากปีละ 5 สาขาเป็น 6 สาขาหลังต้นทุนที่ดินถูกลงและมีผู้นำทำเลที่น่าสนใจในย่านชุมชนมาเสนอขาย

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 3Q64 TNP มีกำไรสุทธิ 37 ลบ. ๐เติบโต 25%YoY แรงหนุนจาก 1) ยอดขายรวมคาดโต 10%YoY จากยอดขายสาขาเดิมที่คาดโต 2-3%YoY เพราะได้อานิสงส์มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ อีกทั้งรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น 6 แห่งจาก 3Q63 (3Q64 เปิด 2 สาขาใหม่ คือ สาขาเวียงเชียงรุ้ง และสาขาถนนกองช้าง อ.เมือง) และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นคาดดีขึ้นเป็น 17.5% จาก 16.6% ใน 3Q63 จากอำนาจต่อรองกับคู่ค้าสูงขึ้นและเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาเพิ่ม
  • เพื่อสะท้อนแผนขยายสาขาสูงกว่าคาดเดิมและบรรยากาศจับจ่ายที่จะดีขึ้นจากการคลายล็อกดาวน์และการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐ อีกทั้งบริษัทยังมีการคุมค่าใช้จ่ายได้ดีเกินคาด เราจึงมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 2564 เฉลี่ยปีละ 8% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2564 TNP จะมีกำไรสุทธิ 186 ลบ. เติบโต 39%YoY และเติบโตต่ออีก 15%YoY ในปี 2565 จากกำลังซื้อที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและรับรู้ยอดขายจากสาขาเปิดใหม่ปีละ 6 แห่ง 
  • เรายังคงชอบ TNP ซึ่งเป็นหุ้นค้าปลีกขนาดเล็กที่มีศักยภาพเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และยังมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง (Net Cash 39 ลบ.) ส่วน Valuation มองว่าไม่แพง โดยปัจจุบันซื้อขาย PER 64F และ 65F ที่ 25.0x และ 21.8x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 41.4x และ 38.0x ตามลำดับ ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 2565 ที่หุ้นละ 7.00-7.50 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีล่าสุดของ TNP ที่ 26-28x) พบว่ายังมี Upside เกิน 20% จึงคงแนะนำ “ซื้อลงทุน”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
21/09/2021 KCE ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร และระยะยาวอะไรคือปัจจัยสำคัญหนุนการเติบโต

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร KCE ตั้งเป้าอัตราการเติบโตในปี 2565 อยู่ที่ 20-25%YoY จากราว 420 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 500-530 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้จากอุปสงค์ที่อยู่ในระดับสูงและอัตราใช้กำลังการผลิตเต็ม ซึ่งบริษัทมี Backlog ที่จะช่วยให้รายได้เพิ่มขึ้น 10%YoY
  • บริษัทมีแผนการลงทุน 6 พันลบ. สำหรับขยายกำลังการผลิตราว 1 ล้านตารางฟุต ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 4Q64 โดยเฟสแรกจะเป็นการลงทุน 3 พันลบ. เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 7 แสนตารางฟุต ซึ่งผู้บริหารมองว่าการลงทุนอาจจะไม่กระทบกับกำไรมากนัก เพราะกำลังการผลิตใหม่เข้ามาจะสามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังการผลิตจากความต้องการที่มีมากในช่วงนี้
  • ผู้บริหารมองว่า ความได้เปรียบจากการแข่งขันของจีนที่จะแข่งกับไทยนั้นลดน้อยลง เพราะจีนและไต้หวันเจอภาพความขัดแย้งทางการค้าและค่าแรงในจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ KCE ได้เปรียบขึ้น

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามองว่า KCE อยู่ในช่วงการเติบโต ซึ่งอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่ดีและมีความต้องการอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้นสินค้าใหม่อย่าง Radar/LiDAR น่าจะเป็นสินค้าที่มียอดขายและอัตราการทำกำไรเติบโตดี ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 2% ของรายได้ อีกทั้งยังมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าที่จะทำให้บริษัทมีการเติบโต ทั้งนี้สัดส่วนรายได้ที่มาจากกลุ่มยานยนต์นั้นมากกว่า 50% ของรายได้ สอดคล้องกับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนสินค้าดังกล่าว
  • บริษัทมีอำนาจต่อรองราคาสูงและสามารผ่านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นไปให้ลูกค้าได้เนื่องจากความต้องการสูงกว่ากำลังการผลิต นอกจากนั้นบริษัททำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำทำให้มีการจัดการในเชิงของต้นทุนที่ดีกว่า ทำให้คาดอัตราทำกำไรขั้นต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 29% ในปี 2565 จาก 5% ในปี 2564
  • บริษัทมีการเน้นการผลิตที่มีเทคโนโลยีสูงอย่าง Substate และ HDI ซึ่งจะช่วยความสามารถลดความกดดันด้านการแข่งขันได้ นอกจากนั้น KCE มองว่าของเสียจากการผลิตนั้นสามารถลดลงได้อีก
  • เมื่อความสามารถในการแข่งขันของจีนด้านต้นทุนของจีนเริ่มลดลง (70% ของการผลิตทั่วโลก) ทำให้เรามองว่าจะมีโอกาสที่จะมีการสั่งสินค้าจากไทยมากขึ้น และการลงทุนในด้านนี้จะสูงขึ้น
  • เราคาดการณ์กำไรของบริษัทใน 2H64 จะเพิ่มขึ้น 115%YoY และ 22%QoQ หนุนทั้งปี 2564 มีกำไรแตะ 2,481 ลบ. เพิ่มขึ้น 120%YoY และเติบโตต่อ 19%YoY ในปี 2565
  • ประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 ที่หุ้นละ 88-100 บาท บน PER กรอบบนที่ +2SD ที่ 35-40x มี Upside 5-15% แต่ราคาหุ้น KCE ปรับขึ้น 103%YTD ซึ่งมองสะท้อนปัจจัยบวกไปพอสมควรแล้ว การลงทุนจากจุดนี้ไม่ใช่ต้นรอบการลงทุนเป็นช่วงกลางถึงปลายจึงมีความเสี่ยงมากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนช่วงสั้นสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้และหวังจะเก็งกำไรผลการดำเนินงาน 3Q64-1Q65 ที่คาดเติบโตเด่น แนะนำ “รอซื้อเมื่ออ่อนตัว” เพื่อเพิ่มแต้มต่อ เมื่อหุ้นอ่อนตัวลงมากกว่า 5%
17/09/2021 III ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร และระยะยาวอะไรคือปัจจัยสำคัญหนุนการเติบโต

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร III เผย 2H64 คาดทิศทางกำไรยังดีต่อเนื่อง หลังทุกกลุ่มธุรกิจยังมีแนวโน้มโตดี ค่าระวางสูง อีกทั้งมีแผนเพิ่มกำลังให้บริการต่อเนื่อง อาทิเช่น 4Q64 ธุรกิจขนส่งทางอากาศจะนำเครื่องบินบรรทุกสินค้าโดยเฉพาะ (Freighter) มาเสริม Cargo Flight ในเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่ ซึ่งจะเพิ่ม Capacity 25-30%, ธุรกิจขนส่งทางเรือจะรับรู้พื้นที่ระวางและปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น 40% ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่ปลาย 2Q64 และการขยายคลังสินค้าสำหรับรองรับลูกค้า E-Commerce และสินค้า high Value อีก 1500 ตร.ม. หรือเพิ่มอีก 50% ซึ่งคาดเริ่มบริการ พ.ย. นี้
  • การเติบโตของผลดำเนินงานช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ (ปี 64-66) ตั้งเป้าเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 25% จากทั้ง Organic (15-20%) และ Inorganic growth (M&A) โดยศักยภาพทำกำไรจะอยู่ในทิศทางที่ดีจากบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเกิดผลประหยัดต่อขนาดหลังมีการขยายเครือข่ายและฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมและร่วมค้า (TLP, AROUND, ECU, CKT, DPGS, Shipsmile) ที่ดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งจะหนุนดีมานด์ขนส่งเพิ่ม

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2H64 คาดกำไรโตเกิน 705%YoY (ราว 90 ลบ.ต่อไตรมาส) จากค่าระวางที่สูง ดีมานด์ยังโตดีและมีกำลังบริการเพิ่ม อีกทั้งจะรับรู้ส่วนแบ่งกำไรฯ จาก Shipsmile (10 ส.ค. ลงทุนเพิ่มเป็น 38% จาก 30% ใน 2Q64) ซึ่งทำธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุและรวบรวมการขนส่งจากบริษัทขนส่งชั้นนำ เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry, Flash Expressฯลฯ โดยมีแผนขยายสาขาจากปัจจุบัน 4 พันสาขา เป็น 3 พันสาขาในปีนี้ หนุนให้คาดปี 2564 III มีกำไรสุทธิ 344 ลบ. เติบโต 111%YoY และโตต่อ 8.7%YoY ในปี 2565 ทั้งนี้ประมาณการยังไม่รวมแผนลงทุนธุรกิจขนส่งทางรางซึ่งคาดได้ข้อสรุปปีนี้
  • III เป็นอีกหนึ่งหุ้นโลจิสติกส์ที่มีจุดแข็งด้านการให้บริการครบวงจรและมีเครือข่ายพันธมิตรที่รองรับบริการได้หลากหลาย จึงคาดผลดำเนินงานจะมีศักยภาพเติบโตได้หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยเฉพาะการฟื้นตัวในปริมาณขนส่งทางอากาศซึ่งเป็นธุรกิจหลัก พร้อมกับส่วนแบ่งกำไรฯ ของ 2 บริษัทร่วมคาดพลิกมีกำไรตั้งแต่ปีหน้า คือ SAL ซึ่งทำธุรกิจให้บริการภาคพื้นที่ท่าอากาศยานของ AOT และ Makesend ซึ่งทำ Sameday Delivery ในกทม.&ปริมณฑล และจะขยายทั่วไทยปีหน้า
  • แม้กำไร 2H64 คาดโตเด่น YoY และประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 ที่หุ้นละ 13-14 บาท บน PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 25-27x และ EPS อิงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากใช้สิทธิแปลงสภาพ III-W1 ซึ่งมี 152 ล้านหน่วย (กำหนดใช้สิทธิเท่ากัน 4 ครั้งที่เหลือ) มี Upside 10-18% แต่ราคาหุ้น III ปรับขึ้น 85%YTD ซึ่งมองสะท้อนปัจจัยบวกไปพอสมควรแล้ว อีกทั้งปีหน้ามีความเสี่ยงค่าระวางอาจชะลอลง ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนช่วงสั้นสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้และหวังจะเก็งกำไรผลการดำเนินงาน 3Q64 ที่คาดเติบโตเด่น แนะนำ “รอซื้อเมื่ออ่อนตัว” เพื่อเพิ่มแต้มต่อ เทคนิคแนวรับ 11.50/11.00
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การพึ่งพิงคู่ค้าและลูกค้ารายใหญ่, ความผันผวนของค่าระวาง (ต้นทุนหลัก)
16/09/2021 SECURE ก่อนไปคิดอะไร
  • เมื่อโลกเข้าสู่ยุค Digital มากขึ้น ทำให้ความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลบนโลก Internet มีความสำคัญมากขึ้น เราจึงอยากทราบว่า SECURE จะได้รับประโยชน์จาก Trend นี้อย่างไร

หลังไปได้อะไร

  • SECURE เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับ Cybersecurity จาก Brand ชั้นนำทั่วโลกและมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น Network Security, End Point Security, Network Performance and Monitoring และอื่นๆ และบริษัทฯถือว่าเป็นผู้เล่นระดับต้นๆของประเทศไทย โครงสร้างรายได้ของบริษัทมีสัดส่วนที่เป็น Recurring income ที่ 30%
  • ภาพอุตสาหกรรมเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 15% ในช่วง ปี 2017-2019 และคาดว่าจะสามารถเติบโตต่อเนื่องได้ในปี 2565 ด้วยอัตราไม่ต่ำกว่า 15% เนื่องจากกฎหมาย PDPA ที่คาดว่าจะเริ่มใช้กลางปี 2565 จะเป็นปัจจัยเร่งความต้องการของ Cybersecurity
  • 1H64 SECURE มีกำไรอยู่ที่ 3 ล้านบาท เติบโต 432% YoY โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากความต้องการผลิตภัณฑ์ Cybersecurity ที่ดีต่อเนื่องประกอบกับปีที่แล้วบริษัทมีการช่วยเหลือลูกค้าด้วยการให้ส่วนลดในช่วงการระบาดของ COVID-19 ระลอกแรก
  • ในช่วง 3Q64 เรามองว่าบริษัทได้รับผลกระทบในช่วง Lockdown ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปเสนองานลูกค้า การเข้าไปทำงานที่ Site งาน และ Vendor ส่งสินค้ามาไม่ได้ ทำให้กำไร 3Q64 อาจจะเห็นการหดตัว QoQ แต่จะเห็นการฟื้นตัวโดดเด่นใน 4Q64 โดยทั้งปีเราคาด SECURE จะมีรายได้ที่ 800 ล้านบาท เติบโต 26% YoY และมีกำไรที่ 78 ล้านบาท (+232.7% YoY)
  • ปี 2565 ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตรายได้ที่ 15% อยู่ที่ 918 ล้านบาท และคาดอัตรากำไรสุทธิมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่บริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางด้าน Cybersecurity ที่ทาง SECURE พัฒนาขึ้นมาเองปลายปีนี้ โดยเน้นทางด้าน PDPA โดยเฉพาะ ทำให้เราคาดการณ์อัตรากำไรสุทธิจะขยายตัวอยู่ที่ 11% จาก 10% ในปี 2564 ซึ่งคิดเป็นกำไรปี 2565 ที่ 103 ล้านบาท (+31.4% YoY)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราชอบ SECURE เนื่องจากธุรกิจของบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก และยังถือเป็นหนึ่งในหุ้น Innovation ตัวนึงในตลาดหุ้นไทยที่มีรายได้มาจากทางด้าน Cybersecurity 100% เราให้ราคาเป้าหมายที่ 35 บาทต่อหุ้น อิง 35x PE ปี 2565 โดยราคาหุ้น 7 วันที่ผ่านมาปรับตัวขึ้น 31% จากกระแสข่าวเรื่องข้อมูลของหน่วยงานรัฐถูก Hack ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนเราแนะนำ “ทยอยซื้อเมื่ออ่อนตัว” ที่ราคาต่ำกว่า 28 บาทเพื่อคาดหวัง Upside ที่มากกว่า 25%
  • ความเสี่ยงของบริษัทคือปัญหาเรื่อง Chip Shortage ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่ออุปกรณ์ทางด้าน Cybersecurity ในส่วนของ Network Security ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสในการขายของบริษัท
25/08/2021 IIG ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบทิศทางของผลประกอบการครึ่งปีหลัง ผลกระทบของมาตรการ Lockdown แนวโน้มความต้องการเรื่อง Digital Transformation ความคืบหน้าของแผนการทำ M&A และ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่จะเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

หลังไปได้อะไร

  • มุมมองเป็นบวกหลังได้มีการ Update ข้อมูลกับผู้บริหาร โดยภาพรวมธุรกิจครึ่งปีหลังปีนี้เติบโตดีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการทำ ERP บน Cloud ภายหลัง ที่สถานการณ์ COVID-19 มีความยืดเยื้อต่อเนื่อง โดย 1H64 รายได้ฝั่ง ERP เติบโตถึง 35% YoY เทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ที่ 15% โดยอันส่วนอื่นเช่น CRM ก็มีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้เป้าหมายรายได้ที่วางไว้ในปีที่ที่ 650-700 ล้านบาท (+20-25% YoY) มีโอกาสที่จะทำได้สูงกว่าเป้าที่วางไว้ และปีหน้าคาดการณ์รายได้แตะ 1 พันล้านบาท
  • ผู้บริหารยังมีการฉายภาพตัวขับเคลื่อนใหม่ๆที่จะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรปี 2565 โดย 1) คือแผนการทำ M&A ผู้บริหารมีการ Update ว่าใกล้ได้ข้อสรุปแล้วและคาดว่าจะให้ความชัดเจนได้ภายใน 2H64 โดย บริษัทฯที่เป็นเป้าหมาย M&A คือต้องสร้าง Synergy ให้กับทาง IIG และต้องสามารถสร้างการเติบโตในระยะยาวได้ 2) บริษัทมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Coupa และ Vonage โดย Coupa จะเน้นในเรื่องของการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายขององค์กรทุกประเภท สำหรับ Vonage เป็น Software ที่เน้นระบบ Contact Center โดยจะมีการนำระบบ AI เข้ามาช่วยในการให้บริการลูกค้าแบบอัตโนมัติด้วย โดยทั้ง 2 โปรแกรม IIG เป็นตัวแทนจำหน่ายรายแรกในประเทศไทย แต่ไม่ได้เป็น Exclusive และทั้ง 2 โปรแกรมเป็นระบบ Cloud Based ซึ่งสามารถสร้าง Recurring Income ในระยะยาว
  • เราคงคาดการณ์รายได้ปี 2564 ที่ 700 ล้านและกำไรสุทธิที่ 85 ล้านบาท (+34.9% YoY) และ รายได้ปี 2565 ที่ 900 ล้านบาทและกำไรสุทธิที่ 109 ล้านบาท (+28.2%) โดย เราขอรอดูความชัดเจนเรื่อง M&A และกระแสการตอบรับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนปรับประมาณการณ์ขึ้น

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการ 2H64 รวมถึงปี 2565 IIG ยังถือว่าได้พิสูจน์ตัวเองเรียบร้อยแล้วจากการที่บริษัทสามารถรายงานกำไรที่เติบโตต่อเนื่องในระดับสูงได้ แม้จะถูกรายล้อมด้วยปัจจัยลบจาก COVID-19 เราแนะนำ ซื้อ” กรอบราคาเป้าหมายที่ 27-33 บาทอิง 25-30x PE ปี 2565
16/08/2021 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลดำเนินงานจะมีทิศทางอย่างไร หลัง 2Q64 WICE ทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 111 ลบ. ดีกว่าเราและตลาดคาดถึง 20% โดยเติบโตเด่น 102%YoY และ 37%QoQ ซึ่งเป็นผลจากรายได้รวมที่เติบโต 64%YoY และ 32%QoQ หลักๆ มาจากการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบกข้ามแดน (CBS) ที่เติบโตเร็ว อีกทั้งยังมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นเป็น 17.7% หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาด

หลังไปได้อะไร

  • WICE ปรับเพิ่มเป้ารายได้ปี 2564 จากเดิมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20%YoY เป็น 40-50%YoY ปัจจัยหนุนมาจาก 1) ค่าระวางที่ยังทรงตัวสูงจากปัญหา Supply shortage และ 2) การฟื้นตัวของ ศก. โดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน ทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะขนส่งสินค้าทางทะเล รวมทั้งตั้งแต่ มิ.ย. 64 บริษัทขยายกำลังใหริการขนส่ง CBS โดยเพิ่มตู้คอนเทนเนอร์อีก 200 ตู้ เป็น 1,400 ตู้หลังการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ (LTL) นิยมอย่างมากในเส้นทางสิงค์โปร์ มาเลเซีย ไทย และจีน อีกทั้งยังเปิดคลังสินค้าใหม่อีก 1 หมื่นตร.ม. บางนา-ตราด กม.18 เพื่อรองรับลูกค้าพื้นที่ กทม.และปริมณฑล
  • ศักยภาพทำกำไรอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น หลังเน้นบริหารเครือข่ายโลจิสติกส์ในมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และคาดเกิดผลประหยัดต่อขนาดหลังมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จาก Net Margin 1H64 ที่ 6.5% เพิ่มจาก 5.1% ใน 1H63 รวมทั้งยังมีแผนเพิ่มทุนใน บ.ร่วมทุน ETL (ถือ 40%) เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนรองรับการเติบโตที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและคาดจะนำเข้าจดทะเบียนใน ตลท. ในปี 65

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 1H64 คิดเป็น 69% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป บวกกับ 2H64 คาดกำไรยังโตทั้ง HoH และ YoY จากอุปสงค์ที่เติบโตดีเกินคาดในทุกธุรกิจ บวกกับ ค่าระวางยังทรงตัวสูง อีกทั้งตั้งแต่ 3Q64 จะรับรู้รายได้เต็มที่ครั้งแรกจากธุรกิจ CBS ซึ่งมีตู้คอนเทนเนอร์เพิ่ม 200 ตู้ และรายได้จากคลังสินค้าใหม่ซึ่งคาดสร้างรายได้ปีละ 100 ลบ. ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ ดังนั้นเพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการ โดยคาดปี 2564 WICE จะมีกำไรสุทธิ 395 ลบ. เติบโต 96.5%YoY และโตต่อ 13%YoY ในปี 2565 ทั้งนี้ในประมาณการยังไม่รวมดีล M&A ซึ่งกำลังเจรจา
  • แม้เรายังชอบ WICE ซึ่งมีจุดแข็งที่ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรและมีเครือข่ายรองรับทุกประเทศการค้าสำคัญ ทำให้ยังเติบโตได้อีกมากจาก Inorganic และ Organic อีกทั้งมี Catalyst จากแผนนำ ETL จดทะเบียนใน ตลท. และกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 ที่ 13.70-14.40 บาท (อิง PER 20-21x) ยังมี Upside 11-17% แต่ราคาหุ้นปรับขึ้น 151%YTD และ 238% นับจากที่เราแนะนำซื้อ กลยุทธ์ลงทุนสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้จึงแนะนำ “รอซื้อเมื่ออ่อนตัว ไม่ไล่ราคา” โดยมีแนวรับ 11.70/10.80
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ สงครามการค้าจีน-สหรัฐ, ความผันผวนของค่าระวางซึ่งเป็นต้นทุนหลัก
16/08/2021 OSP ก่อนไปคิดอะไร
  • หลังการประกาศผลประกอบการของ 2Q64 เราประเมินว่าว่า 3Q64 มีโอกาสอ่อนตัวจากการบริโภคภายในประเทศและการ Lockdown ขณะที่ตลาดต่างประเทศอาจไม่แข็งแกร่งอย่างใน 2Q64

หลังไปได้อะไร

  • ผลจาก Covid-19 รอบ 4 ยังประเมินผลกระทบต่อยอดขายรวมใน 3Q64 ได้ไม่ชัดเจนแต่ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. เห็นสัญญาณอ่อนตัวประกอบกับเป็น low season ส่งผลให้บริษัทชะลอการออกสินค้าใหม่ และเน้นที่ core product เช่น M-150 และ C-vitt ขณะที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะเมียนมา แม้มีความเสี่ยงและอ่อนไหวสูง แต่คาดว่ายังมี room to grow และเพิ่ม market share ได้ ขณะโรงแก้วในเมียนมาคาดจะเปิดทำการช้ากว่าแผนเดิม 3-6 เดือน สถานะการเงินยังแข็งแกร่ง และเริ่มเน้นที่การพัฒนา Digitalization ขององค์กรและฐานข้อมูลลูกค้าและเน้น ESG และ Sustainability ระยะยาว

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ OSP ใน 2Q64 ที่ 820 ล้านบาท (+1.9% YoY แต่ -18.3% QoQ) ใกล้เคียงกับที่เราคาดที่ 835 ล้านบาทรายได้เท่ากับ 6,913 ล้านบาท (+17% YoY และ +2% QoQ) เติบโตจากรายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในประเทศ +9.3% YoY (Energy Drink +10.8% YoY และ Functional Drink +5.6% YoY) และรายได้จากการขายสินค้าในต่างประเทศ +75.7% YoY โดยรายได้รวมจากเครื่องดื่มเติบโต 18% YoY และสินค้าส่วนบุคคลลดลง 14% YoY อัตราการทำกำไรขั้นต้นเท่ากับ 36.3% ดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ จากการที่เตาหลอมแก้วกลับมาผลิตได้และการทำกำไรของสินค้าในเมียนมาที่ทำได้ดี รวมไปถึงผลบวกจาก FitFastFirm ใน 2Q64 ไม่มีการบันทึกเงินปันผลจากบริษัทลูกทำให้ Share from investment ลดลง 97% YoY และ 99% QoQ รายได้ใน 1H64 คิดเป็น 52% ของประมาณการและกำไรสุทธิคิดเป็น 48%
  • เราประเมินว่าหากภาพรวมของการบริโภคและการขนส่งเริ่มฟื้นตัวกลับมาตั้งแต่ต้น 4Q64 และ OSP สามารถเริ่มออกสินค้าใหม่ได้ ประมาณการปีนี้ของเรายังมีความเป็นไปได้ โดยเราคาด 3Q64 อาจได้แรงกดดันจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวและการ Lockdown ในประเทศทำให้มีโอกาสลดลงทั้ง YoY และ QoQ โดยฟื้นตัวได้ใน 4Q64 เราจึงคงประมาณการรายได้ในปีนี้ที่ 26,351 ล้านบาท (+3% YoY) กำไรสุทธิที่ 3,772 ล้านบาท (+7.6% YoY)
  • เราประเมินราคาเป้าหมายด้วยกรอบ PER ที่ 28-30 เท่า ซึ่งมี Discount จากกลุ่มประมาณ 20% และเหมาะสมกับอัตราการเติบโตในอนาคต ได้ราคาเป้าหมายหมายปี 2565 ที่ 37-41 บาท/หุ้น แนะนำ ซื้อแบบทยอยสะสม OSP ประกาศจ่ายเงินปันผลรอบ 1H64 ที่ 0.45 บาท/หุ้นขึ้น XD วันที่ 24 ส.ค. 64
11/08/2021 SFT ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลดำเนินงานจะมีทิศทางอย่างไร หลัง 2Q64 SFT ทำกำไรนิวไฮติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ระดับ 37 ลบ. ดีกว่าที่เราคาด โดยเติบโตเด่น 115%YoY และ 31%QoQ ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตอย่างมากของยอดคำสั่งซื้อของลูกค้าเก่าและใหม่ และยังมีอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นมากหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากการมีปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร SFT เผยว่าปี 2564 บริษัทคงเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 15-20%YoY หลังลูกค้าเก่า (กลุ่มเครื่องดื่ม อาหาร และสินค้าเสริมความงาม) ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง จนปัจจุบันครอบคลุมกำลังผลิตไปถึง ต.ค. นี้และมีอัตราใช้กำลังผลิตอยู่ที่ระดับ 80% แล้ว ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีบริษัทบริหารความเสี่ยงไว้แล้วด้วยการแบ่งพนักงานทำงานเป็นสองกะ พร้อมดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่างๆ ตามนโบบายของจังหวัด
  • ศักยภาพทำกำไรอยู่ในทิศทางดี โดยยังจะรักษา Net Margin ไม่ต่ำกว่า 10% ส่วนปี 64-65 ตั้งงบลงทุนรวม 247 ลบ. เพื่อเพิ่มกำลังผลิตปีละ 20-25% แบ่งเป็นเครื่องจักรใหม่ตัวที่ 5 ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่ 7 มิ.ย. 64 และสร้างโรงงานใหม่แห่งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันตอกเสาเข็มแล้วและคาดจะผลิตได้ใน 3Q65 เพื่อรองรับออเดอร์ที่เพิ่มขึ้นหลังมีแผนขยายฐานลูกค้าใหม่ในต่างประเทศ (เน้นจีนและญี่ปุ่น) ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้รับความเชื่อถือมากขึ้นจากเข้ามาเป็น บจ. ใน ตลท. แหล่งเงินทุนหลักมาจากเงิน IPO

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2H64 คาดกำไรยังเติบโตทั้ง YoY และ HoH เพราะนอกจากมีคำสั่งซื้อของลูกค้าเก่าและใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องแล้ว ยังจะรับรู้กำลังผลิตจากเครื่องจักรตัวที่ 5 อย่างเต็มที่เป็นครั้งแรก ขณะที่ราคาวัตถุดิบ PVC และ PET แม้จะสูงขึ้นแต่คาดไม่กดดันศักยภาพทำกำไรเพราะได้สต็อกวัตถุดิบต้นทุนต่ำไว้ใช้ถึงสิ้นปีนี้ พร้อมเจราจาปรับขึ้นราคาขายกับลูกค้าหากราคาวัตถุดิบยังทรงตัวสูงไว้ในปีหน้าแล้ว
  • เนgnoกำไรสุทธิ 1H64 คิดเป็น 59% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป บวกกับ 2H64 คาดกำไรยังเติบโต YoY จากดีมานด์แข็งแกร่งและมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการโดยคาดปี 64 SFT มีกำไรสุทธิ 137 ลบ. เติบโต 7%YoY และโตต่อ 15.7%YoY ในปี 65 หลังมีกำลังผลิตเพิ่มและขยายลูกค้าไปในตลาดเอเชีย
  • เรายังชอบ SFT ซึ่งเป็นหุ้นเล็กที่กำไรอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 ที่หุ้นละ 9.00-9.40 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER กลุ่ม Packaging ที่ 25-26x เช่นเดิม) ซึ่งยังมี Upside เกิน 20% และคาดให้ Yield ปีนี้ 1.5% จึงคงแนะนำ “ซื้อ” ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 7.00/6.80 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ต้นทุน PVC, PET ที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อนอาจกดดันศักยภาพทำกำไร
10/08/2021 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลดำเนินงานจะมีทิศทางอย่างไร หลัง 2Q64 มีกำไรสุทธิโตเด่น 1%YoY และ 19.7%QoQ สู่ 439 ลบ. ใกล้เคียงเราคาด (แต่ต่ำกว่าตลาดคาด 5.8%) แรงหนุนมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 133.6%YoY และ 26.7%QoQ หลักๆ เกิดจากการมีปริมาณขายยางที่ 1.16 แสนตัน เติบโต 83.7%YoY และ 29.5%QoQ ส่วนราคาขายยางเพิ่มขึ้น 28%YoY แต่อ่อนตัวลงเล็กน้อย 2%QoQ

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร NER เผยว่า ปี 64 ตั้งเป้ารายได้รวมเพิ่มเป็น 2.45 หมื่นลบ. จากเดิม 2 หมื่นลบ. หลังราคาและดีมานด์ยางพารายังเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งบริษัทยังมีแผนขยายตลาดส่งออกทั้งตลาดเดิมอย่างจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเข้าสู่ตลาดใหม่อย่างอินเดียซึ่งมีศักยภาพเติบโตอีกมาก โดยปีนี้ตั้งเป้ามีปริมาณขายยางที่ 4.4 แสนตัน และเพิ่มเป็น 5 แสนตันในปี 65
  • ศักยภาพทำกำไรยังอยู่ในทิศทางที่ดีตามยอดขายที่เติบโตและบริหารค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ โดยคาด Net Margin อยู่ที่ 5-9% อีกทั้งมีแผนเพิ่มสินค้าสำเร็จรูปอย่างแผ่นปูนอนวัว ซึ่งมี Net Margin (15-25%) ดีกว่าธุรกิจขายยางซึ่งมีมาร์จิ้น 4-7% ทั้งนี้บริษัทตั้งงบลงทุนในธุรกิจแผ่นปูนอนวัวไว้ 210 ลบ. โดยคาดจะติดตั้งเครื่องจักรได้ปลายนี้และผลิตขายต้นปีหน้า ซึ่งมีกำลังผลิต 8.4 แสนแผ่นต่อปี โดยปี 65 คาดมีปริมาณขาย 2 แสนแผ่นและเพิ่มเป็น 7.55 แสนแผ่นในปี 67 (คืนทุน 2 ปี 8 เดือน)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 1H64 คิดเป็น 71% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป บวกกับ 2H64 คาดยังเติบโตสดใส YoY จากราคายางที่สูงและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของลูกค้ากลุ่มยานยนต์และขยายไปตลาดอินเดีย (ปัจจุบันคำสั่งซื้อครอบคลุมถึง 4Q64 แล้ว) รวมทั้งค่าใช้จ่ายคาดลดลงหลังตั้งแต่ 3Q64 ได้ปรับสัญญาส่งสินค้าจากเดิม CIF เป็น FOB ทำให้ไม่ต้องรับค่าระวางเรือที่สูง เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการโดยคาดปี 64 NER มีกำไรสุทธิ 1.64 พันลบ. เติบโต 91%YoY และโตต่อ 12.6%YoY (ใกล้เคียงตลาดคาด) ในปี 65 ตามการขยายตัวของศก.และดีมานด์
  • แม้ NER เป็น Growth Stock ที่น่าสนใจ และเราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 ที่ 8-10 บาท (อิง PER 8-10x ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยธุรกิจ) ซึ่งกรอบบนยังมี Upside 26% บวกกับ ช่วงสั้นมี Upside Risk จากมีแผนลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าชุมชน 4.3MW ซึ่งคาดจะรู้ผลประมูลทางเทคนิค 25 ส.ค. นี้ อีกทั้งล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H64 หุ้นละ 0.07 บาท (XD 23 ส.ค. นี้) แต่เนื่องจากราคาหุ้นปรับขึ้นมา 87%YTD และ 43% นับจากเราแนะนำซื้อแล้ว ดังนั้นนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้จึงแนะนำรอจังหวะเข้าซื้อเมื่ออ่อนตัว ไม่ไล่ราคา โดยเทคนิคมีแนวรับที่ 7.80/7.50
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และบาทแข็งค่า
02/08/2021 SNNP

ก่อนไปคิดอะไร

  • แนวโน้มผลประกอบการของ 2Q64 คาดว่าจะดีขึ้นจากยอดขายรวมที่คาดว่าจะเติบโตได้เล็กน้อยและการปรับโครงสร้างของบริษัทร่วมค้าคือสิริโปร จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย

หลังไปได้อะไร

  • ใน 2Q64 ยอดขายของสินค้าโดยรวมยังสามารถเติบโตได้เล็กน้อย QoQ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่ม (Jele) ขณะที่ Snack เติบโตในระดับที่ต่ำกว่า และใน 2Q64 เป็นไตรมาสแรกที่ไม่มีการบันทึกรายได้จากและค่าใช้จ่ายของ สิริโปร ทำให้คาดว่าศักยภาพของ Net Margin ของ SNNP จะดีขึ้น

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดรายได้ของ SNNP ใน 2Q64 ที่ 1,076 ล้านบาท (+8% YoY แต่ -2.4% QoQ) โดยคาดส่วนของเครื่องดื่มยอดขายเติบโต 5-7% QoQ ซึ่งกลุ่มเจเล่ เติบโตได้ดีที่สุดที่ 20% QoQ ขณะที่กลุ่ม snack คาดยอดขายรวมเติบโต 2-3% QoQ โดยเบนโตะเติบโต 2% QoQ สัดส่วนรายได้คาดมาจากในประเทศ 75% และต่างประเทศ 25% โดยรวมนยังทรงตัวโดยเฉพาะในกัมพูชาที่ยังไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้จากสถานการณ์โควิท-19 ในประเทศ เราคาดระดับ Gross Margin ที่ 25% เปรียบเทียบกับ 2Q63 ที่ 3% และ 1Q64 ที่ 26.3% ระดับ SG&A ต่อรายได้คาดที่ 15% ลดลงมากจากการไม่ต้องบนทึกค่าใช้จ่ายของ สิริโปร ซึ่งการถือสัดส่วน 50% ในสิริโปรทำให้บันทึกเป็นส่วน share of equity และในไตรมาสนี้เราคาดจะขาดทุนประมาณ 9 ล้านบาท ดังนั้นเราคาดกำไร 2Q64 ของ SNNP ที่ 74 ล้านบาท (+51.7% QoQ) โดยเราคาดว่าใน 1H64 กำไรสุทธิจะเท่ากับ 252 ล้านบาท คิดเป็น 55% ของประมาณการเรา
  • เบื้องต้นเราคงประมาณการรายได้ในปีนี้ที่ 4,515 ล้านบาท (+2.7% YoY) และกำไรสุทธิที่ 445 ล้านบาท (+373% YoY) โดย Downside Risk คือ เราติดตามยอดขายของ SNNP ใน 3Q64 ที่คาดว่าในช่วงต้นอาจได้รับผลกระทบจากสินค้าไม่พอจำหน่ายในบางช่องทางในเดือน ก.ค. จากข้อจำกัดของการขนส่งและการผลิต ซึ่งเราคาดว่าสถานการณ์จะเริ่มกลับมาดีขึ้นในเดือน ส.ค. จากการบริหารจัดการ ขณะที่ยอดขายต่างประเทศติดตามในประเทศกัมพูชาในส่วนของการเพิ่มกำลังการผลิตการส่งออกไปประเทศเวียดนาม
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2565 ที่ 12.40 บาท/หุ้น และปี 2566 ที่ 13.60 บาท/หุ้น บนเป้า PER ที่ 25.5 เท่าซึ่งเท่ากับเฉลี่ยของ 3 บริษัทที่มีลักษณะ Business Model ใกล้เคียงกันโดย SNNP มีจุดที่ครอง Market Share อันดับที่ 1 ในกลุ่มเจลลี่พร้อมดื่มและขนมขบเคี้ยวในกลุ่มปลาหมึก
02/08/2021 OSP ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการของ 2Q64 คาดว่าจะอ่อนตัว QoQ จากฐานที่สูงจากเงินปันผลบริษัทลูกใน 1Q64 และ 2Q63

หลังไปได้อะไร

  • ทิศทางและยอดขายของ 2Q64 คาดกลุ่มเครื่องดื่มทั้ง Energy Drink และ Functional Drink ยังเติบโตได้ YoY และรายได้จากต่างประเทศคาดเติบโตได้ดีทั้ง YoY และ QoQ โดยเฉพาะเมียนมา
  • ความกังวลอยูที่ 3Q64 ที่การระบาดของโควิท-19 รอบที่ 4 ที่มีความรุนแรงและกระจายเป็นเป็นวงกว้าง ทำให้เราคาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบต่อยอดขายทั้งในส่วนของเครื่องดื่มและ Personal care products และคาดว่าจะเริ่มดีขึ้นใน 4Q64 นี้ ซึ่งเราต้องติดตามการออกสินค้าใหม่ที่อาจได้ล่าช้าด้วยผลของโควิทรอบนี้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดรายได้ของ 2Q64 ที่ 6,886 ล้านบาท (+16.5% YoY และ +1.6% QoQ) โดยคาดว่า ตลาด Energy Drink เติบโตได้ YoY และทรงตัว QoQ ขณะที่ Functional Drink เติบโตได้เล็กน้อย YoY จากการขาย C-Vitt ในแพ็คใหญ่ สำหรับรายได้ต่างประเทศ คาดกลับมาเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ โดยเฉพาะในเมียนมา ขณะที่กลุ่มสินค้า Personal Care คาดว่าจะยังอ่อนตัวต่อเนื่องทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย สำหรับ Gross Margin คาดที่ 35% ดีขึ้น QoQ เนื่องจากโรงหลอมแก้วกลับมาเปิดผลิตในไตรมาสและ FitFastFirm ยังดำเนินต่อเนื่อง ดังนั้น เราคาดกำไรสุทธิของ 2Q64 ที่ 835 ล้านบาท (+3.8% YoY แต่ลดลง -16.9% QoQ) เนื่องจากเป็นไตรมาสที่ไม่มีการบันทึกเงินปันผลจาก Unicharm เราคาดรายได้ของ 1H64 ที่ 13,662 ล้านบาท (+8.5% YoY) และกำไรสุทธิที่ 1,839 ล้านบาท (+6.3% YoY)
  • เบื้องต้นเราคงประมาณการปันี้โดยคาดว่า 3Q64 อาจได้แรงกดดันจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวและการ Lockdowns ในประเทศ และเราคงประมาณการรายได้ในปี 2564 ที่ 26,351 ล้านบาท (+3% YoY) กำไรสุทธิที่ 3,772 ล้านบาท (+6% YoY) โดยยังคงคาดหวังการกลับมาฟื้นตัวของ Demand ในประเทศและการออกสินค้าใหม่ในช่วง 4Q64 นี้
  • ความเสี่ยงคือการระบาดของโควิท-19 ที่รุนแรงมากขึ้นทั้งในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเป้ายอดขายในปีนี้และปีหน้า
  • เราประเมินราคาเป้าหมายด้วยกรอบ PER ที่ 28-30 เท่า ซึ่งมี Discount จากกลุ่มประมาณ 20% และเหมาะสมกับอัตราการเติบโตในอนาคต ได้ราคาเป้าหมายหมายปี 2565 ที่ 37-41 บาท/หุ้น แนะนำ ซื้อแบบทยอยสะสม
12/07/2021 CPW ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการ 2Q64 รวมถึงสถานการณ์ภาพรวมของธุรกิจว่าแนวโน้มในช่วง 2H64 เป็นอย่างไร และผลกระทบของมาตรการภาครัฐที่เพิ่งประกาศออกมาล่าสุด

หลังไปได้อะไร

  • ภาพรวมรายได้ 2Q64 คาดว่าจะเติบโต 25% YoY อยู่ที่ 717 ล้านบาท แต่จะลดลง 30% QoQ การลดลง QoQ นั้นถือว่าเป็นภาพของ Seasonality ที่เป็นปกติอยู่แล้วจากยอดขาย iPhone (34% ของรายได้รวม) ที่ลดลง ซึ่งไม่ได้น่ากังวลอะไร แต่ในเชิงของภาพ YoY ยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการที่ ไม่มีการปิดห้างใน 2Q64 และ ยอดขาย iPad (20% ของรายได้รวม) มีความต้องการที่ดีต่อเนื่องจากกระแส Learn from home โดยสรุปเราคาดการณ์กำไรอยู่ที่ 6 ล้านบาทเติบโต 500% YoY โดยกำไร 1H64 คิดเป็น 40% ของกำไรทั้งปีที่เราทำไว้ งบคาดว่าจะประกาศในวันที่ 6 สิงหาคม
  • สภาณการณ์ Chip shortage ยังเป็นปัจจัยที่กดดันฝั่ง Supply ต่อเนื่องแต่ด้วยกลยุทธ์ที่บริษัทได้มีการปรับแผนการสั่งของล่วงหน้ามากขึ้นเรียบร้อยแล้วทำให้ปัจจัยนี้ยังไม่ได้กระทบภาพรวมของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
  • ในเชิงภาพการเติบโตของรายได้ปี 2564 ผู้บริหารยังคงเป้าหมายเดิมที่รายได้เติมโต 20% จากความต้องการสินค้า IT ที่ดีอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีความกังวลภายหลังจากมีมาตรการ Lockdown ออกมา โดย Assumption การเติบโตของรายได้ของเรา In line กับเป้าหมายของบริษัท โดยเราคงคาดการณ์กำไรที่ 77 ล้านบาทในปี 2564 เติบโต 40% YoY แต่เราอาจจะต้องมีการปรับประมาณการลงภายหลังจากมาตรการ ล่าสุดที่เพิ่งประกาศออกมา

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ถึงแม้ว่าเราจะคาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิ 2Q64 ที่โดดเด่น แต่จากมาตรการภาครัฐล่าสุดที่รัฐบาลประกาศ Lockdown กทม. – ปริมณฑลเป็นเวลา 14 วัน โดยบริษัทแจ้งว่ามีสาขาที่ต้องปิดทั้งหมด 16 สาขา (30% ของจำนวนสาขาทั้งหมด) หลักๆจะเป็น .life โดยประเด็นนี้จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อกำไร 3Q64 ของบริษัท โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจ Distributor ซึ่งคิดเป็นกว่า 50% ของกำไรสุทธิปี 2019 แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบคงไม่รุนแรงเท่ากับตอนเดือน เมษายน ปีที่แล้วที่มีการปิดทั้งประเทศ แต่ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนเราแนะนำให้  ชะลอการลงทุนออกไปก่อน  เพื่อรอดูความชัดเจนของผลกระทบของกำไรและความยืดเยื้อของสถานการณ์ เราขอคงกรอบราคาเป้าหมายที่8-5.6 บาทต่อหุ้น อิง 30-35x PE ปี 2565
28/06/2021 TVO ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือของปีนี้ผลดำเนินงานของ TVO จะมีทิศทางอย่างไร อะไรจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อน หลัง 1Q64 กำไรสุทธิโตเด่น 79%YoY จากมีปริมาณขายน้ำมันและราคาขายกากถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • ปี 2564 TVO ตั้งเป้ารายได้โต 15-20%YoY จาก 1) ราคาขายกากและน้ำมันถั่วเหลืองที่สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก เนื่องจากอุปสงค์ถั่วเหลืองในจีนเพิ่มขึ้นมากหลังคุมสถานการณ์โควิดได้ อีกทั้งมีปัญหา Supply Shortage และ 2) ปริมาณขายน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น จากผู้บริโภคหันมาซื้อน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปาล์มหลังส่วนต่างราคาอยู่ในระดับต่ำ (ราคาปาล์มขึ้นหลังมีสต็อกต่ำ)
  • ศักยภาพทำกำไรปีนี้คาดดีขึ้นตามราคาถั่วเหลืองที่สูงขึ้น ส่วนปี 2565 การเติบโตของรายได้จะขึ้นกับราคาถั่วเหลืองเป็นสำคัญ โดยคงต้องจับตาสภาพอากาศที่จะมีผลต่ออุปทานถั่วเหลือง ขณะที่ปริมาณการขายคาดทรงตัว YoY จากอุปสงค์ถั่วเหลืองที่ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดจีน สำหรับงบลงทุนตั้งไว้ปีละ 400-600 ลบ. สำหรับปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนี้ยังมีแผนขยายกำลังผลิตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โดยแหล่งเงินทุนหลักมาจาก CFO

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q64 คาดกำไรโตเกิน 100%YoY (780-800 ลบ.) จากราคากากถั่วเหลืองในไทยที่ปรับขึ้น 32%YoY (เฉลี่ยที่ 18.25 บาทต่อ กก.) แต่ต้นทุนถั่วเหลืองที่สูงขึ้นจะทำให้กำไรอ่อนตัว QoQ ส่วน 2H64 แม้กำไรจะชะลอ HoH หลังมองราคาถั่วเหลืองผ่านจุดสูงสุดแล้ว แต่ยังโตเด่น YoY จากมีอุปสงค์และราคาขายเฉลี่ยที่สูงกว่าปีก่อน จึงคาดปี 2564 TVO จะมีกำไรปกตินิวไฮ 2.58 พันลบ. โต 56%YoY ก่อนลดลง 17%YoY (ใกล้เคียงตลาดคาด) ในปี 2565 จากราคาถั่วเหลืองที่ลดลง YoY 
  • แม้ปี 2564 เป็นปีทองและ TVO มีประวัติจ่ายปันผลดีต่อเนื่องกว่า 23 ปี ด้วย Yield สูงปีละกว่า 7% แต่มีโอกาสกำไรผ่านจุดดีสุดปีนี้ไปแล้วใน 1Q64 อีกทั้งช่วงสั้นคาดราคาหุ้น TVO จะได้รับ Sentiment ลบจากราคาถั่วเหลืองที่ปรับลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาถั่วเหลืองอยู่ที่ US$ 12.69 ต่อบุชเชล ลดลง 30% จากราคาสูงสุด (12 พ.ค. 64) ที่ US$ 16.41 ต่อบุชเชล หลังตลาดกังวลอุปสงค์จะชะลอจากข่าวสหรัฐฯ อาจผ่อนปรนใช้เชื้อเพลิงชีวภาพผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อช่วยโรงกลั่นและจีนมีแผนนำสำรองถั่วเหลืองมาใช้ บวกกับ เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 ที่ 32-35 บาท (อิง PER 12-13x) มี Upside ไม่น่าสนใจ ช่วงสั้นจึงแนะนำ “Wait and See” อย่างไรก็ดีหากราคาหุ้นลงลึกมาแนวรับเทคนิค 27.50+/- มอง Upside จะกว้างขึ้นและเหมาะซื้อรับปันผล
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ราคาขายกากถั่วเหลืองและต้นทุนถั่วเหลืองขึ้นกับราคาในตลาดโลก รวมถึงอุปทานถั่วเหลืองที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในปี 2565 ตามการคลี่คลายของปัญหาเอลนีโน่
18/06/2021 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลประกอบการของ HTC ที่โดดเด่นใน 1Q64 และแนวโน้มของ 2Q64 เทียบ YoY บนฐานที่สูงแม้มี COVID-19 ในปี 2563 รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงใน 2H64 เมื่อเริ่มมีการเปิดเมืองโดยเฉพาะโซนภาคใต้

หลังไปได้อะไร

  • มีมุมมองเป็น “บวก” ต่อภาพรวมของบริษัทใน 2H64 โดยเฉพาะแรงหนุนจาก Re-opening ในพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้และศักยภาพการบริหารค่าใช้จ่ายและการเพิ่มยอดจาก Traditional Trade

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามองว่า HTC จะเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม Re-opening และได้ผลบวกจากกลุ่มท่องเที่ยวในภาคใต้โดยในเดือน มิ.ย. HTC เริ่มเห็นการกลับมาของ Demand ในกลุ่มร้านอาหารและกลุ่มโรงแรมเพื่อรองรับการเปิดเมืองใน 2H64 ประกอบกับสินค้าในกลุ่ม Coca-Cola ทั้ง Zero Sugar และ Less sugar ที่คาดว่ายอดขายจะดีขึ้นและระบบ Logistic ที่แข็งแกร่ง จำนวนรถขนส่งกว่า 180 คันคาดจะทำให้ปี 2564-2565 เติบได้ต่อเนื่อง
  • ปีนี้ HTC ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ 3-6% YoY แม้ไม่สูงมากแต่บริษัทได้เริ่มบริหาร Efficiency โดยการลดค่าใช้จ่าย SG&A เพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าในส่วนที่มี Gross margin สูงขึ้น ดังนั้นเราคาดรายได้ปีนี้ที่ 6,665 ล้านบาท (+4% YoY) กำไรสุทธิ 602 ล้านบาท (+6% YoY) เป็น Record High และในปีนี้ 2565 รายได้เติบโตต่อเนื่อง 5% YoY และกำไรสุทธิเติบโต 9% YoY
  • เราคาดทิศทางผลประกอบการของ 2Q64 ที่รายได้ทรงตัว YoY และ QoQ แม้เกิด COVID-19 รอบ 3 ในไตรมาสแต่คาดว่ามีผลต่อยอดขายของ HTC จำกัดเนื่องจากจุดแข็งของบริษัทที่เน้นช่องทางการขายที่ Traditional Trade มากขึ้นและเราคาด GP ของ 2Q64 ที่ใกล้เคียงเฉลี่ยปี 2563 และ 1Q64 ที่ 5% ดังนั้นคาดแนวโน้มกำไรสุทธิทรงตัว QoQ แต่อ่อนตัว YoY จากฐาน GP ที่สูงเป็นพิเศษใน 2Q63
  • เราแนะนำ ซื้อ HTC ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 49 บาท/หุ้น จากเป้า PER ที่ 15 เท่าซึ่งเท่ากับ เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีและเราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลสูง 5.5-6.3% ต่อปี โดยเราคาดเงินปันผลของ 1H64 ที่ 75 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น 1H64 Yield ที่ 2% นอกจากนี้ HTC มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ระดับ DE Ratio ที่ 0.5 เท่า
31/05/2021 TPAC ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลการดำเนินงานจะมีทิศทางอย่างไร และกลยุทธ์การเติบโตของบริษัท รวมถึงผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • CEO ของ TPAC เปิดเผยว่าผลกระทบจากการระบาดในอินเดียมีค่อนข้างจำกัดแต่ยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และบริษัทสามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มสุงขึ้นให้กับลูกค้าได้ซึ่งจะไม่กระทบกับอัตราการทำกำไรของบริษัท การเติบโตในปี 2564 นั้นจะมาจากการขยายกำลังการผลิตใน UAE นอกจากนั้นยังมองหาการควบรวมกิจการในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทตั้งเป้าการเติบโตของ EBITDA เป็นเท่าตัวในปี 2024 จากปี 2020 หรือคิดเป็นการเติบโต 14-15% ต่อปี
  • กำลังการผลิตยังพอที่จะรองรับความต้องการที่อยู่ในระดับสูงได้โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 70% สำหรับโรงงานที่บางขุนเทียนในขณะที่โรงงานที่บางนาอยู่ที่ 30% ส่วนในต่างประเทศอยู่ที่ 65-70% งบดุลค่อนข้างแข็งแกร่งที่ Net D/E ที่ 8 แม้ว่าจะมี M&A อย่างต่อเนื่องจึงมองว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการขยายธุรกิจในอนาคตทั้ง Organic และการซื้อกิจการเพิ่มเติม

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q64 คาดว่ากำไรจะกลับสู่ระดับปกติและคาดว่าจะมีการเติบโตราว 20% YoY หลังจากที่มีผลขาดทุนจากการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากการควบรวมกิจการในอินเดียซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใน 1Q64 โดยทั้งปี 2564 เรามองว่ากำไรของบริษัทจะทำจุดสูงสุดใหม่โดยมีการเติบโต 30% YoY แม้ว่าจะมีฐานสูงในปี 2563 และในช่วงปี 2563-2568 จะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 16% โดยเป็นการเติบโตในส่วนของรายได้เป็นสำคัญ
  • เรามองว่าหุ้น TPAC เป็นหุ้นที่มีความชัดเจนของรายได้และกำไรจากการดำเนินงานสูง ธุรกิจมีลูกค้าที่ชัดเจนและเป็นกลุ่มสินค้าที่จำเป็นที่มีความผันผวนต่ำและมีความแข็งแกร่งกับห่วงโซ่อุปทานในฝั่งการผลิต ทำให้บริษัทมีอำนาจการต่อรองกับลูกค้าที่สูงส่งผลให้อัตราการทำกำไรในส่วน EBITDA สูงกว่ากลุ่มราว 200-300bps
  • TPAC เป็นหุ้นเล็กพื้นฐานดีที่รายได้ กระแสเงินสดและกำไรจากการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 ที่หุ้นละ 5-20.0 บาท ซึ่งอิงกับค่าเฉลี่ย P/E ในอดีต (ไม่รวมปี 2018 ที่ไม่มีกำไร) และลดทอนจากกลุ่ม Packaging ที่อยู่ที่ 25x ซึ่งอาจจะต้องรอให้บริษัทเข้าสู่ตลาด SET จึงจะทำให้มีการ Re-rate ในเชิงการประเมินมูลค่าหุ้น จึงคงแนะนำ “ซื้อ” ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 15 บาท และมีเงินปันผลราว 2-3%
31/05/2021 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือของปีนี้ผลการดำเนินงานมีทิศทางอย่างไร และมีอะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อน หลัง 1Q64 WICE สามารถสร้างสถิติกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 82 ลบ. เติบโตก้าวกระโดด 170%YoY ซึ่งมีแรงหนุนหลักจากรายได้ที่เติบโตในทุกธุรกิจและยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

หลังไปได้อะไร

  • คุณชูเดช คงสุนทร กรรมการผู้จัดการ WICE เผยว่า ปี 2564 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่น้อยกว่า 20%YoY ปัจจัยขับเคลื่อนจาก ศก. ที่ฟื้นตัวทำให้อุปสงค์ขนส่งสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์เพิ่มขึ้น อีกทั้งค่าระวางทั้งทางเรือและทางอากาศยังทรงตัวสูง นอกจากนี้ธุรกิจ Warehouse เตรียมเปิดคลังสินค้าใหม่อีก 1 หมื่นตร.ม.ในกลางปีนี้และอุปสงค์ขนส่งสินค้าข้ามแดน (CBS) ของ บ.ร่วมทุน ETL (ถือ 40%) เติบโตมากจนต้องสั่งตู้คอนเทนเนอร์เพิ่ม 200 ตู้ เพื่อรองรับขยายงาน
  • ศักยภาพทำกำไรคาดดีขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งเป้ามีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 5-6% จากแผนบริหารจัดการเครือข่ายโลจิสติกส์ในมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และคาดเกิดผลประหยัดต่อขนาดในธุรกิจ CBS หลังมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นและหาสินค้าขากลับมากขึ้น รวมทั้งมีแผนขยายให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนแบบไม่เต็มตู้ (LTL) ให้แก่ลูกค้ารายเล็ก ซึ่งจะสร้างรายได้เพิ่มและยังมีมาร์จิ้นสูง
  • ส่วนระยะยาวยังคงตั้งเป้ารายได้เติบโตปีละราว 20-30% จากทั้ง Inorganic และ Organic Growth ซึ่งหลักๆ จะขยายงานขนส่งสินค้าข้ามแดนเพื่อรองรับตลาดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักยภาพเติบโตที่ดีและมีคู่แข่งน้อยราย อีกทั้งคาดเกิด Synergy จากการร่วมมือกันของบ.ในเครือ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q-4Q64 คาดกำไรยังเติบโต YoY จากอุปสงค์ขนส่งสินค้าที่เติบโตในทุกช่องทาง อีกทั้งค่าระวางทั้งเรือและอากาศยังทรงตัวสูง บวกกับ ธุรกิจ CBS คาดได้รับมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่เหลืออีก 50% ใน 2Q64 ซึ่งจะรับงานได้เพิ่มขึ้น (เน้นบริการ LTL ซึ่งมีมาร์จิ้นดีเพื่อเพิ่มศักยภาพทำกำไร) ทั้งนี้เราคาดปี 2564 WICE จะมีกำไรสุทธิ 280 ลบ. เติบโต 39%YoY และเติบโตต่อ 14%YoY ในปี 2565 ทั้งนี้ในประมาณการยังไม่รวมดีล M&A ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาและคาดจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้
  • เราคงมุมมองบวกต่อ WICE ซึ่งมีจุดแข็งคือการให้บริการครบวงจรและมีเครือข่ายรองรับทุกประเทศการค้าสำคัญ จึงตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลาย และมองยังเติบโตได้อีกมากหลังมีแผนขยายธุรกิจและฐานลูกค้าไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังมี Catalyst จากแผนนำบริษัทลูก ETL เข้าจดทะเบียนใน ตลท. ภายในปี 2565 ทั้งนี้ประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 ที่ 9.80-10.30 บาท (อิงกรอบค่าเฉลี่ย PER กลุ่มที่ 20-21x) คงแนะนำ “ซื้อ” ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 7.60/7.35 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ สงครามการค้าจีน-สหรัฐ, ความผันผวนของค่าระวางซึ่งเป็นต้นทุนหลัก
31/05/2021 SFT ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วงที่เหลือปีนี้ผลการดำเนินงานจะมีทิศทางอย่างไร และมีอะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อน หลัง 1Q64 SFT ทำกำไรนิวไฮ 28 ลบ. ดีกว่าคาด โดยเติบโตเด่น 61%YoY และ 32%QoQ จากมีอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นมากหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นและคุมค่าใช้จ่ายได้ดี

หลังไปได้อะไร

  • คุณ ซุง ชง ทอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SFT เผยว่า ปี 2564 บริษัทยังตั้งเป้ารายได้เติบโต 15-20%YoY จาก 1) ออเดอร์ของลูกค้าเก่า (กลุ่มเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม)ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากแผนออกสินค้าใหม่โดยเฉพาะช่วง 2H64 อีกทั้งสถานการณ์โควิด-19 ในตปท. ที่คลี่คลายทำให้ตลาดส่งออกของลูกค้าฟื้นตัว และ 2) ออเดอร์ของลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น หลังได้รับความเชื่อถือมากขึ้นจากเข้ามาเป็น บจ. ใน ตลท. โดยมีแผนขยายตลาดเอเชียและญี่ปุ่นเพิ่ม
  • ศักยภาพทำกำไรอยู่ในทิศทางดี โดยจะเน้นบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพเพื่อรักษา Net Margin ให้ไม่ต่ำกว่า 10% ส่วนปี 64-65 ตั้งงบลงทุนรวม 247 ลบ. สำหรับเพิ่มกำลังผลิตเพื่อรองรับออเดอร์ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังมีแผนขยายฐานลูกค้าและออกสินค้าใหม่ๆ โดยจะใช้เงิน 30 ลบ. ซื้อเครื่องจักรใหม่ (ตัวที่ 5) เพื่อเพิ่มกำลังผลิตตั้งแต่ มิ.ย. 64 อีก 25-30 ล้านเมตรต่อปี (+20-25%), สร้างโรงงานแห่งที่ 2 และซื้อเครื่องจักรใหม่ราว 217 ลบ. ซึ่งคาดก่อสร้างเสร็จ ก.พ. 65 และมีกำลังผลิตเพิ่มปีละ 50-60 ล้านเมตร (+30-35%) ซึ่งแหล่งเงินทุนหลักมาจากเงิน IPO

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q64 คาดกำไรนิวไฮจากเป็น High Season ของลูกค้าเครื่องดื่ม ส่วน 2H64 กำไรจะดีขึ้น HoH และ YoY จากดีมานต์แข็งแกร่งของลูกค้าทุกกลุ่มและมีลูกค้าใหม่ อีกทั้งรับรู้กำลังผลิตเพิ่มจากเครื่องจักรใหม่ตั้งแต่ มิ.ย. 64 หลังอัตราใช้กำลังผลิตเดิมตึงตัวแล้ว ขณะที่ต้นทุน PVC/PET แม้สูงขึ้นแต่คาดไม่กดดันมาร์จิ้นเพราะมีสต็อกต้นทุนต่ำใช้ถึงสิ้นปีนี้และเจรจาลูกค้าพร้อมปรับขึ้นราคา
  • เราคงมุมมองบวกต่อ SFT ซึ่งมีจุดแข็ง คือ การมีคู่แข่งแบบครบวงจรที่มีคุณภาพน้อยราย เพราะต้องใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญสูง และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้นำในธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง จึงไม่นิยมเปลี่ยนผู้ผลิตบ่อย โดยปี 2564-65 คาดกำไรเติบโตเด่นเฉลี่ยปีละ 33%
  • SFT เป็นหุ้นเล็กพื้นฐานดีที่กำไรอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 65 (หลังปรับเพิ่มประมาณการกำไรจากเดิม 14%) ที่หุ้นละ 8.00-8.30 บาท (อิงกรอบค่าเฉลี่ย PER กลุ่ม Packaging ที่ 25-26x) จึงคงแนะนำ “ซื้อ” ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 6.20/6.00 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ต้นทุน PVC, PET ที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อนจะกดดันศักยภาพทำกำไร
31/05/2021 PM ก่อนไปคิดอะไร
  • เราเห็นการเติบโตของผลประกอบการของ PM ใน 1Q64 ที่โดดเด่นท่ามกลางสถานการณ์ COVID1-9 ระรอก 2

หลังไปได้อะไร

  • มีมุมมองเป็นบวกตอ่ภาพรวมของบริษัทและสินค้าใหม่ โดยเฉพาะ ทาโร่ โรล ซึ่งเปิดตัวในปี 2563 และได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นในปีนี้ เนื่องจากตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ WFH เรียน Online หรือติดพันภารกิจแต่มีเวลาจำกัดแต่ต้องการ Snack ที่มีประโยชน์เน้นโปรตีน

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ในปีนี้เราคาด PM จะสามารถเติบโตต่อเนื่องจากที่ 1Q21 กำไรสุทธิเติบโตเด่น +57.6% YoY และ +20.6% QoQ จากการประหยัด SG&A และการควบตุมต้นทุนที่ดีทำให้ GP ดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ โดยเราคาดการเติบโตของรายได้ในปี 2564 และ 2565 ที่ 15% และ 8% ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าสัดส่วนการเติบโตจะดีขึ้นใน 2H64 จากการ Full Operation ของ Modern Trade นโยบายกระตุ้นของภาครัฐที่เพิ่มการจับจ่ายในส่วนของ Retail รวมถึงต้นทุนของวัตถุดิบคือซูรูมิ ที่ยังควบคุมได้ ดังนั้นคาดกำไรสุทธิเติบโต 4% และ 9.8% YoY ตามลำดับในปี 2564-2565 เท่ากับ 475 ล้านบาทและ 521 ล้านบาท
  • ตลาด Snack ใน 1Q64 แม้มูลค่าตลาดลดลง -9% YoY แต่ด้วยจุดแข็งแขงสินค้าของ PM โดยเฉพาะกลุ่มทาโร่ทำให้รายได้ยังโตต่อเนื่องซึ่งส่วนหนึ่งได้แรงหนุนมาจาก Distribution Chanel ที่แข็งแกร่ง เช่นในภาคใต้ได้ HTC เป็น Distributor รวมไปถึงช่องทาง e-commerce และการเริ่มขยายตลาดไปต่างประเทศ เช่น ในประเทศจีน ซึ่งเริ่มที่ช่องทาง e-commerce ซึ่งคาดว่าจะสามารถได้ช่องทางอื่นได้มากขึ้นในปีนี้ และ EIC คาดว่า Snack กลุ่มปลาเส้นจะเติบโตเด่นกว่าตลาดเนื่องจากตอบโจทย์เรืองสุขภาพ โดย EIC มองมูลค่าตลาดที่ 15,600 ล้านบาท CAGR ปี 2563-2568 ที่ 5%
  • เราแนะนำ ซื้อ PM ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 50 บาท/หุ้น จากเป้า PER ที่ 19 เท่าซึ่งเท่ากับ +1 SD โดยเป็นระดับที่ PM เคย Trade ในช่วงปี 2560 ที่ผลประกอบการทำ Record High ที่ 501 ล้านบาทซึ่งในปี 2565 เราคาดกำไรจะ Record High ที่ 521 ล้านบาทจึงเป็นระดับที่เหมาะสม และ เรายังชอบที่ PM มีจุดเด่นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลสูง 5.5-6.5% ต่อปี ประกอบกับฐานะการเงินแข็งแกร่ง ระดับ DE Ratio ที่ 0.69 เท่าและเป็น Net Cash Company
17/05/2021 OSP ก่อนไปคิดอะไร
  • เราเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์หลังการประกาศผลประกอบการ 1Q64 ที่เติบโตโดดเด่นและคาดว่าทิศทางของ 2Q64 มีโอกาสอ่อนตัว QoQ และทรงตัว YoY

หลังไปได้อะไร

  • OSP ได้ update สินค้าใหม่ เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง Lipo Fine สำหรับผู้หญิง กลุ่ม Functional Drink คือ C-Vitt Big Pack และ C-Vitt คอลลาเจนและ Fiber และผลตอบรับที่คาดว่าจะดีขึ้นเป็นลำดับจากนี้ไป รวมทั่งการเป็น Distributor ให้กับน้ำวิตามินยันฮี และการเซ็น MOU กับยันฮีเพื่อพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพร กัญชง กัญชา ในปีนี้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • OSP รายงานกำไรสุทธิของ 1Q64 ที่ 1,004 ล้านบาท (+4% YoY และ +18% QoQ) สูงกว่าที่เราคาดที่ 940 ล้านบาท 6.8% จากเงินปันผลของบริษัทลูกที่สูงกว่าคาด รายได้เท่ากับ 6,776 ล้านบาท (+1.3% YoY และ +6.1%) สัดส่วนจากเครื่องดื่ม 86% จาก Personal Product 7% และอื่น ๆ อีก 7% ในไตรมาสนี้ตลาดในประเทศโดยรวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลังและ Functional Drink หดตัวแรงในเดือน ม.ค. และกลับมาเติบโตดีในช่วงท้ายไตรมาสด้วยผลกระทบ COVID-19 ใน wave 2 รายได้จากกลุ่มเครื่องดื่มเติบโต 3.1% YoY หนุนให้ส่วนรายได้จากเครื่องดื่มในประเทศเพิ่มขึ้น 1.3% YoY อยู่ที่ 4,651 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมจากการขายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในต่างประเทศเติบโต 11.1% YoY Gross margin ลดลงเท่ากับ 33.5% ใกล้เคียงกับเราคาดที่ 34.5% จาการปิดซ่อมบำรุงเตาแก้ว ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นและต้องสั่งสินค้าเข้ามาทดแทน การบันทึกเงินปันผลจากบริษัทลูกเข้ามามากกว่าคาดที่ประมาณ 300 ล้านบาทสูงกว่าที่เราคาดที่ 150 ล้านบาท
  • เราคาดว่าทิศทางกำไรสุทธิ 2Q64 มีโอกาสอ่อนตัว QoQ หากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ใน wave 3 กดดันให้ยอดขายไม่สามารถฟื้นตัวได้ในไตรมาส และด้วยแรงหนุนของกลุ่ม Functional Drink และยอดขายต่างประเทศ เช่น เมียนมาร์ทียังเติบได้ คาดจะยังสามารถประคองผลประกอบการทรงตัว YoY ได้
  • 1H64 คาดจะเป็นช่วงที่ผลประกอบการอ่อนตัวกว่า 2H64 ซึ่งจะกลับมาเติบโตด้วยการบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวและยอดขายจากสินค้าใหม่โดยเฉพาะกลุ่ม Functional Drink และต่างประเทศ รวมไปถึงต้นทุนคาดว่าจะบริหารได้ดีขึ้นทั้งจากโรงแก้วกลับมาเดินเครื่อง คาดรายได้ในปี 2564 ที่ 26,351 ล้านบาท (+3% YoY) กำไรสุทธิที่ 3,772 ล้านบาท (+7.6% YoY)
  • เราประเมินด้วยด้วยกรอบ PER ที่ 28-30 เท่า ซึ่งมี Discount จากกลุ่มประมาณ 20% และเหมาะสมกับอัตราการเติบโตในอนาคต ได้ราคาเป้าหมายหมายปี 2565 ที่ 37-41 บาท/หุ้น แนะนำ ซื้อ
06/05/2021 NYT ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบทิศทางผลการดำเนินงานของบริษัท หลัง ส.อ.ท. เผยยอดส่งออกรถยนต์ของไทยเดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ 104,506 คัน เพิ่มขึ้น 16.4%YoY และสูงสุดในรอบ 2 ปี จาก ศก. ของคู่ค้าขยายตัว

หลังไปได้อะไร

  • NYT เป็นผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้ารถยนต์แบบครบวงจรของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จากการให้บริการท่าเทียบเรือ A5 และ C0 โดยปี 64 บริษัทตั้งเป้ารายได้โต 5-10%YoY (ใกล้เคียงแนวโน้มการเติบโตของตลาดส่งออกรถยนต์) หลักๆ มาจากการฟื้นตัวของรายได้บริการท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่อง หลังปีก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ได้กดดันเศรษฐกิจและยอดสั่งซื้อรถยนต์ทั่วโลก ทำให้บริษัทมีปริมาณรถยนต์ส่งออกผ่านท่าเทียบเรือและรายได้หลักส่วนนี้หดตัวถึง 26.3%YoY และ 2%YoY ตามลำดับ
  • ส่วนรายได้บริการคลังสินค้า (พื้นที่เช่า 2.74 แสนตรม.) คาดยังโตดี YoY จากจุดแข็งของทำเลที่อยู่รอบท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จึงมีลูกค้ารายใหม่มาใช้บริการเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันอัตราใช้พื้นที่คลังสินค้าของบริษัทเกือบเต็ม 100% อีกทั้งค่าเช่ายังมีการปรับขึ้น 10% ทุก 3 ปีสำหรับลูกค้าที่เช่าระยะยาว

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 1Q64 NYT มีกำไรสุทธิ 98 ลบ. โต 24%YoY และ 8%QoQ ทั้งนี้การเติบโต YoY คาดเกิดจากพลิกมีกำไรจากเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลหลังตลาดการเงินดีขึ้น (1Q63 ขาดทุนเงินลงทุน 27 ลบ.) และพลิกมีส่วนแบ่งกำไรเล็กน้อยในบ.ร่วม (ท่าเรือ C0 ถือ 49%) หลังลูกค้าเร่งส่งสินค้าโครงสร้างขนาดใหญ่และเหล็ก (1Q63 มีส่วนแบ่งขาดทุนฯ 10 ลบ.) ส่วนการเติบโต QoQ คาดเกิดจากมีปริมาณรถยนต์ส่งออกผ่านท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้น ตามยอดส่งออกรถยนต์ 1Q64 ที่โต 20%QoQ
  • 2Q-3Q64 คาดกำไรโตเด่น YoY จากฐานต่ำและ ศก. ของคู่ค้าฟื้นตัว โดยเฉพาะออสเตรเลียคาดอุปสงค์ซื้อรถกระบะและรถบรรทุกปีนี้จะเพิ่มขึ้นเด่น หลัง ศก. มีโอกาสฟื้นตัวแบบ V-Shape จากคุมโควิดดีและรัฐออกมาตรการกระตุ้นขนานใหญ่ รวมทั้งอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินและแร่เหล็กยังดีตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่วนคู่ค้าหลักอื่นๆ ในเอเชียและยุโรปคาดจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ หนุนให้ปี 64 คาด NYT จะมีกำไรสุทธิ 312 ลบ. เติบโต 36.6%YoY และยังโตต่อ 20.6%YoY ในปี 65
  • NYT เป็นหุ้น 2 in 1 คือ 1) Global Stock หลังกำไรอิงการฟื้นตัวของ ศก. คู่ค้า และ 2) Dividend Stock จากมีฐานะการเงินแกร่งและธุรกิจกึ่งผูกขาดทำให้ CFO เข้าต่อเนื่อง จึงจ่ายปันผลได้ในอัตราสูง คิดเป็น Yield ปีละ 5-6% ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 หุ้นละ 5.50-6.10 บาท (อิง PER 5 ปีย้อนหลังที่ 18-20x) มี Upside 21-35% และยังมีเงินปันผลจ่ายปี 63 หุ้นละ 0.20 บาท (XD 7 พ.ค.) คิดเป็น Div. Yield 5.6% จึงแนะนำ “ซื้อ” ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 4.44 และ 4.36 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ไม่ได้ต่ออายุสัมปทาน A5 ซึ่งหมดอายุ เม.ย. 69 (ต่อทุก 5 ปี), ศก. คู่ค้าชะลอ
05/05/2021 CPW ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทฯ Apple ที่สหรัฐฯ ประกาศผลประกอบการช่วง ม.ค. – มี.ค. 64 โดยมียอดขายเติบโตสูงถึง 61.6% YoY เราจึงอยากทราบว่า CPW จะได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากประเด็นนี้มากน้อยแค่ไหน

หลังไปได้อะไร

  • ปี 2564 ผู้บริหาร CPW ตั้งเป้ายอดขายโต 20% YoY ปัจจัยหนุนมาจาก 1) บริษัทฯมีแผนการเปิดสาขาใหม่เพิ่ม 7 สาขา เป็น 54 สาขา จากปีที่แล้วที่เปิดเพิ่มเพียง 5 สาขา 2) Apple มีการเปิดสินค้าใหม่ไม่ว่าจะเป็น iPad Pro (ไฮไลท์) AirTag iMac ใน 2Q64 3) ยอดขายฝั่ง Digital lifestyle ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ติดลบ 17% ในปี 2563 4) ปีนี้บริษัทปรับแผนสั่งสินค้าล่วงหน้า 12 สัปดาห์ จากปกติอยู่ที่ 4 สัปดาห์ เพื่อแก้ปัญหา Supply shortage ที่เกิดขึ้นในปี 2563 และ 5) แนวโน้มการเติบโตของมือถือ 5G ถ้ามองจากการเติบโตของรายได้ของ Apple ในช่วง 1Q64 เรามองว่าเป้าหมายการเติบโตที่ 20% ถือว่าค่อนข้าง Conservative

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • CPW ถือว่าเป็น Proxy ของหุ้น Apple ที่โดดเด่นตัวนึงเนื่องจาก 78% ของยอดขายมาจากสินค้าแบรนด์ Apple ซึ่งสูงกว่า COM7 ที่ 30-40% และ SYNEX ที่ 20-30%
  • 1Q64 เราเห็นแนวโน้มการเติบโตของยอดขายที่จะสูงโดดเด่นตามภาพยอดขาย Apple ที่ประกาศออกมา โดยมาจากยอดขาย iPhone 12 ที่ดีต่อเนื่องจากที่มีการเปิดตัวล่าช้าในปีที่แล้ว และยอดขาย iPad ที่ดีต่อเนื่องเช่นกันจากความต้องการในส่วนของ Online learning โดยคาดรายได้ จะเติบโต 25% YoY อยู่ที่ 973 ลบ. และกำไรอยู่ที่ 20 ลบ. เติบโต 74.8% YoY (งบออก 14 พ.ค.)
  • ปี 2564 เราคาดการณ์ CPW จะมีกำไรอยู่ที่ 77 ลบ. เติบโต 40% YoY แรงหนุนจากการเติบโตของรายได้ที่ 20% YoY และอัตรากำไรสุทธิฟื้นตัวขึ้นอยู่ที่ 1.92% จาก 1.65% ในปี 2563
  • ถึงแม้ราคาหุ้นจะขึ้นมา 92% YTD แต่ในเชิง Valuation ปัจจุบันเทรดอยู่ที่ 4x PE ในปี 2564 และ 24.8x PE ในปี 2565 ยัง Laggard COM7 (45.7x PE และ 37.1x PE), SYNEX (33.4x PE และ 27.9x PE), และ SPVI (30.0x PE และ 26.5x PE) ค่อนข้างมาก และกำไรมีการเติบโตปี 2565 ที่ 22% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 19% โดยเราให้ราคาเป้าหมายปี 2565 อยู่ที่ 4.80-5.80 บาท อิง 25-30x จึงแนะนำ ”ซื้อ” โดยทางเทคนิคมีแนวรับที่ระดับ 3.74 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขาดแคลนพวก Chip แต่บริษัทฯได้มีการบริหารจัดการสั่งสินค้าเพิ่มล่วงหน้ามากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
26/04/2021 OSP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลกระทบของ COVID-19 ระรอก 2 และสถานการณ์ในเมียนมาต่อผลประกอบการใน 1Q64 และเรากังวลต่อผลกระทบของการบริโภคในช่วงต้นของการระบาดในระรอก 3 ใน 2Q64 และการฟื้นตัว

หลังไปได้อะไร

  • เราพบว่าใน 1Q64 อุตสาหกรรมเครื่องดื่มชูกำลังหดตัวแรงจากผลของ COVID-19 แต่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างเร็วในไตรมาส ขณะที่ OSP ได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมและยังคงรักษาระดับส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ ส่วนของ Functional drink โดยเฉพากลุ่ม vitamin C ยังทำได้ดีและเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ ส่วนของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ได้รับผลกระทบยอดขายอ่อนตัว YoY และ QoQ เนื่องจากบางส่วนเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น ทเวลพลัส ขณะที่รายได้จากเมียนมาได้รับผลกระทบเล็กน้อย การเติบโตต่ำกว่า 10% ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 15-20%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • คาดรายได้ของ 1Q64 ที่ 6,486 ล้านบาท(-3% YoY แต่ +1.6% QOQ) โดยการเติบโตของ Functional Drink และรายได้จากต่างประเทศคาดจะชดเชยส่วนลดของเครื่องดื่มชูกำลังและ Personal Care Product ได้ ขณะที่อัตราทำกำไรขั้นต้นคาดจะอ่อนตัวเท่ากับ 5% จาการปิดซ่อมบำรุงเตาแก้วใน 1Q64 ซึ่งคาดจะกลับมาเดินเครื่องเต็มกำลังในปลาย 2Q64 ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นและต้องสั่งสินค้าเข้ามาทดแทน นอกจากนี้ใน 1Q64 จะมีการบันทึกเงินปันผลจากบริษัทลูกโดยเราคาดที่ประมาณ 150 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่ากำไรสุทธิของ 1Q64 ที่ 940 ล้านบาท (+1.5% YoY และ+10.5% QoQ).
  • เราคาดว่าใน 2Q64 มีโอกาสที่ผลประกอบการจะทรง QoQ แต่เติบโตเด่น YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อน และในปีนี้มองว่าผลกระทบจากระรอก 3 จะฟื้นเร็วได้ภายในไตรมาส รวมทั้ง OSP มีแผนที่จะเปิดตัวสินค้าในกลุ่ม C-Vitt ซึ่งเราคาดว่าจะหนุนรายได้ใน 2H64 เป็นต้นไป เราคาดรายได้ในปี 2564 ที่ 26,351 ล้านบาท (+3% YoY) กำไรสุทธิที่ 3,772 ล้านบาท (+7.6% YoY)
  • ใน 1H64 เราคาดว่าจะเป็นช่วงที่ผลประกอบการอ่อนตัวกว่า 2H64 ซึ่งจะกลับมาเติบโตด้วยการบริโภคภายในประเทศที่จะฟื้นตัวและโครงการช่วยการบริโภคของรัฐบาล รวมไปถึงต้นทุนของ OSP ที่คาดว่าจะบริหารได้ดีขึ้นทั้งจากโรงแก้วกลับมาเดินเครื่อง และ FitFastFirm ดังนั้นเรามองว่าเป็นจังหวะของการสะสมหุ้น และเรามองว่า OSP มีการกระจายความเสี่ยงของฐานสินค้าและฐานรายได้จากในและประเทศสมดุลดี เราประเมินด้วยด้วยกรอบ PER ที่ 28-30 เท่า ซึ่งมี Discount จากกลุ่มประมาณ 20% และเหมาะสมกับอัตราการเติบโตในอนาคต ได้ราคาเป้าหมายหมายปี 2565 ที่ 37-41 บาท/หุ้น แนะนำ ซื้อ
21/04/2021 SFT ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบเป้าหมายการเติบโตและปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในปีนี้และระยะยาว

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณ ซุง ชง ทอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SFT ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในผู้นำการผลิตและจำหน่ายฉลากฟิล์มหดรัดรูปด้วยระบบการพิมพ์กราเวียร์และระบบการพิมพ์ดิจิตอลแบบครบวงจรในไทย พบว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตปีละ 15-20% จากคำสั่งซื้อของลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม นอกจากนี้ยังเน้นบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพเพื่อรักษา Net Margin ให้ไม่ต่ำกว่า 10%
  • ตั้งงบลงทุนปีนี้ 150 ลบ. แบ่งเป็น 1) ซื้อเครื่องจักรระบบกราเวียร์ 1 เครื่อง (ตัวที่ 5) ราว 30 ลบ. ซึ่งจะเพิ่มกำลังผลิตปีละ 33 ล้านเมตร (+25% เป็นปีละ 167 ล้านเมตร) และคาดผลิตเชิงพาณิชย์ใน 2Q64 และ 2) ก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ราว 120 ลบ. ซึ่งคาดก่อสร้างเสร็จ ก.พ. 65 และมีกำลังผลิตเพิ่มปีละ 51 ล้านเมตร (+31% เป็นปีละ 218 ล้านเมตร) ซึ่งแหล่งเงินทุนหลักมาจากเงิน IPO

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 1Q64 SFT มีกำไรสุทธิ 23 ลบ. เติบโตเด่น 30%YoY และ 6%QoQ ปัจจัยหนุนจาก 1) ยอดขายคาดโต 15%YoY จากมีคำสั่งผลิตฉลากฟิล์มหดรับรูประบบกราเวียร์ของลูกค้าเก่ากลุ่มเครื่องดื่มและเครื่องสำอางที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีลูกค้าใหม่เข้ามาต่อเนื่อง และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นคาดดีขึ้นเป็น 29.5% จาก 27.3% ใน 1Q63 หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น
  • 2Q-4Q64 คาดกำไรเติบโตทั้ง YoY และ QoQ เพราะนอกจาก Q2 เป็น High Season ของคำสั่งซื้อกลุ่มเครื่องดื่มแล้ว ตั้งแต่ พ.ค. 64 จะรับรู้กำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเครื่องจักรระบบกราเวียร์ตัวใหม่ซึ่งจะช่วยรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นได้ หลังปัจจุบันอัตราใช้กำลังผลิตเดิมตึงตัวแล้ว ขณะที่ราคาวัตถุดิบ PVC และ PET แม้จะสูงขึ้นแต่คาดยังไม่กดดันศักยภาพทำกำไรเพราะบริษัทสต็อกวัตถุดิบต้นทุนต่ำไว้ใช้ถึง ก.ย. นี้ และพร้อมปรับขึ้นราคาขายฉลากจากลูกค้าหากราคาวัตถุดิบยังทรงตัวสูง ทำให้เราคาดปี 64 SFT จะมีกำไรสุทธิ 100 ลบ. เติบโต 28%YoY และยังโตต่อเฉลี่ยปีละ 20% ในปี 65-67 จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าทุกกลุ่มตาม ศก. ที่ฟื้นซึ่งสอดคล้องกับกำลังผลิตที่มีเพิ่ม
  • SFT จัดเป็นหุ้น Defensive ที่กำไรอยู่ในทิศทางขาขึ้น (มีความสัมพันธ์สูงกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น) ซึ่งเราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 65 ไว้ที่หุ้นละ 6.30-6.80 บาท (อิงกรอบ PER กลุ่ม Packaging 5 ปีย้อนหลังที่ 23-25x) พบยังมี Upside น่าสนใจ 18-27% และคาดให้ Yield ปีนี้ 1.7% จึงแนะนำ “ซื้อ” เทคนิคมีแนวรับ 5.20 และ 5.00 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ต้นทุน PVC, PET ที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อนจะกดดันศักยภาพทำกำไร
20/04/2021 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • เราได้ visit TNP ครั้งที่ 4 เพื่อสอบถามถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่เริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทบ้างหรือไม่ รวมทั้งอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐต่างๆ ที่ออกมาส่งผลดีต่อบริษัทมากน้อยแค่ไหน

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณพิทยา จิตมาเส ผอ. ฝ่ายบัญชีและการเงิน TNP พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ TNP แต่อย่างใด เนื่องจากสาขาส่วนใหญ่คือ 30 แห่ง อยู่ใน จ. เชียงราย และ 1 สาขาในจ. พะเยา ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) ขณะที่อีก 2 สาขาในจ. เชียงใหม่ซึ่งอยู่ในพื้นที่สีแดงยังเปิดให้บริการได้ตามปกติเช่นกัน โดยปัจจุบันทุกสาขาของบริษัทยังเปิดให้บริการเวลาเดิม คือ 07.00-21.00 น. ส่วนมาตรการกระตุ้นการบริโภค อาทิ เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, คนละครึ่ง และเราชนะ ช่วยกระตุ้นบรรยากาศจับจ่ายใช้สอยให้คึกคักได้ดี อีกทั้งปี 64 บริษัทยังคงเป้าขยายสาขา 5 แห่ง จากสิ้นปี 63 ที่มีสาขา 32 แห่ง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 1Q64 TNP จะสร้างสถิติกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 45 ลบ. เติบโตเด่น 41%YoY แรงหนุนจาก 1) ยอดขายรวมที่คาดโต 15%YoY หลักๆ จากยอดขายสาขาเดิมที่คาดโต 6-7%YoY หลังลูกค้ามีกำลังซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐให้เงินผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มอีกเดือนละ 500 บาท (ม.ค.-มี.ค. 64) อีกทั้งยังได้อานิสงส์ทางตรงจากมาตรการเราชนะและทางอ้อมจากมาตรการคนละครึ่ง และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นคาดดีขึ้นเป็น 16.5% จาก 15.9% ใน 1Q63 จากการมีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าที่สูงขึ้นและเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีจำนวนสาขาเพิ่ม
  • ศักยภาพการเติบโตมีแนวโน้มดีเกินคาด หลังบริษัทคุมค่าใช้จ่ายได้ดีและเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาเพิ่มขึ้น เพื่อสะท้อนผลบวกดังกล่าวเราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 64 เฉลี่ยปีละ 5% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 64 TNP จะมีกำไรสุทธิ 168 ลบ. เติบโต 26%YoY และเติบโตต่ออย่างน้อยปีละ 16% ในปี 65-67 จากกำลังซื้อที่ดีขึ้นและการขยายสาขาต่อปีละ 4-5 แห่ง
  • เรามีมุมมองเชิงบวกอย่างมากต่อ TNP ซึ่งแม้เป็นหุ้นค้าปลีกขนาดเล็ก แต่มีศักยภาพเติบโตของกำไรและฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง (Net Cash 34 ลบ.) ส่วน Valuation นับว่ายังไม่แพง โดยปัจจุบันซื้อขาย PER 21F และ 22F ที่ 28.5x และ 24.6x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 35.5x และ 29.1x ตามลำดับ ทั้งนี้เราได้ปรับไปใช้กรอบราคาเป้าหมายปี 65 ที่หุ้นละ 6.80-7.30 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีของ TNP ที่ 28-30x) พบว่ายังมี Upside 13-21% จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
02/04/2021 CBG ก่อนไปคิดอะไร
  • เรามีความกังวลต่อสถานการณ์ในเมียนมาที่อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายและประมาณการในปีนี้ รวมทั้งภาพรวมการบริโภคใน 1Q64

หลังไปได้อะไร

  • เราเริ่มมีมุมมองเป็นกังวลต่อสถานการณ์ในเมียนมา ที่ยังไม่สามารถคาดเดาถึงผลกระทบที่ชัดเจน รวมถึงระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบ โดยเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา CBG พบกับข้อจำกัดในการโอนเงินเนื่องจากสถาบันการเงินปิดทำการ การติดต่อตัดสัญญาณ internet และการขนส่งในวงกว้าง โดยสถานการณ์บางส่วนเริ่มคลี่คลายในเดือนมีนาคม
  • เบื้องต้น CBG ยังไม่มีการปรับเป้าของปีนี้ที่คาดการเติบโตของรายได้ที่ 15-20% และเริ่ม Focus ที่ตลาดจีน เน้นการฟื้นบริโภคหลัง COVID-19 และ Product ใหม่ในประเทศคือ Woody C-lock และสินค้าใหม่ประมาณ 2-3 ชนิดไม่รวมกลุ่มเหล้าและกัญชงที่รอทาง อย. อนุมัติ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ในปี 2563 รายได้จากเมียนมามีสัดส่วนประมาณ 10% ของรายได้รวมและมีสัดส่วน 25% ของรายได้จาก CLMV โดยรายได้ทำ Record High ใน 4Q63
  • เราได้ทำ Sensitivity Study ของรายได้ในต่างประเทศ โดยให้รายได้จากจีนในปีนี้ฟื้นตัวและใกล้เคียงกับปี 2562 ให้รายได้จากกัมพูชาอ่อนตัวลง 10% และลดรายได้จากเมียนมาในปีนี้ลง 25%,50% และ 75% ตามลำดับ เราพบว่าระดับกำรสุทธิจะลดลงมจากประมาณการณ์ปัจจุบัน 11%, 13% และ 15% ตามลำดับ ซึ่งรายได้ของเมียนมา หากลดลง 50% ในปีนี้จะทำให้แนวโน้มกำรสุทธิปี 2564 ทรงตัวไม่เติบโต YoY
  • สำหรับทิศทางผลประกอบการ 1Q64 เบื้องต้นเราคาดจะอ่อนตัว QoQ และทรงตัว YoY ด้วยผลกระทบของต่างประเทศและการบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวช้า น้ำหนักของผลประกอบการคาดว่า 2H64 จะดีกว่า 1H64 จาก 1) คาดหวังผลตอบรับที่ดีของสินค้าใหม่โดยเฉพาะจากกัญชงที่เราคาดจะเปิดตัวได้ใน 3Q64 2) Gross Margin ที่ดีขึ้นจากการ Full Operation ของ APM ซึ่งมองว่าจะชดเชยกับส่วนของต้นทุนอะลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นได้ 3) Sponsorship ใน UK ที่หมดภาระลง
  • ราคาเป้าหมายเฉลี่ย ที่ 152 บาท/หุ้น หากเราอิง PER ที่ 35 เท่า ราคาเป้าหมายของปีนี้บน Worst Case Scenario จะเท่ากับ 120 บาท/หุ้น และเป้าหมายี 2565 บนการฟื้นตัวเต็มที่จะเท่ากับ 163 บาท/หุ้น ซึ่งเรามองเป็นกรอบการลงทุนในรอบนี้ โดยเรารวมประมาณการเติบโตยอดขายของสินค้าใหม่ไว้แล้ว เว้นแต่กลุ่มกัญชงที่รอดูช่วงเวลาการออกสินค้า ดังนั้นแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
16/03/2021 SISB ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบเป้าหมายการเติบโตและปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในปีนี้และระยะยาว

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณศุภกร อุณหไพบูลย์ นักลงทุนสัมพันธ์ของ SISB ซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในหลักสูตรสิงคโปร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือที่เปิดแล้ว 4 แห่ง และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 1 แห่ง พบว่า ปี 64 บริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 1.3 พันลบ. พลิกโต 20-25%YoY แรงหนุนจากการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษาตั้งแต่ ม.ค. 64 ราว 5%YoY, การมีสัดส่วนจำนวนเด็กชั้นประถมและมัธยมเพิ่มขึ้น รวมทั้งคาดมี นร. เพิ่มปีนี้อีก 200 คน ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มี นร. รวม 2.8 พันคน
  • ปี 64-65 ตั้งเป้างบลงทุนปีละ 400 ลบ. หลักๆ สำหรับ 1) สาขาธนบุรีที่จะขยายเฟส 2 เพื่อรองรับ นร. เพิ่มได้อีก 600 คน และจะเปิด ส.ค. 64 และ 2) เปิดสาขาใหม่บน แจ้งวัฒนะ จ. นนทบุรี (8 ไร่) ซึ่งเฟส 1 คาดเปิด ส.ค. 65 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบและคาดก่อสร้างได้ในกลางปีนี้ ทั้งนี้มองกรุงเทพฝั่งตะวันตกมีศักยภาพเติบโตดี คู่แข่งน้อย และจะไม่เกิดปัญหา Cannibalization

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด SISB ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว โดยปี 64 กำไรจะพลิกโตเด่น 66%YoY สู่ระดับ 265 ลบ. จากรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เพิ่มขึ้นหลังมีแผนปรับขึ้นค่าเทอมปีนี้ 2 ครั้งๆ ละ 5% ในเดือน ม.ค. และ ส.ค. และมีสัดส่วนจำนวน นร. ชั้นโตที่เพิ่มขึ้น (ค่าเทอมสูงกว่าชั้นเด็กเล็ก) อีกทั้งคาดมี นร. ใหม่เพิ่ม 185 คน (รวมสาขาใหม่แจ้งวัฒนะที่เตรียมทำ prep course ก่อนเปิดจริงปีหน้า) อีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้นคาดสูงขึ้นหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมี นร. เพิ่ม โดยเฉพาะชั้นเด็กโต
  • แม้การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นความเสี่ยง แต่มองผลกระทบเริ่มจำกัด หลังไทยคุมสถานการณ์ได้เร็วและทุกฝ่ายต่างให้ความร่วมมือกัน สะท้อนได้จาก ม.ค. 64 SISB ปิดสอนราว 3 สัปดาห์ ซึ่งคาดกระทบรายได้ค่าอาหารและค่ากิจกรรมซึ่งคิดเป็น 1-2% ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้กระทบรายได้หลักอย่างค่าเทอมเพราะใช้ระบบสอนออนไลน์ซึ่งทุกฝ่ายผ่านการปรับตัวไปในการระบาดเฟสแรกแล้ว ทำให้เฟสสอง SISB ไม่ได้มีแผนให้ส่วนลดและตึงค่าเทอมเหมือนที่ทำปีก่อน
  • SISB เป็นหุ้น Growth ที่น่าสนใจ หลังมองมีผู้ปกครองส่วนนึงพร้อมลงทุนด้านการศึกษาให้บุตรหลานซึ่งมีจำนวนน้อยคนลง บวกกับ หลักสูตรสิงคโปร์จัดเป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่ดี เพราะวิชาการเข้มข้นและได้สามภาษา (อังกฤษ จีน ไทย) จึงคาดจำนวน นร. มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก และจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ปี 64-66 SISB มีกำไรโตเฉลี่ยปีละ 40% ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายไว้ที่ 12-14 บาท (อิง PER 35-40x ใกล้เคียงกำไร 3 ปีที่มี CAGR 40% หรือคิดเป็น PEG 1 เท่า) พบว่า ยังมี Upside เกิน 20% จึงแนะนำ ซื้อ โดยทางเทคนิคมีแนวรับ 9.50/9.25 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ศก. ซบเซากระทบกำลังซื้อของผู้ปกครอง, การแข่งขันในธุรกิจ รร. นานาชาติ
05/03/2021 IP ก่อนไปคิดอะไร
  • หลังจากผลประกอบการในปี 2563 ที่มีอัตราการเติบโตสูง ในปี 2564 มีเป้าหมายการเติบโตอย่างไรและจะมีกลยุทธ์กรเติบโตอย่างไรหลังเข้าซื้อกิจการ

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร IP ยังคงคาดการณ์ปี 2564-2568 บริษัทตั้งเป้ามีรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 25% จากการออกสินค้าใหม่และยอดขายจากดีล M&A ก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นบริษัทจะเน้นการทำผลิตภัณฑ์สุขภาพครบวงจรตั้งแต่ยาสามัญ อาหารเสริม Functional drink นวัตกรรม และเสริมความงาม
  • ในปี 2564 บริษัทจะเน้นการเติบโตจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรมากขึ้นและจะเริ่มเห็นการออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการซื้อ Modern Pharma และรับจ้างผลิตยาสามัญจากโรงงานที่ทำสัญญาไปช่วงต้นปี นอกจากนั้นจะออกสินค้าประเภท Functional drink กับ TU โดยบริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโต 70%-80% YoY และอัตราการทำกำไรสุทธิที่ 16%-18%
  • บริษัทจะเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานผลิตยาที่เพิ่งไป M&A มา 2 กิจการ โดยยาของ Modern Pharma จะมีการปรับปรุงแบรนด์เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเต็มกำลังการผลิต ในส่วนของ Teva นั้นจะเป็นการรับจ้างผลิตนั้นจะเน้นตลาดต่างประเทศเช่นกันแต่ด้วยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 20% อาจจะมีบางส่วนของสินค้าขายดีมาผลิตที่โรงงานนี้ ซึ่งรายได้หลังจากควบความกิจการแล้วรายได้จากการ M&A นั้นจะช่วยเพิ่มรายได้ของบริษัทราว 55-60% ในปี 2564 และยังมีศักยภาพในการเพิ่มกำลังการผลิต

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามองว่าราคาหุ้นของ IP นั้นได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 91% ตั้งแต่ต้นปีบ่งชี้ว่าราคาได้สะท้อนปัจจัยบวกของบริษัทไประดับหนึ่งแล้วไม่ว่าจะเป็น M&A หรือการทำสินค้าจากกัญชง รวมถึงแนวโน้มการเติบโตที่อยู่ในระดับสูง โดยปัจจุบันราคาหุ้นเทรดอยู่ที่ P/E 50 เท่าซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบริษัทที่ใกล้เคียงกันทั่วโลกที่ 27-30 เท่า
  • หากเราพิจารณาจากการเติบโตจากกรอบของผู้บริหาร EPS จะอยู่ที่กรอบล่างที่ 55 บาทและกรอบบนอยู่ที่ 0.70 บาท หากเราให้ P/E ที่ 40 เท่า ราคาเป้าหมายจะอยู่ที่ 22-28 บาท ซึ่งสะท้อนภาพว่าราคาของ IP เต็มมูลค่าในระยะสั้นไปแล้ว เราจึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
  • เรามองว่าการเคลื่อนไหวของราคา IP นั้นจะเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน การปรับตัวแรงตาม Growth story อย่างก่อนหน้านี้มีอยู่ค่อนข้างจำกัดเพระตลาดได้รับรู้ไประดับหนึ่งแล้วและราคาขึ้นมารอแล้ว นอกจากนั้นแนวโน้มการทำ M&A อาจจะไม่ได้เห็นในปี 2564-2565
03/03/2021 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบเป้าหมายการเติบโตและปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในปีนี้และระยะยาว

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ CEO ของ NER พบว่า ปี 64 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวม 2.2 หมื่นลบ. เติบโต 30-35%YoY หลังราคายางพารามีทิศทางปรับขึ้น ขณะเดียวกันดีมานต์ยางพาราในตลาดโลกคาดจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งบริษัทยังมีแผนขยายตลาดส่งออกทั้งตลาดเดิมอย่างจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเข้าสู่ตลาดใหม่อย่างอินเดียซึ่งมีศักยภาพเติบโตอีกมาก เพราะมีประชากรหนาแน่นกว่า 1.4 พันล้านคนและมีอัตราการบริโภครถยนต์เกือบใกล้เคียงกับจีน
  • ปีนี้ตั้งเป้างบลงทุนราว 400 ลบ. สำหรับเพิ่มกำลังผลิตแผ่นปูนอนวัวและสินค้าสำเร็จรูปอื่นๆ (คาดเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปี 65) รวมทั้งสั่งซื้อเตาอบยางพาราอีก 1 ชุดใน 4Q64 ซึ่งคาดเพิ่มกำลังผลิตปีละ 5 หมื่นตัน หนุนปี 65 มีกำลังผลิตรวมเพิ่มเป็นปีละ 5.1 แสนตัน จากปัจจุบัน 4.6 แสนตัน
  • ระยะยาวบริษัทมีแผนเพิ่มศักยภาพทำกำไรและกระจายความเสี่ยง ด้วยการปรับโมเดลธุรกิจเน้นผลิตและเพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น อาทิ แผ่นปูนอนวัว ซึ่งจะมีอัตรากำไรสุทธิ (15-25%) ดีกว่าธุรกิจขายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม ซึ่งมีมาร์จิ้นเพียง 4-7%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีมุมมองบวกต่อ NER หลังคาดบริษัทจะสร้างกำไรนิวไฮต่อเนื่อง โดยปัจจัยหนุนจากกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 3Q63 ราว 55% สู่ระดับ 4.6 แสนตัน คาดพอรองรับปริมาณการขายยางพาราที่จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของลูกค้ากลุ่มยานยนต์ โดยเฉพาะจีนได้ (บริษัทคาดปีนี้ปริมาณการขายจะอยู่ที่ 1 แสนตัน +14%YoY) เมื่อบวกกับ ราคายางที่ยังทรงตัวระดับสูง จึงคาดปี 64 NER จะมีกำไรปกติ 1,131 ลบ. ยังโตเด่น 32% จากปี 63 ที่เติบโตแล้ว 109%YoY ทั้งนี้แม้ 1H64 คาดกำไรจะอ่อนตัวจาก 2H63 หลังพ้น High Season แต่คาดยังเติบโตสูง YoY จากรับรู้ปริมาณขายที่สูงขึ้นสู่ระดับ 9.3 หมื่นตัน (+45%YoY) หลังมีกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นสามารถรองรับดีมานต์ดังกล่าวได้
  • มี Upside Risk ทีต้องติดตาม คือ 1) มีแผนขายหุ้นแบบ PP ให้คู่ค้าเพื่อขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าให้ยั่งยืนมากขึ้น โดยมติเดิมขอ General mandate ไว้ 161.5 ล้านหุ้น (10% ของหุ้นชำระแล้ว) ซึ่งแม้ระยะสั้นจะเกิด Share Dilution Effect 10% แต่คาดจะเพิ่มโอกาสเติบโตของกำไรในระยะยาว และ 2) มีแผนลงทุนในธุรกิจใหม่ อาทิ โรงไฟฟ้าชีวมวล 4.3MW ซึ่งเตรียมเข้าประมูล มี.ค. นี้ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างศึกษาแผนนำเข้าเมล็ดและปลูกกัญชง ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ
  • เรามอง NER เป็นหุ้น Growth Stock ที่น่าสนใจ โดยประเมินกรอบราคาเป้าหมาย 5.60-7.00 บาท (อิง PER 8-10x ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยธุรกิจยาง) ทั้งนี้กลยุทธ์ลงทุนแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวในบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 5.25/5.15 ซึ่งจะมี Upside กว้างมากกว่าราคาปัจจุบันและมีความปลอดภัยกว่า
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และบาทแข็งค่า
03/03/2021 PTG ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบเป้าหมายการเติบโตและปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในปีนี้และระยะยาว หลังจากที่ปี 2563 เป็นปีที่ดีและฐานสูงสำหรับบริษัท

หลังไปได้อะไร

  • ปี 2564 ยังคงมีแผนที่จะขยายพื้นที่สถานีน้ำมันอีก 100 แห่ง และมองว่าปริมาณการใช้น้ำมันและแก๊ส LPG จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เราประเมินว่าธุรกิจจะมีการเติบโตของปริมาณขายน้ำมัน 10% YoY ส่วนปริมาณการขาย LPG จะเพิ่มขึ้น 15% YoY
  • กลยุทธ์หลักในการเติบโตของบริษัทเป็นการลงทุนในธุรกิจ Non-oil มากขึ้น โดยขยายร้านกาแฟพันธุ์ไทยอีก 50 สาขา และธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ Autobacs อีก 20 สาขาและร้านสะดวกซื้อ Max Mart อีก 50 สาขา ซึ่งคาดจะช่วยให้ศักยภาพทำกำไรดีขึ้นเพราะอัตรากำไรขั้นต้นของร้านกาแฟอยู่ที่ 65-70% ธุรกิจซ่อมบำรุง 30-35% และร้านสะดวกซื้อ 20% นอกจากนั้นบริษัทจะขยายธุรกิจแก๊ส LPG ครัวเรือนให้มีสัดส่วน 40-50% ของปริมาณจำหน่ายแก๊ส LPG ทั้งหมด
  • บริษัทตั้งงบลงทุนปีนี้ 0-4.5 พันลบ. แบ่งเป็น 1) ขยายและปรับปรุงสถานีน้ำมันและ LPG 100-150 แห่ง ราว 3.0-3.5 พันลบ. 2) ธุรกิจ Non-oil 500 ลบ. และ 3) ธุรกิจใหม่ 500 ลบ. โดยจะเป็นพลังงานสะอาด อาทิ โรงไฟฟ้าขยะ โซล่าร์รูฟท๊อป และ Wellness ที่เน้นไปธุรกิจกัญชงและกัญชา

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามอง PTG เป็นหุ้นที่มีการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจและกำลังจะกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจ Non-oil มากขึ้นซึ่งมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าและอัตราทำกำไรที่เพิ่มขึ้น แม้ปี 2563 กำไรจะเติบโตแล้วราว 22%YoY แต่ปี 2021 เรามองว่าอัตราการเติบโตยังจะเพิ่มขึ้นด้วยการประเมินแบบ Conservative ที่ราว 5% YoY โดยมีแนวโน้มที่ดีจากธุรกิจ Non-oil ที่จะเป็นตัวเร่งสำคัญ ขณะที่ธุรกิจใหม่อาจจะต้องเป็นภาพระยะยาว ส่วนธุรกิจชาร์จ EV จะเริ่มในปีนี้
  • ภาพธุรกิจไม่ได้เป็น s-curve แต่เป็นการเติบโตตาม volume และตามจำนวนสาขา อย่างไรก็ดี การประเมินมูลค่าของ PTG มีความน่าสนใจเมื่อเทียบกับกลยุทธ์การเติบโตใน Non-oil และเมื่อเทียบกับ PER ของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันของไทยจะอยู่ที่ 22 เท่า ต่างประเทศอยู่ที่ 24 เท่า และค่าเฉลี่ย PER อยู่ที่ 23 เท่า ดังนั้นเราจึงประเมินราคาเป้าหมายอยู่ในกรอบ 23-25 บาท อิง (PER กรอบล่างที่ 20-22 เท่า) มี Upside 11-22% กลยุทธ์การลงทุน จึงแนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวเพื่อแต้มต่อในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคาน้ำมัน และการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ
01/03/2021 CBG ก่อนไปคิดอะไร
  • การเข้าร่วมประชุมผลประกอบการปี 2563 และ Business Plan ปี 2564 ของ CBG เป็นครั้งที่ 3 เพื่อรับทราบผลกระทบของปีที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าการเติบโตและการออกสินค้าใหม่ในปีนี้

หลังไปได้อะไร

  • CBG ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ในปี 2564 ที่ 15-20% (Toned Down ลงเล็กน้อยจากปลายปีก่อนมองที่ไม่น้อยกว่า 20%) โดย key driver หลักคือประเทศจีน หลังจากที่ติดลบในปี 2563 รวมทั้งตั้งเป้า Woody C-lock ยอดขาย 100 ล้านขวดในปี 2564 และออกสินค้าใหม่ประมาณ 2-3 ชนิดไม่รวมกลุ่มเหล้าและกัญชง
  • CBG เปิดเผยว่ามีความพร้อมออกสินค้าใหม่ที่มีส่วนผสมจากกัญชงโดยมีการศึกษาในหลายรูปแบบ ทั้งน้ำสมุนไพรและเครื่องดื่มผสมเพื่อผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามต้องรอทาง อย. อนุมัติ และต้องหา Supply จากแหล่งที่ทำเพื่อการพาณิชย์

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงมุมมองที่คาดว่า CBG จะสามารถทำกำไรสุทธิ New High ได้ในปีนี้ อย่างไรก็ตามเรามีการปรับประมาณการรายได้ในปีนี้ลงเนื่องจากคาดว่าใน 1H64 ทิศทางการบริโภคภายในประเทศจะฟื้นตัวช้าแม้จะมีการออกสินค้าใหม่ Woody C Lock ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ประกอบการกับตลาดต่างประเทศ โดยฉพาะเมียนมาร์ที่ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ โดยเราคาดรายได้ปีนี้ที่ 20,215 (+17 YoY) ลดลงจากประมาณการเดิม 7% และกำไรสุทธิแม้ลดลงจากประมาณการเดิม 2% ยังคงทำ Record High ที่ 4,050 ล้านบาท(+15% YoY)
  • เราคาดน้ำหนักของผลประกอบการคาดว่า 2H21 จะดีกว่า 1H21 จาก 1) คาดหวังผลตอบรับที่ดีของสินค้าใหม่โดยเฉพาะจากกัญชงที่เราคาดจะเปิดตัวได้ใน 3Q64 2) Gross Margin ที่ดีขึ้นจากการ Full Operation ของ APM ซึ่งมองว่าจะชดเชยกับส่วนของต้นทุนอะลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นได้ 3) Sponsorship ใน UK ที่หมดภาระลง 4) การฟื้นตัวของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ CLMV
  • ประเด็นที่ต้องจับตาเพิ่มคือภาษีน้ำตาลที่จะปรับในเดือน ต.ค. นี้ซึ่งเราคาดว่า CBG จะมีการปรับสูตรเพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือในกรณีที่ดีที่สุดคือสามารถลดต้นทุนได้
  • ปัจจุบันราคาเป้าหมายเฉลี่ย ที่ 152 บาทฝหุ้น เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 163 บาท/หุ้น (อิง PER ที่ 35x) โดยประมาณการเราตั้งเป้าการเติบโตยอดขายของสินค้าใหม่ไว้แล้ว เว้นแต่กลุ่มกัญชงที่อาจได้รับผลตอบรับดีกว่าคาด ซึ่งเราจะเห็น Momentum ใน 2H64 ดังนั้นเราให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวในช่วงนี้และถือลงทุนได้ตั้งแต่ 2H64 หลังจากความผันผวนของงบจบลง
23/02/2021 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • เราได้ visit TNP ครั้งที่ 3 หลัง 4Q63 กำไรดีเกินคาด จากยอดขายสาขาเดิมดีกว่าคาดและยังคุมค่าใช้จ่ายได้ดีเหนือคาด จึงอยากทราบว่าปัจจัยบวกดังกล่าวยังส่งต่อเนื่องมาปีนี้มากน้อยแค่ไหน

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณพิทยา จิตมาเส ผอ. ฝ่ายบัญชีและการเงิน TNP พบว่า ตั้งแต่ ม.ค. 64 ถึงปัจจุบัน ยอดขายสาขาเดิมยังเติบโตดี หลังรัฐขยายเวลาเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเดือนๆ ละ 500 บาท (ม.ค.-มี.ค. 64) ขณะเดียวกันบริษัทยังมีนโยบายบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวดและคาดเกิดผลประหยัดต่อขนาดดีขึ้นจากมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้น (ปี 64 เปิดสาขาใหม่อีก 5 แห่ง โดยช่วง 1Q-3Q64 จะเปิด 1 สาขา/ไตรมาส ส่วน 4Q64 เปิด 2 สาขา หนุนให้สิ้นปีนี้มีสาขารวม 37 แห่ง) จึงทำให้ปี 2564 คงเป้ามียอดขายรวมเติบโต 10-15%YoY และมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นหลังพยายามจัดหาสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงเข้ามาขายต่อเนื่อง (โดย 4 ปีทึ่ผ่านมา GP เพิ่มปีละ 0.9%)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 4Q63 TNP มีกำไรสุทธิ 44 ลบ. ดีเกินคาด เติบโตเด่น 36%YoY และ 47%QoQ ปัจจัยหนุนเกิดจาก 1) ยอดขายรวมโต 17.5%YoY หลักๆ จากยอดขายสาขาเดิมที่โต 5.7%YoY ดีกว่าคาด หลังมีการซื้อสินค้าเพิ่มจากลูกค้าที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งได้เงินเพิ่มเดือนละ 500 บาท (ต.ค.-ธ.ค. 63) และจากลูกค้าโชห่วยซึ่งได้อานิสงส์จากมาตรการคนละครึ่ง และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นเป็น 16.6% จาก 16.4% ใน 4Q62 จากมีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าและเกิดผลประหยัดต่อขนาด อีกทั้งยังคุมค่าใช้จ่ายดีทำให้มี SG&A/Sales ที่ลดลงจาก 9.5% ใน 4Q62 เหลือ 8.4% หนุนให้ 4Q63 มีอัตรากำไรสุทธิทำนิวไฮที่ 7.2% และทั้งปี 2563 มีกำไรสุทธิ 134 ลบ. เติบโตเด่นถึง 51%YoY
  • เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 64 เฉลี่ยปีละ 11% เพื่อสะท้อนการคุมค่าใช้จ่ายที่ดีเกินคาด และอานิสงส์จากมาตรการเราชนะทั้งทางตรง คือ การเข้ามาซื้อสินค้าของประชาชนหลัง TNP เป็นร้านค้าธงฟ้าที่ใช้สิทธิได้โดยตรง และ ทางอ้อม คือ การซื้อสินค้าจากร้านค้าธงฟ้าอื่นและร้านคนละครึ่งที่ประชาชนไปใช้สิทธิได้ โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2564 TNP จะมีกำไรสุทธิ 162 ลบ. เติบโต 21%YoY โดย 1Q64 คาดยอดขายสาขาเดิมและกำไรยังเติบโตดี YoY จากผลบวกทั้งการเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตั้งแต่ ม.ค.และการเริ่มโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิเราชนะตั้งแต่ ก.พ.
  • เรายังชอบ TNP เพราะเป็นหุ้นค้าปลีกที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง Valuation ไม่แพง และราคาหุ้นยัง Laggard โดยปัจจุบันซื้อขาย PER 21F ที่ 19.9x จากค่าเฉลี่ยกลุ่ม 28.2x ซึ่งมองยังไม่ได้สะท้อนถึงกำไรที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น ทั้งนี้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 64 อยู่ที่หุ้นละ 4.70-30 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 23-26x) ยังมี Upside น่าสนใจ 16-31% อีกทั้งยังมีเงินปันผลจ่ายระหว่างกาลจากกำไร 2H63 หุ้นละ 0.04 บาท (XD 11 มี.ค.) จึงคงแนะนำ” ซื้อ”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
18/02/2021 TWPC ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบเป้าหมายการเติบโตและปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในปีนี้และระยะยาว

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณรตินันทน์ วงศ์วัชรานนท์ นักลงทุนสัมพันธ์ของ TWPC ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลังมูลค่าเพิ่ม HVA (กลูโคส, สาคู, แป้งโมดิไฟด์) และสินค้าอาหาร (วุ้นเส้น, ก๋วยเตี๋ยว) พบว่า ปี 64 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมโตเกิน 10%YoY และ Gross Margin เพิ่มเป็น 18-20% (ปีก่อน 16%) จากการฟื้นตัวของดีมานต์แป้งมันในตลาดเดิม (จีน ไต้หวัน ไทย) และการขยายตลาดใหม่ในอินโดนีเซีย ควบคู่ไปกับผลผลิตมันสำปะหลังในไทยปีนี้ที่จะเพิ่ม 12%YoY สู่ 28.3 ล้านตัน อีกทั้งราคาแป้งมันอยู่ในทิศทางขาขึ้นตั้งแต่ พ.ย. 63
  • ปีนี้ตั้งเป้างบลงทุนราว 350 ลบ. สำหรับบำรุงรักษาเครื่องจักรและโรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและขยายกำลังผลิต แหล่งเงินทุนหลักจะมาจาก CFO ที่ทำได้ปีละ 400 ลบ. นอกจากนี้ระยะยาวยังมีแผนเพิ่มมาร์จิ้นสูงด้วยการออกสินค้าใหม่ “ไบโอพลาสติก” คาดเริ่มจำหน่าย พ.ย. 64 ซึ่งมีมาร์จิ้นดีราว 20% พร้อมเน้นเพิ่มสัดส่วนยอดขาย HVA ซึ่งมีมาร์จิ้นดีกว่าแป้งมันราว 5-10%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 4Q63 TWPC จะมีกำไรปกติ 5 ลบ. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้เฉลี่ย 90 ลบ. เหตุผลจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทำให้ต้องเลื่อนส่งออเดอร์แป้งมันไปตลาดจีน 400-500 ลบ. อีกทั้งความต้องการมันเส้นที่เพิ่มขึ้นปลายปีก่อนยังทำให้ต้นทุนวัตถุดิบหัวมันสูงขึ้น แต่การขึ้นราคาขายแป้งมันของบริษัทมี time lag 1-2 เดือน จึงกดดันศักยภาพทำกำไร ทำให้ปี 63 คาดมีผลขาดทุนปกติ 6 ลบ. และหากรวมรายการพิเศษคาดมีกำไรสุทธิ 34 ลบ. ต่ำกว่าตลาดคาดไว้ที่ราว 130 ลบ.
  • คาดผ่านจุดเลวร้ายสุดแล้วและในปี 64 ตลาดจะกลับมาสนใจในฐานะหุ้น Turnaround ซึ่งคาดจะพลิกมีกำไร 270 ลบ. หลังดีมานต์แป้งมันทั้งตลาดไทยและตลาดส่งออกฟื้นตัว อีกทั้งราคาขายแป้งยังมีแนวโน้มดีขึ้น สะท้อนได้จาก ธ.ค. 63 ราคาแป้งมันส่งออกอยู่ที่ 468 US$/Ton สูงสุดในรอบ 2 ปี ส่งผลให้คาดอัตรากำไรขั้นต้นจะฟื้นตัวดีขึ้นมาก โดยเฉพาะ 1Q64 คาดจะเป็นพีคของกำไรปีนี้ เพราะจะรับรู้ทั้งออเดอร์แป้งมันจีนที่เลื่อนส่งมอบมาและออเดอร์ใหม่ๆ (ม.ค. รายได้โตเกิน 50%)
  • เรามอง TWPC เป็นหุ้น Turnaround ที่น่าสนใจ โดยประเมินกรอบราคาเป้าหมาย 4.30-5.00 บาท (อิง PER 14-16x ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเกษตร) พบมี Upside 5-22% ซึ่งกลยุทธ์ลงทุนแนะนำให้รอจังหวะเข้าซื้อหลังประกาศงบ 4Q63 ในกรอบแนวรับ 3.50-3.80 ซึ่งจะทำให้มี Upside ที่เปิดกว้างมากกว่าราคาปัจจุบันที่อาจยังไม่ได้สะท้อนงบ 4Q63 ที่มีโอกาสแย่กว่าตลาดคาด
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของปริมาณผลผลิตและราคาหัวมันสำปะหลังสด
03/02/2021 IIG ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบถึงแนวโน้มผลประกอบการ 4Q63 ภายหลังจากที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นกว่า 3% YTD รวมถึงความคืบหน้าของธุรกิจใหม่ (iiG Data) และแนวโน้มผลประกอบการปี 2564-2565

หลังไปได้อะไร

  • เราคาดการณ์กำไรของบริษัทใน 4Q63F จะอยู่ที่ 23 ล้านบาท เติบโต 44% QoQ ลดลง 8% YoY เนื่องจากฐานกำไรปีที่แล้วค่อนข้างสูง โดยเราคาดการณ์รายได้อยู่ที่ 167 ล้านบาท เติบโต6% QoQ และ 16.0% YoY โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการรับรู้รายได้ของโครงการที่มีอยู่ในมืออย่างต่อเนื่อง โดยถ้ากำไร 4Q63F ออกมาอย่างที่เราคาดจะทำให้ภาพรวมกำไรปี 2564 อยู่ที่ 60 ล้านบาท เติบโต 25% YoY เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ โดยงบจะประกาศวันที่ 24 กพ.
  • สำหรับแนวโน้มรายได้ปี 2564 ผู้บริหารยังตั้งเป้าไว้ที่ 700 ล้านบาทเติบโต 27% YoY โดยอัตรากำไรสุทธิคาดหวังไว้ที่ระดับ 12% ซึ่งคิดเป็นกำไรจะอยู่ที่ 85 ล้านบาทเติบโต7% YoY โดยเบื้องต้นถ้าบริษัทไม่ได้งานเพิ่มเลยจนถึงสิ้นปี 2564 รายได้จะอยู่ที่ 450 ล้านบาท (64% ของเป้าหมายรายได้) ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงทำให้เรามองว่าเป้าหมายรายได้น่าจะสามารถทำได้ โดยเป้าหมายรายได้ยังไม่ได้รวมถึงโอกาสในการทำ M&A ของบริษัท
  • สำหรับธุรกิจใหม่ (iiG Data) ผู้บริหารคาดหวังรายได้ในส่วนนี้ที่ 20 ล้านบาทในปี 2564 โดยปัจจุบันได้ลูกค้ามาแล้ว 2 รายหรือคิดเป็นมูลค่างานที่ 10 ล้านบาท โดยข้อดีของธุรกิจนี้คือรายได้ที่เกิดขึ้นจะเป็น recurring income ทั้งหมด
  • ในปี 2565 ผู้บริหารยังคาดหวังการเติบโตของรายได้ไม่ต่ำกว่า 30% หรืออยู่ที่ 900 ล้านบาท โดยอัตรากำไรสุทธิคงไว้ที่ 12% หรือ กำไรที่ 109 ล้านบาท โดยเรามีการปรับกำไรปี 2565 ขึ้น 12% อยู่ที่ 109 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของทางบริษัท

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 27-33 บาท (จาก 21-25 บาท) อิง PE 25-30x ปี 2565 (จากปี 2564) เพื่อสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบเต็มรูปแบบ ถึงแม้ว่าเรามีมุมมองเชิงบวกในระยะกลางถึงยาวต่อแนวโน้มธุรกิจบริษัทฯ ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นเราแนะนำให้นักลงทุนที่มีหุ้นอยู่แล้ว Let profit run เพื่อลุ้นประเด็นเรื่องการทำ M&A ที่คาดว่าน่าจะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้ แต่สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นแนะนำให้รอจังหวะเข้าลงทุนใหม่อีกครั้งภายหลังราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะและได้สะท้อนภาพการเติบโตในปี 2564 ไปเรียบร้อยแล้ว
29/01/2021 STARK ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบเป้าหมายการเติบโตและปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในปีนี้และระยะยาว

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณประกรณ์ เมฆจำเริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท STARK ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสายไฟฟ้าอันดับ 1 ในอาเซียน พบว่า ปี 64 ตั้งเป้ารายได้โต 15-20%YoY ส่วนระยะยาวคาดรายได้โตปีละ 12-15% และมี EBITDA Margin สูงเป็น 15-18% ด้วยกลยุทธ์การเพิ่มยอดขายสินค้ามีมาร์จิ้นสูงอย่าง Medium to Extra High Voltage Cables (MV-EHV) และนำต้นทุนผลิตที่ต่ำในเวียดนามมาใช้เพิ่มศักยภาพแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดเดิม (ไทย, เวียดนาม) และเพิ่มตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีแผนทยอยคืนเงินกู้เพื่อลดดอกเบี้ยจ่ายและคาดเริ่มจ่ายปันผลได้ในปี 66
  • ผ่านเฟสลงทุนขนาดใหญ่ไปแล้ว โดยจากนี้ตั้งเป้างบลงทุนปีละ 300-500 ลบ. สำหรับบำรุงรักษาเครื่องจักรและโรงงานซึ่งมีในไทย 3 แห่ง (บางพลี ระยอง สมุทรสาคร) และเวียดนาม 1 แห่ง ซึ่งมีกำลังผลิตทองแดงและอลูมิเนียมรวม 1.31 และ 0.91 แสนตัน และมีอัตราใช้กำลังผลิตทองแดงและอลูมิเนียม 52% และ 50% ตามลำดับ ซึ่งคาดเพียงพอรองรับยอดขายที่เพิ่มในอีก 5 ปีข้างหน้า

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีมุมมองบวกต่อ STARK โดยปี 63 คาดมีกำไรสุทธิ 1,585 ลบ. เติบโตเด่น 1,179%YoY แต่หากไม่รวมรายการพิเศษ คาดมีกำไรปกติ 1,277 ลบ. เติบโต 750%YoY เพราะมีการรวมผลดำเนินงานของ TPC และ DVN ในเวียดนามหลังเข้าลงทุนเมื่อ 31 มี.ค. 63 อีกทั้งคาด PDITL ในไทยมีผลดำเนินงานดีขึ้นจากเน้นขายสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงและบริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • มองเป็น Growth Stock โดยปี 64 คาดมีกำไรสุทธิ 1,761 ลบ. เติบโต 38%YoY จากการรับรู้ผลดำเนินงานเต็มปีของ TPC และ DVN บวกกับ ปีนี้คาดรายได้ในไทยและเวียดนามจะโตดีหลังได้รับผลกระทบโควิด-19 ลดลง ขยายตลาดใหม่ พร้อมเพิ่มสินค้ามีมาร์จิ้นสูงควบคู่กับบริหารต้นทุนดีขึ้น นอกจากนี้ระยะยาวอุปสงค์สายไฟและสายเคเบิลในไทยและเวียดนามยังมีศักยภาพเติบโตดีจากแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ และการลงทุนของเอกชน (EEC, EV, Power Plant, อสังหาฯ)
  • ราคาหุ้นมี Catalyst จากมีโอกาสเข้าคำนวณดัชนี SET50 ใน 2H64 หลังปัจจุบันมี Market Cap. 5.4 หมื่นลบ. และปีก่อนได้แก้ปัญหา Free Float จนมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ 20.8% ตามเกณฑ์ชั้นต่ำของ SET ที่ 20% แล้ว ขณะที่เราประเมินกรอบราคาเป้าหมาย 5.20-5.60 บาท (อิง PER 35-38x หรือคิดเป็น PEG 1 เท่า ซึ่งไม่ได้ aggressive เกินไปเมื่อเทียบกับกำไรที่จะเติบโตโดดเด่น) พบมี Upside 18-27% จึงแนะนำหาจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว เทคนิคมีแนวรับ 4.28 และ 4.18
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ราคาทองแดงและอลูมิเนียมที่สูงขึ้น รวมทั้งบาทอ่อนจะกระทบต่อต้นทุนผลิต
13/01/2021 ZIGA ก่อนไปคิดอะไร
  • เราได้ visit ZIGA ครั้งที่ 2 เนื่องจากอยากทราบถึงแนวโน้มผลการดำเนินงาน 4Q63 และเป้าหมายการเติบโตของบริษัทในปี 2564 รวมทั้งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตในระยะถัดไป

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณศุภกิจ งามจิตรเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ZIGA พบว่า ปี 64 บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ราว 20-30%YoY หลังเหล็กโครงสร้าง Pre-zinc (แบรนด์ ZIGA) และท่อเหล็กร้อยสายไฟ (แบรนด์ "DAIWA") ของบริษัทยังได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าในการใช้ทดแทนท่อเหล็กดำทาสี เพราะมีต้นทุนถูกกว่า ใช้เวลาติดตั้งน้อยกว่า และมีเนื้อผิวที่สวยกว่า อีกทั้งคาดยังจะมีการเริ่มรับรู้ยอดขายสินค้าใหม่ อาทิ ท่อร้อยสายไฟ, สีทาเหล็กกัลป์วาไนซ์ เป็นต้น
  • งบลงทุนปีนี้ตั้งไว้ที่ราว 150 ลบ. แบ่งเป็น 1) ขยายกำลังผลิตเฟส 3 ทั้งเพิ่มพื้นที่และเพิ่มเครื่องจักรรวม 80 ลบ. ซึ่งจะทำให้มีกำลังผลิตจากปีก่อนที่ปีละ 1.1 แสนตัน เพิ่มเป็น 1.2 แสนตัน เพียงพอรองรับออเดอร์ที่คาดจะเพิ่มขึ้นหลังปีนี้วางแผนเพิ่มสาขา Outlet จากปีก่อนที่ 4 แห่ง เป็น 60 แห่ง และเป็น 120 สาขาในปี 65 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขายสินค้าให้มากขึ้น 2) รีโนเวทตึกใหม่ 30 ลบ. (เปิดใช้งาน ก.พ. นี้) 3) ค่าใช้จ่ายการตลาด 20 ลบ. และ 4) เงินทุนหมุนเวี่ยน 20 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • จากกระแสความนิยมเหล็กโครงสร้าง Pre-zinc (โดยเฉพาะแบบกลมซึ่งมีมาร์จิ้นสูง) ที่ดีต่อเนื่อง และการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้คาด 4Q63 ZIGA มีกำไรสุทธิ 35 ลบ. เติบโตเด่น 1077%YoY และปี 63 คาดมีกำไรสุทธิ 114 ลบ. พลิกโต 224%YoY ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม
  • ส่วนดีมานต์เหล็ก Pre-zinc ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งมาร์จิ้นที่คาดปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เพราะเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี รวมทั้งบริษัทยังมีแผนรุกช่องทาง B2C และออนไลน์เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งมีมาร์จิ้นที่ดีกว่าช่องจำหน่ายเดิมที่ผ่านร้านค้าปลีกดั้งเดิมและสมัยใหม่ จึงคาดปี 64 กำไรสุทธิจะเติบโตสดใสต่ออีก 24%YoY สู่ระดับ 141 ลบ.
  • ผลจากการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 64 ขึ้นจากเดิมถึง 51.6% ทำให้ประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 64 อยู่ที่ 3.30-4.10 บาท (อิง PER 12-15x เช่นเดิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเหล็กปลายน้ำ) พบมี Upside 3-28% อีกทั้งคาดจ่ายปันผลจากกำไรปี 63 หุ้นละ 0.11 บาท คิดเป็น Yield 3.4% จึงแนะนำหาจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเทคนิคมีแนวรับ 3.10 และ 3.00
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ คำสั่งซื้อที่ชะลอจะกดดันมาร์จิ้นทำให้กำไรต่ำคาดได้เพราะมีต้นทุนคงที่สูง
12/01/2021 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • เราได้ visit TNP ครั้งที่ 2 เนื่องจากอยากทราบถึงเป้าหมายการเติบโตของบริษัทในปี 2564 รวมทั้งอานิสงส์ที่บริษัทได้รับจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่ออกไปในช่วงก่อนหน้านี้

หลังไปได้อะไร

  • จากการสัมภาษณ์คุณพิทยา จิตมาเส ผอ. ฝ่ายบัญชีและการเงิน TNP พบว่า ปี 2564 บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโต 10-15%YoY จากยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่คาดโต 2-3%YoY รวมทั้งรับรู้ยอดขายสาขาใหม่เต็มปีจาก 4 สาขาที่เปิดปีก่อน และยอดขายสาขาใหม่บางส่วนที่เปิดปีนี้ 5 แห่ง (ทยอยเปิด 2Q-4Q64) โดยที่ตั้งยังอยู่ในเชียงราย เชียงใหม่และพะเยา ซึ่งมีศักยภาพเติบโตดีและขนส่งสะดวกเพราะมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่เชียงรายรองรับได้ 50 สาขา จากปัจจุบันที่มีอยู่ 32 สาขา
  • ศักยภาพทำกำไรยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากเกิดผลประหยัดต่อขนาดและมีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามจำนวนสาขาที่มีมากขึ้น รวมทั้งบริษัทยังพยายามจัดหาสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้นเพื่อเข้ามาจำหน่าย อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนงบลงทุนปีนี้ตั้งไว้ 100 ลบ. สำหรับเน้นขยายสาขาใหม่ ซึ่งแหล่งเงินทุนหลักจะมาจาก CFO ที่ทำได้ราวปีละ 130-150 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 4Q63 TNP มีกำไรสุทธิ 38 ลบ. เติบโตเด่น 18%YoY และ 28%QoQ เพราะได้ผลบวกตรงจากลูกค้าที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งได้เงินเพิ่มเดือนละ 500 บาท (ต.ค.-ธ.ค. 63) และทางอ้อมจากมาตรการคนละครึ่งซึ่งหนุนยอดขายลูกค้าโชห่วย จึงคาด SSSG จะโตเด่น 3-5%YoY (แม้ 4Q62 SSSG เติบโตสูง 10%YoY จากชิมช้อปใช้แล้วก็ตาม) อีกทั้งยังรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่มีเพิ่ม 4 แห่งจาก 4Q62 จึงคาดยอดขายรวมยังโต 13%YoY ส่วนอัตรากำไรสุทธิคาดปรับตัวดีขึ้นเป็น 6.5% จาก 6.2% ใน 4Q62 จากการมีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าและผลประหยัดต่อขนาดที่เพิ่มขึ้น
  • จัดเป็นหุ้นค้าปลีกไม่กี่บริษัทที่ปี 2564 คาดกำไรโตต่อในระดับสองหลัก คือ 5% จากปี 2563 ที่คาดเติบโตเด่นแล้ว 44.4%YoY จากรับรู้ยอดขายสาขาใหม่และ SSSG ที่คาดเพิ่ม 2-3%YoY ขณะที่ 1Q64 มองเป็นอีกไตรมาสที่น่าจับตา โดยคาดกำไรยังโตน่าประทับใจ YoY หลังได้อานิสงส์จากรัฐขยายเวลาเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่ออีก 3 เดือนๆ ละ 500 บาท (ม.ค.-มี.ค. 64)
  • Valuation ไม่แพง โดยปัจจุบันเทรด PER 64F ที่ 4x จากค่าเฉลี่ยกลุ่ม 29x ซึ่งมองว่ายังไม่ได้สะท้อนถึงกำไรที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น บวกกับ มีฐานะการเงินแกร่ง ไม่มีหนี้ที่มีดอกเบี้ยจ่ายเลย และเราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 64 อยู่ที่หุ้นละ 4.20-4.70 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 23-26x) ยังมี Upside น่าสนใจ 14-27% อีกทั้งคาดให้ Div. Yield ปีละ 2% จึงแนะนำ” ซื้อ”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด