Wealth Stock Note

04/12/2023 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการ 4Q66 รวมถึงปี 2567 และภาพรวมของการฟื้นตัวในอุตสาหกรรม

หลังไปได้อะไร

  • คาด ONEE จะรายงานกำไรสุทธิใน 4Q66 ที่ 145 ล้านบาท ลดลง 9% QoQ แต่เติบโต 3.3% YoY. โดยในส่วนของรายได้ธุรกิจโฆษณา TV (~42% ของรายได้รวม) คาดว่าแนวโน้มรายได้จะลดลงเล็กน้อย QoQ เนื่องจากในช่วงตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงสิ้นปีจะถือว่าเป็นช่วง Low season ของธุรกิจนี้ สำหรับธุรกิจบริหารศิลปิน อีเว้นท์ และคอนเสิร์ต (~30% ของรายได้รวม) คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 3Q66 เช่นกัน สำหรับธุรกิจบริหารลิขสิทธิ์ (~15% ของรายได้รวม) คาดว่าจะทรงตัว QoQ เช่นกัน ทำให้ภาพรวมรายได้ 4Q66 คาดว่าจะเห็นการปรับตัวลดลงเล็กน้อยรวมถึงในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นเช่นกันเนื่องจากธุรกิจโฆษณา TV คาดว่าจะมีรายได้ที่ลดลง QoQ และธุรกิจนี้มีอัตรากำไรที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับ 4Q66 เราคาดว่าบริษัทจะไม่มีการกลับรายการภาษีในไตรมาสนี้ ต่างจาก 4Q65 ที่บริษัทบันทึกภาษีเป็นบวกที่ 37 ล้านบาท
  • เป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2567 บริษัทคาดว่าจะเติบโตที่ระดับ 5-8% โดยบริษัทพยายามที่จะประคองในส่วนของรายได้ธุรกิจ TV ให้ทรงตัว YoY ให้ได้และไปเติบโตในส่วนของธุรกิจอื่นๆ ที่ยังมีโอกาสในการเติบโตสูง เช่น ธุรกิจบริหารศิลปิน อีเว้นท์ และคอนเสิร์ต

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 9M66 คิดเป็น 60% ของทั้งปีที่เราทำไว้ก่อนหน้านี้ ประกอบกับมุมมองที่คาดว่าผลประกอบการใน 4Q66 น่าจะเห็นการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ทำให้เรามีการปรับประมาณการกำไรปี 2566 ลง 5% อยู่ที่ 475 ล้านบาท ลดลง 35.7% YoY และปี 2567 ลง 13.7% อยู่ที่ 563 ล้านบาท เติบโต 18.6% YoY ภายหลังที่เรามีการปรับประมาณการในส่วนของภาษีที่คาดว่า 4Q66 จะไม่มีการกลับรายการภาษีและรายได้อื่นๆ
  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่มีการปรับราคาเป้าหมายลงอยู่ที่ 2 บาทต่อหุ้นจาก (5.6-6.3 บาท) โดยอิง 21.8x PE ปี 2567 หรือ -1SD โดยเรามองว่าผลประกอบการของ ONEE ได้ผ่านจุดต่ำสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2566 และคาดกลับมาฟื้นตัวได้ในปี 2567 ประเด็นเรื่องความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรม TV ที่ชะลอตัวลง แต่เรามองว่า ONEE ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความพึ่งพิงธุรกิจนี้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันธุรกิจ TV เหลือสัดส่วนรายได้เพียง ~42% จาก ~79% ในปี 2019 และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากว่า 5% YTD โดยราคาปัจจุบันซื้อขายที่ 18.5x PE (-1.5SD) ปี 2566 และ 15.4x PE (-2SD) ปี 2567 ถือว่ามี Downside ที่จำกัด
  • ความเสี่ยงคือ การฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV ที่ยังอ่อนแอ
30/11/2023 AMATA ก่อนไปคิดอะไร
  • ด้วยศักยภาพและความแข็งแกร่งของ Strategic Location ของประเทศไทยและการย้ายรวมถึงการขยายการผลิตจากต่างประเทศทั้งจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น ทำให้เราคาดว่าการขายที่ดินของ 4Q66 มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง และจะหนุนให้เป้าการขายที่ดินในปีนี้เติบโตโดดเด่น สำหรับประเทศเวียดนามคาดยอดการขายที่ดินมีโอกาสชะลอตัวทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจและความชัดเจนของกฎเกณฑ์ต่างๆ

หลังไปได้อะไร

  • AMATA คาดว่าจะทำยอดขายที่ดินในปี 2566 ได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1,500 ไร่ จากที่ 9M66 มียอดขายแล้ว 1,203 ไร่ (178 ไร่จากเวียดนามและ 1,025 ไร่จากในประเทศไทย) โดยใน 4Q66 คาดจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 500 ไร่จากกลุ่มนักลงทุนชาวจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นหลักในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ และชิ้นส่วน Electronic (PCB Related) ดังนั้นคาดว่ายอดขายที่ดินในปี 2566 จะทำได้ไม่ต่ำกว่า 1,700 ไร่และมีโอกาสสูงถึง 2,000 ไร่ สำหรับยอดขายที่ดินจากนิคมฯ ใหม่ในประเทศ สปป. ลาว คาดจะเริ่มในปี 2567

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • Backlog ในมือแข็งแกร่งมากถึง 10,650 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสที่ผ่านมากว่า 4 พันล้านบาท โดยเป็นยอดจากในประเทศไทยประมาณ 8,800 ล้านบาทและส่วนที่เหลือมาจากนิคมในประเทศเวียดนาม ดังนั้นเราคาดรายได้รวมของปี 2566 ที่ 9,075 ล้านบาทเติบโต 40% YoY และกำไรสุทธิที่ 1,897 ล้านบาท (-19% YoY) โดยหากลบรายการกำไรจากการขายโรงงานในประเทศเวียดนามในปี 2565 ที่ 1,360 ล้านบาท Core Profit เติบโต 110% YoY โดยคาดว่าผลประกอบการ 4Q66 จะดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ จากการโอนที่ดินที่สูงขึ้นและในกรณีที่ดีที่สุดจะมีบันทึกกำไรจากการขายโรงงานในเวียดนามอีก 2 แห่งเข้ามา
  • เรามองว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่ม EV และ Supply Chain รวมถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วน Electronic และ Semiconductor ที่ยังมีอุปสงค์ต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจะหนุนการขายที่ดินของ AMATA ด้วยแรงหนุนของ Location ที่ดีและสาธารณูปโภคที่รองรับได้ แม้ยอดขายที่ดินในปี 2566 จะเติบโตสูงและมีโอกาสเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่เราคาดว่าในปี 2567 จะยังเติบโตได้ต่อจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม การเติบโตของพื้นที่ EEC และยอดขายที่เริ่มเข้ามาจากนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ใน สปป.ลาว
  • ความเสี่ยง : ทิศทางเศรษฐกิจโลก ต้นทุนพลังงานที่ผันผวน และติดตามโอกาสและความเสี่ยงของการย้ายฐานการผลิตของบางอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ฐาน PER ที่ 12 เท่าซึ่งเท่ากับ PE เฉลี่ยในรอบ 6 ปีของ AMATA ได้ราคาเป้าหมาย 29.10 บาทต่อหุ้น คงคำแนะนำ ซื้อ
29/11/2023 XPG ก่อนไปคิดอะไร
  • จากผลประกอบการ 3Q66 ที่มีกำไรสุทธิ 38 ล้านบาทอ่อนตัวเล็กน้อย QoQ แต่ดีกว่า 2Q65 ที่ขาดทุน เราประเมินว่าด้วยทิศทางเศรษฐกิจที่อ่อนตัวและทิศทางดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของ XPG ใน 4Q66 ทั้งในส่วนของการปล่อยเชื่อและการประมูลหนี้ในกลุ่ม AMC และจะหนุนให้ผลประกอบการ 4Q66 เติบโตได้ต่อเนื่อง

หลังไปได้อะไร

  • XPG ยังมีมุมมองเป็นบวกต่อผลประกอบการ 4Q66 โดยจะได้ปัจจัยหนุนหลักจาก XSpring Capital ด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมที่คาดว่ายังเติบโตได้ดีจาก Private Equity Fund ซึ่งเป็น JV ที่ปัจจุบันร่วมกับ SIRI ด้วยมูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 5,000 ล้านบาท ขณะทีรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ XSpring Asset Management คาดว่าใน 4Q66 จะมีการประมูลหนี้เพิ่มเติมและทำให้ portfolio จะเท่ากับ 3,900 ล้านบาทสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 2,000 ล้านบาท ด้าน ICO Portal มี 3 ดีลที่อยู่ระหว่างการจัดตั้งคาดใช้เวลาจากนี้ไปอีกประมาณ 6 เดือนเพื่อรอความชัดเจนเรื่องการลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา รวมมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทอยู่ในกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ การเงินและสาธารณูปโภค

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • XPG รายงานผลประกอบการ 3Q66 ที่กำไรสุทธิ 38 ล้านบาท ดีขึ้นหากเปรียบเทียบกับ 2Q65 ที่ขาดทุน 94 ล้าบาทแต่อ่อนตัวลง 8% QoQ โดยรายได้ส่วนของค่าธรรมเนียมและบริการปรับขึ้นทำจุดสูงสุดที่ 21 ล้านบาทจากทั้งส่วนหนุนของกองทุนและวอลลุ่มเทรด ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 167 ล้านบาทจากการให้เงินสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายธุรกิจ ส่วนแบ่งจาก KTX เท่ากับ 20 ล้านบาท ลดลง YoY แต่ดีขึ้น QoQ โดยรวม 9M66 XPG มีกำไรสุทธิที่ 68 ล้านบาทดีขึ้นจาก 9M65 ที่ขาดทุน 131 ล้านบาท ด้วยแรงหนุนของรายได้ที่เติบโตดีขึ้นจากการให้สินเชื่อ และค่าธรรมเนียมของธุรกิจกองทุนและสินทรัพย์ดิจิทัล แต่กดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและส่วนแบ่งจาก KTX ที่น้อยลง
  • เราคงมุมมองบวกต่อทิศทางผลประกอบการของ XPG ในปี 2566 คาดกำไรที่ 113 ล้านบาท โดยตั้งเป้าส่วนแบ่งกำไรจาก KTX ที่ 91 ล้านบาท ดีขึ้นจากปีก่อนที่ขาดทุน 171 ล้านบาท มุมมอง 4Q66 เราคาดว่ารายได้จากดอกเบี้ยและสินเชื่อยังอยู่ในขาขึ้นและมีโอกาสที่จะเติบโตต่อเนื่องไปถึงปี 2567 จากสภาพคล่องของอุตสาหกรรมที่ลดลงและ cost of Debt ที่สูงขึ้น ขณะที่ AMC จากมูลหนี้ที่สูงขึ้น portfolio ที่ใหญ่ขึ้น และโอกาสเติบโตในอนาคตเรามองว่า XPG มีจุดแข็งในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ สำหรับ ICO portal และการทำ Tokenization เรามองเป็นโอกาสในปี 2567 เนื่องจากรอความชัดเจนของข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่างๆ
  • ความเสี่ยง : ข้อกำหนด บทกฎหมาย ของ Digital Asset ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต โอกาสการตั้งสำรองหนี้หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2567 ที่20-3.10 ต่อหุ้น โดยใช้วิธี Valuation ด้วย PBV ที่ 2-2.8 เท่า โดยเรามองว่า XPG ยังคงเป็นตัวแทนที่ดีของการทำธุรกิจ S Curve บน Digital Asset แม้ที่ผ่านมาจะเผชิญความล่าช้าและการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์แต่คาดจะชัดเจนและเริ่มมีสัดส่วนรายได้ที่สูงขึ้นในปี 2567 ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อและการลงทุนเรามองเป็นธุรกิจ traditional ที่ยังคงเป็น cash cow ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า คงคำแนะนำ ซื้อ
22/11/2023 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • 4Q66 ผลดำเนินงานมีแนวโน้มอย่างไร หลัง 3Q66 WICE มีกำไรสุทธิ 32 ลบ. หดตัว 75%YoY ซึ่งมีสาเหตุจาก 1) รายได้รวมลดลง 43%YoY โดยแม้จะมีการเติบโตของรายได้ธุรกิจ Supply Chain Solutions (+39%YoY) หลังเปิดพื้นที่คลังสินค้าเพิ่ม 3 หมื่นตร.ม. แต่ถูถหักล้างด้วยการลดลงของรายได้ธุรกิจ Sea freight (-64%YoY), ธุรกิจ Air freight (-39%YoY) และธุรกิจขนส่งบกข้ามแดน CBS (-28%YoY) หลังมีปริมาณและค่าขนส่งที่ลดลง อีกทั้งอัตรากำไรข้นต้นลดลง YoY จากเกิดผลประหยัดต่อขนาดลดลงตามรายได้ที่ลดลง

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร WICE คาด 4Q66 ปริมาณขนส่งจะดีขึ้นเล็กน้อย QoQ หลังประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีนยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว อย่างไรก็ดีบริษัทยังมีแผนขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อขยายปริมาณขนส่ง เพิ่มกำลังบริการ และขยายงานด้านบริหารคลังสินค้าต่อเนื่อง โดยมีแผนเปิดพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มอีก 3.5 หมื่นตร.ม. ในปี 2567
  • ปี 2567 บริษัทคาดจะเห็นการฟื้นตัวของธุรกิจ Sea Freight จากจีนที่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึง China Relocation ตามการย้ายฐานการผลิตสู่ไทย โดยคาดจะเห็นการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เดือนละ 1,000 ตู้ ส่วนธุรกิจ Air Freight คาดจะได้เห็นการขยายตลาดสู่เวียดนามและฟิลิปปินส์ รวมทั้งการฟื้นตัวของตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีนมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจ CBS จะเดินหน้าขยายเครือข่ายและมีแผนนำ EV TRUCK มาช่วยขนส่งแทนรถยนต์สันดาปเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หลังลูกค้าหลายรายของบริษัทมีนโยบายผลักดันเรื่อง ESG ทั้งนี้ปี 2567 ตั้งงบลงทุนไว้ 200-300 ลบ. ตามกลยุทธ์ light asset strategy

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 9M66 คิดเป็นเพียง 56% ของประมาณการทั้งปีซึ่งต่ำเกินไป บวกกับ 4Q66 คาด WICE จะมีกำไรที่ยังอ่อนตัว YoY จากภาวะเศรษฐกิจโลกและค่าระวางที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดมาก เพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการลงจากเดิมเฉลี่ย 34% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 WICE จะมีกำไรสุทธิ 177 ลบ. หดตัว 68%YoY ก่อนพลิกกลับมาเติบโต 17%YoY ในปี 2567 จากปริมาณขนส่งและค่าระวางที่คาดปรับตัวดีขึ้นหลังผ่านจุดต่ำสุดแล้ว อีกทั้งเศรษฐกิจของลูกค้าหลักจากจีนน่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นได้ใน 2H67
  • เรามองว่า ช่วงสั้น WICE ยังมีโมเมนตัมกำไรที่ไม่ดีนัก โดย 4Q66-2Q67 คาดกำไรจะยังหดตัว YoY อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันไม่มี Upside จากราคาเป้าหมายใหม่ปี 2567 ที่หุ้นละ 5.40 บาท (ประเมินโดยอิง PER 17x ซึ่งคิดเป็น PEG 1 เท่า) กลยุทธ์ลงทุนสำหรับผู้ไม่มีหุ้นจึงยังคงไม่แนะนำเข้าลงทุน (Underperform) จนกว่าจะเห็นการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานที่ชัดเจน
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวางขนส่ง
20/11/2023 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการ 4Q66 คาดยอดขายจะเติบโต QoQ จากปัจจัยด้านฤดูกาล โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคใต้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง YoYและ QoQ ต้นทุนน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นคาดมีผลกระทบจำกัดต่อผลประกอบการปีนี้ แต่จะเริ่มกดดันในปี 2567

หลังไปได้อะไร

  • HTC รายงานกำไรสุทธิของ 3Q66 ที่ 134 ล้านบาทเติบโต 4% YoY แต่ -10.8% QoQ มีรายได้เท่ากับ 1,867 ล้านบาท (+2.8% YoY แต่ลดลง -5.9% QoQ) จากปัจจัยด้านฤดูกาล Gross margin อ่อนตัวลงเท่ากับ 41.3% เปรียบเทียบกับ 42.8% ใน 1Q66 จากต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันแต่ดีกว่า 39% ใน 3Q65 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ยังคงบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกำไรสุทธิของ 9M66 เท่ากับ 484 ล้านบาท (+45.5%) และคิดเป็น 70% ของประมาณการของเรา
  • HTC ยังคงเป้าการเติบโตของรายได้ปี 2566 ที่ 9-11% และเป้า Gross margin ไม่ต่ำกว่า 40%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ใน 9M66 HTC มี Market Share ในกลุ่ม NARTD ที่ 2% ลดลงจากปี 2565 ที่ 25.5% จากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยบริษัทยังคงเป้าหมายปีนี้ที่ 26% จากปัจจัยหนุนของการท่องเที่ยวและฤดูกาลเฉลิมฉลองใน 4Q66 โดยอุตสาหกรรม NARTD ของประเทศไทยใน 9M66 เติบโต 12.8% หนุนด้วยภาคใต้ที่เติบโต 20% และใน 3Q66 HTC ยังคงสัดส่วนการตลาด NARTD ในภาคใต้ที่ 1 ที่สัดส่วน 78.7%
  • เรายังคงมุมมองบวกต่อผลประกอบการ 4Q66 ที่คาดว่าจะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ จากยอดขายช่วงครึ่งไตรมาสที่เห็นสัญญาณเติบโตได้ดี และการปรับขึ้นของราคาน้ำตาลแม้คาดว่าจะส่งผลเชิงลบแต่ประเมินว่าจะมีส่วนหักล้างจากต้นทุนอื่นที่ลดลง เช่น ต้นทุนน้ำมัน ดังนั้นเราคาดรายได้ของปี 2566 ที่ 7,669 ล้านบาท (+9% YoY) ระดับ Gross margin ที่ 5% ดีกว่าปี 2565 ที่ 40% คาดกำไรสุทธิที่ 629 ล้านบาท (+45% YoY)
  • ในปี 2567 เรายังคงมองการเติบโตของยอดขายแบบ Organic Growth ที่ 6% เท่ากับ 8,168 ล้านบาท บนสมมุติฐานของการไม่มีการปรับเพิ่มราคาขายหลังจากที่มีการปรับไปแล้ว 2 ครั้งในปี 2565-2566 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำตาลที่ปรับเพิ่มขึ้นคาดจะส่งผลให้ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น 40-50 ล้านบาท ซึ่ง HTC จะใช้นโยบาบการลดต้นทุนอื่นเพื่อชดเชยและมองการขึ้นราคาใมขายเป็นทางเลือกสุดท้าย และคาดกำไรสุทธิเติบโตต่อเท่ากับ 686 ล้านบาท (+9% YoY)
  • ความเสี่ยงและความกังวล : ต้นทุนวัตถุดิบหลักราคาผันผวน สภาพภูมิอากาศที่อาจจะผลต่ออุปสงค์ สภาพรวมเศรษฐกิจและการฟื้นตัวในปี 2566 สภาวะการแข่งขัน และการปรับเพิ่มขึ้นของแรงงานขั้นต่ำ
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC มีราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 50 บาท/หุ้น อิงจาก PER ที่ 13.75 เท่า (+0.5SD) เราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่มีสินค้าและ Brand ชัดเจน สภาพคล่องทางการเงินแข็งแกร่ง หนี้สินต่ำ จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ
15/11/2023 KLINIQ ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 4Q66 จะเป็นอย่างไร หลัง 3Q66 สร้างสถิติกำไรสุทธิรายไตรมาสนิวไฮ 71 ลบ. เติบโต 59%YoY และ 4%QoQ (ใกล้เคียงเราคาด 74 ลบ.) โดยการเติบโต YoY แรงหนุนจาก 1) ยอดขายรวมที่โต 36.8%YoY หลังมีการทำตลาดและมีบริการใหม่ๆ ทำให้ยอดขายสาขาเดิมโตเด่น 16.4%YoY อีกทั้งยังรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น 12 แห่งจาก 3Q65 และ 2) SG&A/Sales อยู่ที่ 39% ลดลงจาก 42.8% ใน 3Q65 หลังค่าใช้จ่ายของศูนย์ศัลยกรรมและ L.A.B.X ต่ำกว่า The Klinique อีกทั้งเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขามากขึ้น อย่างไรก็ดีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงเป็น 53.8% จาก 55.3% ใน 3Q65 เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์ศัลยกรรมและ L.A.B.X ซึ่งมีมาร์จิ้นต่ำกว่า The Klinique

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทคงเป้ารายได้ปี 2566 ที่ 2.25 พันลบ. เติบโต 20-22%YoY และคาดเติบโตต่อ 20%YoY ในปี 2567 ปัจจัยขับเคลื่อนจาก 1) ยอดขายสาขาเดิมที่คาดโต 10%YoY จากลูกค้าเดิมมีความต้องการดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น การหาลูกค้าใหม่ทั้งไทยและต่างชาติ (อาทิ จีน และ CLMV) รวมทั้งเพิ่มบริการใหม่ๆ และ 2) ยอดขายสาขาใหม่ ซึ่งมีแผนขยายสาขาอีกปีละ 10 แห่ง อย่างไรก็ดี ปีนี้บริษัทมีแผนขยายสาขา 14 แห่ง โดย 9M66 เปิดแล้ว 10 แห่ง และ 4Q66 จะเปิดอีก 4 แห่ง ภายใต้แบรนด์ The Klinique 1 แห่ง และ A.B.X 3 แห่ง โดยตั้งงบลงทุนปีละ 200 ลบ. ทั้งนี้แหล่งเงินทุนจาก CFO ที่ทำได้ปีละ 450 ลบ.และเงิน IPO 1.4 พันลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 9M66 คิดเป็น 72.6% ของประมาณการทั้งปี และ 4Q66 คาดจะสร้างสถิติกำไรสุทธิสูงสุดของปีนี้ โดยยังเติบโตทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากบริษัทมีแผนทำตลาดและเพิ่มบริการใหม่ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการขายในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพและภาพลักษณ์มากขึ้นในทุกเพศทุกวัย คาดจะยังทำให้เห็นการเติบโตที่ดีต่อเนื่องของรายได้ในทุกแบรนด์ทั้ง The Klinique, ศูนย์ศัลยกรรมและ A.B.X ดังนั้นเราจึงคงประมาณการเดิม โดยคาดปี 2566 KLINIQ จะมีกำไรสุทธิ 290 ลบ. (+41%YoY) และเพิ่มเป็น 360 ลบ. (+24%YoY) ในปี 2567 ตามความต้องการดูแลตัวเองของลูกค้าที่มีมากขึ้น การมีบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ได้เพิ่มขึ้น และรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากขยายสาขาเชิงรุก
  • เรายังคงมุมมองบวกต่อ KLINIQ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำคลินิกเวชกรรมด้านผิวหนังความงามของไทย โดยคาดผลการดำเนินงานจะเติบโตได้ดีในระยะยาว หลังความต้องการดูแลสุขภาพและภาพลักษณ์มีมากขึ้น อีกทั้งคาดจะได้อานิสงส์ตลาด Wellness ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และยังมีศักยภาพเติบโตได้ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน เพราะมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มรายได้ระดับกลางถึงบนซึ่งมีกำลังซื้อสูงและเน้นมาตรฐานให้บริการเป็นสำคัญ โดยปี 66-67 คาดกำไรโตเฉลี่ยปีละ 32% อีกทั้งเราประเมินราคาเป้าหมายปี 2567 ด้วยวิธี DCF (อิง WACC ที่ 7.9% และการเติบโตระยะยาวที่ 3%) อยู่ที่หุ้นละ 49 บาท ซึ่งหากคิดเป็น PEG จะอยู่ที่ราว 1 เท่า และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 66 ที่หุ้นละ 1.05 บาท คิดเป็น Yield ปีละ 2.9%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ มีภาวะการแข่งขันในธุรกิจมีสูง, พฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยีรักษาเปลี่ยนแปลงเร็ว, ระยะเวลา Silent period สำหรับกลุ่มก่อตั้งและลงทุนก่อน IPO ที่กำหนดไว้ใน 1 ปีสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 66
14/11/2023 TPAC ก่อนไปคิดอะไร
  • TPAC ประกาศกำไรสุทธิที่ 143 ล้านบาท ใน 3Q66 ซึ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง โดยกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น 4% QoQ และ 82.4% YoY โดยผลการดำเนินงานปรับตัวเพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานจากทั้งประเทศไทย และต่างประเทศ ทั้งนี้ธุรกิจในประเทศไทย (30% ของ EBIT รวม) มีกำไรจากส่วนงานที่ฟื้นตัวถึง 57.9% QoQ จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของรายได้ 9.0% QoQ และ Gross margin ที่เพิ่มขึ้นเป็น 14.1% ใน 3Q66 จาก 9.8% ใน 2Q66 เนื่องจาก ปริมาณการขายเพิ่มรวมถึงการจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากความสำเร็จในการพลิกฟื้นโรงงานบางนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ Gross margin ของโรงงานบางนาปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 20% ใกล้เคียงกับธุรกิจโดยรวมในประเทศไทย ขณะที่ธุรกิจในต่างประเทศ (70% ของ EBIT รวม) ก็มีกำไรจากส่วนงานที่เพิ่มขึ้น 13.6% QoQ แม้ว่าไตรมาสนี้ ภาพรวมของธุรกิจในประเทศอินเดียจะค่อนข้างทรงตัว QoQ เนื่องจากปริมาณความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงจากการที่ฝนตกนอกฤดูกาล ทำให้ปริมาณขาย (ไม่รวมโรงงาน Skypet) ลดลง 7% QoQ แต่ Gross margin โดยรวมมีการปรับตัวสูงขึ้นจากกลยุทธ์การปรับราคา การบริหารจัดการการจัดซื้อ และ Product mix ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจ Skypet ทางตอนใต้ยังคงมี การดำเนินงานที่ค่อนข้างเติบโตโดดเด่น โดยมีปริมาณขายเติบโตประมาณ 12% QoQ และ Gross margin ที่เพิ่มขึ้น จากการบริหารสินค้าคงคลัง ขณะที่ธุรกิจในประเทศ UAE นั้นก็ได้รับผลบวกจากราคาเม็ดพลาสติกที่ถูก แม้ว่าปริมาณขายจะทรงๆ QoQ

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 4Q66 คาดว่าจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง หลังประเทศอินเดียผ่านฤดูฝนมาแล้ว คาดว่าจะเห็นปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นได้ รวมถึง UAE ที่ผ่านที่ low season มาแล้วเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี Upside จากการขยายกำลังการผลิตใน Skypet ที่ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมจะเพิ่มกำลังการผลิต (ประมาณ 50% เมื่อเทียบกำลังการผลิต ณ สิ้นปี 2565) ยังมีแผนเพิ่มลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยส่งผลบวกต่อผลการดำเนินงานตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป
  • เรามองว่า TPAC เป็นอีกหนึ่งหุ้น Small cap น่าจับตาจากการที่เป็นทั้ง Growth stock และ Valuation ที่ยังไม่แพงมาก โดยเราคาดการณ์ผลการดำเนินงานของ TPAC เติบโต 60% YoY ในปี 2566 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลักๆ มาจากการขยายการผลิตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย (47% ของรายได้รวม) ยังเป็น Key growth driver หลัก เนื่องจาก TPAC เป็นผู้ผลิต Rigid PET packaging (ไม่รวมขวดน้ำกับน้ำอัดลม) ส่วนแบ่งตลาดอันดับต้นๆ ในอินเดีย และแนวโน้มตลาดยังเติบโตต่อเนื่อง 7% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า จาก GDP growth ที่สูงประมาณ 6-7% ต่อปี ขณะที่คาดการณ์การใช้พลาสติกของอินเดียจะเพิ่มขึ้น 5.5 เท่า ภายในปี 2060 เมื่อเทียบกับปี 2019 ทั้งนี้ประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก ที่ 1,425.7 ล้านคน ณ เม.ย. 66 แซงหน้าจีนที่อยู่ 1,422.9 ล้านคน รวมถึงก็ยังอยู่ระหว่างพิจารณา M&A ใหม่ๆ โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย โดยเรายังมอง Upside จากต้นทุนพลังงานที่คิดเป็น 5-6% ของต้นทุนรวม ค่าไฟฟ้าที่ลดลงตามนโยบายภาครัฐ นอกจากนี้ยังอยู่หว่างพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้ระบบ Automation มากขึ้น ช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงได้ระดับหนึ่ง
  • TPAC ถือว่าเป็นผู้นำการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ในเอเชีย มีโรงงานผลิตอยู่ในประเทศอินเดีย (9 แห่ง) ประเทศไทย (2 แห่ง) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1 แห่ง) และประเทศมาเลเซีย (2 แห่ง) โดยมุ่งเน้นไปที่การออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติดคงรูปด้วยวัตถุดิบจากโมโนเลเยอร์โพลิเมอร์และกระดาษที่รีไซเคิลได้ ลูกค้าระดับโลก อาทิ Unilever Pepsi Johnson&Johnson Nestle Julie’s Hershey ส่วนลูกค้าเกี่ยวกับบริษัทยา ได้แก่ Pfizer P&G health Abbott Sanofi Roche และลูกค้าในประเทศไทย ได้แก่ Osotspa Mama Mitr Phol Ovaltine Yanhee CP-meiji Dutche Milk Red Bull และ Mega
  • ปัจจุบัน TPAC ซื้อขายที่ระดับ PE 2566F เพียง 3X ซึ่งต่ำค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม (อาทิ PJW และ EPG ที่มี 2023 PE ประมาณ 14.6X และ 15.0X ตามลำดับ) โดยเราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 15 เท่า หรือ -0.5 SD ของ PE mean ในรอบ 5 ปี ได้ราคาเป้าหมาย 23.4 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตามเรามองว่าราคาหุ้นมี free float และสภาพคล่องค่อนข้างน้อย จึงแนะนำทยอยสะสมสำหรับการเติบโตระยะยาว
  • ความเสี่ยง หากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงมากขึ้นอาจจะกระทบต่อกำลังซื้อผลิตภัณฑ์ แต่เชื่อว่าผลกระทบจะจำกัด เนื่องจากบริษัทมุ่งเน้นผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่องกับอาหาร ยา และเวชภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิต อัตราหนี้สินต่อทุนที่สูงขึ้นหากมี M&A ใหม่ๆ และ Free float ที่ต่ำ ~21% จึงมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่น้อย
14/11/2023 NYT ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 4Q66 จะเป็นอย่างไร หลัง 3Q66 NYT มีกำไรสุทธิ 123 ลบ. โต 93%YoY แรงหนุนจาก 1) รายได้ให้บริการท่าเทียบเรือที่เพิ่มขึ้น 20%YoY หลังมีปริมาณรถยนต์ผ่านท่าเพิ่มขึ้นราว 14%YoY สอดคล้องกับยอดส่งออกรถยนต์ของไทยที่เพิ่มขึ้น 14.1%YoY 2) พลิกรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบ.ร่วม (ท่าเรือ C0 ถือ 49%) ราว 13 ลบ. จากขาดทุน 11 ลบ. ใน 3Q65 หลังลูกค้าเริ่มกลับมาส่งสินค้าโครงสร้างขนาดใหญ่ และ 3) มีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 43.7% จาก 38.7% ใน 3Q65 และ SG&A/Sales ลดลงเป็น 9.5% จาก 10.3% ใน 3Q65 หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดตามปริมาณรถยนต์ผ่านท่าที่เพิ่มขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • NYT คาด 4Q66 รายได้จากให้บริการท่าเทียบเรือจะอ่อนตัวลง YoY เนื่องจาก 4Q65 มีฐานยอดส่งออกรถยนต์ที่สูงจาก Pent Up Demand และปัญหาชิปขาดแคลนคลี่คลาย ส่วนรายได้คลังสินค้าคาดเติบโต 2-3%YoY หลังพื้นที่เช่าเดิม 2.7 แสนตร.ม. มีอัตราใช้พื้นที่คลังสินค้าเกือบเต็ม 100% ขณะที่พื้นที่เช่าใหม่ที่บ่อวิน 3.4 หมื่นตร.ม. ปัจจุบันมีอัตราเช่าเพิ่มขึ้นเป็น 30% จาก 25% ใน 3Q66 และคาดจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตในแถบ EEC
  • ด้านธุรกิจเรือซีฮอร์สเฟอร์รี่ได้หยุดดำเนินงานชั่วคราวตั้งแต่ มิ.ย. ถึงปัจจุบัน หลังเข้าสู่ช่วงบำรุงรักษาและยังเป็น Low Season ของการท่องเที่ยวในเกาะสมุย (เข้าสู่หน้ามรสุม) โดยบริษัทคาดเรือซีฮอร์สจะกลับมาดำเนินงานอีกครั้งหลังหมดฤดูมรสุมในช่วงต้นปีหน้า ทั้งนี้ 9M66 NYT รับรู้ผลขาดทุนจากเรือ (ถือหุ้น 50%) ไปแล้วราว 41 ลบ. (1Q-2Q66 ขาดทุนไตรมาสละ 15 ลบ., 3Q66 ขาดทุน 11 ลบ. และ 4Q66 คาดรับรู้ขาดทุน 11 ลบ.) ทำให้ปีนี้คาดรับรู้ผลขาดทุน 52 ลบ. สูงกว่าปี 2565 ที่รับรู้ผลขาดทุน 44 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไร 9M66 คิดเป็น 94% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป เนื่องจากรายได้รวมฟื้นตัวดีกว่าคาดและเกิดผลประหยัดต่อขนาดมากกว่าคาด ขณะที่ 4Q66 แม้คาดกำไรจะอ่อนตัว QoQ แต่จะยังเติบโต YoY เนื่องจากคาดรายได้ให้บริการท่าเทียบเรือที่ชะลอตัวลงจากฐานปีก่อนที่สูง จะถูกชดเชยได้ด้วยการเติบโตของรายได้ให้บริการคลังสินค้า เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไร โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 NYT มีกำไรสุทธิ 436 ลบ. เติบโตเด่น 73.7%YoY และโตต่อ 4.7%YoY ในปี 2567 ตามการเติบโตของยอดส่งออกและนำเข้ารถยนต์ อีกทั้งแนวโน้มการเกิดผลประหยัดต่อขนาดเพิ่มขึ้น
  • เรายังคงมุมมองบวกต่อ NYT ซึ่งเป็นผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อส่งออกและนำเข้ารถยนต์ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จากการให้บริการท่าเทียบเรือ A5 และ C0 ทั้งนี้เรามอง NYT มีจุดเด่น 1) ผลการดำเนินงานได้อานิสงส์บวกโดยตรง จากการเติบโตที่ดีของตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยและตลาดนำเข้ารถยนต์ EV และ 2) เป็น Dividend Stock โดยมีฐานะการเงินและกระแสเงินสดแข็งแกร่ง สามารถจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอในอัตราสูง โดยคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.28 บาท คิดเป็น Yield ปีนี้ราวละ 7.4% ขณะที่เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 4.80 บาท (อิง PER -1SD ที่ 13x จากค่าเฉลี่ยย้อนหลังล่าสุด 5 ปี) กลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ “ซื้อ” เทคนิคมีแนวรับที่ 3.76/3.68
  • ความเสี่ยงสำคัญ : ปัญหาขาดแคลนชิปส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน, ศก. คู่ค้าชะลอ, กระแสตอบรับในธุรกิจเรือซีฮอร์สเฟอร์รี่ ขณะที่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคาดผลกระทบจำกัด เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีทักษะที่ได้ค่าแรงสูงกว่าขั้นต่ำอยู่แล้ว
14/11/2023 HANA ก่อนไปคิดอะไร
  • HANA ประกาศกำไรสุทธิ ใน 3Q66 ที่ 734 ล้านบาท มากกว่าที่ตลาดคาด 14% โดยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5% QoQ และ 76.2% YoY เนื่องจากมี Net extraordinary item 56 ล้านบาทใน 3Q66 (กำไรจากตราสารอนุพันธ์ 185 ล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 125 ล้านบาท) เทียบ Extraordinary items 107 ล้านบาท ใน 2Q66 (ขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ 218 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 104 ล้านบาท)
  • หากตัดรายการพิเศษออกไป HANA รายงานกำไรปกติอยู่ที่ 678 ล้านบาท ใน 3Q66 ลดลง 7% QoQ และ 17.1% YoY โดยกำไรปกติที่ลดลง QoQ หลักๆ เกิดจากยอดขายที่ลดลงเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทั้ง PCBA และ IC ขณะที่ Gross margin โดยรวมฟื้นขึ้นมาได้อยู่ที่ 15.7% ใน 3Q66 จาก 15.0% ใน 2Q66 โดยเฉพาะ Margin ของธุรกิจ IC าจากต้นทุนค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Material) ในการผลิตที่ลดลง
  • ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 5 บาทต่อหุ้น สำหรับงวด 9M66 คิดเป็น 24.6% Dividend payout ratio หรือ imply 1.3% annualized yield (XD date: 28 พฤศจิกายน)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 9M66 คิดเป็น 75% ของกำไรสุทธิทั้งปี 2566 ของเรา โดยเราคาดแนวโน้มผลการดำเนินงานใน 4Q66 จะทรงตัว QoQ แม้ว่าจำนวนวันทำงานของไตรมาสที่ 4 จะมีน้อยกว่าจากช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่ค่อนข้างมาก แต่เรายังเชื่อว่าปริมาณความต้องการของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ฟื้นตัวทั้งจาก Smartphone ที่เป็นช่วงการออก Product ใหม่ๆ นอกจากนี้คาดว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ลดลง หลังรัฐบาลประกกาศลดค่า Ft งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 ที่ลดลง 25 สต ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าลดลงประมาณ 6% เหลือ 4.45 บาทต่อหน่วย ส่งผลบวกต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าของ HANA ซึ่งมีสัดส่วนต้นทุนค่าไฟฟ้า คิดเป็น 4-5% ของรายได้รวม
  • HANA ยัง focus ผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่าง RFID tag product ซึ่ง HANA เป็นหนึ่งใน 7 บริษัทที่ผ่านคุณสมบัติเพื่อเป็น key suppliers ให้กับ Walmart (+10b units) Dick’s (2b units) Dillar’s (1b units) และ Nordstroms (0.5b units) แล้ว ซึ่งถือว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับ ร้านค้าต่างๆในอนาคต จึงมีแนวโน้มเติบโตสูง โดย margin คาดว่าจะค่อนข้างต่ำกว่า IC packaging แต่จะได้ volume ที่เยอะกว่า ส่วน PMS (Silicon Carbide MOSFET) demand ยังค่อนข้าง strong โดยคาดว่ารายได้จะอยู่ 45-48 ล้านเหรียญฯในปี 2024 90-94 ล้านเหรียญฯ ในปี 2525 และมากกว่า 110 ล้านเหรียญฯ ในปี 2026 ซึ่ง HANA คาดว่า EBITDA break even ได้ในช่วงปลายปี 2024 หรือไม่ก็ต้นปี 2025 โดย SiC equipment lead time อยู่ระหว่าง 12-18 เดือน ทั้งนี้ HANA หลังประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนได้เงินทุนมาประมาณ 6 พันล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจ Silicon Carbide ที่กำลังทยอยเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้ได้ Economy of scale ได้หลังจากนี้
  • เรายังคงแนะนำ Outperform ที่ Target price ปี 2567 ที่ 66 บาท อิง 5 ปี PE mean ที่ 19 เท่า โดยเรายังคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานจะทยอยปรับตัวสูงขึ้น หลังมีการเร่งลงทุนธุรกิจใหม่อย่าง Silicon Carbide และการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อของผลิตภัณฑ์ RFID tag
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น สินค้าคงคลังชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ระดับสูง อาจจะทำให้ปริมาณความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลงได้ และความผันผวนของค่าเงินบาท โดยเฉพาะหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว จะทำให้บริษัทมีอัตรากำไรที่ลดลงได้
13/11/2023 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลดำเนินงาน 4Q66 เป็นอย่างไร หลัง 3Q66 AU มีกำไรสุทธิ 54 ลบ. เติบโต 60.4%YoY และ 24.8%QoQ ดีกว่าตลาดคาด แรงหนุนจาก 1) ยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 37.4%YoY และ 1%QoQ จากยอดขายสาขาเดิมโต 23%YoY และ 12%QoQ หลังมีลูกค้ามาทานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะต่างชาติ (ยอดขายจากต่างชาติราว 25% ของยอดขายรวม) อีกทั้งรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่ม 15 สาขา จาก 3Q65 และ 4 สาขา จาก 2Q66 และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ ที่ 66.0% ดีขึ้นจาก 64.8% ใน 3Q65 และ 64.3% ใน 2Q66 ส่วน SG&A/Sales อยู่ที่ 46.5% ลดลงจาก 47.7% ใน 3Q65 และ 47.0% ใน 2Q66 จากมีสัดส่วนลูกค้านั่งทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นสูง) และยังเกิดผลประหยัดต่อขนาดหลังยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้นมาก

หลังไปได้อะไร

  • AU เผยยังมุ่งเน้นขยายสาขาตามเป้าหมาย โดย 4Q66 คาดเปิดร้านขนม After You 2 สาขาซึ่งอยู่ในพื้นที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งมีแผนกลับมาเปิดสาขาบางนาและบางกะปิที่รีโวเนทเสร็จอีกครั้ง ขณะเดียวกันบริษัทยังมองหาโอกาสเติบโตในต่างประเทศนอกจากฮ่องกง โดยมีแผนจะเปิดแฟรนไชส์ร้านขนมหวาน After You ในประเทศกลุ่ม CLMV ใน 2Q67 อีกทั้งยังอยู่ระหว่างศึกษาแผนเปิดแฟรนไชส์ในตะวันออกกลางเพิ่มอีกด้วย ซึ่งคาดจะช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างการเติบโตในระยะยาว

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 9M66 คิดเป็น 69% ของประมาณการทั้งปี และเรายังคงประมาณการเดิม โดย 4Q66 คาดจะสร้างสถิติกำไรสูงสุดของปีนี้ ซึ่งจะมีการเติบโตทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจากเข้าสู่ช่วงที่มีหลายเทศกาลรื่นเริงสำคัญ และยังเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยจำนวนมาก ซึ่งคาดช่วยหนุนยอดขายสาขาเดิมยังเติบโตเป็นบวก อีกทั้งจะรับรู้ยอดขายจากขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดดีขึ้นต่อเนื่อง หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาจำนวนมากและมีลูกค้าทานที่ร้านมากขึ้น หนุนให้ปี 2566 คงคาด AU มีกำไรสุทธิ 190 ลบ. เติบโต 60%YoY และเพิ่มสู่ 237 ลบ. โต 24%YoY ในปี 2567
  • ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นไทยที่ผันผวนสูงและปรับตัวลงมาตั้งแต่ต้นปี ทำให้ราคาหุ้น AU ปรับลง 7%YTD ซึ่งสวนทางกำไรที่เติบโตดีต่อเนื่องทุกไตรมาส อย่างไรก็ดี ในเชิงพื้นฐาน เรายังคงมีมุมมองบวกต่อ AU จากกำไรที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ “ซื้อ” โดยประเมินราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 13 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7.2% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 3.0%) และคาดให้ Div. Yield ปี 2566 ราว 2.5%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น, ส่วนราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นคาดกระทบจำกัด หลังมีต้นทุนน้ำตาลคิดเป็นราว 1% ของต้นทุนผลิต
10/11/2023 III ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 4Q66 จะเป็นอย่างไร หลัง 3Q66 III มีกำไรสุทธิ 160 ลบ. เติบโต 9.6%YoY โดยแม้รายได้รวมลดลง 46.5%YoY จากมีปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทำให้ไม่ได้รับรู้รายได้ของ TAC หลังขายให้แก่ ANI ปลายปีก่อน อีกทั้งค่าระวางยังลดลงต่อเนื่อง ทำให้รายได้จาก Air freight (-55%YoY), Chemical (-41%YoY), Logistics (-35%YoY) และ Sea freight (-35%YoY) แต่ยังชดเชยได้ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นเป็น 26.2% จาก 24.0% ใน 3Q65 หลังธุรกิจ Air freight มีมาร์จิ้นดีขึ้นจากมีปริมาณให้บริการขนส่งสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีส่วนแบ่งกำไรฯ ที่เพิ่มขึ้น 89%YoY จาก ANI ซึ่งตั้งแต่ต้นปีนี้รับรู้ ASIA GSA (M) 100% จากเดิม 20% และ AOTGA (ถือผ่าน SAL) ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ฟื้นตัวดีขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร III มองว่า 4Q66 ปริมาณขนส่งสินค้าและค่าระวางทั้งทางเรือและทางอากาศจะปรับตัวดีขึ้น QoQ เพราะเข้าสู่ High Season ของการขนส่ง โดยเฉพาะเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างจีนและสหรัฐ เนื่องจากผู้ส่งออกจีนต้องการเร่งขนส่งสินค้าหลังสหรัฐขยายเวลายกเว้นภาษีให้แก่สินค้าจีนบางประเภทจนถึงสิ้นปีนี้ ส่วนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากเข้าสู่ High Season เช่นกัน คาดจะช่วยหนุนธุรกิจให้บริการภาคพื้นดินในสนามบิน (AOTGA) ให้มีโมเมนตัมผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่อง
  • ความคืบหน้าของการเสนอขาย IPO ของ ANI (ถือ 51.66%) ซึ่งดำเนินธุรกิจตัวแทนขายระวางสินค้าสายการบินในภูมิภาค คาดจะเสนอขาย IPO และเริ่มซื้อขายได้ภายใน ธ.ค. 66 (ผู้ถือหุ้น III ไม่มีสิทธิรับจัดสรรหุ้น IPO ของ ANI) ส่วนการประมูลงานของ AOTGA สำหรับให้บริการภาคพื้นดิน (สำหรับบุคคลที่ 3) ที่สนามบินสุวรรณภูมิคาดจะได้ข้อสรุปในปี 2567

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรปกติ 9M66 คิดเป็น 73% ของประมาณการทั้งปี และ 4Q66 คาดกำไรปกติจะดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY จากเข้าสู่ฤดูกาลขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งคาดจะทำให้ปริมาณขนส่งสินค้าและค่าระวางปรับตัวดีขึ้น ดังนั้นเราจึงคงคาดปี 2566 III มีกำไรปกติ 650 ลบ. เติบโต 18%YoY (แต่กำไรสุทธิจะลดลง 3%YoY จากปี 2565 มีรายการพิเศษสุทธิ 245 ลบ.)
  • แม้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 12.00-12.80 บาท (อิง PER -1SD ที่ 14-15x จากค่าเฉลี่ยย้อนหลังล่าสุด 3 ปี) ยังมี Upside 10-16% และคาดราคาหุ้นมี Downside จำกัดหลังปัจจุบัน III เพิ่งซื้อหุ้นคืนไป 1 ล้านหุ้น (0.75% ของหุ้นชำระแล้ว) มูลค่ารวม 72.7 ลบ. ยังต่ำกว่าที่บอร์ดฯ อนุมัติซื้อหุ้นคืน 300 ลบ. ไม่เกิน 25 ล้านหุ้น (3.10% ของหุ้นชำระแล้ว) ซึ่งมีผลตั้งแต่ 15 ส.ค. 66-14 ก.พ. 67 แต่ในช่วงสั้นมองราคาหุ้นยังขาดปัจจัยกระตุ้น ขณะที่ปี 2567 คาดกำไรโตเพียง 6%YoY และมีความเสี่ยงที่ต้องตามจากเศรษฐกิจโลกถดถอย กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” โดยเทคนิคมีแนวรับ 10.70/10.30
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก, ความผันผวนของค่าระวาง, ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน
09/11/2023 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 4Q66 จะเป็นยังไง หลัง 3Q66 TNP มีกำไรสุทธิ 34 ลบ. ต่ำกว่าคาด โดยหดตัว 11%QoQ ตามผลฤดูกาล และหดตัว 9%YoY โดยแม้ 3Q66 จะมีการรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4 แห่ง (ไตรมาสนี้มีเปิดสาขาเพิ่ม 1 แห่ง) แต่ถูกหักล้างบางส่วนด้วยยอดขายสาขาเดิมที่หดตัว 2.4%YoY หลังมีฐานสูงปีก่อนจากมาตรการคนละครึ่งเฟส 5 (ใช้จ่ายได้คนละไม่เกิน 800 บาทช่วง 1 ก.ย.-31 ต.ค. 65) จึงทำให้ยอดขายรวมเพิ่มขึ้นเพียง 4.8%YoY อีกทั้งยังถูกกดดันจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเป็น 16.3% จาก 16.9% ใน 3Q65 เพราะบริษัทไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาขายสินค้าได้ทันที

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร TNP คาด 4Q66 ยอดขายจะปรับตัวดีขึ้น QoQ เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High Season ของการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวเริ่มกลับมาดีขึ้นหลังรัฐบาลเปิดฟรีวีซ่าให้นักท่องเที่ยวชาวจีน อย่างไรก็ดี บริษัทมีการปรับลดแผนขยายสาขาปีนี้เหลือ 4 แห่ง จากต้นปีที่ตั้งไว้ 5 แห่ง โดยใน 9M66 เปิดสาขาใหม่ไปแล้ว 2 แห่ง และจะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่งใน 4Q66 (คาดเปิดช่วง ธ.ค 66 ซึ่งเป็นสาขาที่มีขนาด 1,000 ตร.ม. ใกล้แหล่งท่องเที่ยว 1 แห่ง และสาขาขนาด 300 ตร.ม. อีก 1 แห่ง) ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มีสาขารวม 46 แห่ง เพิ่มจากปีก่อนที่มี 42 แห่ง
  • ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ แจกเงินดิจิทัล คาดจะเห็นเป็นรูปธรรมใน 2H67 โดยมองจะส่งผลดีต่อบริษัทโดยตรง ทั้งนี้ TNP มีสาขากระจายครอบคลุมภาคเหนือตอนบน ซึ่งคาดลูกค้าจะสะดวกและสามารถเข้ามาใช้เงินดิจิทัลได้ในทุกสาขา

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้เราคาด 4Q66 TNP จะมีกำไรที่ดีสุดของปีนี้ โดยเติบโต QoQ ตามผลฤดูกาล แต่จะยังทรงตัว YoY จากฐานยอดขายปีก่อนที่ยังสูงเพราะเดือน ต.ค. 65 ยังได้อานิสงส์บวกจากคนละครึ่งเฟส 5 ซึ่งเมื่อบวกกับ กำไรสุทธิ 9M66 คิดเป็น 65% ของประมาณการทั้งปีซึ่งต่ำเกินไป เนื่องจากศักยภาพกำไรอ่อนแอ่กว่าคาดหลังไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนสินค้าได้ทันที จึงทำให้เราปรับลดประมาณการกำไร โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 TNP จะมีกำไรสุทธิ 149 ลบ. ทรงตัว YoY แต่จะพลิกเติบโต 6%YoY ในปี 2567 จากกำลังซื้อที่ดีขึ้นและการรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่มีแผนเปิดต่อเนื่องราวปีละ 4-5 แห่ง
  • เรามอง TNP เป็นหุ้นที่ได้อานิสงส์บวกโดยตรงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่กำลังทยอยออกมา ซึ่งคาดจะช่วยหนุนการเติบโตของผลการดำเนินงานและเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นให้ปรับตัวดีขึ้นได้ในระยะถัดไป (ในประมาณการของเรายังไม่รวม Upside จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ) เมื่อบวกกับ การมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยสิ้น 3Q66 ไม่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายและมีฐานะเงินสดสุทธิราว 69 ลบ. อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside น่าสนใจจากกรอบราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 20-4.60 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 21-23x เช่นเดิม) กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
09/11/2023 KCE ก่อนไปคิดอะไร
  • KCE ประกาศกำไรสุทธิ 3Q23 ที่ 520 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% QoQ แต่ยังลดลง 20.7% YoY มากกว่าตลาดคาด 13% โดยกำไรสุทธิปรับตัวสูงขึ้น QoQ เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้าเริ่มดีขึ้น เห็นได้จากการสั่งของเข้าสต็อคมากขึ้น รวมถึงผลของเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว โดยปริมาณขายเพิ่มขึ้นเกือบทุกภูมิภาคทั้งยุโรป (+14.4% QoQ) ไทย (+36.4% QoQ) จีน (+10.3% QoQ) และเอเชีย (+7.8% QoQ) ส่วนปริมาณขายใน US ลดลงเล็กน้อย 2.7%QoQ นอกจากนี้ต้นทุนโดยรวมก็มีการปรับตัวลดลง ทั่งราคาวัตถุดิบหลักอย่างทองแดง ค่าไฟฟ้าที่ปรับลดลงตามราคาก๊าซธรรมชาติ และค่าเงินบาทที่อ่อนค่า โดยรวมทำให้ Gross margin สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้เป็น 22% ใน 3Q23 จาก 19% ใน 2Q2

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร KCE ยังคงมองว่ายอดขายรวมจะดีขึ้นต่อเนื่องใน 4Q66 แม้ว่าจะเป็น Low season แต่ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง โดยเฉพาะ High Density Interconnect (HDI) ที่มี Backlog ใน 4Q23 ขณะที่ผลกระทบจากการ Strike ของ UAW ได้สะท้อนไปแล้วตั้งแต่เดือนก.ย. ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3-4% QoQ ใน 4Q66
  • ขณะที่คาดว่าปีหน้าคาดว่าจะกลับมาเติบโตประมาณ +/-10% YoY จากแนวโน้มความต้องการแผงวงจรสำหรับรถยนต์ที่กลับมา แม้ว่าทาง KCE กำลังเจรจาปรับลดราคาขายให้ลูกค้าลง 3.0-3.5% ลง (สะท้อนต้นทุนทองแดงที่ลดลง) ในบาง Product เดิม อย่างไรก็ตามปกติทาง KCE ก็มีออก Product ใหม่ๆ ที่มีราคาสูงขึ้นเข้ามาชดเชย ซึ่งสัดส่วน Product ใหม่จะมากกว่า Product เดิมในแต่ละปี เห็นได้จาก ASP โดยรวมของ KCE ไม่ได้เห็นการปรับลงมากนัก ทั้งนี้ KCE ยัง Focus ที่จะเพิ่มสินค้า high margin โดยเฉพาะ HDI ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25-30% YoY ในปี 2024
  • สำหรับ Gross margin คาดว่าจะเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้น ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เพิ่ม efficiency) และแนวโน้มราคาวัตถุดิบที่ลดลง อีกทั้งค่าไฟฟ้าคาดว่าจะลดลงโดยเฉพาะ Ft งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 ที่ลดลง 25 สต ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าลดลงประมาณ 6% เหลือ 4.45 บาทต่อหน่วย ส่งผลบวกต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าของ KCE ที่คิดเป็นประมาณ 9% ของต้นทุนรวม โดยคาดว่า Gross margin จะเพิ่มขึ้นเป็น 23-24% ใน 4Q66 จาก 22% ใน 3Q66 และยังคาดว่า Gross margin ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2% ต่อไตรมาส มาอยู่ที่เฉลี่ย 25-27% ในปี 2567 สาเหตุหลักมาจากทั้ง 1) Product mix โดยทาง KCE มองว่ายอดขาย HDI ที่มี margin สูงขึ้น; 2) efficiency ที่เพิ่มขึ้น และ 3) ต้นทุน Raw material จาก Supplier ที่ลดลง นอกจากนี้ค่าไฟฟ้า (สัดส่วนประมาณ 8% ของต้นทุนรวม) ยังมีแนวโน้มลดลง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังมองบวกกับ KCE จากผลการดำเนินงานของ KCE ที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง 2H66 จะเติบโตจากการขยายกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ Special grade PCB (HDI, 30% ของยอดขายรวม) ที่มี Margin สูงมากขึ้นขึ้น ซึ่ง HDI เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในพวก Break system ในรถยนต์ EV และผลิตภัณฑ์ Radar/Lidar เป็นต้น โดยปัจจุบันมี เครื่อง Laser drill สำหรับใช้กับการผลิต HDI อยู่ 11 เครื่อง ซึ่งผลิตเต็มกำลังอยู่ และยังมี Demand ที่ค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่อง Laser Drill เข้าไปอีก 4 เครื่อง เรียบร้อยแล้ว กำลังที่จะ ramp up ต่อไป ขณะที่ราคาหุ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม อย่าง Chin-poon Industrial, TTM Technologies, CMK Crop และ Meiko ต่างก็เห็นสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้เรายังคงแนะนำ Outperform ที่ราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 61 บาท อิง 29X หรือ 5 ปี PE mean
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกหากถดถอยรุนแรงมากกว่าคาดจะกระทบต่อปริมาณความต้องการแผงวงจร PCB โดยรวม ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่าเงินบาทจะกระทบอัตราทำกำไรได้
09/11/2023 SECURE ก่อนไปคิดอะไร
  • สอบถามถึงแนวโน้มผลประกอบการ 3Q66 และ 4Q66 รวมไปถึงเป้าหมายการเติบโตของรายได้ในปี 2567
  • ผลกระทบของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วใน 3Q66 ว่ากระทบในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นมากแค่ไหนเนื่องจากประเด็นนี้เคยเป็นประเด็นที่กดดันอัตรากำไรขั้นต้นในปี 2565 รวมถึงสถานการณ์ Chip Shortage

หลังไปได้อะไร

  • เราคาด SECURE จะรายงานผลกำไรสำหรับ 3Q66 ที่ 5 ล้านบาท ลดลง 47.3% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 55.9% YoY โดยในส่วนของการลดลง QoQ นั้นเป็นผลมาจาก Seasonality factor ประกอบกับไตรมาส 3 นั้นความไม่แน่นอนทางการเมืองค่อนข้างสูงทำให้บริษัทต่างๆมีการชะลอการลงทุนออกไปเช่นกัน แต่ในส่วนของ YoY นั้นที่ยังดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากสถานการณ์ Chip shortage ที่ดีขึ้นโดย ณ ปัจจุบันบริษัทแจ้งว่าแทบจะกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว โดยงบจะประกาศในวันที่ 14 พ.ย.
  • สำหรับผลกระทบของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจาก25 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงต้นไตรมาสไปอยู่ที่ 36.5 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงสิ้นไตรมาส โดยเบื้องต้นเรามองว่าผลกระทบในรอบนี้จะจำกัดไม่เหมือนในปีที่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันระยะเวลาการสั่งของนั้นสั้นลงกว่าปีที่แล้วมากจากสถานการณ์ Chip shortage ที่ดีขึ้นทำให้ผลกระทบในเรื่องของค่าเงินนั้นน้อยลง
  • สำหรับเป้าหมายรายได้ปี 2566 ผู้บริหารยังมั่นใจว่าจะทำได้ที่ 1 พันล้านบาทได้ เติบโต 9% จากปีก่อนหน้า ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จะหมายความว่ากำไร 4Q66 น่าจะเป็นจุดสูงสุดของปีเติบโต QoQ แต่คาดว่าจะใกล้เคียงปีที่แล้วเนื่องจาก 4Q65 ถือว่ามีฐานรายได้ที่สูง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับประมาณการกำไรปี 2566 ขึ้น 5% อยู่ที่ 92 ล้านบาท เติบโต 67.6% YoY และปี 2567 ขึ้น 43.4% อยู่ที่ 108 ล้านบาท เติบโต 17.2% YoY ภายหลังจากที่เรามีการปรับรายได้ปี 2566 ขึ้น 9.5% มาอยู่ที่ 1 พันล้านบาท และมีการปรับอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 20.3% (จาก 17.2%) ในปี 2566 และ 20.5% (จาก 17.7%) ในปี 2567
  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 18 บาทต่อหุ้น อิง PE ที่ 17x ปี 2567 จาก 35-40x เพื่อสะท้อนภาพการเติบโตของกำไรที่ลดลงในปี 2567 โดยเรายังมองว่า SECURE เป็นหุ้นที่เติบโตบนความต้องการด้าน Cybersecurity ที่ยังสูงอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนอาจจะใช้จังหวะหลังงบ 3Q66 ออกทยอยสะสมอีกครั้งเพื่อรอการฟื้นตัวที่โดดเด่นของกำไรใน 4Q66
  • ความเสี่ยงคือสถานการณ์ Chip shortage และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะทำให้บริษัทฯต่างๆชะลอการลงทุนออกไป
09/11/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลประกอบการของ 3Q66 ทำได้ตามคาดเติบโตทั้ง YoY และ QoQ จาก Gross margin ที่แข็งแกร่ง ขณะที่รายได้เติบโตเบาบางจากยอดขายในประเทศที่อ่อนตัว มองการฟื้นตัวของรายได้ในประเทศใน 4Q66 รวมถึงอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่ยังทรงตัวได้ในระดับสูง

หลังไปได้อะไร

  • SNNP คงเป้ายอดขายจากประเทศเวียดนามที่ 800 ล้านบาทจากที่ 9M66 มียอด 495 ล้านบาท โดยมองว่า 4Q66 จะเป็นช่วงฤดูกาลการขาย รวมทั้งการออก SKU ใหม่ทั้งส่วนของโลตัสและเบนโต๊ะ ทั้งรสชาตใหม่และขนาดสินค้า ส่วนการผลิต Jele คาดเร็วสุดเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • SNNP รายงานกำไรสุทธิของ 3Q66 ที่ 160 ล้านบาท (+12.7% YoY และ +2.2%QoQ) ใกล้เคียงกับที่เราคาดที่ 161 ล้านบาท โดยรายได้เติบโตเบาบาง 2% YoY และ 1.1% QoQ เท่ากับ 1,486 ล้านบาทด้วยสัดส่วนรายได้ในประเทศ 72% มูลค่า -3% YoY แต่ +0.3% QoQ รายได้ต่างประเทศ 28% เติบโต 13.7% YoY และ 3.9% QoQ อัตราการทำกำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นเท่ากับ 28.8% เป็น new high และใกล้เคียงกับที่คาดไว้ บนต้นทุนการผลิตที่ดีขึ้นรวมถึงค่าไฟที่ลดลงและส่วนของ Product Mix ที่เป็น Snack (สัดส่วนรายได้ 55%) ซึ่งมี Gross Margin ที่ดีกว่าเครื่องดื่ม(สัดส่วนรายได้ 45%) 9M66 SNNP มีกำไรสุทธิที่ 471 ล้านบาท (+29.5% YoY) เท่ากับ 72% ของประมาณการของเรา
  • ทิศทาง 4Q66 คาดยอดขายในประเทศฟื้นตัวตามฤดูกาลและคาดการผลิตและยอดขายในโรงงานเวียดนามจะมีอัตราเร่งมากขึ้นจากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตที่ 40% ส่งผลให้ผลประกอบการคาดจะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ ดังนั้นเราคงประมาณการของปี 2566 คาดกำไรสุทธิเท่ากับ 651 ล้านบาท (+26% YoY) ทำ New High บนฐานของ Gross Margin ที่ 3% สำหรับปี 2567 คาดการเติบโตยังสามารถทำได้ต่อเนื่อง โดยรายได้เติบโต 11% และกำไรสุทธเติบโต 13%
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุนและความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบหลัก การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงินและเศรษฐกิจในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงการปรับขึ้นของค่าแรง
  • เรามองการเติบโตของปี 2567 ต้องได้ปัจจัยหนุนจากเวียดนามขณะที่ในประเทศเติบโตจำกัดหากขาดสินค้าใหม่ที่ได้รับการตอบรับดี เช่น Jele Chewy ในอดีต ดังนั้นเราแนะนำทยอยสะสม ด้วยสมติฐาน PER ที่ 4 เท่า (-0.5SD) ราคาเป้าหมายปี 2567 เท่ากับ 24.80 บาท/หุ้น
08/11/2023 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 4Q66 จะเป็นยังไง หลัง 3Q66 NER มีกำไรสุทธิ 312 ลบ. หดตัว 41.0%YoY และ 31.7%QoQ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 1) ยอดขายหดตัว 22.1%YoY และ 14.2%QoQ ซึ่งเป็นการลดลงทั้งยอดขายในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากมีปริมาณขายยางเพียง 1.12 หมื่นตัน ลดลง 9.2%YoY และ 13.2%QoQ อีกทั้งมีราคาขายเฉลี่ยที่ 50.06 บาทต่อกก. ลดลง 14%YoY และ 1.2%QoQ และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเป็น 10.9% จาก 13.4% ใน 3Q65 และ 12.9% ใน 2Q66 หลังมีสัดส่วนยอดขายต่างประเทศลดลงเป็น 28% จาก 36% ใน 3Q65 และ 39% ใน 2Q66 เพราะมีการเลื่อนส่งมอบยางไปจีนราว 325 ลบ. และมีการบันทึกค่าซ่อมแซมเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจาก 3Q65 ราว 19 ลบ.

หลังไปได้อะไร

  • NER เผย 4Q66 คาดผลการดำเนินงานจะเติบโต QoQ เพราะมีคำสั่งซื้อยางจากจีนที่เลื่อนส่งมอบจากใน 3Q66 (ติดวันหยุดยาว) จำนวน 6,651 ตัน (ราว 325 ลบ.) มาส่งมอบในไตรมาสนี้แทน โดยบริษัทยังคงเป้าปริมาณขายยางปีนี้ 5.0 แสนตัน เติบโต 12%YoY (9M66 มีปริมาณขายยาง 3.69 แสนตัน เติบโต 20%YoY) ภายใต้กำลังผลิตรวมที่มี 5.156 แสนตัน
  • ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนคาดจะทำให้ความต้องการยางเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวได้ อีกทั้งการที่บริษัทขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ทั้งในไทย จีน สิงคโปร์ และอินเดียอย่างต่อเนื่องทำให้ปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งซื้อรอส่งมอบให้ลูกค้าถึง 1Q67 แล้ว ส่วนราคาขายยางช่วงนี้ที่มีการปรับขึ้นคาดจะส่งผลบวกต่อยางที่เตรียมจะส่งมอบตั้งแต่ 1Q67

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ 4Q66 คาดกำไรปกติจะดีขึ้น QoQ จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นเพราะมีการส่งมอบยางจากจีนที่เลื่อนจากไตรมาสก่อนมา และคาดกำไรปกติจะทรงตัวหรือเติบโตได้เล็กน้อย YoY เนื่องจากมีฐานกำไรต่ำใน 4Q65 แต่กำไรปกติ 9M66 คิดเป็น 71% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงเกินไป อีกทั้งเรายังกังวลความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกถดถอยจะส่งผลต่อปริมาณขายและราคายางฟื้นตัวช้า รวมทั้งต้องจับตาภาวะเอลนีโญอาจกระทบต่อผลผลิตยางทำให้ต้นทุนยางสูงขึ้นกดดันศักยภาพทำกำไรในระยะถัดไปได้ เราจึงขอปรับลดประมาณการลง 6% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 NER จะมีกำไรปกติ 1,532 ลบ. หดตัว 17%YoY
  • เรามีการปรับไปใช้กรอบราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 4.70-5.20 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ที่ 5-6.0 เท่าเช่นเดิม) ซึ่งพบว่า Upside ยังไม่จูงใจลงทุนรอบใหม่ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภัยแล้งซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงาน ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีหุ้นยังคงแนะนำชะลอลงทุนไปก่อน ขณะที่นักลงทุนที่มีหุ้นอยู่คงแนะนำ ถือรับปันผล หลังคาดปี 2567 กำไรปกติจะฟื้นตัวได้เล็กน้อย 4%YoY ขณะที่ฐานะการเงินยังแข็งแกร่ง มีศักยภาพจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ โดยคาดให้ Div. Yield สูงราวปีละ 7%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การถดถอยของเศรษฐกิจโลกและจีน, ภาวะภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญอาจกระทบผลผลิต, การแข็งค่าของเงินบาท
06/11/2023 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการ 3Q66 รวมถึง 4Q66 และภาพรวมของการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร

หลังไปได้อะไร

  • เราคาด ONEE จะรายงานกำไรสุทธิใน 3Q66 ที่ 160 ล้านบาท เติบโต 4% QoQ แต่ลดลง 2.4% YoY โดยภาพรวมของการฟื้นตัว QoQ นั้นหลักๆเป็นผลมาจากรายได้ในเกือบทุกธุรกิจ โดยในส่วนของธุรกิจ Event รายได้ฟื้นตัวได้ดีที่ 65% QoQ และ 42% YoY อยู่ที่ 243 ล้านบาท โดย ONEE มีการจัด ทั้งหมด 39 งานโดยแบ่งเป็น 8 ในประเทศและ 31 ต่างประเทศ โดยงานที่โดดเด่นในไตรมาสนี้คือ The Golden Song Concert และ Concert Gemini - Fourth ในส่วนของธุรกิจการบริหารลิขสิทธิ์คาดรายได้เติบโต 30% QoQ แต่ลดลง 8.8% YoY อยู่ที่ 282 ล้านบาท โดยการฟื้นตัว QoQ เกิดจากราคาเฉลี่ยในการขายดีขึ้น แต่การติดลบ YoY เกิดจากฐานสูงในปีที่แล้ว ในส่วนของธุรกิจโฆษณา TV ลดลง 1% QoQ และ 3.6% YoY อยู่ที่ 742 ล้านบาท ตามภาพความไม่แน่นอนด้านการเมืองในประเทศ ทำให้เราคาดว่าไตรมาสนี้รายได้รวมจะอยู่ที่ 1,712 ล้านบาท เติบโต 8% QoQ และ 5.2% YoY โดยผลประกอบการจะประกาศในวันที่ 14 พ.ย.
  • ในส่วนของฝั่งต้นทุนนั้นเราคาดอัตรากำไรขึ้นต้นจะอยู่ที่ระดับ 40% ดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ 39% และใกล้เคียง 3Q65 โดยปัจจัยขับเคลื่อนการฟื้นตัว QoQ เกิดจากรายได้บริหารลิขสิทธิ์ที่ปรับตัวดีขึ้น และธุรกิจนี้มีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง ในส่วนของ SG&A คาดว่าจะเห็นการปรับตัวสูงขึ้น 5% QoQ และ 1% YoY อยู่ที่ 512 ล้านบาท โดยหลักเป็นในส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่ปรับตัวขึ้นจากการเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่เพิ่มขึ้นใน 3Q66
  • ในส่วนของผลประกอบการ 4Q66F นั้นเราคาดว่าจะเห็นการทรงตัว QoQ แต่ปรับตัวขึ้น YoY ได้ โดยเราคาดว่ารายได้ในส่วนของโฆษณา TV จะทรงตัว QoQ และในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากราคาขายเฉลี่ยของธุรกิจบริหารลิขสิทธิ์คาดว่าจะลดลง แต่จะถูกชดเชยจากรายได้ Event คาดว่าจะเพิ่มขึ้น QoQ จากจำนวน Event ที่มากขึ้น

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดว่ากำไรสุทธิในช่วง 9M66F จะคิดเป็น 61% ของทั้งปีที่เราทำไว้ โดยเบื้องต้นเราคาดว่ากำไรปี 2566 ที่เราทำไว้ที่ 542 ล้านบาทจะมี Downside ประมาณ 10% โดยเราจะปรับประมาณการภายหลังจากการรายงานผลประกอบการ
  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 6-6.3 บาทต่อหุ้น อิง 24.6x-27.5x PE ปี 2566 หรือ -1SD ถึง -0.5SD จากการฟื้นตัวของผลประกอบการอย่างต่อเนื่องสวนทางกับราคาหุ้น
  • ความเสี่ยงคือ การฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV ที่ยังอ่อนแอและ ผลกระทบของ El Nino
31/10/2023 DELTA ก่อนไปคิดอะไร
  • DELTA รายงานกำไรสุทธิที่ 5,429 ล้านบาท ใน 3Q66 มากกว่าที่ตลาดคาด 11% โดยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 16.3% QoQ และ 32.1% YoY เนื่องจากมี FX gain 382 ล้านบาท หากตัดรายการพิเศษออกไป Core earnings อยู่ที่ 5,047 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.8% QoQ และ 29.6% YoY เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย EV power อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดยอดขาย EV power อยู่ที่ 353 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 30.2% QoQ และ 122% YoY เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าในฝั่ง US ขณะที่ลูกค้า Europe ก็ยังเห็นสัญญาณเติบโตเช่นกัน แม้ว่าจะมีลูกค้าบางรายที่เห็นสัญญาณชะลอคำสั่งซื้อบ้าง ทั้งนี้รายได้จากธุรกิจ EV มีสัดส่วนขึ้นมาเป็น 33% ของยอดขายรวมแล้ว ส่วนธุรกิจอื่นๆ จะเห็นการอ่อนแอลงของยอดขาย อาทิ DELTA กลุ่มพัดลมและระบบจัดการความร้อน (Fan & thermal management) ที่มีรายได้ลดลง -10.6% QoQ จากความต้องการที่ลดลงโดยเฉพาะในฝั่งยุโรปที่ระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น และ Delta India business ที่มียอดขายลดลง 9.1% QoQ ใน 3Q66 สำหรับ Gross margin โดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 22.6% ใน 3Q66 จาก 23.4% ใน 2Q66 เนื่องจากการอ่อนตัวลงของผลิตภัณฑ์อื่นๆที่นอกเหนือจาก EV related products ทั้งนี้กำไร 9M66 คิดเป็น 73% ของประมาณการทั้งปีของเรา เรายังคงประมาณการปี 2566 ไว้เหมือนเดิม

หลังไปได้อะไร

  • คาด Revenue ใน 4Q66 ทรงตัว QoQ เนื่องจากคาดว่า EV power และ Data Center revenue growth ค่อนข้างที่จะ Challenge ใน 4Q66 เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณลูกค้าเริ่ม Soft ลงในช่วงปลาย 3Q66 ขณะที่บาง Project ใหม่ๆ ก็มี delay ไปเป็นต้นปีหน้า โดยรายได้ 9M66 นั้นเติบโตได้ 29% YoY ขณะที่รายได้ 4Q66 ถ้า flat QoQ ก็จะทำให้รายได้ทั้งปี เติบโตได้ประมาณ 25-26% YoY ซึ่งใกล้เคียงกับ Internal target ของในบริษัท
  • ภาพรวมกลยุทธ์ของ DELTA ยังเน้นการขยายธุรกิจ EV-related product โดยปัจจุบัน เริ่มติดตั้งเครื่องจักรที่โรงงานใหม่ (โรงงาน 8) แล้ว อาจจะต้องมี Process Test run และ Audit จากลูกค้า โดยคาดว่า Capacity EV products ที่คาดหวังจะเพิ่มขึ้นได้ 40-60% YoY ในปี 2567 และสามารถรองรับ Backlog order ที่มีล่วงหน้า 12-18 เดือนได้ต่อเนื่อง สำหรับ CAPEX ใช้ไปแล้ว 250 ล้านเหรียญฯ ในช่วง 9M66 และใน 4Q66 อาจจะเพิ่มอีกประมาณ 30-40 ล้านเหรียญฯ ส่วนปีหน้า Target CAPEX จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10-20% YoY รองรับการขยายธุรกิจของ DELTA

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • สำหรับ Recommendation ราคาหุ้น DELTA ปรับตัวลดลงมา 34% จาก peak ที่ 116 บาท ในช่วงเดือนก.ค.ที่ผ่านมา น่าจะสะท้อนปัจจัยลบต่างๆไปมากแล้ว ทำให้ PE ปรับตัวลดลงมาเหลือ 50 เท่า หรือที่ระดับประมาณ +0.6 SD ของ PE mean ขณะที่แนวโน้มการดำเนินงานยังคงมีทิศทางที่บวกต่อเนื่อง ดังนั้นเราจึงมีแนวโน้มปรับคำแนะนำขึ้นมาเป็น Neutral จากเดิม Underperform Target price เราไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 74 บาท อิง PE +0.5X PE mean
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น การแข่งขันลดราคาของ EV ทั่วโลกซึ่งอาจจะทำให้ Supplier โดนกดดันให้ลดราคาลง และความผันผวนของค่าเงินบาท
18/10/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดทิศทางผลประกอบการของ 3Q66 มีโอกาสได้รับผลกระทบจากยอดขายที่อ่อนแอในต่างประเทศและกำลังการผลิตของโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามที่ต่ำกว่าเป้า รวมไปถึงอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่กดดันจากลุ่มเครื่องดื่ม

หลังไปได้อะไร

  • แผนการผลิตโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามมีความล่าช้าประมาณ 1 ไตรมาสจากการติดตั้งสายการผลิตของกลุ่ม Bento จำนวน 2 ไลน์ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งครบในช่วงเดือน ตุลาคมนี้ ขณะที่กลุ่ม Jele อยู่ในช่วงของการติดตั้งเครื่องจักรซึ่งคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ต้นปี 2567 ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามที่ชะลอตัวทำให้คาดว่ายอดขายในประเทศเวียดนามในปี 2566 จะทำได้ดีที่สุดที่ประมาณ 800 ล้านบาทจากเป้าหมายเดิมที่ 1,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ SNNP ใช้กลยุทธ์เพิ่มส่งออกไปประเทศจีนเพื่อชดเชยส่วนขาดไปจากยอดขายเวียดนาม อย่างไรก็ตามเราคาดว่าจะไม่สามารถชดเชยได้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดกำไรสุทธิของ SNNP ใน 3Q66 ที่ 161 ล้านบาทเติบโต 5% YoY และ 2.9% QoQ โดยคาดรายได้ที่ 1,539 ล้านบาท (+4.9% YoY และ 4.5% QoQ) โดยยอดขายในประเทศทรงตัว YoY และ QoQ แม้จะมียอดขายจากน้ำกระท่อมที่เป็นช่วงต้นของการเปิดตัวประมาณ +/-20 ล้านบาทต่อไตรมาสมาหนุน อัตราการทำกำไรขั้นต้นคาดที่ 28.6% ดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ จากส่วนของ Product Mix ที่ 3Q เป็นช่วง low-season ของกลุ่มเครื่องดื่ม ส่งผลให้คาดว่ากำไรสุทธิของ 9M66F จะเท่ากับ 472 ล้านบาท (+30%)
  • แม้ผลประกอบการของ 3Q66 คาดว่าจะสามารถทำจุดสูงสุดได้และมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องใน 4Q66 แต่เป็นระดับการเติบโตที่ต่ำกว่าคาดด้วยยอดขายที่เติบโตต่ำและกำลังการผลิตและยอดขายจากโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามต่ำกว่าเป้าเดิม ดังนั้น เรามีการปรับประมาณการรายได้ของปี 2566 และ 2567 ลง 7% และ 3.1% ตามลำดับ หลังจากปรับคาดว่า SNNP ยังมีรายได้ที่ New High ในปี 2566 ที่ 6,090 ล้านบาท (+10% YoY) และกำไรสุทธิเท่ากับ 651 ล้านบาท (+26% YoY) ลดลงจากประมาณการเดิม 6% แต่ยังเป็น New high บนฐานของ Gross Margin ที่ 28.3%
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุนและความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบหลัก การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงินและเศรษฐกิจในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงการปรับขึ้นของค่าแรง
  • ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับลงไป 20% สะท้อนจากความกังวลของเศรษฐกิจที่อ่อนตัวในประเทศเวียดนามและความล่าช้าของโรงงานและการผลิตที่ส่งผลให้เกิด Downside ต่อประมาณการ เรามองการเติบโตของปี 2567 ต้องได้ปัจจัยหนุนจากเวียดนามขณะที่ในประเทศเติบโตจำกัดหากขาดสินค้าใหม่ที่ได้รับการตอบรับดี เช่น Jele Chewy ในอดีต ดังนั้นเราแนะนำทยอยสะสม ด้วยสมติฐาน PER ที่ 4 เท่า (-0.5SD) ราคาเป้าหมายปี 2567 เท่ากับ 24.80 บาท/หุ้น
02/10/2023 KLINIQ ก่อนไปคิดอะไร
  • บริษัทมีแผนการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายการเติบโตอย่างไร หลัง 1H66 มีกำไรสุทธิ 140 ลบ. เติบโต 39%YoY เนื่องจากมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นในทุกแผนกหลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมา อีกทั้งมีการเพิ่มบริการและทำการตลาดมากขึ้น หนุนให้รายได้สาขาเดิมเติบโต 9.4%YoY เมื่อรวมกับรับรู้รายได้จากสาขาใหม่ จึงทำให้ยอดขายเติบโตเด่น 47%YoY

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทเพิ่มเป้าหมายรายได้ปี 2566 จากต้นปีที่ 2 พันลบ. เป็น 2.25 พันลบ. โต 20-22%YoY และโตต่อ 20%YoY ในปี 2567 แรงหนุนจาก 1) ยอดขายสาขาเดิมคาดโต 10%YoY จากลูกค้าเดิมที่มีความต้องการดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น การหาลูกค้าใหม่ทั้งไทยและต่างชาติ (อาทิ จีน และ CLMV) รวมทั้งการเพิ่มบริการใหม่ๆ และ 2) ยอดขายสาขาใหม่ ซึ่งมีแผนขยายสาขาอย่างน้อยปีละ 10 แห่ง อย่างไรก็ดี ปีนี้บริษัทมีแผนขยายสาขาเพิ่มเป็น 14 แห่ง โดย 1H66 เปิดแล้ว 6 แห่ง และ 2H66 จะเปิด 8 แห่ง (ไตรมาสละ 4 แห่งใน 3Q-4Q66 ภายใต้แบรนด์ The Klinique 1 แห่ง และ A.B.X 7 แห่ง) เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยตั้งงบลงทุนสำหรับขยายสาขาปีละ 200 ลบ. แหล่งเงินทุนจาก CFO ที่ทำปีละ 450 ลบ.และเงิน IPO 1.4 พันลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีมุมมองบวกต่อ KLINIQ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำคลินิกเวชกรรมด้านผิวหนังความงามของไทย (เด่นด้านยกกระชับและรักษาผิวหนังโดยใช้เลเซอร์ และกำลังขยายตลาดศัลยกรรม) โดยคาดผลการดำเนินงานจะเติบโตได้ดีในระยะยาว หลังผู้บริโภคดูแลสุขภาพและภาพลักษณ์มากขึ้นในทุกเพศทุกวัย อีกทั้งทั่วโลกเข้าสู่สังคมสูงวัยและไทยมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ทำให้อุปสงค์มีแนวโน้มเติบโตได้ทั้งตลาดลูกค้าไทยและต่างชาติ
  • 3Q66 คาดทำสถิติกำไรสุทธินิวไฮ 74 ลบ. เติบโต 66.7%YoY ปัจจัยหนุนจากยอดขายรวมที่คาดโตเด่น 30%YoY หลังมีลูกค้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นจากการทำตลาดและมีบริการใหม่ๆ ทำให้คาดยอดขายสาขาเดิมโตเด่น 10%YoY อีกทั้งยังรับรู้ยอดขายจากสาขาเปิดใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น 12 แห่งจาก 3Q66 ขณะที่ทั้งปี 2566 คาด KLINIQ มีกำไรสุทธิ 290 ลบ. (+41%YoY) และเพิ่มเป็น 360 ลบ. (+24%YoY) ในปี 2567 ตามความต้องการดูแลตัวเองของลูกค้าที่มีมากขึ้น การมีบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ได้เพิ่มขึ้น และการรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดทรงตัวที่ระดับ 55% เนื่องจากคาดรายได้จากศัลยกรรมที่เริ่มโตดีแต่มีมาร์จิ้นต่ำจะถูกชดเชยด้วยผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาคลินิกผิวหนังความงามมากขึ้น
  • เรามอง KLINIQ น่าสนใจลงทุน เนื่องจากจะได้อานิสงส์ตลาด Wellness ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และยังมีศักยภาพเติบโตได้ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน เพราะมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มรายได้ระดับกลางถึงบนซึ่งมีกำลังซื้อสูงและเน้นมาตรฐานให้บริการเป็นสำคัญ โดยปี 66-67 คาดกำไรโตเฉลี่ยปีละ 32% อีกทั้งเราประเมินราคาเป้าหมายปี 2567 ด้วยวิธี DCF (อิง WACC ที่ 7.9% และการเติบโตระยะยาวที่ 3%) อยู่ที่หุ้นละ 49 บาท ซึ่งหากคิดเป็น PEG จะอยู่ที่ราว 1 เท่า และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 66 ที่หุ้นละ 1.05 บาท คิดเป็น Yield ปีละ 2.8%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ มีภาวะการแข่งขันในธุรกิจมีสูง, พฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยีรักษาเปลี่ยนแปลงเร็ว, ระยะเวลา Silent period สำหรับกลุ่มก่อตั้งและลงทุนก่อน IPO ที่กำหนดไว้ใน 1 ปีจะสิ้นสุดในวันที่ 6 พ.ย. 66
07/09/2023 TPAC ก่อนไปคิดอะไร
  • TPAC ประกาศกำไรสุทธิที่ 114 ล้านบาท ใน 2Q66 ซึ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ลำดับที่ 2 รองจาก 1Q66 โดยกำไรมีปรับตัวลดลง 7% QoQ แต่ปรับตัวสูงขึ้น 151% YoY โดยผลการดำเนินงานปรับตัวลดลง QoQ เนื่องจากการลดลงของผลการดำเนินงานจากต่างประเทศ (75% ของ EBIT รวม) 25.2% QoQ จากการปรับตัวลดลงของรายได้ -7.8% QoQ และ Gross margin ที่ลดลงเหลือ 11.8% ใน 2Q66 จาก 14.6% ใน 1Q66 เนื่องจากเป็นช่วง Low season ของประเทศอินเดีย และหน้าฝนที่มาเร็วในฝั่งเหนือของประเทศอินเดีย ทำให้ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ Beverage ที่ลดลง ส่งผลให้ปริมาณขายลดลง 7% QoQ อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานในประเทศ (25% ของ EBIT รวม) เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น QoQ จากการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น และการปรับ Product Mix โดยเฉพาะ TPAC บางนา ที่มี EBITDA margin กลับมาเป็นประมาณ 15% ใน 2Q66 จากติดลบ ใน 1Q66 ช่วยชดเชยผลกระทบผลการดำเนินงานที่ลดลงจากต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 2H66 จะเติบโตเพิ่มขึ้น HoH ผลจากการขยายกำลังการผลิตโรงงานใหม่ 2 โรงที่เสร็จเรียบร้อยแล้วที่ประเทศอินเดีย ส่วนการปรับปรุงโรงงาน Skypet ประเทศอินเดียตอนใต้ที่ได้เพิ่มพื้นที่ผลิตอีกกว่า 50% ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตในประเทศอินเดียโดยรวมเพิ่มขึ้น 20% ภายในสิ้นปีนี้ สอดรับกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้ามาในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงการผ่านพ้นช่วง Low season ของอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วง 2Q แล้ว นอกจากนี้คาดว่าโรงงานในประเทศไทยยังอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ปัจจุบัน 50% u-rate) ขณะที่ Gross margin คาดว่าจะทรงตัวระดับสูง จากผลของ Economy of scale ทั้งนี้บริษัทคาดว่า EBITDA margin จะฟื้นตัวต่อเนื่อง จาก 2565 ที่อยู่ 9% มาอยู่ในช่วงระหว่าง 17-20% (INVX: 19.3%) ในปี 2566 (1H66 = 19.1%)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามองว่า TPAC เป็นอีกหนึ่งหุ้น Small cap น่าจับตาจากการที่เป็นทั้ง Growth stock และ Valuation ที่ยังไม่แพงมาก โดยเราคาดการณ์ผลการดำเนินงานของ TPAC เติบโต 60% YoY ในปี 2566 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลักๆ มาจากการขยายการผลิตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย (47% ของรายได้รวม) ยังเป็น Key growth driver หลัก เนื่องจาก TPAC เป็นผู้ผลิต Rigid PET packaging (ไม่รวมขวดน้ำกับน้ำอัดลม) ส่วนแบ่งตลาดอันดับต้นๆ ในอินเดีย และแนวโน้มตลาดยังเติบโตต่อเนื่อง 7% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า จาก GDP growth ที่สูงประมาณ 6-7% ต่อปี ขณะที่คาดการณ์การใช้พลาสติกของอินเดียจะเพิ่มขึ้น 5.5 เท่า ภายในปี 2060 เมื่อเทียบกับปี 2019 ทั้งนี้ประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก ที่ 1,425.7 ล้านคน ณ เม.ย. 66 แซงหน้าจีนที่อยู่ 1,422.9 ล้านคน รวมถึงก็ยังอยู่ระหว่างพิจารณา M&A ใหม่ๆ โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย โดยเรายังมอง Upside จากต้นทุนพลังงานที่คิดเป็น 5-6% ของต้นทุนรวม ค่าไฟฟ้าที่ลดลงตามนโยบายภาครัฐ นอกจากนี้ยังอยู่หว่างพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้ระบบ Automation มากขึ้น ช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงได้ระดับหนึ่ง
  • TPAC ถือว่าเป็นผู้นำการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ในเอเชีย มีโรงงานผลิตอยู่ในประเทศอินเดีย (9 แห่ง) ประเทศไทย (2 แห่ง) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1 แห่ง) และประเทศมาเลเซีย (2 แห่ง) โดยมุ่งเน้นไปที่การออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติดคงรูปด้วยวัตถุดิบจากโมโนเลเยอร์โพลิเมอร์และกระดาษที่รีไซเคิลได้ ลูกค้าระดับโลก อาทิ Unilever Pepsi Johnson&Johnson Nestle Julie’s Hershey ส่วนลูกค้าเกี่ยวกับบริษัทยา ได้แก่ Pfizer P&G health Abbott Sanofi Roche และลูกค้าในประเทศไทย ได้แก่ Osotspa Mama Mitr Phol Ovaltine Yanhee CP-meiji Dutche Milk Red Bull และ Mega ซึ่งลูกค้า TOP10 มีสัดส่วนยอดขาย 30% ของยอดขายรวมของบริษัท ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวกับอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ต่อเนื่อง
  • ความเสี่ยง หากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงมากขึ้นอาจจะกระทบต่อกำลังซื้อผลิตภัณฑ์ แต่เชื่อว่าผลกระทบจะจำกัด เนื่องจากบริษัทมุ่งเน้นผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่องกับอาหาร ยา และเวชภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิต อัตราหนี้สินต่อทุนที่สูงขึ้นหากมี M&A ใหม่ๆ และ Free float ที่ต่ำ ~21% จึงมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่น้อย
  • ปัจจุบัน TPAC ซื้อขายที่ระดับ PE 2566F เพียง 9X ซึ่งต่ำค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม (อาทิ PJW และ EPG ที่มี 2023 PE ประมาณ 12.8X และ 18.7X ตามลำดับ) โดยเราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 12.8 เท่า หรือ -1.0 SD ของ PE mean ในรอบ 3 ปี ได้ราคาเป้าหมาย 20.0 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตามเรามองว่าราคาหุ้นมี free float และสภาพคล่องค่อนข้างน้อย จึงแนะนำทยอยสะสมสำหรับการเติบโตระยะยาว
04/09/2023 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลกระทบจากการที่ ไบร์ท วชิรวิชญ์ หนึ่งในดาราผู้มีชื่อเสียงตัดสินใจไม่ต่อสัญญา ซึ่งหมดไปในวันที่ 31 สิงหาคม รวมถึงภาพการฟื้นตัวของผลประกอบการ 3Q66

หลังไปได้อะไร

  • ในประเด็นของคุณ ไบร์ท วชิรวิชญ์ ที่ไม่ต่อสัญญานั้นทางบริษัทเองได้มีการวางแผนรองรับในส่วนของประเด็นนี้ไว้อยู่แล้วเนื่องจากประเด็นนี้เป็นเรื่องปกติของอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยสิ่งที่บริษัทได้ทำมาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงของการไม่ต่อสัญญาของนักแสดง คือการสร้างสรรค์กลุ่มนักแสดงใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น Gemini/Fourth เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มนักแสดงหน้าใหม่ที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังที่ล่าสุดเองนั้นได้มีการจัดงาน Concert ที่ Impact เมืองทองธานี จำนวน 2 วัน โดยบัตรสามารถขายหมดทั้ง 2 วัน ทำให้ในเชิงภาพรวมผลกระทบในเชิงกำไรของ ONEE จากการที่คุณ ไบร์ท ไม่ต่อสัญญานั้นค่อนข้างที่จะจำกัด
  • สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 3Q66 นั้นคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัว QoQ ได้อย่างต่อเนื่องแต่ในส่วนของ YoY นั้นคาดว่าอาจจะใกล้เคียง 3Q65 โดยการฟื้นตัว QoQ นั้นเป็นผลมาจากการที่เห็นสัญญาการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV ต่อเนื่อง โดยเดือน ก.ค. เม็ดเงินโฆษณา TV ฟื้นตัว 3% MoM แต่ยังคงลดลง 2% YoY อยู่ที่ 5.2 พันล้านบาท จากประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ซึ่งทำให้เราคาดว่าตัวเลขเม็ดเงินโฆษณา TV ในเดือน ส.ค. นั้นยังคงไม่เห็นการฟื้นตัวที่โดดเด่น แต่เราเชื่อว่าการฟื้นตัวน่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนในเดือน ก.ย. เป็นต้นไป ภายหลังจากที่เริ่มเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงประมาณการกำไรปี 2566 ที่ 542 ล้านบาท ลดลง 6% YoY ถึงแม้ว่ากำไรสุทธิ 1H66 จะคิดเป็นเพียง 32% ของทั้งปีที่เราทำไว้ เนื่องจากเราเชื่อว่าจะเห็นการฟื้นตัวใน 2H66 ที่โดดเด่น และคาดว่าจะเห็นต่อเนื่องในปี 2567 โดยเรามองว่า ONEE จะได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของรัฐบาลชุดใหม่ จากเม็ดเงินโฆษณาที่จะเพิ่มขึ้นจากการที่เจ้าของ Brand สินค้าต่างๆจะใช้จังหวะนี้ในการแย่งชิงเงินในกระเป๋าผู้บริโภค
  • เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ภายหลังจากที่เริ่มเห็นความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล ประกอบกับราคาหุ้น YTD ยังคง Underperform SET ถึง 32% โดยเราให้ราคาเป้าหมายที่ 6-6.3 บาทต่อหุ้น อิง 24.6x-27.5x PE ปี 2566 หรือ -1SD ถึง -0.5SD
  • ความเสี่ยงคือ ความไม่แน่นอนด้านการเมืองซึ่งจะกระทบการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV และ ผลกระทบของ El Nino ที่จะทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดลดลง
31/08/2023 XPG ก่อนไปคิดอะไร
  • XPG รายงานผลผระกอบการของ 2Q66 ที่กำไรสุทธิ 41 ล้านบาท พลิกจากขาดทุน 94 ล้านบาทใน 2Q65 และ 12 ล้านบาทใน 1Q66 โดยได้ปัจจัยหนุนจากส่วนของรายได้ดอกเบี้ยดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ควบคุมได้ และเป็นผลประกอบการที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 10 ไตรมาส ใน 1H66 XPG มีกำไรสุทธิเท่ากับ 30 ล้านบาท ซึ่งเราคาดว่า 2H66 ทิศทางผลประกอบการจะยังคงมีกำไรต่อเนื่องทุกไตรมาส จากการเติบโตของสินเชื่อ การลงทุน และธุรกิจ AMC

หลังไปได้อะไร

  • เราคาดการเติบโตของ XPG ใน 2H66 จะยังคงได้แรงหนุนจากปัจจัยของรายได้ดอกเบี้ยซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าที่เราเคยมองไว้จากการเติบโตของสนิเชื่อที่สูงเด่นใน 2Q66 ที่ผ่านมาและมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องในช่วง 3Q66 ดังนั้นในปี 2566 คาดว่ารายได้กว่า 80% จะมาจากรายได้ดอกเบี้ยซึ่งเติบโต 200% YoY
  • สำหรับธุรกิจ AMC คาดใน 4Q66 จะมีการประมูลหนี้ได้เพิ่มอีกประมาณ 500 ล้านบาทจาก portfolio ปัจจุบันที่ 2,400 ล้านบาทเติบโตจาก 1Q66 ที่มีเพียง 500 ล้านบาท ธุรกิจ Asset Management (AM) ที่การขยายฐานลูกค้าทำได้ตามเป้าและเพิ่ม Partner เป็น 16 แห่งและอีก 3 แห่งอยู่ระหว่างเจรจา ฝั่ง ICO Portal มี 3 ดีลที่อยู่ระหว่างการจัดตั้งคาดใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน รวมมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาทในกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ การเงินและ สาธารณูปโภค

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดทิศทางของผลประกอบการใน 2H66 จะดีต่อเนื่องและคาดว่า XPG ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยเรามองว่า 1) รายได้จากดอกเบี้ยและสินเชื่อต่างๆ ยังอยู่ในขาขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องของอุตสาหกรรมที่ลดงตั้งแต่ 2Q66 ทำให้บริษัทและนักลงทุนใช้ช่องทางเพิ่มสภาพคล่องผ่าน XPG ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 9-10% 2) ความชัดเจนของข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในกลุ่ม ICO portal และการทำ Tokenization จะหนุนให้ดีลที่รอการจัดตั้งสามารถดำเนินการได้หลังจากที่ล่าช้ามานาน ซึ่งนอกเหนือจาก 3 ดีลที่รอในมือซึ่งคาดจะหนุนผลประกอบการในปี 2567 XPG มี ICO Portal อีก 7 ดีลที่อยู่ในมือ โดยคาดหวังรายได้จากการดีลที่เฉลี่ย 3-4% จากมูลค่าการจัดตั้ง และ XPG มีระบบและบุคลากรทีรองรับเพียงพอ 3) ด้าน Digital Asset แม้สถานะของ Active Trading Accounts ไม่โดดเด่น แต่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น พร้อมทั้งมีโอกาสขยายธุรกิจเมื่อประชาชนเรียนรู้การใช้ Digital wallet ในปี 2567
  • เราคาดรายได้ของ XPG ในปี 2566 ที่ 488 ล้านบาท (+480% YoY) และคาดว่าใน 2H66 ผลประกอบการจะเป็นกำไรในทุกไตรมาสดังนั้นคาดกำไรสุทธิที่ 113 ล้านบาท พลิกจากปี 2565 ที่ขาดทุน 171 ล้านบาท โดยตั้งเป้าส่วนแบ่งกำไรจาก KTX ที่ 95 ล้านบาท
  • ความเสี่ยง : ข้อกำหนด บทกฎหมาย ของ Digital Asset ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต โอกาสการตั้งสำรองหนี้หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้
  • เราประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2567 ที่20-3.10 ต่อหุ้น โดยใช้วิธี Valuation ด้วย PBV ที่ 2-2.8 เท่าโดยเรามองว่า XPG ยังคงเป็นตัวแทนที่ดีของการทำธุรกิจ S Curve บน Digital Asset แม้ที่ผ่านมาจะเผชิญความล่าช้าและการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์แต่คาดจะชัดเจนและเริ่มมีสัดส่วนรายได้ที่สูงขึ้นในปี 2567 ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อและการลงทุนเรามองเป็นธุรกิจ traditional ที่ยังคงเป็น cash cow ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า คงคำแนะนำ ซื้อ
31/08/2023 AMATA ก่อนไปคิดอะไร
  • เรามองการเติบโตของยอดขายที่ดินและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใน 2H66 จะเติบโตได้ดีกว่า 1H66 จาก Backlog ที่มีอยู่แม้ว่าเราจะเริ่มกังวลกับการลงทุนที่มาจากฐานลูกค้าชาวจีนที่อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สำหรับประเทศเวียดนามคาดการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะเบาบางลงฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปี 2567 กลับมาหนุนยอดการขายที่ดิน อุตสาหกรรมที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ เช่น กลุ่มยานยนต์ EV Electronic และ Semiconductor

หลังไปได้อะไร

  • AMATA คงเป้าการขายที่ดินในปี 2566 ที่ขั้นต่ำ 1,500 ไร่และมีโอกาสถึงเป้าขั้นสูงที่ตั้งไว้ที่ 2,250 ไร่ โดยใน 1H66 ทำยอดได้แล้ว 702 ไร่ (ไทย 689 ไร่และเวียดนาม 13 ไร่) และในต้น 3Q66 ทำยอดขายรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1,300 ไร่โดยกลุมธุรกิจหลักคือกลุ่มยานยนต์ EV และชื้นส่วน Electronic และนักลงทุนหลักยังคงเป็นนักลงทุนจากจีนและไต้หวัน โดยมีทั้งการเข้ามาลงทุนใหม่และขยายฐาน นอกจากนีคาดว่าปลาย 4Q66 จะเริ่มมียอดขายที่ดินจากนิคมฯ ใหม่ในประเทศ สปป. ลาว เข้ามาและเริ่มบันทึกรายได้ในปี 2567
  • ในปี 2567 คาดจะมีการนำบริษัทลูกในกลุ่มสาธารณูปโภคคือ Amata Strategic Holding 1 Co.,Ltd (Spin Co) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • AMATA มี Backlog ที่ 7,991 ล้านบาท (ยอดจากเวียดนาม 1,800 ล้านาท) คาดประมาณ 2,500-3,000 ล้านบาทสามารถบันทึกรายได้ในปีนี้ ดังนั้นเราคงประมาณการรายได้ปี 2566 ที่ 7,699 ล้านบาท (+18% YoY) และกำไรสุทธิที่ 1,815 ล้านบาท (-22.5% YoY) โดยหากลบรายการกำไรจากการขายโรงงานในประเทศเวียดนามในปี 2565 ที่ 1,360 ล้านบาท Core Profit เติบโต 85% YoY 1H66 กำไรสุทธิเท่ากับ 806 ล้านบาท ลดลง 33% YoY คิดเป็น 45% ของประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ โดย AMATA จะมีช่วงการโอนที่ดินที่สูงขึ้นใน 4Q66
  • แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจีนจะเริ่มมีความกังวลแต่เราเชื่อว่า AMATA จะได้รับผลกระทบจำกัด ด้วยความพร้อมของที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค และ Strategic Location และเรามองว่าการลงทุนที่มาจากจีนเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น ยานยนต์ และ EX related ขณะที่กลุ่ม Semiconductor จากไต้หวันมีอุปสงค์เติบโตเด่นและได้แรงหนุนจากการย้ายฐานการผลิต ดังนั้นคาดว่าการขายที่ดินในปีนี้จะเป็นปีที่สูงที่สุดในรอบ 4 ปี
  • ความเสี่ยง : ทิศทางเศรษฐกิจโลก ต้นทุนพลังงานที่ผันผวน และติดตามโอกาสและความเสี่ยงของการย้ายฐานการผลิตของบางอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ฐาน PER ที่ 12 เท่าซึ่งเท่ากับ PE เฉลี่ยในรอบ 6 ปีของ AMATA ได้ราคาเป้าหมาย 29.10 บาทต่อหุ้น คงคำแนะนำ ซื้อ
21/08/2023 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดแนวโน้มรายได้ของ 3Q66 มีแนวโน้มอ่อนตัว QoQ จากปัจจัยด้านฤดูกาลแต่ยังเติบโตได้ YoY จากฐานการปรับราคาขายเพิ่มขึ้น การบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายของ 3Q66 คาดมีแนวโน้มดีขึ้น QoQ

หลังไปได้อะไร

  • HTC รายงานกำไรสุทธิของ 2Q66 ที่ 150 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 28% YoY แต่ลดลง 6% QoQ จากค่าใช้จ่ายสูง โดยรายได้เท่ากับ 1,985 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% YoY แต่ลดลง 4.1% QoQ ปริมาณการขาย 17.8 ล้านยูนิตเคส อัตราการทำกำไรขั้นต้นสูงสุดที่ 42.8% ผลจากการปรับราคาขายเพิ่มขึ้นในเดือน เมษายน ที่ 1.5% SG&A สูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายพนักงานที่มีการปรับฐานและค่าใช้จ่ายด้อยค่าเครื่องจักรประมาณ 10.5 ล้านบาท 1H66 กำไรสุทธิเท่ากับ 350 ล้านบาท เติบโต 58% และคิดเป็น 56% ของประมาณการกำไรสุทธิของปีนี้ที่ 629 ล้านบาท (+45% YoY)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ใน 2Q66 HTC มี Market Share ในกลุ่ม NARTD ที่ 7% เพิ่มขึ้นจาก 1Q66 ที่ 25.5% และยังคงเป้าหมายปีนี้ที่ 26% จากปัจจัยหนุนของการท่องเที่ยวและสภาพอากาศ โดยอุตสาหกรรม NARTD ของประเทศไทยใน 1H66 เติบโต 13.9% โดยภาคใต้เติบโต 24% และใน 2Q66 HTC ยังคงสัดส่วนการตลาดที่ 1 ที่สัดส่วน 79.9% ในกลุ่ม Sparking Drink
  • HTC มีการปรับเป้ารายได้ในปีนี้ที่เติบโตเป็น 9-11% จากเดิมที่ 7-9% ผลจากยอดขายใน 1H66 ที่ดีกว่าเป้า รวมถึงการปรับระดับ Gross Margin เพิ่มขึ้นเป็น 40% ผลจากการปรับราคาขายบางส่วนเพิ่มขึ้นและการควบคุมต้นทุน
  • เรายังคงมุมมองที่บวกต่อทิศทางผลประกอบการของ HTC ในปี 2566 ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะทำฐานสูงสุดใหม่ โดยเราคงประมาณการรายได้ของปี 2566 ที่ 7,669 ล้านบาท (+9% YoY) สอดคล้องกับเป้าขั้นต่ำที่บริษัทปรับเพิ่มขึ้นมา การบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายคาดในปี 2566 จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปี 2565 และประโยชน์จากการปรับราคาขาย การเกิด economy of scale ดังนั้น เราคาด Gross margin ที่ 5% ดีกว่าปี 2565 ที่ 40% คาดกำไรสุทธิที่ 629 ล้านบาท (+45% YoY)
  • ขณะที่ภาษีน้ำตาลเฟสที่ 3 ที่เริ่มบังตับใช้ในเดือน เมษายน ที่ผ่านมาจะเพิ่มค่าใช้จ่ายประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งบริษัทมีการปรับขึ้นราคาบางส่วนเพื่อชดเชย โดยคาดว่าการปรับภาษีน้ำตาลในเฟสที่ 4 จะเป็นในปี 2568
  • ความเสี่ยงและความกังวล : ต้นทุนวัตถุดิบหลักราคาผันผวน สภาพภูมิอากาศที่อาจจะผลต่ออุปสงค์ เงินเฟ้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคภายในประเทศที่ยังเปราะบาง การปรับเพิ่มขึ้นของแรงงานขั้นต่ำ
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC มีราคาเป้าหมายปี 256 ที่ 47 บาท/หุ้น อิงจาก PER ที่ 175 เท่า (+0.5SD) เราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่มีสินค้าและ Brand ชัดเจน สภาพคล่องทางการเงินแข็งแกร่ง หนี้สินต่ำ จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 5% ต่อปี เงินปันผลรอบ 1H66 ที่ 0.96 บาทต่อหุ้น Yield 2.7% ขึ้น XD วันที่ 24 สิงหาคม 2566
16/08/2023 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • 2H66 ผลดำเนินงานมีแนวโน้มอย่างไร หลัง 2Q66 WICE มีกำไรสุทธิ 63 ลบ. เติบโต 14%QoQ ตามฤดูกาล แต่ยังหดตัว 63%YoY เนืองจากอัตรากำไรข้นต้นที่ดีขึ้น YoY จากการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ถูกหักล้างด้วยรายได้รวมที่ลดลง 52%YoY โดยแม้จะมีการเติบโตของรายได้จากธุรกิจ Supply Chain Solutions (+44%YoY) หลังเปิดพื้นที่คลังสินค้าเพิ่ม 3 หมื่นตร.ม. และ และธุรกิจขนส่งบกข้ามแดน CBS (+11%YoY) หลังไม่มีการปิดด่านทำให้ขนส่งสะดวกขึ้น แต่ยังไม่พอชดเชยการลดลงของรายได้จากธุรกิจ Sea freight (-79%YoY) และธุรกิจ Air freight (-36%YoY) ซึ่งถูกกดดันจากปริมาณและค่าขนส่งที่ลดลง

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร WICE คาด 2H66 ปริมาณขนส่งจะดีขึ้น HoH จากเข้าสู่ช่วง High Season ของธุรกิจโลจิสติกส์และคาดการส่งออกนำเข้าจะดีขึ้นตามการฟื้นตัวประเทศคู่ค้าหลักหลักอย่างจีนและสหรัฐ อีกทั้งบริษัทยังมีแผนร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อขยายปริมาณขนส่ง และขยายงานบริหารคลังสินค้า (4Q66 บริหารคลังสินค้าให้ GYT เพิ่มอีก 1.4 หมื่น ตร.ม.) รวมทั้งมีแผนนำ EV TRUCK มาช่วยขนส่งแทนรถยนต์สันดาปเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หลังลูกค้าหลายรายของบริษัทมีนโยบายผลักดันเรื่อง ESG ซึ่งคาดจะเริ่มเห็นชัดเจนใน 4Q66
  • สำหรับความคืบหน้าแผนนำบ. ย่อย ETL ซึ่งดำเนินธุรกิจ CBS (ถือ 51%) เข้าจดทะเบียนใน mai (ยื่นไฟลิ่งไปแล้วเมื่อ เม.ย.) ล่าสุดบริษัทได้เปลี่ยนแผนตลาดรองซื้อขายหุ้นจาก mai ไปเป็น SET แทนเพื่อรองรับการเติบโตของ ETL ในอนาคตและคาดเสนอขายหุ้น IPO ใน 4Q66

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาด 2H66 WICE จะมีกำไรฟื้นตัว HoH ตามฤดูกาลซึ่งปกติจะเป็น High Season ของการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก แต่คาดกำไรจะยังมีแนวโน้มหดตัว YoY จากภาวะเศรษฐกิจโลกและค่าระวางที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดมาก อีกทั้งกำไรสุทธิ 1H66 คิดเป็นเพียง 6% ของประมาณการทั้งปีซึ่งต่ำเกินไป เพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการลงจากเดิมเฉลี่ย 30% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 WICE จะมีกำไรสุทธิ 268 ลบ. หดตัว 51.6%YoY ก่อนพลิกกลับมาเติบโต 20.6%YoY ในปี 2567
  • แม้ WICE จะมีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาวตามการขยายตัวของธุรกิจโลจิสติกส์ แต่ช่วงสั้นมองโมเมนตัมกำไรยังไม่ดี โดย 3Q-4Q66 คาดกำไรจะหดตัว YoY อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่มี Upside หลังปรับไปใช้กรอบราคาเป้าหมายปี 2567 ซึ่งอยู่ที่หุ้นละ 6.40-7.00 บาท (อิง PER 13-14x เช่นเดิม) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงยังไม่แนะนำเข้าลงทุนสำหรับผู้ที่ไม่มีหุ้นจนกว่าจะเห็นการฟื้นตัว แต่ผู้ที่มีหุ้นอยู่แล้วแนะนำถือเพื่อรอการฟื้นตัวและรับปันผล โดยคาดให้ Yield ปี 66 ราว 2.6% อีกทั้งผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิได้รับจัดสรร IPO ของ ETL
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวางขนส่ง
16/08/2023 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 2H66 จะเป็นยังไง หลัง 2Q66 NER มีกำไรสุทธิ 457 ลบ. แต่หากไม่รวมรายการพิเศษจะมีกำไรปกติ 509 ลบ. เพิ่มขึ้น 14.3%YoY และ 67.7%QoQ แรงหนุนมาจาก 1) ยอดขายที่เติบโต 24%YoY และ 5%QoQ โดยแม้มีราคาขายเฉลี่ยที่ 50.65 บาทต่อกก. ลดลง 15%YoY และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3%QoQ แต่ถูกชดเชยได้ด้วยการมีปริมาณขายยาง 1.29 หมื่นตัน เพิ่มขึ้น 46.5%YoY และ 5%QoQ และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นขยับขึ้นเป็น 12.9% จาก 11.7% ใน 2Q65 และ 9.7% ใน 1Q66 หลังมีสัดส่วนยอดขายต่างประเทศเพิ่มขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • NER ยังคงตั้งเป้าปี 2566 มีปริมาณขายยางราว 5.0 แสนตัน เติบโต 12%YoY (1H66 มีปริมาณขายยาวที่ 2.57 แสนตัน เติบโต 39%YoY) โดย 2H66 คาดปริมาณขายยางจะฟื้นตัวตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นหลังจีนเปิดประเทศและมีความต้องการรถยนต์ EV ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งบริษัทยังขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ทั้งในไทย จีน สิงคโปร์ และอินเดีย ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งซื้อรอส่งมอบให้ลูกค้าถึง 4Q66 แล้ว ส่วนราคาขายยางคาดจะทยอยปรับตัวดีขึ้น
  • ส่วนแผนก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ซึ่งมีกำลังผลิต 1.728 แสนตัน ซึ่งใช้งบลงทุน 700 ลบ. (แหล่งเงินทุนจะมาจากกำไรสะสมและ CFO) ปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงที่ดินและเพื่อยึดหลักระมัดระวังจึงขอรอดูความต้องการยางในตลาดอีกครั้งก่อน หลังยังมีควาเมสี่ยงเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกดดันดีมานด์ ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัทมีกำลังผลิตรวม 5.156 แสนตัน

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรปกติ 1H66 คิดเป็น 50% ของประมาณการทั้งปี และ 2H66 คาดผลการดำเนินงานจะทรงตัว HoH และลดลง YoY เนื่องจากกังวลความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกถดถอยจะส่งผลต่อปริมาณขายและราคายางฟื้นตัวช้า อีกทั้งต้องจับตาภาวะภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญอาจกระทบต่อผลผลิตยางทำให้ต้นทุนยางสูงขึ้นกดดันศักยภาพทำกำไรในระยะถัดไปได้ เราจึงคงประมาณการเดิม โดยคาดปี 2566 NER จะมีกำไรปกติ 1,625 ลบ. หดตัว 12%YoY
  • แม้ NER มีความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภัยแล้งซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงาน แต่ช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้น NER ปรับลง 23% นับจากเราออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ขายทำกำไรไปก่อนเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 66 ซึ่งคาดสะท้อนความเสี่ยงไปพอสมควรแล้ว จนทำให้ปัจจุบันเริ่มมี Upside 2-12% จากกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 4.80-5.30 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ที่ 5-6.0 เท่า) อีกทั้งล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H66 หุ้นละ 0.05 บาท (XD 25 ส.ค. และจ่ายปันผล 8 ก.ย. 66) คิดเป็น Div. Yield 1.1% ขณะที่เราคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรทั้งปี 2566 ที่หุ้นละ 0.35 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 7.5% ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจากเดิม “ขายทำกำไร” เป็น “ถือรับปันผล””
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การถดถอยของเศรษฐกิจโลกและจีน, การแข็งค่าของเงินบาท
16/08/2023 HANA ก่อนไปคิดอะไร
  • HANA ประกาศกำไรสุทธิ ใน 2Q66 ที่ 635 ล้านบาท มากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ 411 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิ 139% QoQ และ 159% YoY เนื่องจากยอดขายที่ฟื้นตัวเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทั้ง PCBA และ IC ส่วนธุรกิจ Silicon Carbide (PMS) นั้น ยอดขายลดลง 3% QoQ ขณะที่ Gross margin โดยรวมฟื้นตัวแรงมาอยู่ที่ 15.0% ใน 2Q66 จาก 8.6% ใน 1Q66 เนื่องจากยอดขายที่ฟื้นตัว และค่าเงินบาทที่อ่อนค่า นอกจากนี้ HANA ยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย SG&A/sale ลดลงมาเหลือ 5.7% ใน 2Q66 จาก 5.9% ใน 1Q66

หลังไปได้อะไร

  • คาดแนวโน้มผลการดำเนินงานใน 3Q66 คาดว่าจะฟื้นตัว QoQ เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High season ของอุตสาหกรรม ที่ส่วนใหญ่จะมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาเพื่อรองรับเทศกาลให้ของขวัญในช่วงปลายปี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ Smartphone นอกจากนี้ต้นทุนค่าไฟฟ้าเริ่มมีการปรับตัวลดลง โดย HANA มีสัดส่วนต้นทุนค่าไฟฟ้า คิดเป็น 4-5% ของรายได้รวม อย่างไรก็ตามยังคาดว่าผลการดำเนินงานใน 2H66 ยังคงปรับตัวลดลง YoY อยู่ เนื่องจากตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงอ่อนแอจากการความกังวลภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
  • HANA ยัง focus ผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่าง RFID tag product ซึ่ง HANA เป็นหนึ่งใน 7 บริษัทที่ผ่านคุณสมบัติเพื่อเป็น key suppliers ให้กับ Walmart (+10b units) Dick’s (2b units) Dillar’s (1b units) และ Nordstroms (0.5b units) แล้ว ซึ่งถือว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับ ร้านค้าต่างๆในอนาคต จึงมีแนวโน้มเติบโตสูง โดย margin คาดว่าจะค่อนข้างต่ำกว่า IC packaging แต่จะได้ volume ที่เยอะกว่า ส่วน PMS (Silicon Carbide MOSFET) demand ยังค่อนข้าง strong โดยคาดว่ารายได้จะอยู่ 25-30 ล้านเหรียญฯในปี 2023 และ 60 ล้านเหรียญฯ ในปี 2024 HANA คาดว่า EBITDA break even กลางปีนี้ แต่ Net profit break even ยังคงอยู่ที่ปี 2025 เริ่ม ramp up capacity บางส่วนแล้ว แต่ปัญหาคือ SiC equipment lead time อยู่ระหว่าง12-18 เดือน และต้องจ่ายล่วงหน้า 80% ในช่วง 1 ถึง 1 ปีครึ่งจากนี้ ปัจจุบันทาง HANA ยังมองหา funding หลาย options อาทิ กู้เงินแต่มีต้นทุนดอกเบี้ยแพง รวมถึง Private Placement 80 ล้านหุ้นที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายอมรับว่าอาจจะมองกำไรของ HANA ต่ำเกินไป หลังผลประกอบการของ HANA ฟื้นตัวแรงกว่าคาด ขณะที่เราคาดว่า 3Q66 ก็จะเป็นช่วง High season ของธุรกิจ ซึ่งคาดว่า 3Q66 จะมีผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น QoQ ทำให้เรามีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566-67 ขึ้นประมาณ 30% สะท้อนภาพผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งกว่าคาด ทั้งยอดขายที่ปรับขึ้น 24% และ Gross margin ที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก 13.0% เป็น 14.2% ในปี 2566
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น และความผันผวนของค่าเงินบาท
  • เราได้ปรับ Target price ขึ้นมาเป็น 57.6 บาท (จากเดิม 41 บาท) อิง 5 ปี PE mean ที่ 20 เท่า โดยเรายังคงแนะนำ Neutral เนื่องจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจาก Bottom มาแล้วกว่า 53% เทียบกับ KCE ที่ฟื้นตัวจาก Bottom เพียง 29% นอกจากนี้เรายังขอ Wait & See ธุรกิจใหม่ อย่าง Silicon Carbide ที่ยังไม่เห็นยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ
16/08/2023 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 2H66 เป็นอย่างไร หลัง 2Q66 AU มีกำไรสุทธิ 43 ลบ. เติบโต 25.5%YoY และ 1%QoQ แรงหนุนจาก 1) ยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 30%YoY และ 13%QoQ จากยอดขายสาขาเดิมโต 17.7%YoY และ 13.6%QoQ หลังมีลูกค้ามาทานเพิ่มตามกิจกรรมเศรษฐกิจและลูกค้าต่างชาติที่ฟื้นตัว อีกทั้งรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่ม 12 สาขา จาก 2Q65 และ 2 สาขา จาก 1Q66 และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 64.3% ดีขึ้นจาก 63.9% ใน 2Q65 และ 63.8% ใน 1Q66 จากมีสัดส่วนลูกค้านั่งทานที่ร้านขนมมากขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • AU ยังมุ่งมั่นขยายสาขาร้านขนมหวานภายใต้แบรนด์ After You ตามแผน โดย 2H66 คาดจะเปิดร้านร้านขนม After You 7-9 สาขาในพื้นที่ที่มีกำลังซื้อสูง และ/หรือ เป็นศูนย์กลางของนักท่องเที่ยวเพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น ทั้งนี้ในเดือน ก.ค. 66 ได้เปิดสาขาใหม่ไปแล้ว 2 สาขาในกทม. ส่วนเดือน ก.ย. 66 มีแผนเปิดแฟรนไชส์แบรนด์ After You ในฮ่องกงเป็นสาขาที่ 2 (สาขาแรกปิดชั่วคราวตั้งแต่ ส.ค. เพื่อย้ายไปพื้นที่ใหม่) และมีแผนเซ็นสัญญากับแฟรนไชส์ซีในประเทศกลุ่ม CLMV เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างการเติบโตในระยะยาว
  • AU ยังคงเป้ายอดขายรวมปี 2566 เติบโต 25%YoY สู่ระดับ 1.2 พันลบ. กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ปัจจัยหนุนจากการขยายสาขาใหม่ การเติบโตของยอดขายสาขาเดิมตามการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจและลูกค้าต่างชาติ อีกทั้งมาร์จิ้นคาดดีขึ้นหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดและยังมีสัดส่วนลูกค้าเข้ามาทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นดีกว่าซื้อกลับ)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไรสุทธิ 1H66 คิดเป็น 41% ของประมาณการทั้งปี และเรายังคงประมาณการเดิม โดย 2H66 คาดกำไรจะเติบโตทั้ง HoH และ YoY หลังเข้าสู่ High Season โดยเฉพาะไตรมาส 4 คาดจะเป็นพีคของกำไร เพราะอยู่ในช่วงมีเทศกาลสำคัญและยังเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยจำนวนมาก ซึ่งคาดหนุนการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม อีกทั้งจะรับรู้ยอดขายจากขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดดีขึ้นต่อเนื่อง หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาจำนวนมากและมีลูกค้าทานที่ร้านมากขึ้น หนุนให้ปี 2566 คาดมีกำไรสุทธิ 190 ลบ. เติบโต 60%YoY และเพิ่มสู่ 237 ลบ. โตอีก 24%YoY ในปี 2567
  • เราคงมีมุมมองบวกต่อ AU จากกำไรที่ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทั้งนี้กลยุทธ์ลงทุนคงแนะนำ “ซื้อลงทุน” โดยประเมินราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 13 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 6.8% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 0%) และคาดให้ Div. Yield ปี 66 ราว 2.2%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น
11/08/2023 NYT ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงาน 2H66 จะเป็นอย่างไร หลัง 2Q66 NYT มีกำไรสุทธิ 112 ลบ. เติบโตเด่น 167%YoY แรงหนุนจาก 1) รายได้ให้บริการท่าเทียบเรือที่เพิ่มขึ้น 47.9%YoY หลังมีปริมาณรถยนต์ผ่านท่าเพิ่มขึ้นราว 20%YoY สอดคล้องกับยอดส่งออกรถยนต์ของไทยที่เพิ่มขึ้น 5%YoY 2) รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบ.ร่วม (ท่าเรือ C0 ถือ 49%) ราว 11 ลบ. เพิ่มจาก 0.25 ลบ. ใน 2Q65 หลังลูกค้าเริ่มกลับมาส่งสินค้าโครงสร้างขนาดใหญ่ และ 3) มีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 41.7% จาก 35.0% ใน 2Q65 และ SG&A/Sales ลดลงเป็น 9.5% จาก 11.1% ใน 2Q65 หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดตามปริมาณรถยนต์ผ่านท่าที่เพิ่มขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • NYT ยังคงเป้ารายได้ปี 2566 เติบโต 8-9%YoY หลัง 1H66 รายได้เติบโตไปแล้ว 26%YoY จากการฟื้นตัวของรายได้บริการท่าเทียบเรือ หลังปัญหาขาดแคลนชิปคลี่คลาย ทำให้ผู้ประกอบการกลับมาผลิตและส่งออกรถยนต์ได้ อย่างไรก็ดี 2H66 คาดรายได้จะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง YoY เนื่องจาก 2H65 ยอดส่งออกรถยนต์เร่งตัวขึ้นจาก Pent Up Demand และปัญหาชิปขาดแคลนคลี่คลาย ส่วนรายได้คลังสินค้าคาดเติบโต 2-3%YoY หลังพื้นที่เช่าเดิม 2.7 แสนตร.ม. มีอัตราใช้พื้นที่คลังสินค้าเกือบเต็ม 100% ขณะที่พื้นที่เช่าใหม่ที่บ่อวิน 3.4 หมื่นตร.ม. ปัจจุบันมีอัตราเช่า 25% และคาดจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตในแถบ EEC
  • ธุรกิจใหม่เรือซีฮอร์สเฟอร์รี่ 1H66 รับรู้ผลขาดทุนราว 50 ลบ. (1Q66 ขาดทุน 20 ลบ. และ 2Q66 ขาดทุน 30 ลบ.) หลังจำนวนผู้โดยสารยังต่ำ และ 2H66 เป็น Low Season ของการท่องเที่ยวในเกาะสมุย เนื่องจากเข้าสู่หน้ามรสุมทำให้มีพายุในอ่าวไทยพัดเข้ามาบริเวณเกาะ ทำให้ปีนี้อาจรับรู้ผลขาดทุนสูงกว่าที่คาดเดิมและสูงกว่าปี 2565 ที่รับรู้ผลขาดทุน 87 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566 เพื่อสะท้อนกำไร 1H66 ที่สูงเกินคาด โดยคิดเป็น 68% ของประมาณการทั้งปี ทั้งนี้ 2H66 คาดกำไรจะลดลง YoY จากฐานปีก่อนที่สูงเพราะ ส.ค.-ธ.ค. 65 บริษัทมีปริมาณรถยนต์ผ่านท่าเร่งตัวขึ้นหลังปัญหาขาดชิปคลี่คลาย และจะลดลง HoH จากเป็น Low Season ของธุรกิจเรือซีฮอร์สเฟอร์รี่ และไม่มีบันทึกกำไรพิเศษยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ราว 14 ลบ. เช่นที่เกิดใน 1H66 อย่างไรก็ดี ภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 NYT มีกำไรสุทธิ 362 ลบ. ยังโตเด่น 44%YoY และโตต่อ 4%YoY ในปี 2567 ตามการโตของยอดส่งออกและนำเข้ารถยนต์ อีกทั้งเกิดผลประหยัดต่อขนาดเพิ่มขึ้น
  • NYT เป็นผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อส่งออกและนำเข้ารถยนต์ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จากการให้บริการท่าเทียบเรือ A5 และ C0 ทั้งนี้เรามอง NYT มีจุดเด่น 1) ผลการดำเนินงานได้อานิสงส์บวกโดยตรง จากการเติบโตที่ดีของตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยและตลาดนำเข้ารถยนต์ EV และ 2) เป็น Dividend Stock โดยมีฐานะการเงินและกระแสเงินสดแข็งแกร่ง สามารถจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอในอัตราสูง คิดเป็น Yield ปีละ 5-6% ขณะที่ประเมินราคาเป้าหมายปี 2567 ที่หุ้นละ 4.80 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีที่ 16x) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.23 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 6.3% กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ” โดยเทคนิคมีแนวรับ 3.66/3.62 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ : ปัญหาขาดแคลนชิปส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน, ศก. คู่ค้าชะลอ, กระแสตอบรับในธุรกิจเรือซีฮอร์สเฟอร์รี่ ขณะที่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคาดผลกระทบจำกัด เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีทักษะที่ได้ค่าแรงสูงกว่าขั้นต่ำอยู่แล้ว
10/08/2023 KCE ก่อนไปคิดอะไร
  • KCE ประกาศกำไรสุทธิ 2Q23 ที่ 376 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.1% QoQ เนื่องจากการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามยอดขายที่ลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการส่งออกที่ลูกค้าจ่ายค่าระวางสินค้าเอง ขณะที่ค่าใช้จ่าย Admin ก็ลดลงเช่นกัน ทำให้ SG&A/sale ในไตรมาสนี้ลดลงเหลือ 10.7% ใน 2Q66 จาก 11.9% ใน 1Q66 ทั้งนี้ตัวเลขยอดขาย และ Gross margin ของบริษัทยังคงอ่อนแออยู่ในไตรมาสนี้ โดยมียอดขายที่ลดลง 2% QoQ หลักๆ เกิดจากยอดขายในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ที่ลดลง หลังจากลูกค้ายังมีการ Destocking สินค้าคงเหลือ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และเป็นช่วง Low season ของธุรกิจ (วันหยุดยาวเยอะ) โดยกำลังการผลิตจริงโดยรวมของ 2Q66 อยู่ที่ 77% จาก 79% ใน 1Q66 โดยยอดขายในไทย (-15% QoQ) ยุโรป (-12% QoQ) และ Asia (-10% QoQ) ขณะที่ยอดขายใน US ยังทรงตัว QoQ และจีนที่เพิ่มขึ้น 2.9% QoQ และเป็นสาเหตุที่เห็น Gross margin ลดลงเหลือ 19.1% ใน ใน 2Q66 จาก 19.6% ใน 1Q66 แม้ว่าต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนพลังงานเริ่มเห็นการลดลงบ้างแล้ว

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร KCE ยังคงมองว่ายอดขายรวมจะดีขึ้นใน 3Q66 หลังเห็นสัญญาณการกลับมา restocking กลับมาระดับปกติ โดย u-rate กลับขึ้นมา Run ที่ 83-85% (US$126-127 ล้านเหรียญฯ) ใน 3Q66 Qtd จาก 6 ล้านเหรียญฯ ใน 2Q66 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง QoQ เล็กน้อยใน 4Q66 (แต่ยังไม่ถึงระดับ 1H65 ที่มี order strong มากที่ระดับ 136 ล้านเหรียญฯ) เช่นเดียวกับ Gross margin ที่ดีขึ้นตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มราคาวัตถุดิบที่ลดลง โดยคาดว่า Gross margin จะเพิ่มขึ้นเป็น 22-23% ใน 3Q66 จากแค่ 19.4% ใน 1H66 โดยคาดว่าปีนี้จะมียอดขายที่ลดลงประมาณ 4-5% ขณะที่คาดว่าปีหน้าคาดว่าจะกลับมาเติบโตประมาณ 5-10% YoY จากแนวโน้มความต้องการแผงวงจรสำหรับรถยนต์ที่กลับมา นอกจากนี้ยังคาดว่า Gross margin ของบริษัทจะฟื้นตัวแรงมาอยู่ที่ 26-27% ในปี 2567

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังมองบวกกับ KCE จากผลการดำเนินงานของ KCE จะผ่านจุดต่ำสุดของปีไปแล้วในช่วง 1Q66 โดยคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2H66 จะเติบโตจากการขยายกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ Special grade PCB (HDI, 30% ของยอดขายรวม) ที่มี Margin สูงมากขึ้นขึ้น ซึ่ง HDI เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในพวก Break system ในรถยนต์ EV และผลิตภัณฑ์ Radar/Lidar เป็นต้น โดยปัจจุบันมี เครื่อง Laser drill สำหรับใช้กับการผลิต HDI อยู่ 11 เครื่อง ซึ่งผลิตเต็มกำลังอยู่ และยังมี Demand ที่ค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่อง Laser Drill เข้าไปอีก 2 เครื่อง เรียบร้อยแล้ว ขณะที่เครื่อง Laser Drill อีก 2 เครื่องจะมาถึงในปลายเดือนส.ค. 66 ซึ่งโดยรวมจะสามารถเพิ่ม Capacity ของ HDI ได้เป็นทั้งหมด 750,000 ตารางฟุตต่อเดือน หากติดตั้งทั้งหมด 4 เครื่อง ซึ่งจะช่วยทำให้ overall sale และ Gross margin เพิ่มขึ้นได้ใน 2H66 และต้นทุนที่คาดว่าจะลดลง โดยเฉพาะราคาทองแดงในตลาดโลก และค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มลดลง (สัดส่วน 9% ของต้นทุนรวม ใน 1H66 จาก 7% ใน 4Q65) ขณะที่ราคาหุ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม อย่าง Chin-poon Industrial, TTM Technologies, CMK Crop และ Meiko ต่างก็เห็นสัญญาณการฟื้นตัวแล้วเช่นกัน
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกหากถดถอยรุนแรงมากกว่าคาดจะกระทบต่อปริมาณความต้องการแผงวงจร PCB โดยรวม ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่าเงินบาทจะกระทบอัตราทำกำไรได้
  • เรามีปรับลดประมาณการปีนี้ลง 30% เพื่อ fine-tune รายได้ และ Gross margin ตาม guidance ใหม่ของทางบริษัท แต่เรายังคงประมาณการปี 2567 โดยเรามีการ roll-over target price ไปเป็นปี 2567 ได้ราคาเป้าหมายเท่าเดิมที่ 61 บาท อิง 29X หรือ 5 ปี PE mean โดยรวมยังแนะนำให้ทยอยสะสม จากแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นใน 2H66 ต่อเนื่องถึง 2567
10/08/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • SNNP รายงานผลประกอบการของ 2Q66 ที่กำไรสุทธิทำจุดสูงสุดใหม่ คาดว่าหากโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามสามารถใช้กำลังการผลิตและสร้างยอดขายได้ตามเป้าจะหนุนให้ผลประกอบการของ 2H66 เติบโตได้ต่อเนื่อง

หลังไปได้อะไร

  • SNNP รายงานกำไรสุทธิของ 2Q66 ที่ 157 ล้านบาท (+35% YoY และ 1.7% QoQ) ตามคาดและทำสูงสุดใหม่อีกครั้ง โดยรายได้เท่ากับ 1.4 พันล้านบาท (+11% YoY และ 3.5% QoQ) รายได้จากในประเทศ 76% (+1.6% QoQ และ +14.9% YoY) รายได้จากต่างประเทศ 24% (+10% QoQ และ +0.8% YoY) อัตราการทำกำไรขั้นต้นอ่อนตัวลงเล็กน้อยเท่ากับ 27.9% จากปัจจัยด้านค่าแรงช่วงฤดูกาลและส่วนผสมของ Product Mix ที่รายได้มาจากกลุ่มเครื่องดื่มมากขึ้น (45%) แต่ให้ Gross Margin ที่ต่ำกว่าขนมขบเคี้ยว(55%) 1H66 กำไรสุทธิเท่ากับ 311 ล้านบาท (+40% YoY) และคิดเป็น 49% ของประมาณการกำไรสุทธิที่เราคาดไว้ที่ 692 ล้านบาท (+34% YoY) ทำ New High
  • ด้วยผลกระทบของเศรษฐกิจในประเทศเวียดนามและการเปิดสายการผลิตของโรงงานใหม่ที่ล่าช้ากว่าแผน คาดว่าจะทำให้เป้าการขายจากประเทศเวียดนามในปี 2566 ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1,000 ล้านบาท (1H66 ทำได้ 314 ล้านบาท) ทำให้บริษัทมีการปรับแผนกลยุทธ์ขยายตลาดไปประเทศจีนเพิ่มขึ้น รวมถึงออกสินค้าใหม่คือ น้ำกระท่อม ที่ราคาขายขวดละ 10 บาทและตั้งเป้าการขายที่เดือนละ 1 ล้านขวด

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคงประมาณการรายได้ของปี 2566 ที่ 6,260 ล้านบาทเติบโต 13% และคาดกำไรสุทธิที่ 692 ล้านบาท (+34% YoY) ทำ New High โดยเรามีประมาณการที่ต่ำกว่าเฉลี่ยของตลาดอยู่ประมาณ 10% โดยตั้งเป้าระดับ Gross margin ที่ 8% เปรียบเทียบ 1H66 ที่ทำได้ 28% โดยเราตั้งสมมุติฐานการเพิ่มขึ้นของ Gross Margin จากต้นทุนที่ต่ำลงในเวียดนาม เช่น Lotus ในปี 2567 คาดการเติบโตในตลาดต่างประเทศจะยังคงเป็นปัจจัยหลักหนุนการเติบโตของรายได้ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อจะหนุนยอดขายในประเทศ
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุนและความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบหลัก การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงินและเศรษฐกิจในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงการปรับขึ้นของค่าแรง
  • แม้ว่าช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับลงไป 34% สะท้อนความมกังวลของยอดขายในเวียดนาม เรามองว่ายังคงคำแนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว รอเห็นสัญญาณการฟื้นที่ชัดเจนช่วงปลาย 3Q66 โดยเราใช้สมมติฐาน PER ที่ 5 เท่า (+1SD) ราคาเป้าหมายปี 2567 เท่ากับ 25.25 บาท/หุ้น โดยยังไม่รวมประมาณการของการเปิดตัวของธุรกิจเสริมอาหารเดือน ธันวาคม 2566
  • SNNP ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 232 บาทต่อหุ้น XD วันที่ 22 สิงหาคม Payout 72%
09/08/2023 III ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มกำไร 2H66 จะเป็นอย่างไร หลัง 2Q66 III มีกำไรสุทธิ 163 ลบ. เติบโต 37.2%YoY โดยแม้รายได้รวมลดลง 39%YoY จากค่าระวางลดลงและมีปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทำให้ไม่ได้รับรู้รายได้ของ TAC หลังขายให้แก่ ANI ปลายปีก่อน ทำให้รายได้จาก Logistics (-72%YoY), Sea freight (-48%YoY), Chemical (-23%YoY) และ Air freight (-22%YoY) แต่ยังชดเชยได้ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นเป็น 20.7% จาก 20.0% ใน 2Q65 หลังธุรกิจ Air freight มีมาร์จิ้นดีขึ้นจากมีปริมาณให้บริการที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งกำไรฯ ที่เพิ่มขึ้น 133%YoY จาก ANI ซึ่งตั้งแต่ต้นปีนี้รับรู้ ASIA GSA (M) 100% จากเดิม 20% และ AOTGA (ถือผ่าน SAL) ซึ่งให้บริการภาคพื้นดินในสนามบินมีผลการดำเนินงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร III มองว่า 2H66 ปริมาณขนส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้น HoH เพราะเข้าสู่ High Season ของการท่องเที่ยวและการขนส่ง รวมทั้งยังได้แรงหนุนจากจีนเปิดประเทศซึ่งดีต่ออุปสงค์ขนส่งสินค้าทางอากาศและธุรกิจให้บริการภาคพื้นดินในสนามบิน (AOTGA) สะท้อนได้จาก AOT ที่มีแผนปรับเพิ่มปริมาณเที่ยวบินปีนี้ใหม่จากเดิม 72% เป็น 82% และกระทรวงพาณิชย์ยังคาดการส่งออกไทยจะฟื้นตัวใน 2H66 ขณะที่ค่าระวางขนส่งสินค้าอาจลดลงหรือทรงตัว HoH แต่จะไม่ลดลงแรง YoY เหมือนเช่นใน 1H66 ซึ่งมีฐานค่าระวางสูงใน 1H65
  • บริษัทยังตั้งเป้าผลการดำเนินงานปีนี้โต 15-20%YoY จากมีปริมาณขนส่งเพิ่มขึ้นในธุรกิจ Air freight หลังมีพื้นที่ระวางสินค้าเพิ่มขึ้น การขยายคลังสินค้าในพื้นที่ EEC และรับรู้ส่วนแบ่งกำไรฯ เพิ่มขึ้น (จาก ANI และ AOTGA) ขณะที่ความคืบหน้าของการเสนอขาย IPO ของ ANI (ถือ 51.66%) หลังยื่นไฟลิ่งไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 ปัจจุบันยังอยู่ระหว่าง กลต.และตลท. พิจารณา โดยคาดจะอนุมัติไฟลิ่งภายใน ต.ค. และคาดจะเสนอขาย IPO ได้ใน 4Q66

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • กำไร 1H66 คิดเป็น 48% ของประมาณการทั้งปี และเรายังคงประมาณการเดิม โดย 2H66 คาดกำไรจะดีขึ้นทั้ง HoH และ YoY จากเข้าสู่ฤดูกาลขนส่งสินค้า (3Q-4Q66 คาดกำไรดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ) หนุนให้คาดปี 2566 III จะมีกำไรปกติ 650 ลบ. เติบโต 18%YoY (แต่กำไรสุทธิจะลดลง 3%YoY จากปี 2565 มีบันทึกรายการพิเศษสุทธิ 245 ลบ.)
  • แม้ช่วงสั้นตลาดหุ้นไทยและผลการดำเนินงานยังเสี่ยงถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่คาดราคาหุ้นเริ่มมี Downside จำกัด เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการที่ล่าสุดบริษัทอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน 300 ลบ.และจำนวนหุ้นซื้อคืนไม่เกิน 25 ล้านหุ้น (ไม่เกิน 3.10% ของหุ้นชำระแล้ว) เริ่ม 15 ส.ค. 66-14 ก.พ. 67 และยังประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H66 หุ้นละ 20 บาท (XD 23 ส.ค. และจ่ายปันผล 8 ก.ย.) คิดเป็น Div. Yield 1.6% รวมทั้งผู้ถือหุ้น III ยังมีสิทธิรับจัดสรรหุ้น IPO ของ ANI ขณะที่เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 13.70-14.50 บาท (อิง PER -1SD ที่ 17-18x จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ” เทคนิคให้แนวรับที่ 12.30/12.00 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก, ความผันผวนของค่าระวาง, ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน
08/08/2023 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • แผนการดำเนินงานและกำไร 2H66 จะเป็นอย่างไร หลัง 2Q66 TNP มีกำไรสุทธิ 38 ลบ. เติบโต 10.5%YoY แต่หากไม่รวมกำไรพิเศษขายสินทรัพย์ 3.59 ลบ. จะมีกำไรปกติ 34 ลบ. ทรงตัว YoY โดยแม้ยอดขายรวมจะเพิ่มขึ้น 11.2%YoY เนื่องจากยอดขายสาขาเดิมพลิกบวกเป็นครั้งแรก 1.9%YoY (หลังติดลบต่อเนื่องมา 5 ไตรมาส) หลังธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นและการค้าตามด่านชายแดนกลับมาเปิดปกติ รวมทั้งรับรู้ยอดขายจาก 4 สาขาใหม่ที่เปิดปีก่อน และยอดขายจาก 1 สาขาใหม่ที่เปิดในไตรมาสนี้ แต่ถูกหักล้างด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเป็น 17.0% จาก 17.4% ใน 2Q65 เนื่องจากคู่ค้ามีการปรับขึ้นราคาสินค้าบางรายการ

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร TNP คาด 2H66 ยอดขายจะปรับตัวดีกว่า 1H66 เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High Season ของการท่องเที่ยว อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจในประเทศน่าจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นหลังเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ดีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคาดจะเห็นเป็นรูปธรรมใน 2H67 ขณะที่การขยายสาขายังดำเนินตามแผน โดยจะมีสาขาเปิดใหม่เพิ่มอีก 5 แห่ง ซึ่งเปิดใน 1H66 ไปแล้ว 1 แห่ง และจะเปิดเพิ่มอีก 4 แห่งใน 2H66 (สิ้นปีนี้คาดมีสาขาทั้งสิ้น 47 แห่ง เพิ่มจากปีก่อนที่มี 42 แห่ง) โดยตั้งงบลงทุนสำหรับเปิดสาขาใหม่ไว้ที่ปีละ 150 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 1H66 กำไรสุทธิคิดเป็น 45% ของประมาณการทั้งปี และเรายังคงประมาณการ โดย 2H66 คาดผลการดำเนินงานจะเติบโตทั้ง HoH และ YoY (3Q66-4Q66 คาดกำไรปกติจะเพิ่มขึ้นทั้ง QoQ และ YoY โดยที่ 4Q66 จะเป็นไตรมาสที่ดีสุดของปีนี้เพราะเข้าสู่ High Season) ปัจจัยหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่คาดอยู่ในแดนบวก YoY หลังกำลังซื้อและธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัว รวมทั้งรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสจาก 4 สาขาใหม่ที่เปิดปีก่อน และยอดขายบางส่วนจาก 5 สาขาใหม่ที่เปิดปีนี้ หนุนให้ปี 2566 คาดมีกำไรสุทธิ 166 ลบ. พลิกเติบโต 11%YoY
  • เรามอง TNP เป็นหุ้นค้าปลีกขนาดเล็กที่มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว และมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยสิ้น 2Q66 ไม่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายและมีฐานะเงินสดสุทธิราว 90 ลบ. อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside น่าสนใจจากกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 40-4.80 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 21-23x) และล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H66 หุ้นละ 0.04 บาท (XD 21 ส.ค. นี้) คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1.2% กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ” เพื่อรับกำไรที่จะฟื้นตัวดีขึ้น YoY ในช่วง 2H66 และยังมี Upside Risk จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ หากการจัดตั้งรัฐบาลชัดเจนขึ้น
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
02/08/2023 DELTA ก่อนไปคิดอะไร
  • DELTA ประกาศกำไรสุทธิ 2Q66 ที่ 7 พันล้านบาท มากกว่าที่ตลาดคาด 20% หลักๆ มาจากยอดขายรวมที่เติบโตมากกว่าคาด ทั้งนี้กำไรสุทธิเติบโต 29.1% QoQ จากยอดขายรวมที่เติบโต 11% QoQ จากกลุ่มผลิตภัณฑ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ (81.6% ของยอดขายรวม) เติบโตอย่างแข็งแกร่ง 13.9% QoQ หลักๆ จากมาจากความต้องการผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องกับ EV ซึ่งเติบโตถึง 17% QoQ ใน 2Q66 (ยอดขาย EV ใน US +24% QoQ, Europe +11% QoQ) และทำให้สัดส่วนยอดขายที่เกี่ยวกับ EV ขึ้นเป็น 37% ของยอดขายรวม ใน 2Q66 จาก 32% ใน 1Q66 ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย Cloud Storage และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Data Center ยังเห็นการเติบโตสูงขึ้น QoQ จากแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นของ Artificial Intelligence Application ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ Infrastructure (Telecom และ Networking) ที่มีสัดส่วนยอดขาย 15.6% ของยอดขายรวม ยังคงมียอดขายที่อ่อนแอ -13.6% QoQ ใน 2Q66 ทั้งนี้ Gross margin รวมมีการปรับขึ้นเป็น 23.4% ใน 2Q66 จาก 20.8% ใน 1Q66 โดยรวมจาก Gross margin กลุ่มผลิตภัณฑ์ EV ยังกลับมาเพิ่มขึ้นด้วยเป็น 15.7% ใน 2Q66 จาก 9.2% ใน 1Q66 แม้ว่าจะยังมีการตั้งสำรองวัตถุดิบสูง แต่สถานการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบเริ่มคลี่คลายบ้าง รวมถึงยังมีผลของ economy of scale การผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทำให้ Gross margin โดยรวมเพิ่มขึ้นได้ใน 2Q66

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร DELTA ยังคงระมัดระวังคาดการณ์เป้ายอดขายในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ทั้งปี 2566 จะเติบโต 15-20% เทียบกับ 1H66 เติบโต 29% YoY (เราปรับเพิ่มคาดการณ์เป็น +25% จากเดิม +17%) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ EV-related นั้นที่คาดว่าจะเติบโตมาก (108% YoY ใน 1H66) ขณะที่ Data Center business จะเติบโต 10-15% ขณะที่ธุรกิจในประเทศอินเดีย (อุปกรณ์ Telecommunication 5G และ Power supply สำหรับ Data Center) ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ทาง DELTA มีการคงประมาณการณ์ Gross margin ปีนี้ที่ 22-23% (เราคาด 22.5%)
  • เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 เพิ่มขึ้น 7.7% มาอยู่ที่ 17.2 พันล้านบาท จากเดิม 15.9 พันล้านบาท หรือเติบโต 15.7% YoY ยังคงได้รับปัจจัยบวกจากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ EV ที่มี Backlog order ค่อนข้างมากในอีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจำนวนมาก ทาง DELTA ได้มีการขยายพื้นที่ชั่วคราว จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิต EV-related products ได้ประมาณ 20% ในช่วง 2H66 และจะสามารถ เพิ่ม capacity ได้อีกมากหากโรงงานใหม่เสร็จ คาดว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นไป (เลื่อนจาก 2H66) ขณะที่ Gross Margin คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 22.5% ในปี 2566 จาก 23.6% ในปี 2565

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงแนะนำ Underperform ด้วย Target price ใหม่ที่ 74.0 บาท (จากเดิม 66.6 บาท) อิง PER ที่ 52 เท่าซึ่งเท่ากับ +0.5 SD ของ PE mean ในรอบ 5 ปี โดยราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ 81x PE ปี 2566 แล้ว ขณะที่หากพิจารณาคู่แข่งระดับโลก ซื้อขายที่ระดับ PE เพียง 20-30x ได้ราคาเป้าหมาย 00 บาทต่อหุ้น (66.6 บาท หลังแตกพาร์) โดยเราแนะนำให้หลีกเลี่ยง และระมัดระวังการลงทุน
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น ความท้าทาย และความผันผวนของค่าเงินบาท
17/07/2023 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • เราได้มีการจัดให้มีการประชุมระหว่างผู้บริหารกับผู้จัดการกองทุนในประเทศสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่ออัพเดตในเรื่องของแนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี รวมถึงรายละเอียดของธุรกิจใหม่คือ Function drink ภายใต้ Brand เป็นต่อที่เพิ่งมีการเปิดตัวไปในช่วงต้นเดือน ก.ค.

หลังไปได้อะไร

  • ภาพรวมนั้นเป็นบวกโดยผลประกอบการ 1Q66 นั้นคือจุดต่ำสุดโดยถ้าดูจากตัวเลข TV Adex ในเดือน เม.ย. (Bt5.3bn) และ พ.ค. (Bt5.6bn) เห็นภาพการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยเบื้องต้นคาดว่าเดือน มิ.ย. อาจจะใกล้เคียงเดือน พ.ค. โดยถ้าเป็นเช่นนี้ TV Adex 2Q66 น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ 20% QoQ ทำให้เรามองว่ากำไรสุทธิใน 2Q66 จะอยู่ที่ 115 ล้านบาท เติบโต 4% QoQ แต่ยังลดลง 35.8% YoY เนื่องจาก 2Q65 นั้นฐานกำไรค่อนข้างสูงจากรายได้ของหนังเรื่อง F4 ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก
  • ในช่วง 2H66 นั้นผู้บริหารคาดว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจาก TV Adex ที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง HoH และ YoY โดยการฟื้นตัว YoY นั้นเป็นผลมาจาก 2H65 นั้น TV Adex ได้รับผลกระทบเชิงลบในประเด็นเรื่องเงินเฟ้อทำให้มีฐานที่ต่ำ ประกอบกับ 2H66 น่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนทางด้านการเมืองทำให้เม็ดเงินโฆษณาน่าจะยืนที่ระดับใกล้เคียง 2Q66 ได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้บริหารกังวลหลักๆคือเรื่องความไม่แน่นอนทางด้านการเมือง รวมถึงครึ่งปีหลังบริษัทได้มีการเตรียม Content ที่น่าสนใจไว้หลายตัว เช่น ละครรักซ่อนชู้ซึ่งเป็นการทำร่วมกับบริษัทเกาหลี
  • ในส่วนของธุรกิจ Function drink นั้นเป็นการ JV ของ 3 บริษัทคือ MASCOT (33%, เชี่ยวชาญทางด้านการคิดสูตรอาหารและเครื่องดื่ม), ONEE (33%, ด้านการโปรโมตสินค้า) และ NSL (33%, ด้านกระจายสินค้า) ONEE ใส่เงินลงทุนไป 20 ล้านบาท โดยปัจจุบันกระจายสินค้าไปครบ 7-11 ทุกสาขาแล้ว และคาดหวังรายได้ 2H23 ที่ 300 ล้านบาทและ Gross margin ที่ 12-18% โดยผลตอบรับในช่วงแรกถือว่าดีกว่าที่คาดไว้มาก โดยบริษัทคาดว่าสิ้นปีนี้จะ Breakeven ได้และผลกระทบในเชิง P&L ของ ONEE ในช่วงแรกนั้นถือว่าจำกัด

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • สิ่งที่นักลงทุนกังวลหลักๆคือเรื่องการฟื้นตัวของ TV Adex ใน 2H66 จากความไม่แน่นอนทางการเมืองแต่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 18% ใน 1 เดือนและซื้อขายอยู่ที่ระดับใกล้เคียง -2SD ในเชิงของ PE ทำให้ Downside ค่อนข้างที่จะจำกัด เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยเราแนะนำให้นักลงทุนใช้จังหวะที่เริ่มเห็นความชัดเจนด้านการเมืองในการเข้าซื้อสะสมอีกครั้ง โดยเราให้ราคาเป้าหมายที่ 6-6.3 บาทต่อหุ้น อิง 24.6x-27.5x PE ปี 2566 หรือ -1SD ถึง -0.5SD
  • ความเสี่ยงคือ ความไม่แน่นอนด้านการเมืองซึ่งจะกระทบการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV
01/07/2023 KCE ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดแนวโน้มผลการดำเนินงานของ KCE จะฟื้นตัวเล็กน้อยใน 2Q66 หลังผลการดำเนินงาน 1Q66 มีกำไรสุทธิที่ 345 ล้านบาท ลดลง 31% QoQ และ 42% YoY เนื่องจากผลกระทบความผันผวนของค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยยอดขายในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ลดลง 6.9% QoQ ขณะที่ Gross margin ลดลงจากต้นทุนวัตถุดิบหลักอย่างทองแดงที่สูง หลังจากมีการสต็อคไว้ในช่วงค่าเงินบาทอ่อนในช่วงปลายปี 65

หลังไปได้อะไร

  • เราคงมุมมองเดิมที่คาดว่าผลการดำเนินงานใน 2Q66 อยู่ที่ 360 ล้านบาท ฟื้นตัวเล็กน้อย 3% QoQ โดยแม้ว่ายอดขายใน 2Q66 คาดว่าจะ Flat QoQ แต่ยังคาดว่าจะมี Upside ใน 2H66 เนื่องจากเราเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทั่วโลกในช่วงเดือนเม.ย. - พ.ค. 66 อาทิ ทวีปยุโรป (47% ของยอดขาย PCB ของ KCE) ที่มียอดขายเติบโต +17.9% YoY ประเทศสหรัฐฯ (21% ของยอดขาย PCB ของ KCE) ที่มียอดขายรถยนต์เติบโต +8.0% YoY และจีน (12% ของยอดขาย PCB ของ KCE) ที่เติบโตถึง +61.2% YoY ขณะที่ต้นทุนราคาทองแดงเริ่มมีการปรับตัวลดลง 5.6% QoQ ใน 2Q66 QTD นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าประมาณ 2.4% QoQ ใน 2Q66 ก็คาดว่าจะส่งผลบวกต่อ Gross margin โดยรวมใน 2Q66 โดยเราคาดว่า Gross margin จะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ใน 2Q66 จาก 19.6% ใน 1Q66
  • คาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2H66 จะเติบโตจากการขยายกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ Special grade PCB (HDI, 30% ของยอดขายรวม) ที่มี Margin สูงมากขึ้นขึ้น ซึ่ง HDI เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในพวก Break system ในรถยนต์ EV และผลิตภัณฑ์ Radar/Lidar เป็นต้น โดยปัจจุบันมี เครื่อง Laser drill สำหรับใช้กับการผลิต HDI อยู่ 11 เครื่อง ซึ่งผลิตเต็มกำลังอยู่ และยังมี Demand ที่ค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่อง Laser Drill เข้าไปอีก 2 เครื่อง เรียบร้อยแล้ว ขณะที่เครื่อง Laser Drill อีก 2 เครื่องจะมาถึงในเดือนก.ค. 66 ซึ่งโดยรวมจะสามารถเพิ่ม Capacity ของ HDI ได้อีก 300,000-400,000 ตารางฟุตต่อไตรมาส หากติดตั้งทั้งหมด 4 เครื่อง ซึ่งจะช่วยทำให้ overall sale และ Gross margin เพิ่มขึ้นได้ใน 2H66
  • กลยุทธ์หลัก ยังคงเป็นขยายกำลังการผลิตในผลิตภัณฑ์ High-end ที่มี Margin สูง และสร้างโรงงานใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ คาดว่าจะมีการผลิตเชิงพาณิชย์ในช่วง 4Q67

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังมองบวกกับ KCE เนื่องจากแนวโน้มผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะ Bottom out แล้วใน 1H66 และคาดว่าจะเติบโตในช่วง 2H66 จาก Capacity ที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนที่คาดว่าจะลดลง โดยเฉพาะราคาทองแดงในตลาดโลก และค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มลดลง (สัดส่วน 7% ของต้นทุนรวม ใน 1Q66 จาก 6.7% ใน 4Q65) สะท้อนการปรับลดลงของราคาน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ขณะที่ระยะกลางถึงยาว จะได้ประโยชน์จากจุดเด่นของ KCE ที่เป็นผู้ผลิตแผงวงจรรายใหญ่ TOP10 ของโลก ให้กับผู้ผลิตรถยนต์โดยเฉพาะในประเทศยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งจะได้รับผลบวกจากปริมาณความต้องการแผงวงจรในรถยนต์เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม อย่าง Chin-poon Industrial, TTM Technologies, CMK Crop และ Meiko ต่างก็เห็นสัญญาณการฟื้นตัวแล้วเช่นกัน
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกหากถดถอยรุนแรงมากกว่าคาดจะกระทบต่อปริมาณความต้องการแผงวงจร PCB โดยรวม ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่าเงินบาทจะกระทบอัตราทำกำไรได้
  • ราคาหุ้น KCE ปรับฐานลงมา (59% จาก Peak ช่วงปลายปี 2564) ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ระดับ -1SD ของ PE mean 5 ปี ของ KCE แล้ว คาวด่าสะท้อนปัจจัยลบไปค่อนข้างมากแล้ว เราแนะนำให้ทยอยสะสม เพื่อรอการฟื้นตัวของผลประกอบการตั้งแต่ 2H66 เป็นต้นไป โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 61 บาท อิง PE 30x ซึ่งเท่ากับ PE mean 5 ปี ของ KCE
30/06/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดยอดขายของ 2Q66 จะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ แต่อาจได้รับผลกระทบจากการบริโภคที่อ่อนตัวทั้งในประเทศและกลุ่ม CLMV ส่งผลให้กำไรสุทธิของ 2Q66 มีโอกาสทำ New High ได้แต่เติบโตเล็กน้อย QoQ และเติบโตสูง YoY

หลังไปได้อะไร

  • เราคาดว่าภาคการบริโภคในช่วงปลาย 2Q ถึงต้น 3Q จะอ่อนตัวลงจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศ โดย SNNP ใช้กลยุทธ์การตลาดและปรับบรรจุภัณฑ์บาง SKU เช่นกลุ่ม Magic Farm เพื่อบริหารต้นทุนและเพิ่มโอกาสการส่งออก ขณะที่ต่างประเทศที่ SNNP มีฐานการผลิตคือ เวียดนาม และกัมพูชา ถูกกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าเป้าการเติบโตของปีนี้ที่ยอดขายในประเทศเติบโต 15% และต่างประเทศที่ 30% มีโอกาสทำได้จากอัตราเร่งในช่วง 2H66 และเราติดตามผลกระทบของเศรษฐกิจในเวียดนามที่อาจส่งผลต่อกำลังการผลิตในช่วงปีแรกของ SNNP

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดรายได้ของ 2Q66 ที่ 1,515 ล้านบาท (+14.5% YoY และ +6.7% QoQ) โดยคาดสัดส่วนรายได้จากในประเทศทึ่ 75% เติบโต 19% YoY และ 5% QoQ ขณะที่รายได้จากต่างประเทศที่ 25% เติบโต 7% YoY และ 20% QoQ ใน 2Q66 แม้ยังเห็นการเติบโตของยอดขายแต่บริษัทมีการกระตุ้นยอดทั้งการทำการตลาดและการให้ส่วนลดเนื่องจากเริ่มเห็นการบริโภคที่อ่อนแอลงในบางพื้นที่
  • ใน 2Q66 เราคาดระดับ Gross Margin ที่ 28% ดีขึ้น YoY แต่ทรงตัว QoQ จากปัจจัยด้านฤดูกาลและส่วนผสมของ Product Mix ที่รายได้มาจากกลุ่มเครื่องดื่มมากขึ้นแต่ให้ Gross Margin ที่ต่ำกว่าขนมขบเคี้ยวและระดับ SG&A/sales คาดทรงตัว QoQ ดังนั้นคาดกำไรสุทธิของ 2Q66 ที่ 160 ล้านบาท (+38.2% YoY และ +4.2% QoQ) ทำ New high เชิงไตรมาสและทำให้ 1H66 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 314 ล้านบาท (+42% YoY)
  • เราคงประมาณการรายได้ของปี 2566 ที่ 6,260 ล้านบาทเติบโต 13% สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเท่ากับ 28% มูลค่าเติบโต 30% ขณะที่รายได้จากในประเทศคาดมีสัดส่วน 72% มูลค่าเติบโต 5% และคาดกำไรสุทธิที่ 692 ล้านบาท (+34% YoY) ทำ New High
  • โรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามยังก่อสร้างและผลิตตามแผน โดยคาดว่าจะช่วยหนุนระดับ Gross Margin ใน 2H66 ให้สูงกว่า 1H66 จากการควบคุมต้นที่ดีขึ้น โดยล่าสุด Lotus ที่ผลิตในเวียดนามให้ Gross Margin ที่สูงกว่าในประเทศไทย
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุน การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงิน และการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่าง ๆ การปรับมขึ้นของค่าแรง
  • เราคงคำแนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเราใช้สมมติฐาน PER ที่ 5 เท่า (+1SD) ราคาเป้าหมายปี 2566 เท่ากับ 25.50 บาท/หุ้น และเราคาดหวังที่เห็นการเปิดธุรกิจเสริมอาหารในปี 2566 เพื่อต่อยอดการเติบโตรวมไปถึงการเติบโตของตลาดต่างประเทศ
16/06/2023 IIG ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบถึงแนวโน้มผลประกอบการที่เหลือของปีนี้ว่าจะมีทิศทางอย่างไรภายหลังจากที่ผลประกอบการ 1Q66 รายงานออกมาขาดทุนครั้งแรกตั้งแต่ IPO รวมถึงแผนการทำ M&A ในช่วงครึ่งปีหลัง

หลังไปได้อะไร

  • ในส่วนของสิ่งที่กระทบผลประกอบการ 1Q66 คือการที่มีงานชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถส่งมอบได้ โดย ณ ปัจจุบันทางบริษัทแจ้งว่าก็ยังไม่สามารถส่งมอบงานนี้และมีความคืบหน้าของโครงการไปแล้วกว่า 90% โดยทางบริษัทเองกำลังหาทางที่จะคุยกับเจ้าของโครงการเพื่อหาทางออกโดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในเดือน มิ.ย. - ก.ค. นี้ซึ่งอาจจะนำไปสู่การรับรู้รายได้ของงานบางส่วนได้ ทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่จะเห็นผลประกอบการ 2Q66 ขาดทุนลดลงเล็กน้อยเมื่อเที่บกับ 1Q66 ที่ขาดทุน 33 ล้านบาท
  • สำหรับกลยุทธ์ในช่วง 2H66 บริษัทมีแผนที่จะนำพนักงานบางส่วนที่เคยอยู่ในโครงการใหญ่ที่ก่อนหน้านี้ยังไม่สามารถส่งมอบได้ ไปทำงานโครงการใหม่ที่บริษัทเพิ่งได้รับเพิ่มมาในช่วงเดือน พ.ค. และ มิ.ย. เพื่อเร่งรายรับรู้รายได้ในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งคาดว่าจะทำให้ผลประกอบการกลับมายืนในแดนบวกได้
  • แผนการลงทุนในธุรกิจใหม่ครึ่งปีหลังคาดว่าจะสามารถจัดตั้ง JV กับบริษัท VMO holdings ที่ประเทศเวียดนามได้ในเดือน ก.ย. โดยปัจจุบันมีการเซ็นต์ MoU ไว้แล้ว โดยบริษัท VMO ทำธุรกิจด้าน IT Outsourcing โดยเรายังไม่ได้ใส่รายได้ส่วนนี้เข้าไปในประมาณการของเราเนื่องจากรอความชัดเจนในเรื่องของโครงสร้างรายได้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับประมาณการกำไรปี 2566 ลงเพื่อสะท้อนผลประกอบการ 1H66 ที่แย่กว่าคาดทำให้ทั้งปี 2566 เรามองว่าบริษัทจะรายงานผลประกอบการที่กำไรสุทธิที่ 2 ล้านบาท (จากก่อนหน้านี้คาดกำไร 83 ล้านบาท) และจะกลับมามีกำไรในปี 2567 ได้ที่ 103 ล้านบาท (จาก 142 ล้านบาท) โดยเรามีการปรับในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นลงอยู่ที่ 1% จาก 21.3% ในปี 2566 และ 21.7% จาก 24.2% ในปี 2567
  • เรายังคงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนออกไปก่อนถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงมาแล้วกว่า 2% YTD เพื่อรอดูภาพการฟื้นตัวของผลประกอบการ 3Q66 ภายหลังจากที่บริษัทคาดว่าจะแก้ไขปัญหาโครงการใหญ่ที่มีปัญหาให้แล้วเสร็จได้ใน 2Q66 โดยเราให้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 21-25 บาท (จาก 25-28.5 บาท) อิง 23-27.5x PE ปี 2567
  • ความเสี่ยงคือเรื่องการฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้นเนื่องจากเห็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสติดต่อกัน
12/06/2023 NYT ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงานปี 2566 จะเป็นอย่างไร หลังยอดส่งออกรถยนต์ของไทย 4M66 อยู่ที่ 353,632 คัน เพิ่ม 12.3%YoY ขณะที่ 1Q66 NYT มีกำไรสุทธิ 105 ลบ. โตเด่น 96.3%YoY จากรายได้ให้บริการท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้น 26.5%YoY หลังตลาดส่งออกรถยนต์ฟื้นทำให้มีปริมาณรถยนต์ผ่านท่าเพิ่ม 4%YoY และมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 41.1% จาก 36.2% ใน 1Q65 หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์ผ่านท่า

หลังไปได้อะไร

  • NYT คาดมีรายได้ปี 2566 เติบโต 8-9%YoY จากการฟื้นตัวของรายได้บริการท่าเทียบเรือ หลังปัญหาขาดแคลนชิปคลี่คลาย ทำให้ผู้ประกอบการกลับมาผลิตและส่งออกรถยนต์ได้ ส่วนรายได้คลังสินค้าคาดเติบโต 2-3%YoY จากจุดแข็งของทำเลที่อยู่รอบท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จึงทำให้มีอัตราใช้พื้นที่คลังสินค้าเกือบเต็ม 100% และค่าเช่ายังปรับขึ้น 10% ทุก 3 ปีสำหรับลูกค้าที่เช่าระยะยาว อีกทั้ง 2H66 บริษัทมีแผนขยายคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าที่บ่อวินอีก 3.4 หมื่นตร.ม. (ปัจจุบันมีพื้นที่เช่า 2.7 แสนตรม.) เพื่อรองรับการเติบโตแถบ EEC
  • ขณะที่ธุรกิจใหม่เรือซีฮอร์สเฟอร์รี่คาดจะทยอยรับรู้ผลขาดทุนที่ลดลง (ปี 2565 ขาดทุน 87 ลบ.และ 1Q66 ขาดทุน 20 ลบ.) เนื่องจากได้ปรับวัตถุประสงค์จากเรือขนส่งสินค้ามาเป็นเรือสำราญขนส่งผู้โดยสาร (จุได้ 598 คน/เที่ยว) เส้นทางสัตหีบ-สมุย (ราคาเริ่มต้น 5 พันบาท/ที่นั่ง เดินเรือ 2 รอบ/วัน) ซึ่งเพิ่งดำเนินการเต็มรูปแบบตั้งแต่ มี.ค. 66 และเริ่มมีกระแสตอบรับดีขึ้น (ปัจจุบันมีผู้โดยสาร 100 คน/เที่ยว ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนที่ 300 คน/เที่ยว)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q66 คาด NYT มีกำไรอ่อนตัว QoQ ตามฤดูกาล แต่ยังโตเด่น YoY ตามตลาดส่งออกรถยนต์ที่ฟื้นตัว สะท้อนจากปริมาณรถยนต์ผ่านท่าของบริษัท เม.ย. และ พ.ค. ที่โต 31%YoY และ 22%YoY ตามลำดับ (ยอดส่งออกรถยนต์ของไทย เม.ย. +43.5%YoY) ขณะที่ปี 2566 คาดมีกำไรสุทธิ 318 ลบ. เติบโต 27%YoY จากการเพิ่มขึ้นทั้งรายได้ให้บริการเทียบท่าและคลังสินค้าที่คาดเติบโต 13%YoY และ 2%YoY ตามลำดับ อีกทั้งคาดรับรู้ผลขาดทุนที่ลดลงในบ.ร่วม (ท่าเรือ C0 ถือ 49%) หลังลูกค้าเริ่มกลับมาส่งสินค้าโครงสร้างขนาดใหญ่ รวมทั้งศักยภาพทำกำไรคาดดีขึ้นหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดตามจำนวนรถยนต์ส่งออกที่เพิ่มขึ้น
  • ช่วงสั้นมองราคาหุ้น NYT มีปัจจัยกระตุ้นจากเป็นหุ้นที่ได้อานิสงส์บวกโดยตรง จากการเติบโตที่ดีของตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยและตลาดนำเข้ารถยนต์ EV ซึ่งส่งผลดีต่อการดำเนินงานของ NYT ที่เป็นผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อส่งออกและนำเข้ารถยนต์ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จากการให้บริการท่าเทียบเรือ A5 และ C0 ขณะที่ประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 4.60-4.90 บาท (อิงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี PER 18-19x) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.26 บาท คิดเป็น Yield สูงปีละ 6% กลยุทธ์ลงทุนช่วงสั้นจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ” โดยเทคนิคมีแนวรับ 4.06/3.94 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ : ปัญหาขาดแคลนชิปส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานยานยนต์, ศก. คู่ค้าชะลอ, กระแสตอบรับในธุรกิจใหม่ของบ. ย่อย ซีฮอร์สเฟอร์ ขณะที่ผลกระทบจากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคาดจำกัด เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีทักษะที่ได้ค่าแรงสูงกว่าขั้นต่ำอยู่แล้ว
01/06/2023 AMATA ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทิศทางการลงทุนในช่วง 2Q-3Q66 อาจมีแนวโน้มชะลอตัวกดดันจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทั่วโลกและเกิดการถดถอยในบางประเทศ และนักลงทุนเริ่มชะลอการตัดสินเพื่อรอดูนโยบายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เราคาดหวังการฟื้นตัวของยอดขายที่ดินใน 2H66 อุตสาหกรรมที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ เช่น กลุ่มยานยนต์ EV Electronic และ Semiconductor

หลังไปได้อะไร

  • AMATA คงเป้าการขายที่ดินในปี 2566 ที่ 2,250 ไร่ โดยใน 1Q66 มีการทำ MoU ร่วมกับ GRIMM Power เพื่อร่วมมือศึกษาพัฒนา European Smart City บนพื้นที่ 200 ไร่ในจังหวัดชลบุรี เน้นกลุ่ม Hi-Tech จากทวีปยุโรป โดยใน 1Q66 AMATA มียอดขายที่ดินรวม 310 ไร่หรือ 14% ของเป้า (อมตะ ซิตี้ ระยอง จำนวน 251 ไร่ อมตะ ชลบุรี จำนวน 30 ไร่ และ อมตะ ไทยไชนีส ระยอง จำนวน 29 ไร่) โดยรวมคาดอุปสงค์ของฐานลูกค้าแต่ละอุตสาหกรรมยังเติบโตได้ YoY และ AMATA อยู่ในช่วงเจรจาประมาณ 2-3,000 ไร่ คาดยอดขายที่ดินใน 2Q66 จะเติบโตโดดเด่น และคงเป้าการขายที่ดินในปีนี้เป็นยอดขายที่ในประเทศไทย 1,500 ไร่ เติบโต 131% YoY และยอดขายจากประเทศเวียดนาม 750 ไร่เติบโตจาก 45 ไร่ในปี 2565 นอกจากนีคาดว่าในปีนี้จะเริ่มมียอดขายที่ดินจากนิคมฯ ใหม่ในประเทศ สปป. ลาว เข้ามา 200-300 ไร่

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • AMATA มี Backlog 6,650 ล้านบาท (ยอดจากเวียดนาม 1,800 ล้านาท) คาดประมาณ 2,500 ล้านบาทสามารถบันทึกรายได้ในปีนี้โดยคาดว่าน้ำหนักการบันทึกรายได้จะอยู่ใน 2H66 ดังนั้นเราคาดรายได้ของปี 2566 ที่ 7,699 ล้านบาท (+18% YoY) และกำไรสุทธิที่ 1,815 ล้านบาท (-22.5% YoY) โดยหากลบรายการกำไรจากการขายโรงงานในประเทศเวียดนามในปี 2565 ที่ 1,360 ล้านบาท จะส่งผลให้ Core Profit เติบโต 85% YoY
  • เรายังคงมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มการลงทุนและ FDI ในประเทศไทย สำหรับพื้นที่ EEC คาดหวังการขยายการลงทุนและนโยบายที่สนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ และคาดว่า AMATA เป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งที่มีความพร้อมทั้งที่ดินพร้อมขาย ที่ดินรอการพัฒนา ระบบสาธารณูปโภค สำหรับประเทศเวียดนามเราเริ่มมีความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศและติดตามประเด็นความเสี่ยงจากระบบสาธารณูปโภค
  • ความเสี่ยง : ทิศทางเศรษฐกิจโลก ต้นทุนพลังงานที่ผันผวน และติดตามโอกาสและความเสี่ยงของการย้ายฐานการผลิตของบางอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 17 เท่าซึ่งเท่ากับ +0.25SD ในรอบ 7 ปีของ AMATA ได้ราคาเป้าหมาย 50 บาทต่อหุ้น คงคำแนะนำ ซื้อ
29/05/2023 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • การขยายโรงงาน สายการผลิตที่ 3 ที่อำเภอ พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คาดจะสามารถรองรับการเติบโตและเพิ่มการผลิตในช่วง high season ได้ดี และเราคาดยอดขายของ 2Q66 จะสามารถเติบโตโดดเด่น YoY จากเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ที่ฟื้นตัวและเติบโตได้ต่อเนื่องเล็กน้อย QoQ จากฐานที่สูงใน 1Q66

หลังไปได้อะไร

  • จากการเยี่ยมชมโรงงานส่วนขยายใหม่ของ HTC เรามีมุมมองที่เป็นบวกต่อ Capacity การผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า โดยโรงงานใหม่ใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 1,200 ล้านบาทเริ่มเปิดผลิตบางส่วนช่วง 2H65 ที่ผ่านมา และหลังจาก Full Operation แล้วคาดว่าการผลิตในกลุ่ม PET จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในระยะยาวได้จากเดิมที่เหลือ capacity เพียง 10% จะเพิ่มเป็น 35% นอกจากนี้ HTC เน้นนโยบาย Green Energy โดยการติดตั้งแผง Solar และลดการใปล่อย CO2 รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนจากเดิมที่ 12% เป้น 17% ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2567

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงมุมมองที่บวกต่อทิศทางผลประกอบการของ HTC ในปี 2566 ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะทำฐานสูงสุดใหม่ โดยคาดรายได้ที่ 7,669 ล้านบาท (+9% YoY) สอดคล้องกับเป้าหมายบริษัทที่ตั้งรายได้เติบโต 7-9% ในปีนี้และมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ 3% กลยุทธ์หลักในปีนี้คือการออกสินค้าใหม่ในกลุ่ม Zero Sugar และเครื่องดื่ม carbonated การกระจายสินค้าไปในพื้นที่ท่องเที่ยวมากขึ้นและการรักษา Market Share ในกลุ่ม NARTD ที่ 26% สำหรับการบริหารต้นทุนคาดทิศทางดีกว่าปี 2565 ด้วยต้นทุนหลักที่ปรับลดลง และการเกิด economy of scale ดังนั้น เราคาด Gross margin ที่ 41.5% ดีกว่าปี 2565 ที่ 40% และคาดกำไรสุทธิที่ 629 ล้านบาท (+45% YoY) ทิศทางผลประกอบการ 2Q66 คาดเติบโต YoY แต่อาจทรงตัว QoQ ขณะที่ภาษีน้ำตาลเฟส 3 ที่เริ่มใช้ในเดือน เม.ย. 2566 คาดมีผลกระทบค่อนข้างจำกัดจากการขึ้นราคาบางส่วนเพื่อชดเชย
  • ความเสี่ยงและความกังวล : ต้นทุนวัตถุดิบหลักราคาผันผวน สภาพภูมิอากาศที่อาจจะผลต่ออุปสงค์ เงินเฟ้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคภายในประเทศที่ยังเปราะบาง การปรับเพิ่มขึ้นของแรงงานขั้นต่ำที่แม้ HTC มีส่วนของกลุ่มแรงงานขั้นต่ำจำนวนไม่มากและไม่ใช่อุตสาหกรรมที่เป็น labor intensive แต่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC มีราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ 47 บาท/หุ้น อิงจาก PER ที่ 15 เท่า (+1SD) เราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่มีสินค้าและ Brand ชัดเจน สภาพคล่องทางการเงินแข็งแกร่ง หนี้สินต่ำ จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 5% ต่อปี
22/05/2023 HANA ก่อนไปคิดอะไร
  • HANA ประกาศกำไรสุทธิที่ 266 ล้านบาท ใน 1Q66 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 533 ล้านบาท ค่อนข้างมาก โดยกำไรสุทธิ ลดลง 2% QoQ และ 27.0% YoY โดยหากหักรายการพิเศษออกไป Core earnings อยู่ที่ 293 ล้านบาท ลดลง 50% QoQ และ 26% YoY หลักๆ ยอดขายที่ลดลง 9.3% QoQ (หลักๆมาจาก IC) มาจากผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และ Weak demand สะท้อนความต้องการในผลิตภัณฑ์ PC และมือถือที่ชะลอตัวลงทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทำให้ Gross margin โดยรวมลดลงมาอยู่ที่เพียง 8.6% ใน 1Q66 เทียบกับ 13.4% ใน 4Q65 โดย Gross margin ของผลิตภัณฑ์ PCBA ลดลงเป็น 18.1% ใน 1Q66 จาก 19.5% ใน 4Q65 และ gross margin ของ IC ลดลงจนติดลบ 2.4% ใน 1Q66 จาก 6.5% ใน 4Q65

หลังไปได้อะไร

  • คาดแนวโน้มผลการดำเนินงานใน 2Q66 ยังคงอ่อนแอ โดยยังได้รับผลกระทบจากลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และ Smartphone ที่ลูกค้ายังชะลอตัวคำสั่งซื้อ ตามความกังวลภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะทีต้นทุนค่าแรง และค่าไฟฟ้ายังสูง ทำให้อัตราการทำกำไรอ่อนแอเช่นกัน
  • HANA ยัง focus ผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่าง RFID tag product ซึ่ง HANA เป็นหนึ่งใน 7 บริษัทที่ผ่านคุณสมบัติเพื่อเป็น key suppliers ให้กับ Walmart (+10b units) Dick’s (2b units) Dillar’s (1b units) และ Nordstroms (0.5b units) แล้ว ซึ่งถือว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับ ร้านค้าต่างๆในอนาคต จึงมีแนวโน้มเติบโตสูง โดย margin คาดว่าจะค่อนข้างต่ำกว่า IC packaging แต่จะได้ volume ที่เยอะกว่า ส่วน PMS (Silicon Carbide MOSFET) demand ยังค่อนข้าง strong โดยคาดว่ารายได้จะอยู่ 25-30 ล้านเหรียญฯในปี 2023 และ 60 ล้านเหรียญฯ ในปี 2024 HANA คาดว่า EBITDA break even กลางปีนี้ แต่ Net profit break even ยังคงอยู่ที่ปี 2025 เริ่ม ramp up capacity บางส่วนแล้ว แต่ปัญหาคือ SiC equipment lead time อยู่ระหว่าง12-18 เดือน และต้องจ่ายล่วงหน้า 80% ในช่วง 1 ถึง 1 ปีครึ่งจากนี้ ปัจจุบันทาง HANA ยังมองหา funding หลายoptions อาทิ กู้เงินแต่มีต้นทุนดอกเบี้ยแพง รวมถึง Private Placement 80 ล้านหุ้นที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว
  • ส่วนค่าแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นก็เป็นปัจจัยลบต่อ HANA โดย HANA มีสัดส่วน labor อยู่ที่ 6-7% ของ sale โดยพยายาม offset ด้วย automation process ส่วน electricity cost คิดเป็น 4-5% ของ sale

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราปรับลดประมาณการปี 2566-67 ลง 30% และ 10% ตามลำดับ สะท้อนการฟื้นตัวของ demand ที่ช้ากว่าคาด โดยคาดว่าแนวโน้มกำไรจากการดำเนินของ HANA จะลดลง 7% YoY ในปี 2566 จากปริมาณความต้องการสินค้าหลักในกลุ่ม PC และ Smartphone ที่ลดลง โดยคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ใน 2H66 เราแนะนำให้รอหุ้นปรับฐาน ค่อยหาจังหวะซื้อในช่วงราคามีการปรับฐานลงมา
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น และความผันผวนของค่าเงินบาท
  • ราคาเป้าหมายใหม่ปี 2566 อยู่ที่ 00 บาท (จากเดิม 57.00 บาท) ที่ฐาน PER ที่ 20 เท่าซึ่งเท่ากับ mean ในรอบ 5 ปีของ HANA โดยเรายังคงแนะนำ ถือ
22/05/2023 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • เราได้มีการเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพื่อทราบถึงแนวโน้มของผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปี ภายหลังจากผลประกอบการ 1Q66 ออกมาลดลงทั้ง QoQ และ YoY ค่อนข้างมาก

หลังไปได้อะไร

  • ภาพรวมเป็นบวกเล็กน้อย โดยทางผู้บริหารชี้แจงว่าผลประกอบการ 1Q66 ที่ออกมาค่อนข้างที่จะอ่อนแอนั้นเกิดจากภาวะผิดปกติในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณา TV ในช่วงเดือน มกราคมและกุมภาพันธ์ ที่ออกมาต่ำมาก แต่เห็นการฟื้นตัวที่โดดเด่นในเดือนมีนาคม โดยมองว่าผลประกอบการ 1Q66 นั้นเป็นจุดต่ำสุดของปี
  • ในส่วนของ 2Q66 นั้นคาดว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวได้ QoQ แต่ YoY คาดว่าจะยังติดลบอยู่ โดยการฟื้นตัว QoQ นั้นเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV ที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้โดยผู้บริหารคาดว่าการฟื้นตัวของรายได้รวมจะไม่ต่ำกว่า 5% QoQ แต่ในส่วนของ YoY ที่ติดลบนั้นเป็นผลมาจากลูกค้ารอดูความชัดเจนของผลการเลือกตั้ง แต่ในส่วนของฝั่งต้นทุนนั้นผู้บริหารยังคงรัดกุมอย่างต่อเนื่องใน 2Q66 โดยในส่วนของ Non-prime time ยังคงเป็นการ Rerun อย่างต่อเนื่อง
  • การฟื้นตัวคาดว่าจะโดดเด่นในช่วง 2H66 โดยผู้บริหารมองการฟื้นตัวของรายได้ 20-30% HoH โดยปัจจัยผลักดันหลักๆคือความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งจะทำให้ลูกค้ากลับมามีความมั่นใจในการลงเงินโฆษณามากขึ้น โดยผู้บริหารได้มีการพูดคุยกับลูกค้าบ้างแล้วถึงโอกาสในการกลับมาลงเม็ดเงินโฆษณาที่มากขึ้นและเห็นสัญญาณเชิงบวกถ้าเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับกำไรปี 2566 ลง 22% อยู่ที่ 542 ล้านบาท ลดลง 6% YoY ภายหลังจากที่เรามีการปรับลดในส่วนของ อัตรากำไรขั้นต้นลงอยู่ที่ 38% จาก 41% เพื่อสะท้อนภาพผลกระทบของเม็ดเงินโฆษณา TV ที่อ่อนแอใน 1Q66 และธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง
  • ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 39% YTD ซึ่งสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว และซื้อขายอยู่ที่ระดับใกล้เคียง -2SD ในเชิงของ PE ทำให้ Downside ค่อนข้างที่จะจำกัด ประกอบกับผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เราจึงแนะนำนักลงทุนใช้จังหวะนี้ทยอยสะสม เพื่อรอการฟื้นตัวของผลประกอบการตั้งแต่ 2Q66 เป็นต้นไป เราให้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 6-6.3 บาทต่อหุ้น (จาก 7.1 บาท) อิง 24.6x-27.5x PE ปี 2566 หรือ -1SD ถึง -0.5SD
  • ความเสี่ยงคือ การฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV ในช่วง 2H66
18/05/2023 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดฤดูร้อนใน 2Q66 จะส่งผลดีต่อยอดขายเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตามใน 1Q66 ด้วยฐานยอดขายที่โดดเด่นและเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวคาดจะเติบโตได้เพียงเล็กน้อย QoQ แต่เติบโตสูง YoY จากฐานต่ำและการปรับราคาขายตั้งแต่ช่วงเดือน สิงหาคม 2565 ขณะที่ภาษีน้ำตาลเฟส 3 ที่เริ่มใช้ในเดือน เม.ย. 2566 คาดมีผลกระทบค่อนข้างจำกัดจากการขึ้นราคาบางส่วนเพื่อชดเชย

หลังไปได้อะไร

  • HTC ปรับเป้าการเติบโตของรายได้ในปี 2566 ที่ 7-9% จากเดิมที่ 6-8% จากยอดขายที่เติโตได้ดีกว่าเป้าใน 1Q66 และตั้งเป้าการบันทึกรายได้จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ Haven Karnjanavanich ที่ประมาณ 100 ล้านบาท

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • HTC รายงานกำไรสุทธิของ 1Q66 ที่ 199 ล้านบาท (+2% YoY และ +94.5% QoQ) โดยมีรายได้ที่ 2,070 ล้านบาท (+22.8% YoY และ +19% QoQ) ผลบวกจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวเด่นในภาคใต้และกลยุทธ์ทางการขายทั้ง Pack Mix และ Channel Mix รวมทั้งการออกสินค้าใหม่ในกลุ่ม Zero Sugar ในหลายรสชาติ Gross Margin เท่ากับ 42% ดีขึ้น YoY แต่อ่อนตัวลงเล็กน้อย QoQ ระดับ SG&A เท่ากับ 31% ลดลงในส่วน % ทั้ง YoY และ QoQ ด้วยรายได้ที่สูงขึ้นและ Efficiency ที่ดีขึ้น กำไรสุทธิของ 1Q66 คิดเป็น 35% ของเป้าประมาณการกำไรสุทธิที่เราทำไว้ในปีนี้ที่ 579 ล้านบาท (+11% YoY).
  • เราคงมุมมองที่เป็นบวกและมีการปรับประมาณการรายได้ของปี 2566 เพิ่มขึ้น 2% เท่ากับ 7,669 ล้านบาท (+9% YoY) สอดคล้องกับเป้าหมายบริษัทที่ตั้งรายได้เติบโต 7-9% ในปีนี้ด้วยกลยุทธ์การออกสินค้าใหม่ในกลุ่ม Zero Sugar และกระจายสินค้าไปในพื้นที่ท่องเที่ยวมากขึ้นและการรักษา Market Share ในกลุ่ม NARTD ที่ 26% สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ตั้งเป้ารายได้ 100 ล้านบาท จากปัจจุบันมียอดของประมาณ 70 ล้านบาท เรามีการปรับเป้า Gross margin เฉลี่ยของปี 2566 เพิ่มขึ้นจากระดับต้นทุนบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่งและราคาน้ำมันที่ลดลงและ Economy of Scales ที่เกิดขึ้นจาก 40% เป็น 5% ดังนั้นคาดกำไรสุทธิจะทำ new high ได้ที่ 629 ล้านบาท (+45% YoY)
  • ความเสี่ยงและความกังวล ต้นทุนวัตถุดิบหลักราคาผันผวน สภาพภูมิอากาศ เงินเฟ้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคภายในประเทศที่ยังเปราะบาง
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC โดยหลังจากปรับประมาณการกำไรสุทธิเราได้ราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 47 บาท/หุ้น จากเดิมที่ 36 บาท/หุ้น อิงจาก PER ที่ 15 เท่า (+1SD) เราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่มีสินค้าและ Brand ชัดเจน สภาพคล่องทางการเงินแข็งแกร่ง จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 5% ต่อปี
16/05/2023 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 มีเป้าหมายการเติบโตอย่างไร หลัง 1Q66 WICE มีกำไรสุทธิ 55 ลบ. หดตัวต่อเป็นไตรมาสที่สามราว 65%YoY โดยแม้อัตรากำไรข้นต้นในทุกธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้น YoY จากการบริหารต้นทุนดี แต่ถูกหักล้างด้วยรายได้รวมที่ลดลง 52%YoY ซึ่งแม้รายได้จากธุรกิจ Supply Chain Solutions จะเติบโต 14%YoY หลังมีพื้นที่คลังสินค้าเพิ่ม 5 หมื่นตร.ม. แต่ไม่เพียงพอชดเชยการปรับตัวลงของรายได้จากธุรกิจ Sea freight (-73%YoY) ธุรกิจ Air freight (-28%YoY) และธุรกิจขนส่งบกข้ามแดน CBS (-20%YoY) หลังได้รับผลกระทบจากค่าขนส่งและปริมาณขนส่งที่ลดลง กดให้อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 5.4% ลดลงทั้ง QoQ และ YoY

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร WICE คาด 2H66 ปริมาณขนส่งจะปรับตัวดีขึ้น จากจีนเปิดประเทศและตลาดสหรัฐฟื้นตัว โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบริษัทยังมีแผนขยายความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อขยายปริมาณขนส่งซึ่งคาดเห็นความคืบหน้าชัดเจนใน 2H66 อาทิ ร่วมมือกับ N-Squared เพื่อขยายฐานลูกค้าเดิมไปยังกลุ่ม B2B2C, ร่วมมือกับ SAT เพื่อพัฒนาโครงการ Green Logistics Hub ที่บางนาและระยอง และปีนี้มีแผนขยายคลังสินค้าอีก 4.5 หมื่น ตร.ม. (1Q66 ที่บางนา กม.18 4 พันตร.ม., 2Q66 ที่บางปะอิน 2 หมื่นตร.ม. และบางนา กม.18 1.1 หมื่นตร.ม., 3Q66 Industrial Packaging DC อีก 1 หมื่นตร.ม.)
  • บริษัทยังมุ่งมั่นเป็นผู้นำการให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร โดยมีแผนเพิ่มปริมาณงานขนส่งที่เป็นของธุรกิจหลักทั้งทางทะเลและทางอากาศ รวมทั้งเพิ่มกำลังให้บริการ CBS และขยายพื้นที่คลังสินค้าให้ได้ 1 แสนตร.ม. ในปี 2568 ส่วนแผนนำ ETL ซึ่งดำเนินธุรกิจ CBS (ถือ 51%) เข้า mai ได้ยื่นไฟลิ่งเมื่อ เม.ย. แล้ว และคาดเสนอขายหุ้น IPO ภายใน 3Q66

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ 2Q66 คาดกำไรจะฟื้นตัว QoQ ตามผลฤดูกาล แต่จะยังหดตัว YoY จากค่าระวางขนส่งที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด บวกกับ ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐและจีนยังมีแนวโน้มอ่อนแอ ทำให้คาดปริมาณขนส่งแย่กว่าคาดเดิม อีกทั้งกำไร 1Q66 คิดเป็นเพียง 6% ของประมาณการทั้งปีซึ่งต่ำเกินไป เพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการลงจากเดิมเฉลี่ย 23% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 WICE จะมีกำไรสุทธิ 400 ลบ. หดตัว 27.7%YoY
  • แม้กรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 2566 อยู่ที่หุ้นละ 8.00-8.60 บาท (อิง PER 13-14x เช่นเดิม) ไม่มี Upside และ 2Q-3Q66 คาดกำไรยังหดตัว YoY แต่ WICE ยังมีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาวตามการขยายตัวของธุรกิจโลจิสติกส์ และผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับจัดสรร IPO ของ ETL ที่จะขายในปีนี้ อีกทั้งฐานะการเงินแกร่ง (หนี้ที่มีดอกเบี้ยจ่ายต่อทุน 0.14x) และคาดจ่ายปันผลสม่ำเสมอ โดยคาดให้ Yield ปีละ 3.7% สำหรับผู้ที่มีหุ้นอยู่จึงคงแนะนำ “ถือ”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การล็อกดาวน์เข้มงวดของจีนเพื่อคุมการระบาดของ COVID-19, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวาง
12/05/2023 III ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 ตั้งเป้าการเติบโตอย่างไร หลัง 1Q66 III มีกำไรสุทธิ 149 ลบ. เติบโต 32.4%YoY โดยแม้รายได้รวมลดลง 41%YoY ตามการลดลงของรายได้ทุกธุรกิจหลังค่าระวางขนส่งลดลง นำโดย Logistics (-67%YoY), Sea freight (-56%YoY), Air freight (-33%YoY) และ Chemical (-24%YoY) อีกทั้งไม่ได้รับรู้รายได้ของ TAC หลังขายให้แก่ ANI ปลายปีก่อน แต่ยังชดเชยได้ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นเป็น 21% จาก 16.1% ใน 1Q65 หลังธุรกิจ Air freight มีมาร์จิ้นดีขึ้นจากการให้บริการคลังสินค้าที่กลับมาทำกำไร และมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินทุนฯ ที่เพิ่มขึ้น 88%YoY หลักๆ จาก ANI ซึ่งรับรู้ ASIA GSA (M) 100% จากที่มีอยู่เดิม 20% และจาก AOTGA (ถือผ่าน SAL) ซึ่งการให้บริการภาคพื้นดินในสนามบินฟื้นตัวต่อเนื่อง

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร III มองว่าปัจจุบันค่าระวางขนส่งทางเรือและอากาศผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่โอกาสฟื้นตัวเร็วในช่วงสั้นนี้ยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความกังวลการถดถอยของเศรษฐกิจโลกและตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอยังเป็นปัจจัยกดดันความต้องการขนส่งสินค้า อย่างไรก็ดี ปี 2566 คาดผลการดำเนินงานยังเติบโตได้ดี จากธุรกิจ Air freight ซึ่งคาดมีปริมาณขนส่งเพิ่มขึ้น หลังมีพื้นที่ระวางสินค้าเพิ่มขึ้นจากจำนวนเที่ยวบินฟื้นตัว และยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเงินทุนฯ ที่คาดจะเติบโตเด่น หลังตั้งแต่ต้นปี ANI ได้ถือหุ้น 100% ของ ASIA GSA (M) และ AOTGA มีการฟื้นตัวที่ดีจากการให้บริการภาคพื้นดินในสนามบินภูเก็ตและดอนเมือง
  • เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งของ ANI (ถือ 51.66%) ซึ่งเป็นตัวแทนขายระวางสินค้าของสายการบินของกลุ่มบริษัทต่อ ก.ล.ต. แล้วและคาดจะเสนอขาย IPO ได้ใน 2H66และบริษัทยังเผยว่า บริษัทในเครือ AOTGA มีแผนเข้าประมูลโครงการให้บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ในเดือน ก.ค. นี้ และคาดทราบผลประมูลใน 3Q66

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • จากความกังวลเกี่ยวกับการถดถอยของเศรษฐกิจโลกและปริมาณสินค้าคงคลังในประเทศคู่ค้าที่ยังสูง ทำให้มองปริมาณความต้องการขนส่งสินค้าและค่าระวางมีความเสี่ยงถูกกดดันมากกว่าคาด ดังนั้นเราจึงปรับลดประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 2566 เฉลี่ยราว 5% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 III จะมีกำไรปกติ 650 ลบ. เติบโต 18%YoY (แต่กำไรสุทธิจะลดลง 3%YoY เนื่องจากปี 2565 มีการบันทึกรายการพิเศษสุทธิราว 245 ลบ.)
  • เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 2566 ที่หุ้นละ 13.70-14.50 บาท (อิง PER -1SD ที่ 17-18x จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีและอิงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจาก RO และใช้สิทธิแปลงสภาพ III-W1 เต็มจำนวน) และผู้ถือหุ้น III ยังมีสิทธิรับจัดสรรหุ้น IPO ของ ANI อย่างไรก็ดีช่วงสั้นตลาดหุ้นไทยและผลการดำเนินงานยังมีความเสี่ยงถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกถดถอย กลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ “รอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว” เทคนิคให้แนวรับที่ 11.80/11.40 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การล็อกดาวน์เข้มงวดของจีนเพื่อคุมการระบาดของ COVID-19, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวาง
12/05/2023 SECURE ก่อนไปคิดอะไร
  • SECURE รายงานกำไร 1Q66 ที่ 2 ล้านบาท ลดลง 8.2% QoQ แต่เติบโตโดดเด่นที่ 695.9% YoY โดยถ้าหักในส่วนของ FX gain ออกกำไรปกติจะอยู่ที่ 26.3 ล้านบาท เติบโต 15.9% QoQ และ 842.8% YoY โดยดีกว่าที่เราคาดไว้มากที่ 16 ล้านบาท โดยสิ่งที่ดีกว่าคาดมากคือการฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้นซึ่งอยู่ที่ 22.5% ดีขึ้นจาก 17.4% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยการที่สถานการณ์ Chip shortage ที่ดีขึ้นทำให้ระยะเวลาการส่งมอบงานสั้นลงประกอบกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่ลดลงทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น โดยกำไร 1Q66 คิดเป็น 46.7% ของประมาณการทั้งปีของเรา
  • แนวโน้มผลประกอบการ 2Q66 และที่เหลือของปีจะเป็นอย่างไร และมีโอกาสไหมที่กำไรที่เราคาดการณ์ไว้ปีนี้จะมี Upside

หลังไปได้อะไร

  • เราคาดแนวโน้มกำไร 2Q66 น่าจะเห็นการ Soft ลง QoQ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวัดหยุดค่อนข้างเยอะทำให้การส่งมอบงานจะทำได้น้อยกว่า 1Q66 แต่ในส่วนของ YoY นั้นคาดว่าจะเห็นการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากจากสถานการณ์ Chip shortage ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่าเงินบาทที่มีความผันผวนลดลง ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้จะช่วยในส่วนของรายได้และอัตรากำไรขั้นต้นให้ดีได้อย่างต่อเนื่อง โดยแนวโน้มของผลประกอบการจะกลับมาเห็นการเติบโต QoQ ได้อีกครั้งในช่วง 3Q66 และจะไปพีคใน 4Q66
  • สถานการณ์ Chip shortage นั้นปัจจุบันใกล้เคียงภาวะปกติก่อน COVID-19 แล้ว โดยปัจจุบันระยะเวลาในการสั่งสินค้าอยู่ที่ประมาณ 60 วันจากช่วงที่แย่ที่สุดเคยยาวนานถึง 8-9 เดือน และช่วงเวลาปกติที่ 30-45 วัน ทำให้การส่งมอบงานให้ลูกค้าทำได้ดีขึ้นและการบริหารจัดการต้นทุนนั้นทำได้ดีขึ้นเช่นกัน และแนวโน้มยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 2Q66

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงคำแนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมาย 20-23 บาทต่อหุ้นอิง PE ที่ 35-40x ปี 2566 โดยเรายังคงเห็นพัฒนาการเชิงบวกของแนวโน้มธุรกิจอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของรายได้หลังจากที่ภาวะ Chip shortage กลับมาใกล้ปกติ และค่าเงินบาทที่มีความผันผวนลดลง เรายังเห็น Upside ต่อประมาณการณ์ของเราเนื่องจากผลประกอบการ 1Q66 ที่ออกมาถือว่าดีกว่าที่คาดไว้มาก
  • โดยจากแนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 เราเชื่อว่ามีโอกาสที่ปีนี้บริษัทจะรายงานผลประกอบการที่ระดับ All time high ได้
  • ความเสี่ยงคือสถานการณ์ Chip shortage รวมถึงค่าเงินบาทถ้ากลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็วอีกครั้งจะกระทบในส่วนของ Gross margin ของบริษัท
12/05/2023 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงานช่วงที่เหลือปีนี้จะเป็นยังไง หลัง 1Q66 NER มีกำไรสุทธิ 314 ลบ. ลดลง 33%YoY โดยแม้ปริมาณขายยาง 1.28 หมื่นตัน เพิ่มขึ้น 32.4%YoY แต่ถูกหักล้างด้วยราคาขายเฉลี่ยที่ 49 บาทต่อกก. ลดลง 15.5%YoY จึงทำให้ยอดขายโตแค่ 11.8%YoY และยังถูกกดดันด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเป็น 9.7% จาก 8% ใน 1Q65 หลังราคาขายยางลดลงเร็วกว่าต้นทุน ส่วนกำไรที่ลดลง 15%QoQ เกิดจากยอดขายหดตัว 12%QoQ (ปริมาณขายและราคาขายลดลง 7%QoQ และ 5%QoQ ตามลำดับ) และมาร์จิ้นที่ปรับตัวลง

หลังไปได้อะไร

  • NER มองช่วงที่เหลือปีนี้ผลการดำเนินงานจะฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากความต้องการยางยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากการเปิดประเทศของจีนและความต้องการรถยนต์ EV ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการขยายตลาดลูกค้าใหม่ทั้งในไทย จีน สิงคโปร์ และอินเดีย (ตั้งเป้าเป็นผู้ผลิตยางติด Top5 ของไทยภายในปี 2567) โดยบริษัทยังคงตั้งเป้าปี 2566 จะมีปริมาณขายยางราว 5.0 แสนตัน เติบโต 12%YoY ส่วนราคาขายยางอาจจะไม่สูงมากแต่คาดยังอยู่ในระดับที่ดี
  • บริษัทมีแผนลดต้นทุนการผลิตด้วยการขยายกำลังการผลิตซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด โดยปีนี้มีแผนเพิ่มกำลังผลิตอีก 5 หมื่นตันที่โรงงานเดิมแห่งที่ 2 และจะก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ซึ่งมีกำลังผลิต 1.728 แสนตัน ใช้งบลงทุน 700 ลบ. (แหล่งเงินทุนจะมาจากกำไรสะสมและ CFO) ซึ่งคาดจะเปิดดำเนินการใน 1Q67 ส่งผลให้สิ้นปี 2566 จะมีกำลังผลิตรวม 5.156 แสนตัน จากปี 2565 ที่ 4.656 แสนตัน และจะเพิ่มเป็น 6.884 แสนตันในปี 2567 ทั้งนี้จะมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ภายในโรงงานแห่งที่ 3 เพื่อลดต้นทุนพลังงาน

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ปี 2566 ปริมาณขายยางจะมีแนวโน้มเติบโต YoY ตามอุปสงค์ที่ปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศของจีนและความต้องการยางรถ EV รวมทั้งการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ แต่กำไรปกติ 1Q66 คิดเป็นเพียง 16% ของประมาณการทั้งปีซึ่งต่ำเกินไป เนื่องจากศักยภาพทำกำไรแย่กว่าคาดมากจากราคาขายที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดมาก เพื่อสะท้อนปัจจัยลบและยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการกำไรปี 2566 ลงจากเดิม 16% โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 NER จะมีกำไรปกติ 1,625 ลบ. หดตัว 12%YoY
  • กรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 2566 อยู่ที่หุ้นละ 4.80-5.30 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER เดิมที่ 5-6.0 เท่า) พบว่าไม่มี Upside ที่น่าสนใจแล้ว ซึ่งเมื่อบวกกับ 2Q66 คาดกำไรปกติยังมีแนวโน้มลดลง YoY ตามราคาขายยางเฉลี่ยที่ลดลง YoY จึงทำให้ขาดปัจจัยกระตุ้นการปรับขึ้นของราคาหุ้นในช่วงสั้นนี้ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ “ขายหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนไปก่อน”
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การถดถอยของเศรษฐกิจโลกและจีน, การแข็งค่าของเงินบาท
11/05/2023 KCE ก่อนไปคิดอะไร
  • KCE ประกาศกำไรสุทธิ 1Q66 ที่ 345 ล้านบาท ต่ำกว่าตลาดคาด 18% โดยกำไรสุทธิ 1Q66 ลดลง 31% QoQ และ 42% YoY เนื่องจากผลกระทบความผันผวนของค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยยอดขายในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ลดลง 6.9% QoQ (-13% ในรูปสกุลเงินบาท) ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบหลักอย่างทองแดงมีการสต็อคไว้ในช่วงค่าเงินบาทอ่อนในช่วงปลายปี 65 ขณะที่ค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าในช่วง 1Q66 ดังนั้นเลยดูเหมือนว่า KCE ซื้อวัตถุติบในราคาแพง ซึ่งกระทบต่อ Gross margin โดยรวม ใน 1Q66 เหลือเพียง 19.6% จาก 21.1% ใน 4Q65

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร KCE คาดว่า 2Q66 ยอดขายจะ Flat QoQ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นยอดขายเริ่มเพิ่มขึ้นได้ในช่วงปลาย 2Q66 ถึงต้น 3Q66 เนื่องจาก Demand ของฝั่ง Europe และ US เพิ่มขึ้น แต่ Demand ในฝั่งจีนยังค่อนข้าง Soft จากการ destock โดยคาดว่า U-rate ใน 2Q66 อยู่ระดับ 79% ทรงตัว QoQ ส่วน Gross margin คาดว่าจะ improve ขึ้นเล็กน้อยอยู่ระหว่าง 20-21% ใน 2Q66 เทียบกับ 19.6% ใน 1Q66 จากraw material ที่ลดลงเป็นหลัก ส่วนค่าไฟอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • กลยุทธ์หลัก ยังคงปรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ Special grade PCB (HDI, 30% ของยอดขายรวม) ที่มี Margin สูงมากขึ้นขึ้น ซึ่ง HDI เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในพวก Break system ในรถยนต์ EV และผลิตภัณฑ์ Radar/Lidar เป็นต้น โดยปัจจุบันมี เครื่อง Laser drill สำหรับใช้กับการผลิต HDI อยู่ 11 เครื่อง ซึ่งผลิตเต็มกำลัง และยังมี Demand ที่ค่อนข้างสูง โดยจะมีการเพิ่มเครื่อง Laser Drill เข้าไปอีก 2 เครื่องใน 2Q66 และอีก 2 เครื่องใน 3Q66 ซึ่งจะสามารถเพิ่ม Capacity ของ HDI ได้อีก 300,000-400,000 ตารางฟุตต่อไตรมาส หากติดตั้งทั้งหมด 4 เครื่อง ซึ่งจะช่วยทำให้ overall sale และ Gross margin เพิ่มขึ้นได้ใน 2H66 ส่วนโรงงานใหม่ที่โรจนะ อาจจะมีการเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์ไปเบื้องต้นเป็น 4Q67 จากเดิมที่มีแผนว่าจะเริ่มเปิดเชิงพาณิชย์ ในช่วงกลางปีหน้า โดยอาจจะยังคงรอ Test ตลาดรอดู Demand ผลิตภัณฑ์ระยะหนึ่ง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ KCE ในระยะกลางถึงยาว โดยจุดเด่นของ KCE คือเป็นผู้ผลิตแผงวงจรรายใหญ่ TOP10 ของโลก ให้กับผู้ผลิตรถยนต์โดยเฉพาะในประเทศยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งจะได้รับผลบวกจากปริมาณความต้องการแผงวงจรในรถยนต์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากตัวเลขล่าสุดยอดขายรถยนต์ในทวีปยุโรป (47% ของยอดขาย PCB ของ KCE) ที่มียอดขายเติบโต 5% YoY มาที่ 3.24 ล้านคัน ใน 1Q66 ตามด้วย US (21% ของยอดขาย PCB ของ KCE) ที่มียอดขายรถยนต์เติบโต 8.1% YoY มาที่ 3.56 ล้านคัน หักลบกับยอดขายรถยนต์ในจีน (12% ของยอดขาย PCB ของ KCE) ที่ลดลง 6.9% YoY มาที่ 5.08 ล้านคัน ใน 1Q66 นอกจากนี้เรายังมองว่าประเด็นค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาเป็นสัดส่วน 9.7% ของต้นทุนรวม ใน 1Q66 จาก 6.7% ใน 4Q65 จะเริ่มคลี่คลาย หลังราคาน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเริ่มกลับมาสู่ระดับปกติแล้ว
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงมากขึ้น และประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการแผงวงจร PCB โดยรวม และต้นทุนวัตถุดิบ
  • ราคาหุ้น KCE ปรับฐานลงมา (60% จาก Peak ช่วงปลายปี 2564) สะท้อนปัจจัยลบไปค่อนข้างมากแล้ว เราแนะนำให้ทยอยสะสม เพื่อรอการฟื้นตัวของผลประกอบการตั้งแต่ 2H66 เป็นต้นไป เราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 30 เท่าซึ่งเท่ากับ mean ในรอบ 5 ปีของ KCE ได้ราคาเป้าหมาย 61.00 บาทต่อหุ้น
11/05/2023 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงานช่วงที่เหลือปีนี้และแผนขยายสาขาจะเป็นอย่างไร หลัง 1Q66 AU มีกำไรสุทธิ 34 ลบ. เติบโตเด่น 135%YoY (ใกล้เคียงที่เราคาดไว้ที่ 35 ลบ.) แรงหนุนจากยอดขายรวมที่เพิ่มขึ้น 33%YoY จากยอดขายสาขาเดิมที่โต 20.5%YoY จากฐานต่ำปีก่อนและกิจกรรมเศรษฐกิจดีขึ้น อีกทั้งรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่ม 12 สาขา จาก 1Q65 ที่มี 39 สาขา และยอดขายบางส่วนจาก 2 สาขาใหม่ที่เปิดใน มี.ค. 66 นอกจากนี้อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 63.8% ดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ จากมีลูกค้านั่งทานที่ร้านขนมมากขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • AU ยังคงมีแผนขยายร้านขนมหวานภายใต้แบรนด์ After You ต่อเนื่อง โดย 2Q66 คาดจะเปิดร้านร้านขนม After You อีก 6 สาขาทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดเพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น ส่วนการขยายแฟรนไชส์แบรนด์ After You ในต่างประเทศมีแผนเปิดสาขา 2 ที่ฮ่องกงใน 2H66 และแผนเซ็นสัญญากับแฟรนไชส์ซีในประเทศกลุ่ม CLMV (คาดจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นใน 2H66) ซึ่งช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างการเติบโตในระยะยาว
  • สำหรับปี 2566 บริษัทยังคงเป้ายอดขายรวมเติบโต 25%YoY สู่ระดับ 1.2 พันลบ. กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนนอกจากการขยายสาขาแล้ว ผลจากการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจและการเดินทางมาไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายและมีการเปิดประเทศ ยังช่วยหนุนยอดขายสาขาเดิมและมาร์จิ้นให้ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับหลังมีลูกค้าเข้ามาทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นดีกว่าซื้อกลับ)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q66 คาดกำไรจะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากการมีภาวะอากาศที่ร้อนจัดและวันหยุดยาวช่วยหนุนยอดขายเมนูน้ำแข็งใสและเครื่องดื่ม อีกทั้งสินค้าที่จำหน่ายตามฤดูกาลอย่างมะยงชิดมีกระแสตอบรับที่ดีมาก ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม ส่วน 2H66 คาดกำไรจะเติบโตดีทั้ง YoY และ HoH เช่นกัน จากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นหลังเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว อีกทั้งจะรับรู้ยอดขายจากขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดดีขึ้นต่อเนื่อง หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาจำนวนมากและมีลูกค้าทานที่ร้านมากขึ้น
  • เรายังมีมุมมองบวกต่อ AU จากกำไรที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยปี 2566 คาดมีกำไรสุทธิ 190 ลบ. เติบโต 60%YoY และเพิ่มขึ้นสู่ 237 ลบ. เติบโตต่ออีก 24%YoY กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2567 ทั้งนี้กลยุทธ์ลงทุนยังคงแนะนำ “ซื้อลงทุน” โดยประเมินราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 13 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 6.8% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 0%)
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น
11/05/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • SNNP รายงานผลประกอบการของ 1Q66 ตามคาด โดยรายได้อ่อนตัว QoQ จากยอดขายต่างประเทศที่ลดลงและระดับ gross margin ที่ทรงตัว
  • ทิศทาง Gross Margin จะปรับเพิ่มขึ้นได้หรือไม่หลังจากโรงงานในประเทศเวียดนามเริ่มผลิตสินค้าหลากหลายมากขึ้น

หลังไปได้อะไร

  • SNNP วางแผนออกสินค้าใหม่ในช่วง Q2-Q3 ทั้งกลุ่ม Jele ที่จะเพิ่มรสชาติใหม่ซึ่งได้ความร่วมมือมาจาก magic farm และในกลุ่ม Snack จะมีการออกรสชาติใหม่ของกลุ่ม Lotus เราคาดว่าสินค้าใหม่จะช่วยหนุนยอดขายภายในประเทศในช่วงที่เหลือของปี
  • เป้าหมายการเติบโตในปีนี้คาดต้องใช้กำลังการผลิตของโรงงานในต่างประเทศคือกัมพูชา (ปัจจุบัน Utilization ประมาณ 50%) และเวียดนาม (ช่วงต้นของการผลิตและจบครบทุกสายการผลิตปลายปี 2566) เข้ามาหนุน โดย SNNP ยังคงเป้าหมายการเติบโตของยอดขายในประเทศที่ประมาณ 15% และต่างประเทศ 30% ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของเรา และสัดส่วนรายได้จากในประเทศที่ 68-70% และต่างประเทศ 32-30% สำหรับบริษัทร่วมทุนคือ สิริโปร ที่มีผลขาดทุนมากขึ้นคาดต้องมีการปรับโครงสร้างและยังมีผลขาดทุนในปีนี้

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • SNNP รายงานกำไรสุทธิของ 1Q66 ที่ 154 ล้านบาท (+2% YoY และ +1.1% QoQ) ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ที่ 158 ล้านบาทโดยรายได้อ่อนตัว QoQ มาจากรายได้ยอดขายจากต่างประเทศที่หดตัว 38% QoQ จากฐานที่สูงและฤดูกาล ขณะที่รายได้ในประเทศหดตัว 1% QoQ ระดับ Gross Margin ทรงตัว QoQ แต่ดีขึ้นเล็กน้อย YoY SG&A ต่อรายได้มีสัดส่วนและมูลค่าลดลงจากกงานโฆษณาที่ลดลง
  • ใน 1Q66 SNNP ทำเป้ากำไรสุทธิได้ 2% ของประมาณการกำไรสุทธิของเราในปีนี้ที่ 692 ล้านบาทเติบโต 34% และทำฐานจุดสูงสุดใหม่
  • เราคงประมาณการรายได้ของปี 2566 ที่ 6,260 ล้านบาทเติบโต 13% สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเท่ากับ 28% มูลค่าเติบโต 30% ขณะที่รายได้จากในประเทศคาดมีสัดส่วน 72% มูลค่าเติบโต 5% ระดับ Gross Margin ปรับขึ้นเป็นลำดับในแต่ละไตรมาสและใน 2Q66 คาดแรงหนุนจากฤดูกาลจะทำให้ผลประกอบการเติบโต YoY และ QoQ
  • เราคาดว่าแนวโน้มอัตราการทำกำไรขั้นต้นใน 2H66 จะดีกว่า 1H66 เมื่อโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามผลิตเต็มกำลังทุกสินค้าครบโดยคาดว่ากลุ่มเบนโตะจะเริ่มผลิตช่วง 2Q66 และกลุ่ม Jele เริ่มผลิตใน 2H66
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุน การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงิน
  • เราคงคำแนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเราใช้สมมติฐาน PER ที่ 5 เท่า (+1SD) ราคาเป้าหมายปี 2566 เท่ากับ 25.50 บาท/หุ้น และเราคาดหวังที่เห็นการเปิดธุรกิจเสริมอาหารในปี 2566 เพื่อต่อยอดการเติบโตรวมไปถึงการเติบโตของตลาดต่างประเทศ
09/05/2023 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลการดำเนินงานที่เหลือของปี 2566 จะเป็นอย่างไร หลัง 1Q66 TNP มีกำไรสุทธิ 36 ลบ. หดตัว 13.5%QoQ ตามผลฤดูกาล แต่เติบโต 1.3%YoY ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่กำไรกลับมาเติบโต YoY หลังหดตัวต่อเนื่องมา 4 ไตรมาส ปัจจับหนุนหลักมาจากยอดขายรวมที่เพิ่มขึ้น 5.7%YoY โดยแม้ยอดขายสาขาเดิมจะหดตัว 7%YoY จากกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่ดี แต่ถูกชดเชยจากรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสของสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น 4 สาขา (1Q66 มี 42 สาขา) เมื่อเทียบกับ 1Q65 ที่มี 38 สาขา ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 17.0% ทรงตัวจาก 1Q65

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร TNP มองตั้งแต่ เม.ย. บรรยากาศจับจ่ายใช้สอยอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งและเทศกาลสงกรานต์ซึ่งมีการกลับบ้านเพื่อมาหาญาติผู้ใหญ่เพื่อรดน้ำดำหัว อีกทั้งยังมีการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย พะเยาและเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านค้าธนพิริยะ จึงทำให้มีเม็ดเงินเดินสะพัดมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ดังนั้นบริษัทจึงยังคงตั้งเป้าปี 2566 ยอดขายรวมจะเติบโตไม่น้อยกว่า 10%YoY จากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม 2-3%YoY รวมทั้งจากการรับรู้ยอดขายเต็มปีจากสาขาใหม่ที่เปิดปีก่อน 4 แห่ง และยอดขายบางส่วนจากสาขาใหม่ที่มีแผนเปิดปีนี้อีก 5 แห่ง (สิ้นปีนี้คาดมีสาขาทั้งสิ้น 47 แห่ง เพิ่มจากปีก่อนที่มี 42 แห่ง) โดยงบลงทุนเปิดสาขาใหม่ตั้งไว้ที่ปีละ 150 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 2Q66 คาดผลการดำเนินงานจะเติบโตทั้ง QoQ และ YoY แรงหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่คาดพลิกบวก YoY หลังกำลังซื้อและธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง อีกทั้งล่าสุดกิจกรรมการค้าตามด่านชายแดนเริ่มกลับมาเปิดปกติ ทำให้ลูกค้าเดิมที่หายไปมียอดคำสั่งซื้อสินค้ากลับมาค่อนข้างมากและลูกค้าที่สั่งอยู่แล้วได้สั่งซื้อสินค้ามากขึ้น รวมทั้งบริษัทยังจะรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสจาก 4 สาขาใหม่ที่เปิดปีก่อน และยอดขายบางส่วนจาก 2 สาขาใหม่ที่จะเปิดในไตรมาสนี้ (เชียงใหม่และเชียงรายอย่างละ 1 แห่ง)
  • TNP เป็นหุ้นค้าปลีกขนาดเล็กที่มีศักยภาพเติบโตที่ดี โดยปี 2566 คงคาดมีกำไรสุทธิ 166 ลบ. พลิกเติบโต 11%YoY และยังมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยสิ้น 1Q66 ไม่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายและมีฐานะเงินสดสุทธิราว 70 ลบ. อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside น่าสนใจจากกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 40-4.80 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปีที่ 21-23x) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2566 อีกหุ้นละ 0.09 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 2.6% กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ” เพื่อรับกำไรที่กลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ปีนี้ไป
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
08/05/2023 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบถึงแนวโน้มผลการดำเนินงาน 1Q66 เป็นอย่างไร และความคืบหน้าของการขยายสาขายังเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทหรือไม่

หลังไปได้อะไร

  • แรงหนุนจากบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ รวมทั้งยังมีมาตรการช้อปดีมีคืน อีกทั้งลูกค้ายังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้ามาทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นสูงกว่าซื้อกลับ) ได้ช่วยหนุนให้ภาพรวม 1Q66 ยังอยู่ในทิศทางที่ดี (AU จะประกาศงบ 1Q66 ในวันที่ 10 พ.ค. 66) และคาดยอดขายรวมปี 2566 จะเติบโต 25%YoY สู่ระดับ 1.2 พันลบ. กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ตามเป้าหมายของบริษัทได้
  • 1Q66 AU มีการเปิดสาขาใหม่ร้าน After You อีก 1-2 สาขา (จากสิ้นปี 2565 ที่มี 51 สาขา และ 1Q65 ที่มี 39 สาขา) ส่วนทั้งปี 2566 บริษัทยังคงแผนขยายสาขาร้าน After You ในรูปแบบปกติ 5-6 สาขา, Marketplace 15-20 สาขา รวมทั้งขยายแฟรนไชส์แบรนด์ After You ในต่างประเทศ 3 สาขา (ฮ่องกงสาขาที่ 2 ใน 2Q66 และอีก 2 แห่งแถบเอเชียใน 2H66)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 1Q66 คาด AU จะมีกำไรสุทธิ 35 ลบ. เติบโตเด่น 142%YoY ปัจจัยหนุนจาก 1) ยอดขายรวมคาดเพิ่มขึ้น 30%YoY จากยอดขายสาขาเดิมโต 20%YoY จากฐานต่ำปีก่อนและกิจกรรมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อีกทั้งยังรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสจากสาขาใหม่ที่มีเพิ่ม 12 สาขา จาก 1Q65 ที่มี 39 สาขา และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นคาดดีขึ้นสู่ 64.0% จาก 60.5% ใน 1Q65 และ0% ใน 4Q65 จากการมีสัดส่วนยอดขายที่เกิดจากลูกค้ามานั่งทานที่ร้านมากขึ้น
  • 2Q66 คาดผลการดำเนินงานจะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ หลังอากาศร้อนจัดทำให้เมนูน้ำแข็งใสและเครื่องดื่มขายดี อีกทั้งยังมีวันหยุดยาวช่วยกระตุ้นยอดขาย ขณะที่ทั้งปี 2566 คาด AU จะมีกำไรสุทธิ 190 ลบ. เติบโต 60%YoY และเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 237 ลบ. เติบโตต่อเนื่องอีก 24%YoY กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2567 ได้ตามประมาณการเดิม
  • วันนี้ (8 พ.ค.) หากราคาหุ้น AU ปรับลงมา เพราะมีการขึ้น XD เพื่อรับเงินปันผลจากกำไรปี 2565 หุ้นละ 0.15 บาท คิดเป็น Yield ปีละ 1.4% กลยุทธ์ลงทุนมองเป็นโอกาสซื้อลงทุน หลังผลการดำเนินงาน AU กำลังกลับเข้าสู่ขาขึ้น โดยปี 2566-2570 คาดกำไรโตเฉลี่ยปีละ 26% และมี Upside Risk หากนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยมากกว่าคาด (ก่อนเกิดโควิด-19 AU มีลูกค้าจีนคิดเป็น 13% ของยอดขายรวม) ทั้งนี้เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 13 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 6.8% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 3.0%)
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น
02/05/2023 IIG ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบถึงแนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 รวมถึงการฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้น และในส่วนของแผนการเข้าซื้อกิจการใหม่ๆว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง

หลังไปได้อะไร

  • ในส่วนของกำไรสุทธิ 1Q66 เราคาดว่าจะลดลง 5% QoQ และ 57.8% YoY อยู่ที่ 11.6 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้เองจะเป็นการรวมรายได้ของทาง Lansing เต็มไตรมาสเป็นไตรมาสแรก โดยในส่วนของรายได้เราคาดอยู่ที่ 250 ล้านบาท เติบโต 0.5% QoQ และ 14.1% YoY โดยการที่รายได้สามารถทรงตัว QoQ ได้มาจากการที่มีรายได้ของ Lansing เข้ามาช่วยถ้าในส่วนของ IIG เองนั้นจะยังลดลง QoQ ตาม Seasonality ของธุรกิจ ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นนั้นคาดว่าจะอยู่ที่ 15% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 18.2% เนื่องจากยังได้รับแรงกดดันจาก Project งานภาครัฐที่มีอัตรากำไรที่ต่ำอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยจากประมาณการณ์ของเราคาดว่ากำไร 1Q66 จะเท่ากับ 7.3% ของกำไรทั้งปีที่เราทำไว้ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่างบจะประกาศวันที่ 12 พ.ค.
  • ในส่วนของการเข้าซื้อกิจการนั้นบริษัทยังคงเดินหน้าหาโอกาสอย่างต่อเนื่องทั้งที่ไทยและต่างประเทศ (เวียดนาม) โดยมีโอกาสที่จะเห็นความชัดเจนในส่วนของดีลในประเทศได้ในช่วง 1H66 ในส่วนของดีลต่างประเทศนั้นคงอาจจะยังต้องใช้เวลาอีกซักพักคาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ช่วง 2H66 โดยในส่วนนี้เรายังไม่ได้รวมเข้าไปในประมาณการของเรา

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับประมาณการกำไรปี 2566 ลง 5% อยู่ที่ 83 ล้านบาท ลดลง 0.4% YoY โดยเราปรับประมาณการในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นลงอยู่ที่ 21.3% จาก 27.7% เพื่อสะท้อนในส่วนของแนวโน้มการฟื้นตัวที่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าคาด โดยในส่วนของรายได้เรายังคงไว้ที่ 1.4 พันล้านบาทเติบโต 48.1% โดยเราเชื่อว่าภายหลังจากที่ผลประกอบการ 1Q66 ออกมาน่าจะเห็นการปรับประมาณการลงของ Consensus อีก
  • เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนออกไปก่อนถึงแม้ว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงกว่า 2% YTD เนื่องจากยังเห็น Downside ของประมาณการทั้งปีของ Consensus และผลประการที่อาจจะเติบโตติดลบในปีนี้ Valuation ปัจจุบันถือว่าซื้อขายที่ 40.6x PE ปี 2566 ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลังของบริษัทถือว่ายังไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการเติบโตของกำไร โดยเราปรับลดราคาเป้าหมายลงอยู่ที่ 25-28.5 บาทต่อหุ้น (จาก 47 บาท) อิง 34-39x Fully diluted PE ปี 2566 เพื่อสะท้อนการเติบโตของกำไรที่น้อยกว่าคาด
  • ความเสี่ยงคือเรื่องการฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้นเนื่องจากเห็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสติดต่อกัน
02/05/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • คาด 1Q66 ผลจากฤดูกาลจะทำให้ยอดขายรวมในประเทศเติบโตต่ำและยอดขายต่างประเทศคาดจะชะลอตัวลงจากฐานที่สูง
  • ต้นทุนมีแนวโน้มลดลงตามทิศทางของต้นทุนหลักและราคาตลาดโลก

หลังไปได้อะไร

  • SNNP จะรายงานผลประกอบการของ 1Q66 ในวันที่ 9 พ.ค. 2566 นี้โดยคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิจะเติบโตต่อทั้ง YoY และ QoQ โดยคงเป้าหมายการเติบโตของยอดขายในประเทศที่ประมาณ 15% และต่างประเทศ 30% ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของเรา และสัดส่วนรายได้จากในประเทศที่ 68-70% และต่างประเทศ 32-30% และมีการปรับแผนการผลิตเบนโต๊ะของโรงงานในประเทศเวียดนามจาก 3Q มาเป็น 2Q66 และอาจพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตในกัมพูชาเพื่อส่งสินค้ากลับมาประเทศไทย ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ยังไม่ได้อยู่ในประมาณการของเราและอาจทำให้เกิด Upside บน Gross Margin ใน 2H66 เป็นต้นไป

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • คาดกำไรสุทธิของ 1Q66 ที่ 158 ล้านบาท (+50% YoY และ +3.8% QoQ) โดยรายได้คาดที่ 1,502 ล้านบาท (+32.6% YoY แต่ลดลง -7.9% QoQ) ยอดขายในประเทศคาดเติบโตได้เล็กน้อยทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่ด้วยปัจจัยวันหยุดและฤดูกาลกดดันยอดขายต่างประเทศอ่อนตัว QoQ แต่ยังเติบโต YoY อัตราการทำกำไรขั้นต้นฟื้นตัวดีขึ้นคาดที่ 4% ผลจากต้นทุนบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบที่เริ่มทรงตัว ราคาน้ำมันและต้นทุนขนส่งเริ่มลดลง
  • หากประมาณการของ 1Q66 ของเราเป็นไปตามคาดจะเท่ากับว่า SNNP ทำเป้ากำไรสุทธิได้ 8% ของประมาณการกำไรสุทธิของเราในปีนี้ที่ 692 ล้านบาทเติบโต 34% และทำฐานจุดสูงสุดใหม่ โดยเราคงประมาณการรายได้ของปี 2566 ที่ 6,260 ล้านบาทเติบโต 13%สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเท่ากับ 28% มูลค่าเติบโต 30% ขณะที่รายได้จากในประเทศคาดมีสัดส่วน 72% มูลค่าเติบโต 13.5% ระดับ Gross Margin ปรับขึ้นเป็นลำดับในแต่ละไตรมาสและใน 2Q66 คาดแรงหนุนจากฤดูกาลจะทำให้ผลประกอบการเติบโต YoY และ QoQ
  • เราคาดว่าแนวโน้มอัตราการทำกำไรขั้นต้นใน 2H66 จะดีกว่า 1H66 เมื่อโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามผลิตเต็มกำลังทุกสินค้าครบโดยคาดว่ากลุ่มเบนโตะจะเริ่มผลิตช่วง 2Q66 และกลุ่ม Jele เริ่มผลิตใน 2H66
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุน การบริหารโรงงานในต่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงิน
  • เราคงคำแนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเราใช้สมมติฐาน PER ที่ 5 เท่า (+1SD) ราคาเป้าหมายปี 2566 เท่ากับ 25.50 บาท/หุ้น และเราคาดหวังที่เห็นการเปิดธุรกิจเสริมอาหารในปี 2566 เพื่อต่อยอดการเติบโตรวมไปถึงการเติบโตของตลาดต่างประเทศ วันนี้ (2 พ.ค. 2566) เงินปันผลงวด 2H65 ที่ 0.23 บาท/หุ้นขึ้น จะขึ้นเครื่องหมาย XD
28/04/2023 DELTA ก่อนไปคิดอะไร
  • DELTA ประกาศกำไรสุทธิ 3.61 พันล้านบาท ต่ำกว่าตลาดคาดเล็กน้อย 6% โดยกำไรสุทธิปรับตัวลดลง 13.7% QoQ เนื่องจาก High base ในช่วง 4Q22 และความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลก ขณะที่ Gross margin ก็ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 20.8% ใน 1Q23 จาก 24.5% ใน 4Q22 เนื่องจากสถานการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ (โดยเฉพาะ semiconductor) ในกลุ่มโซลูชั่นสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการตั้งสำรองสินค้าคงคลังวัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นอาทิค่าแรงงาน และค่าอุปกรณ์การผลิตอื่นๆ อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ก็ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ลดลงเช่นกัน ทำให้ SG&A/sale ปรับตัวลงมาเหลือ 10% ใน 1Q23 จาก 11.1% ใน 4Q22    
หลังไปได้อะไร
  • ผู้บริหาร DELTA ยังคงคาดการณ์เป้ายอดขายในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ปีนี้จะเติบโต 15-20% (เราคาด 17%) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ EV-related นั้นที่คาดว่าจะเติบโต 25-30% ขณะที่ Data Center business จะเติบโต 10-15% ขณะที่ธุรกิจในประเทศอินเดีย (อุปกรณ์ Telecommunication 5G และ Power supply สำหรับ Data Center) ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามทาง DELTA มีการปรับลดประมาณการณ์ Gross margin ปีนี้ลงเหลือ 22-23% จากเดิม 23-24% (2565: 23.7%) เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าที่ประเมินไว้
  • เราประเมินกำไรสุทธิปี 2566 อยู่ที่ 9 พันล้านบาท เติบโต 4.1% YoY ยังคงได้รับปัจจัยบวกจากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ EV ที่มี Backlog order ค่อนข้างมาก โดยเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจำนวนมาก ทาง DELTA ได้มีการขยายพื้นที่ชั่วคราว จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิต EV-related products ได้ประมาณ 20% ในช่วง 2Q66 และจะสามารถ double capacity ได้ตั้งแต่กลางปี 2566 เป็นต้นไป โดยกำลังการผลิตของ EV-related products จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 600 ล้านเหรียญฯ (16% ของประมาณการรายได้ปี 2566) เป็นระดับ 1,200 ล้านเหรียญฯ ต่อปี ในช่วงกลางปี 2566 ขณะที่ Gross Margin คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 22.5% ในปี 2566 จาก 23.7% ในปี 2565

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 2Q66 คาดว่าจะอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัวเล็กน้อย QoQ จากปริมาณขายผลิตภัณฑ์ EV-related ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงส่วนงานประเทศอินเดียที่เติบโตมา Gross margin สูงที่ระดับ 20% ยังคงเติบโตต่อเนื่อง
  • สำหรับประเด็นเรื่องแตกพาร์ แตกพาร์เหลือ 0.1 บาทต่อหุ้น จากเดิม 1 บาทต่อหุ้น โดยจะสามารถไปซื้อขายบนราคาพาร์ใหม่ได้ตั้งแต่วันที่ 28 Apr เป็นต้นไปนั้น เรามองว่าราคาหุ้นได้ตอบรับประเด็นบวกนี้ไปแล้ว เราจึงมองว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น DELTA จากราคาตลาดใหม่ที่จะซื้อขายวันนี้มากนัก
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น ความท้าทาย และความผันผวนของค่าเงินบาท
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 52 เท่าซึ่งเท่ากับ +0.5 SD ของ PE mean ในรอบ 5 ปี นอกจากนี้หากพิจารณาคู่แข่งระดับโลก ซื้อขายที่ระดับ PE เพียง 20-30x ได้ราคาเป้าหมาย 666.00 บาทต่อหุ้น (66.6 บาท หลังแตกพาร์) โดยเราแนะนำให้หลีกเลี่ยง และระมัดระวังการลงทุน
21/04/2023 SECURE ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 จะเป็นอย่างไร รวมถึงภาพรวมเป้าหมายทางการเงินทั้งปีที่รายได้ 1 พันล้านบาทยังมั่นใจหรือไม่ และสถานการณ์ Chip shortage เป็นอย่างไรบ้าง

หลังไปได้อะไร

  • คาดกำไรปกติใน 1Q66 อยู่ที่ 16 ล้านบาท ลดลง 4% QoQ แต่เติบโต 474% YoY โดยการลดลง QoQ เป็นผลจากปัจจัยด้านฤดูกาลเนื่องจากปกติ 4Q มันจะเป็นไตรมาสที่บริษัทรับรู้รายได้สูงสุดในแต่ละปี ในส่วนของฝั่ง YoY การเติบโตจะมาจากรายได้ที่ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากความต้องการด้าน Cybersecurity ที่ยังดี และอัตรากำไรขั้นต้นที่ฟื้นตัว โดยเราคาดรายได้อยู่ที่ 222 ล้านบาท ลดลง 27.5% QoQ แต่เติบโตขึ้น 27.3% YoY โดยสถานการณ์ Chip shortage ที่ดูดีขึ้นทำให้บริษัทกลับมาส่งมอบงานได้ดีขึ้น ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นนั้นฟื้นตัวอยู่ที่ 18% จาก 17.4% ใน 4Q65 โดยการฟื้นตัวมาจากค่าเงินบาทที่มีความผันผวนที่ลดลง ในส่วนของ SG&A คาดว่าจะลดลง 9% YoY อยู่ที่ 20 ล้านบาท โดยอิงจากประมาณการณ์ของเรากำไร 1Q66 จะคิดเป็น 27.6% ของทั้งปีที่เราทำไว้ โดยงบจะประกาศวันที่ 11 พ.ค.
  • สถานการณ์ Chip shortage นั้นทางบริษัทชี้แจงว่าปัจจุบันใกล้เคียงภาวะปกติก่อน COVID-19 แล้ว โดยปัจจุบันระยะเวลาในการสั่งสินค้าอยู่ที่ประมาณ 60 วันจากช่วงที่แย่ที่สุดเคยยาวนานถึง 8-9 เดือน และช่วงเวลาปกติที่ 30-45 วัน ทำให้การส่งมอบงานให้ลูกค้าทำได้ดีขึ้นและการบริหารจัดการต้นทุนนั้นทำได้ดีขึ้นเช่นกัน
  • สำหรับเป้าหมายทางการเงินปี 2566 บริษัทยังคงเป้าหมายรายได้ที่ 1 พันล้านบาทเติบโต 9% โดย Momentum ตั้งแต่ต้นปีทางผู้บริหารยังคงมั่นใจว่าเป้าหมายที่วางไว้จะสามารถบรรลุได้ ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นนั้นวางเป้าหมายไว้ไม่ต่ำกว่าปี 2565 ที่ 16.2% โดยเรายังคงประมาณการณ์ของเราในส่วนของรายได้ที่ 919 ล้านบาท เติบโต 2.8% อัตรากำไรขั้นต้นที่ 17.2% และกำไรปกติที่ 58 ล้านบาทเติบโต 28.8%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงคำแนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมาย 20-23 บาทต่อหุ้นอิง PE ที่ 35-40x ปี 2566 โดยเรายังคงเห็นพัฒนาการเชิงบวกของแนวโน้มธุรกิจอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของรายได้หลังจากที่ภาวะ Chip shortage กลับมาใกล้ปกติ และค่าเงินบาทที่มีความผันผวนลดลง เรายังเห็น Upside ต่อประมาณการณ์ของเราเนื่องจากเรายังคาดรายได้ปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทมองไว้
  • ความเสี่ยงคือสถานการณ์ Chip shortage รวมถึงค่าเงินบาทถ้ากลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็วอีกครั้งจะกระทบในส่วนของ Gross margin ของบริษัท
10/04/2023 ONEE ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากสอบถามถึงแนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 ว่าจะมีทิศทางอย่างไรภายหลังจากที่ผลประกอบการ 4Q65 ยังคงลดลง QoQ และ YoY และเม็ดเงินโฆษณาภาพรวมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง YoY ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566

หลังไปได้อะไร

  • ในเชิงของภาพอุตสาหกรรมเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมของ 2 เดือนแรกปี 2566 ลดลง 10% YoY อยู่ที่ 15.8 พันล้านบาท โดยถ้าดูในส่วนของเม็ดเงินโฆษณา TV จะเห็นการปรับตัวลดลง 16.2% YoY อยู่ที่ 7.8 พันล้านบาท ในส่วนที่ดูปรับตัวดีขึ้นจะเป็นในส่วนของสื่อนอกบ้านดีปรับตัวดีขึ้น 24.7% อยู่ที่ 2.3 พันล้านบาทสวนทางกับภาพรวม โดยส่วนนี้เป็นผลมาจากการที่ประชาชนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น เลยทำให้การแบ่งสัดส่วนเม็ดเงินมาที่สื่อนอกบ้านมากขึ้นและไปลดในส่วนอื่นลด
  • เนื่องจากรายได้ของโฆษณา TV เป็นรายได้หลักของ ONEE ที่ 47% ของรายได้ และเม็ดเงินโฆษณาในส่วนนี้ยังไม่เห็นการฟื้นตัวทำให้เราคาดว่าแนวโน้มกำไร 1Q66 ของบริษัทน่าจะมีทิศทางที่ลดลง QoQ และ YoY โดยในส่วนของ QoQ ที่ลดลงนั้นมาจากการที่บริษัทจะไม่มี Deferred tax ที่ 62 ล้านบาทที่มีการบันทึกใน 4Q65 (ส่วนนี้เป็นบวกต่อกำไรสุทธิใน 4Q65)
  • เป้าหมายทางการเงินปี 2566 นั้นผู้บริหารมองรายได้รวมเติบโตที่ 3-5% โดยในส่วนของธุรกิจ TV จะพยายามบริหารให้ทรงตัวจากปี 2565 โดยจะเน้นการ Rerun ละครเก่าในช่วงที่เม็ดเงินโฆษณา TV ยังไม่กลับมา ปีนี้เอง ONEE จึงพยายามที่จะเน้นในส่วนของธุรกิจ Event และ Artist management มากขึ้น จะพยายามที่จะรักษา GPM ให้ใกล้เคียงปีที่แล้วที่ 42%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีการปรับกำไรปี 2566 ลง 36.6% อยู่ที่ 696 ล้านบาท ลดลง 5.7% YoY เรามีการปรับลดรายได้ลง 7.4% และ GPM ลงอยู่ที่ 41.1% จาก 46.1% เพื่อสะท้อนแนวโน้มโฆษณา TV ที่ยังไม่ฟื้นตัวและเป็นธุรกิจที่มี GPM สูงที่ 40% เรามองว่ากำไรที่ Consensus ทำไว้ยังมี Downside และคาดว่าจะเห็นการปรับประมาณการณ์ลงภายหลังจากงบ 1Q66
  • ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 17.2% YTD ซึ่งสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว และซื้อขายอยู่ที่ระดับ -2SD ในเชิงของ PE ทำให้ Downside ค่อนข้างที่จะจำกัด แต่ยังขาดปัจจัยบวกระยะสั้นในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณา TV ที่ยังไม่ฟื้นตัว เราจึงแนะนำนักลงทุนระยะกลางใช้จังหวะนี้ทยอยสะสมที่แนวรับที่ราคา 5.5 บาท เพื่อรอการฟื้นตัวของผลประกอบการครึ่งปีหลัง เราให้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 7.1 บาทต่อหุ้น (จาก 12-12.5) อิง 24.4x PE ปี 2566 หรือ -1SD จากค่าเฉลี่ยในอดีต (จาก 26-27x PE) เพื่อสะท้อนผลประกอบการที่ยังไม่สดใสใน 1H66
  • ความเสี่ยงคือ การฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา TV
24/03/2023 HTC ก่อนไปคิดอะไร
  • คาดว่าฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วง 1Q66 และฤดูร้อนใน 2Q66 รวมถึงเศรษฐกิจภาคใต้ที่ฟื้นตัวเด่นจะส่งผลบวกต่อยอดขายเครื่องดื่มของ HTC ขณะที่ยอดขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นโครงการแรกจะหนุนรายได้และเริ่มเป็นกำไรสุทธิในปีนี้ ส่วนของต้นทุนแม้จะเริ่มมีการปรับใช้ภาษีน้ำตาล เฟส 3 ในเดือน เม.ย. 2566 แต่คาดว่าการปรับสูตรและการปรับราคาขายขึ้นมาแล้วใน 3Q65 และต้นทุนอื่นๆ ที่เริ่มลดลงจะส่งผลกระทบต่อกำไรค่อนข้างจำกัด

หลังไปได้อะไร

  • HTC ตั้งเป้ารายได้ของปี 2566 เติบโต 6-8% โดยเน้นการขายและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มในพื้นที่การท่องเที่ยว การออกสินค้าใหม่ยังคงเป็นกลุ่ม Zero Sugar และตั้งเป้าสัดส่วนการตลาดของตลาด NARTD (Non-Alcoholic Ready-to-Drink) ที่ 26% เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 5%
  • โครงการอสังหาริมทรัพย์ Haven Karnjanavanich คาดจะสามารถมียอดขายประมาณ 100 ล้านบาทจากมูลค่าโครงการประมาณ 300 ล้านบาทมียอดจองแล้ว 13 ยูนิตหรือมี Backlog แล้วประมาณ 65 ล้านบาท

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคงมุมมองที่เป็นบวกต่อการเติบโตของ HTC ในปี 2566 โดยคงประมาณการการเติบโตของรายได้ที่ 6% YoY เท่ากับ 7,505 ล้านบาทโดยประเมินว่าทั้งปริมาณการขายและราคาขายจะทำได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา หนุนด้วยภาคการบริโภคและการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ และเราคาดรายได้จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ประมาณ 100 ล้านบาท หรือ 3% ของรายได้รวม ขณะที่อัตราการทำกำไรขั้นต้นคาดที่ 40% ทรงตัวจากปีที่ผ่านมา แต่เรามองว่าโอกาสเกิด Upside หากทิศทางราคาน้ำมันและต้นทุนค่าขนส่งอ่อนตัวลงต่อเนื่องในปีนี้ ส่งผลให้คาดกำไรสุทธิเติบโต 20% YoY เท่ากับ 522 ล้านบาท
  • ทิศทางผลประกอบการของ 1Q66 คาดว่ารายได้และยอดขายรวมจะเติบโตได้ดีทั้ง YoY และ QoQ จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและราคาขายใหม่ โดยบริษัทคาดการเติบโตที่ไม่น้อยกว่า 10% อย่างไรก็ตามในปลายปี 2565 HTC มีการยกเลิกกิจการของบริษัทย่อย 3 แห่งทำให้มีการบันทึกด้อยค่าและค่าใช้จ่ายเข้ามาใน 4Q65 และจะมีเหลือมาบันทึกบางส่วนใน 1Q66 แต่เราคาดว่าจะไม่เป็นปัจจัยกดดันผลประกอบการของ 1Q66 และใน 1Q66 นี้คาดว่า HTC จะสามารถบันทึกรายได้จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ประมาณ 3 หลังหรือ 17 ล้านบาท
  • ความเสี่ยงและความกังวล ต้นทุนวัตถุดิบหลักราคาผันผวน เงินเฟ้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภค
  • คงคำแนะนำ ซื้อ HTC ราคาเป้าหมายปี 2566 เท่ากับ 36 บาท/หุ้น ด้วยเป้า PER ที่ 14 เท่า เราชอบที่ HTC เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและให้ตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 5% ต่อปี และ HTC มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดย HTC ประกาศเงินปันผลงวด 2H66 ที 97 บาทต่อหุ้น (รวมทั้งปี 1.52 บาทต่อหุ้น) คิดเป็นผลตอบแทน 3% ขึ้น XD วันที่ 2 พ.ค. 2566
21/03/2023 AMATA ก่อนไปคิดอะไร
  • มองการติบโตของยอดขายที่ดินในปี 2566 จะโดดเด่นจากการเปิดการเดินทางจากประเทศจีน รวมถึงแนวโมการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเติบโตสูง เช่น Renewable Energy, Data Center และกลุ่มยานยนต์

หลังไปได้อะไร

  • AMATA ตั้งเป้าการขายที่ดินในปีนี้ที่ 2,250 ไร่ซึ่งเติบโตสูง 224% YoY และบริษัทมีความมั่นใจเนื่องจากเห็นอุปสงค์จากฐานลูกค้าที่อยู่ในมือรวมถึงการออกเอกสารแสดงความจำนงค์ไว้แล้วจำนวนหนึ่ง โดยแบ่งเป็นยอดขายที่ในประเทศไทย 1,500 ไร่ เติบโต 131% YoY และยอดขายจากประเทศเวียดนาม 750 ไร่เติบโตจาก 45 ไร่ในปี 2565 นอกจากนีคาดว่าในปีนี้จะเริ่มมียอดขายที่ดินจากนิคมฯ ใหม่ในประเทศ สปป. ลาว เข้ามา 200-300 ไร่

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรายังคงมีมมุมมองที่เป็นบวกต่อภาคนิคมอุตสาหกรรมของไทย และคาดว่าประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายของนักลงทุนโดยพื้นที่ภาคตะวันออกและ EEC คาดจะเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว และเรามองว่า AMATA เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากอุปสงค์ที่เข้ามา โดยในปีนี้ AMATA ยังใช้เงินลงทุนเพิ่มที่ดินประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท และอุตสาหกรรมที่ยังเติบโตดี เช่น กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ Renewable Energy, Data Center และอาหารสัตว์ส่งออก ซึ่งเราเชื่อว่า AMATA มีจุดเด่นที่ระบบสาธารณูปโภคและ Strategic Location
  • AMATA มี Backlog ในมือแข็งแกร่งที่ประมาณ 6,685 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถบันทึกรายได้ในปี 2566 ประมาณ 60% ดังนั้นเราคาดรายได้ของปี 2566 ที่ 7,699 ล้านบาท (+18% YoY) และกำไรสุทธิที่ 1,815 ล้านบาท (-22.5% YoY) โดยหากลบรายการกำไรจากการขายโรงงานในประเทศเวียดนามในปี 2565 ที่ 1,360 ล้านบาท จะส่งผลให้ Core Profit เติบโต 85% YoY
  • ความเสี่ยง : ทิศทางเศรษฐกิจโลก ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น และติดตามโอกาสและความเสี่ยงของการย้ายฐานการผลิตของบางอุตสาหกรรม
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 17 เท่าซึ่งเท่ากับ +0.25SD ในรอบ 7 ปีของ AMATA ได้ราคาเป้าหมาย 50 บาทต่อหุ้น คงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยแนวโน้มการกลับมาเติบโตโดดเด่นของอุปสงค์ในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ศักยภาพการทำกำไรของบริษัท การบริหารโครงสร้างรายได้ที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีทั้งที่มาของรายได้ และ ที่ตั้งของนิคมทั้งหมด และ AMATA มีการประกาศจ่ายเงินปันผลของ 2H65 ที่ 0.40 บาท/หุ้น ขึ้น XD วันที่ 3 พ.ค. 2566 (รวมทั้งปี 0.60 บาท/หุ้น)
07/03/2023 HANA ก่อนไปคิดอะไร
  • HANA ประกาศกำไรสุทธิที่ 1,075 ล้านบาท มากกว่าตลาดคาดไว้ที่ 630 ล้านบาท หลักๆ มาจากรายการพิเศษกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 360 ล้านบาท และกำไรจากตราสารอนุพันธ์ 154 ล้านบาท โดยหากตัดรายการพิเศษออกไป Core earnings ออกมาค่อนข้างอ่อนแอที่ 586 ล้านบาท ลดลง 3% qoq จากรายได้ที่ลดลงกว่า 5.6% QoQ (รายได้ดอลล่าร์ลดลง 4% QoQ) ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากใน 4Q65 รวมถึง demand ที่ชะลอตัวลงใน 4Q65 ทั้งในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ PCBA และ IC ซึ่งสะท้อนความต้องการในผลิตภัณฑ์ PC และมือถือที่ชะลอตัวลงทั่วโลก

หลังไปได้อะไร

  • แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 1Q66 คาดว่าจะอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวลง QoQ โดยยังได้รับผลกระทบจากลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และ Smartphone ที่มีคำสั่งซื้อที่ชะลอตัวลง ตามความกังวลภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าคงเหลือที่มาก รวมถึงยังมีแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ 1Q66 ยังมีผลกระทบจากโรงงานจีนที่ผลิตไม่ได้เต็มที่จากการแพร่ระบาดเชื้อ COVID และการหยุดยาวช่วงตรุษจีน โดยรวมทำให้อัตราการทำกำไรอ่อนแอลงเช่นกัน สำหรับการเพิ่มทุน PP จำนวน 5 ล้านหุ้น (10% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) นั้น ต้องรออนุมัติผู้ถือหุ้นก่อน แล้วจะพิจารณาขายให้กับนักลงทุนสถาบัน หรือรายอื่น รวมกันไม่เกิน 50 ราย คาดว่าจะมี dilution effect ไม่มาก (ประมาณ 1%) เนื่องจาก HANA กำหนดราคาขาย PP จะมีส่วนลดได้ไม่เกิน 10% จากราคาตลาดในช่วงนั้น ซึ่งเงินที่ได้จากการเพิ่มทุน เบื้องต้นคาดว่าจะนำมาเป็นเงินลงทุนในธุรกิจใหม่อย่าง Silicon Carbide เป็นหลัก

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามองว่าแนวโน้มกำไรจากการดำเนินของ HANA จะค่อนข้างมีความท้าทาย (คาดว่าจะลดลง 4% YoY) ในปี 2566 จากปริมาณความต้องการสินค้าหลักในกลุ่ม PC และ Smartphone ต้นทุนวัตถุดิบที่แพง (ซื้อในช่วงค่าเงินบาทอ่อน) และต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ขึ้น จะมากระทบอัตราการทำกำไรในช่วง 1H66 แม้ว่าคาดว่าปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ RFID Inlay ที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ Walmart ที่มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าจำนวนมาก สอดรับกับข่าวที่ทาง Walmart ได้ประกาศชัดเจนว่าจะมีแผนจะเปลี่ยนระบบจาก Barcode เป็น RFID tag ทั้งหมด และธุรกิจ Silicon Carbide แต่สัดส่วนรายได้และกำไรยังค่อนข้างเล็ก เรามองว่าภาพการฟื้นตัวของกำไร จะอยู่ในช่วง 2H66 หลังจากที่ HANA ขยายกำลังการผลิต RFID inlay (Phase ที่ 2 จะเสร็จกลางปี 2566) และติดตั้งอุปกรณ์ของธุรกิจ Silicon Carbide เสร็จช่วงกลางปี 2566 เช่นกัน
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น ความท้าทาย และความผันผวนของค่าเงินบาท
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 20 เท่าซึ่งเท่ากับ mean ในรอบ 5 ปีของ HANA ได้ราคาเป้าหมาย 00 บาทต่อหุ้น โดยราคาหุ้นปัจจุบันถือว่าอยู่ระดับใกล้เคียงกับมูลค่าพื้นฐาน เราจึงแนะนำเพียงถือ
28/02/2023 SFT ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 มีเป้าหมายเติบโตอย่างไร หลัง 4Q65 SFT มีกำไรสุทธิ 0.08 ลบ. หดตัวเกือบ 100% YoY โดยแม้ยอดขายโต 13%YoY จากคำสั่งผลิตที่เพิ่มขึ้นของลูกค้ากลุ่มเครื่องดื่มและยา รวมทั้งมีการปรับขึ้นราคาขายบางส่วน แต่ถูกหักล้างด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่หดตัวเป็น 15.7% จาก 8% ใน 4Q64 หลังต้นทุนพลาสติกสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและบาทอ่อนค่า อีกทั้ง SG&A ยังสูงขึ้น 4.4%YoY หลังมีค่าย้ายเครื่องจักรและค่าแรงเพิ่มขึ้นตามจำนวนพนักงาน ทำให้ปี 2565 มีกำไรสุทธิเพียง 63 ลบ. หดตัว 44%YoY ต่ำกว่าเราและตลาดคาด

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร SFT ตั้งเป้าปี 2566 มียอดขายแตะ 1 พันลบ. แรงหนุนหลักจะมาจากการขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยปีนี้บริษัทมีไปออกงานแสดงสินค้าอย่างน้อย 4 งาน ซึ่งคาดจะช่วยหนุนคำสั่งผลิตฉลากให้ยังเติบโตได้ดี อีกทั้งยังจะมีการรับรู้ผลบวกจากการปรับขึ้นราคาขายและยอดขายของสินค้าใหม่อย่างบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (Green Shirk) ซึ่งยังมีคู่แข่งในตลาดไม่มากและจะตอบโจทย์แก่ลูกค้าเก่ากลุ่มอาหารและสินค้าในครัวเรือนที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนไว้ที่ 80 ลบ.
  • ด้านต้นทุนวัตถุดิบคาดจะปรับลงชัดเจนตั้งแต่ปลาย มี.ค. 66 หลังช่วงต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นและราคาน้ำมันปรับลง ซึ่งทำให้ราคาวัตถุดิบลดลงจาก 2H65 อีกทั้งยังติดตั้ง Solar Rooftop (600KW) เพื่อลดค่าไฟฟ้า 20-30%YoY ซึ่งคาดเริ่มเห็นผลตั้งแต่ เม.ย. 66 ทั้งนี้บริษัทยังเน้นบริหารต้นทุนเพื่อให้ได้ Net Margin ไม่ต่ำกว่า 10%

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ปี 2566 คาด SFT จะมียอดขายเติบโตดี YoY จากมีคำสั่งผลิตฉลากเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อีกทั้งรับรู้ผลบวกจากปรับขึ้นราคาขายและยอดขายสินค้าใหม่อย่างบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนซึ่งเป็น green packaging ที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) แต่ด้วยสต็อกต้นทุนวัตถุดิบหลัก (PET, PVC) ที่คาดยังกดดันกำไร 1Q66 ให้อ่อนแอ YoY ซึ่งแย่กว่าที่คาดไว้เดิมว่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของกำไรตั้งแต่ 1Q66 เพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการกำไรลง 25% อย่างไรก็ดีภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 SFT จะมีกำไรสุทธิ 86 ลบ. ยังพลิกเติบโต 36%YoY
  • แม้ช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้น SFT จะปรับลงสะท้อนกำไรปี 2565 ที่แย่กว่าคาดจากต้นทุนที่สูงขึ้นแล้ว ขณะที่ปี 2566 คาดกำไรพลิกโต YoY ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและฐานปีก่อนที่ต่ำ แต่ 1Q66 กำไรยังไม่สดใสและราคาหุ้นมี Upside จำกัดจากกรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 2566 ที่หุ้นละ 4.90-5.10 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER กลุ่ม Packaging ล่าสุดที่ 25-26 เท่า) ช่วงสั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงปรับลดคำแนะนำเป็น “ถือ” เพื่อรับปันผลและรอดูการฟื้นตัวที่ชัดเจนก่อน โดยบริษัทแจ้งจ่ายปันผลจากกำไรปี 65 หุ้นละ 07 บาท (XD 8 มี.ค.) คิดเป็น Div. Yield 1.4%
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ต้นทุนวัตถุดิบ (PVC, PET) สูงขึ้น และบาทอ่อนกดดันศักยภาพทำกำไร
24/02/2023 III ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 ตั้งเป้าการเติบโตอย่างไร หลัง 4Q65 III มีกำไรสุทธิ 418 ลบ. เติบโต 267%YoY แต่หากไม่รวมรายการพิเศษที่บันทึกไตรมาสนี้ หลักๆ คือกำไรพิเศษปรับมูลค่าเงินลงทุนใน Asia GSA (M) 322 ลบ. และตั้งสำรองหนี้สูญสายการบินแห่งหนึ่ง 52 ลบ. จะมีกำไรปกติ 169 ลบ. เติบโต 47%YoY โดยแม้รายได้รวมลดลง 45%YoY ตามการลดลงของรายได้ทุกธุรกิจหลังมีปริมาณและค่าขนส่งลดลง นำโดย Logistics (-59%YoY), Sea freight (-44%YoY), Air freight (-42%YoY) และ Chemical (-18YoY) แต่ยังชดเชยได้ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นหลังบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น จึงหนุนให้ปี 2565 III มีกำไรปกติราว 551 ลบ. เติบโต 48%YoY (แต่หากรวมรายการพิเศษสุทธิทั้งปี 2565 III จะมีกำไรสุทธิ 796 ลบ. เติบโต 111%YoY)

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร III ตั้งเป้าปี 2566 เติบโต 15-20%YoY จาก Inorganic เป็นหลัก ขณะที่ Organic มองจะมาจากธุรกิจ Air freight ซึ่งคาดมีปริมาณขนส่งเพิ่มขึ้น หลังมีพื้นที่ระวางสินค้าเพิ่มขึ้นจากจำนวนเที่ยวบินที่ฟื้นตัว ส่วน Logistics มีแผนขยายลูกค้าเพิ่มในกลุ่มที่มีศักยภาพเติบโต (อาทิกลุ่ม Green Energy, ยาและเวชภัณฑ์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น) ควบคู่กับบริหารต้นทุน และ Chemical จะขยายคลังสินค้าเคมีเพิ่มอีก 3 พัน ตร.ม. ขณะที่ Sea freight จะพยายามประคองผลงานจากการขยายลูกค้าทดแทนค่าระวางที่ลง
  • ปี 2566 III คาดส่วนแบ่งกำไรเงินทุนจะเติบโตเด่น หลักๆ จากรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก ANI เพิ่มขึ้นหลังสิ้นปีก่อนได้อนุมัติให้บ.ย่อย ANI ซื้อหุ้นอีก 80% ของ ASIA GSA (M) จากที่มีอยู่เดิม 20% และรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก AOTGA เพิ่มขึ้นหลังการให้บริการด้านกราวด์เซอร์วิสในสนามบินภูเก็ต และสนามบินดอนเมือง มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เพื่อสะท้อนการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเต็มปีจาก ASIA GSA (M) หลัง ANI เข้าไปถือหุ้นทั้งหมด 100% ซึ่งยังไม่อยู่ในประมาณการเดิม เราจึงมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไร โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 III จะมีกำไรปกติ 681 ลบ. เติบโต 23.6%YoY (แต่กำไรสุทธิจะลดลง 4%YoY จากปี 2565 มีรายการพิเศษสุทธิราว 245 ลบ.)
  • แม้เราประเมินกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 16.90-17.70 บาท (อิงค่าเฉลี่ยย้อนหลังล่าสุด PER 20-21x และอิงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจาก RO และใช้สิทธิแปลงสภาพ III-W1 เต็มจำนวน) ยังมี Upside เกิน 15% และมีเงินปันผลจ่ายจากกำไร 2H65 หุ้นละ 0.40 บาท (XD 24 เม.ย.) คิดเป็น Yield 2.9% อีกทั้งมีสิทธิรับจัดสรรหุ้น ANI ซึ่ง III จะยื่นไฟลิ่ง 2Q66 และคาดเสนอขาย IPO 3Q66 แต่ช่วงสั้นดีมานด์และค่าระวางยังมีความเสี่ยงถูกกดดันจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ต้องไล่ราคา” เพื่อเพิ่มแต้มต่อการลงทุน ทั้งนี้เทคนิคให้แนวรับที่ 13.30/12.80 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การล็อกดาวน์เข้มงวดของจีนเพื่อคุมการระบาดของ COVID-19, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวาง
23/02/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ผลประกอบการ 4Q65 ที่ 152 ล้านบาท (+26% YoY, +2% QoQ) ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 162 ล้านบาทไปประมาณ 6% จาก SG&A ที่สูงกว่าคาด โดยรายได้ของ 4Q22 เท่ากับ 1,632 ล้านบาท (+35% YoY, +11.2% QoQ) เติบโตได้ดีทั้งรายได้จากในประเทศและต่างประเทศ ที่ 67 : 33 ซึ่งการเติบโของรายได้ต่างประเทศใน 4Q22 ทำได้ดีที่ +52% YoY และ +34% QoQ. อัตราการทำกำไรขั้นต้นฟื้นตัวจากต้นทุนหลักที่เริ่มลดลงและการปรับขนาดของสินค้าที่ทำต่อเนื่องมา ขณะที่ SG&A/Sales สูงขึ้นจากค่าขนส่งและการตลาด กำไรสุทธิของปี 2022 เท่ากับ 516 ล้านบาท (+18% YoY) ต่ำกว่าที่คาดไว้ที 525 ล้านบาทเล็กน้อย
  • คาด 1Q66 ผลจากฤดูกาลจะทำให้ยอดขายรวมอ่อนตัวลง QoQ

หลังไปได้อะไร

  • ในปี 2566 SNNP ตั้งเป้าเติบโตของยอดขายทั้งในประเทศที่ประมาณ 15% และต่างประเทศ 30% ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของเรา โดยนอกเหนือไปจากการเปิดโรงงานใหม่ที่ประเทศเวียดนามแบบเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2566 แล้ว SNNP จะเริ่มส่งออกไปประเทศอื่นเพิ่มเติม เช่น เกาหลี ไต้หวัน ฟิลิปปินส์

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เราคาดรายได้ปี 2566 เติบโต 13% YoY เท่ากับ 6,260 ล้านบาท สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเท่ากับ 28% มูลค่าเติบโต 30% ขณะที่รายได้จากในประเทศคาดมีสัดส่วน 72% มูลค่าเติบโต 5% การออกสินค้าใหม่ในปีนี้จะเป็นรูปแบบของการปรับขนาดบรรจุภัณฑ์และรสชาติใหม่ๆ
  • ขณะที่เราคาดว่าทิศทางของต้นทุนหลักในปี 2566 โดยเฉลี่ยจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาและคาดอัตราการทำกำไรขั้นต้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 8% จากปี 2565 ที่ทำได้ที่ 27.3% โดยจะเป็นการปรับขึ้นเป็นลำดับในไตรมาสโดยได้ต้นทุนต่ำจากการผลิตในเวียดนาทเป็นปัจจัยหนุน โดยคาดว่าแนวโน้มของอัตราการทำกำไรขั้นต้นใน 2H66 จะดีกว่า 1H66 เมื่อโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามผลิตเต็มกำลังทุกสินค้าครบโดยคาดว่ากลุ่มเบนโตะจะเริ่มผลิตช่วง 2Q66 และกลุ่ม Jele เริ่มผลิตใน 2H66
  • ทิศทางของผลประกอบการ 1Q66 คาดรายได้อ่อนตัวลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่กำไรสุทธิมีโอกาสทรงตัว QoQ จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่คาดว่าจะไม่สูงเท่ากับใน 4Q54
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุน ความผันผวนของค่าเงิน
  • เราคงคำแนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเราใช้สมมติฐาน PER ที่ 5 เท่า (+1SD) ราคาเป้าหมายปี 2566 เท่ากับ 25.50 บาท/หุ้น และเราคาดหวังที่เห็นการเปิดธุรกิจเสริมอาหารในปี 2566 เพื่อต่อยอดการเติบโตรวมไปถึงการเติบโตของตลาดต่างประเทศ SNNP ประกาศเงินปันผลงวด 2H65 ที่ 0.23 บาท/หุ้นขึ้น XD วันที่ 2 พ.ค. 2566 ผลตอบแทน 1%
22/02/2023 WICE ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 มีเป้าหมายการเติบโตอย่างไร หลัง 4Q65 WICE มีกำไรสุทธิ 95 ลบ. หดตัว ต่อเป็นไตรมาสที่สองราว 47%YoY เนื่องจากมีรายได้รวมลดลง 45%YoY โดยแม้ธุรกิจ Supply Chain Solutions จะเติบโต 15%YoY หลังมีพื้นที่คลังสินค้าเพิ่ม 5 หมื่นตร.ม. แต่ถูกหักล้างด้วยการปรับลงของธุรกิจ Sea freight (-63%YoY) ธุรกิจขนส่งบกข้ามแดน CBS (-32%YoY) และธุรกิจ Air freight (-23%YoY) ซึ่งหลักๆ เกิดจากค่าขนส่งและปริมาณขนส่งที่ลดลง ทำให้ปี 2565 มีกำไรสุทธิ 554 ลบ. เติบโต 3.5%YoY ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร WICE ตั้งเป้าปี 2566 เติบโตที่ 15-20%YoY โดยมองตั้งแต่ 2Q66 ปริมาณขนส่งและค่าระวางจะดีขึ้นตามการฟื้นตัวของตลาดจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก อีกทั้งปีนี้ยังมีแผนร่วมมือกันในเครือข่ายเพื่อขยายปริมาณขนส่ง เพิ่มพื้นที่คลังสินค้าเช่าอีก 3.4 หมื่นตร.ม. (จากปี 65 มี 3.88 หมื่นตร.ม.) และร่วมมือกับคู่ค้าใหม่เพื่อขยายธุรกิจโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง อาทิ จับมือ SAT เพื่อพัฒนาโครงการ Green Logistics Hub ที่บางนาและระยอง (คาดได้ข้อสรุปปลายปี), จับมือ N-Squared เพื่อจัดการคลังสินค้าแบบพร้อมส่งและขยายฐานลูกค้าเดิมไปยังกลุ่ม B2B2C ขณะที่อัตรากำไรสุทธิตั้งเป้ารักษาที่ระดับ 7% ใกล้กับปีก่อน
  • บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโต 3 ปีข้างหน้า (ปี 2566-68) จะเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2565 โดยจะเน้นไปที่การขยายตัวของธุรกิจหลักทั้งขนส่งทะเล อากาศและ CBS ขณะที่งบลงทุนตั้งไว้ที่ปีละ 200 ลบ.สำหรับทำดีล JV และ M&A ส่วนแผนนำ บ.ร่วมทุน ETL ซึ่งดำเนินธุรกิจ CBS (ถือ 51%) เข้า MAI ได้เตรียมยื่นไฟลิ่ง มี.ค. นี้และคาดจะเสนอขายหุ้น IPO ได้ใน 3Q66

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ตั้งแต่ต้นปีปริมาณขนส่งยังแย่กว่าคาด หลังคู่ค้าหลักในสหรัฐฯ อยู่ในช่วง Over Inventory และค่าขนส่งยังลดลงทั้ง YoY และ QTD อีกทั้งความกังวลการถดถอยของเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มกดดันดีมานด์ขนส่งชะลอตัว เพื่อยึดหลักระมัดระวัง เราจึงปรับลดประมาณการลง โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 WICE จะมีกำไรสุทธิ 520 ลบ. หดตัว 6.2%YoY
  • แม้ WICE เป็นหุ้นโลจิสติกส์ที่ให้บริการครบวงจรและมีเครือข่ายรองรับทุกประเทศการค้าสำคัญ ซึ่งคาดมีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาว แต่ภายใต้กรอบราคาเป้าหมายใหม่ปี 2566 อยู่ที่หุ้นละ 10.50-11.20 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER 13-14 เท่าเช่นเดิม) ซึ่งมี Upside จำกัด และ 1H66 คาดกำไรยังชะลอตัว YoY ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงยังคงแนะนำ “ถือ” เพื่อรับปันผล โดยบริษัทประกาศจ่ายปันผลจากกำไรปี 2565 หุ้นละ 0.44 บาท (XD 8 มี.ค.) คิดเป็น Yield 4.2% และรอรับสิทธิจัดสรรหุ้น IPO ของ ETL ที่กำลังจะเสนอขาย IPO ใน ตลท.
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน, การล็อกดาวน์เข้มงวดของจีนเพื่อคุมการระบาดของ COVID-19, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าระวาง
22/02/2023 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 มีเป้าหมายการเติบโตอย่างไร หลัง 4Q65 AU ทำกำไรสุทธิสูงสุดของปี 2565 ที่ 36 ลบ. (ใกล้เคียงที่เราคาดไว้ 34 ลบ. แต่ต่ำกว่าตลาดคาด) เติบโต 7.6%QoQ ตามฤดูกาล และเพิ่มขึ้นจาก 3 ลบ. ใน 4Q64 โดยแม้ SG&A สูงขึ้น 30%YoY จากมีจ่ายโบนัสและค่าจ่างพิเศษทำงานช่วงปีใหม่ 4-5 ลบ. แต่ถูกชดเชยด้วยยอดขายที่โต 40%YoY หลังมีลูกค้าเข้าร้านมากขึ้นและรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ รวมทั้งมาร์จิ้นยังดีขึ้นจากลูกค้าทานที่ร้านมากขึ้น จึงหนุนให้ปี 2565 AU มีกำไรสุทธิ 118 ลบ. เพิ่มขึ้นจาก 4 ลบ. ในปี 2564 ใกล้เคียงที่เราคาด

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทตั้งเป้าปี 2566 มียอดขายรวมเติบโต 25%YoY สู่ระดับ 1.2 พันลบ. กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 แรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม และการรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ ซึ่งปีนี้มีแผนขยายสาขาร้าน After You ในรูปแบบปกติ 5-6 สาขา, Marketplace 15-20 สาขา (1H66 จะเปิดสาขาปกติ 3 สาขา และ Marketplace 5 สาขา) รวมทั้งขยายแฟรนไชส์แบรนด์ After You ในต่างประเทศ 3 สาขา (ฮ่องกงสาขาที่ 2 ใน 1H66 และอีก 2 แห่งแถบเอเชียใน 2H66) และแบรนด์ Mikka ในไทย 150 สาขา เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 1Q66 คาดกำไรจะยังเติบโตเด่น YoY ปัจจัยหนุนทั้งจากมีฐานปีก่อนที่ยังต่ำ และตั้งแต่ต้นปีนี้บรรยากาศจับจ่ายใช้สอยยังดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวไทยมากขึ้น รวมทั้งยังมีมาตรการช้อปดีมีคืนช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย สะท้อนได้จาก ม.ค. 66 AU มียอดขายสาขาเดิมเติบโตเด่น 30%YoY
  • เรายังคงประมาณการเดิม โดยปี 2566 คาด AU จะมีกำไรสุทธิ 190 ลบ. (+56%YoY) และแตะ 237 ลบ. (+24%YoY) กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2567 ตามการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมหลังกิจกรรมเศรษฐกิจกลับมาปกติ การออกสินค้าใหม่และการรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดดีขึ้นหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาจำนวนมากและการกลับมาทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นดีกว่าซื้อกลับและ Delivery)
  • AU เป็นหุ้นเล็กที่กำไรกลับเข้าสู่ขาขึ้น โดยปี 2566-2570 คาดกำไรโตเฉลี่ยปีละ 25% และยังมี Upside Risk หากนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเที่ยวไทยมากกว่าคาด (ก่อนเกิดโควิด-19 AU มีลูกค้าจีนคิดเป็น 13% ของยอดขายรวม) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงยังคงแนะนำ “ซื้อ” โดยมีราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 13 บาท (อิงวิธี DCF) และล่าสุดบริษัทกลับมาจ่ายเงินปันผลอีกครั้งจากกำไรปี 2565 หุ้นละ 0.15 บาท คิดเป็น Yield ปีละ 1.3% (XD 8 พ.ค.) ซึ่งสูงกว่าที่เราคาดไว้ที่หุ้นละ 0.07 บาท ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 11.60/11.30 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น
21/02/2023 TNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 ตั้งเป้าหมายการเติบโตอย่างไร หลัง 4Q65 TNP มีกำไรสุทธิ 42 ลบ. เติบโต 13.1%QoQ ตามผลฤดูกาล แต่หดตัว 21.5%YoY จากฐานปีก่อนที่สูงเนื่องจากมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐทั้งคนละครึ่งเฟส 3 และเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อย่างไรก็ดีอัตรากำไรขั้นต้นเริ่มดูดีขึ้น โดยอยู่ที่ 17.3% ทรงตัวจาก 4Q64 และสูงขึ้นจาก 9% ใน 3Q65 หลังบริหารสต็อกสินค้าได้ดีและมียอดขายเพิ่มในสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง หนุนให้ปี 2565 TNP มีกำไรสุทธิ 149 ลบ. ลดลง 22.4%YoY ซึ่งใกล้เคียงกับที่เราคาด แต่ตำกว่าที่ตลาดคาด

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร TNP เผยปี 2566 ตั้งเป้ายอดขายรวมไม่น้อยกว่า 10%YoY แรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม 2-3%YoY หลังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวมากขึ้นในจังหวัดเชียงราย พะเยาและเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านค้าธนพิริยะ ส่วนที่เหลือจะเป็นการรับรู้ยอดขายจากสาขาใหม่ที่มีแผนขยายสาขาต่อเนื่องปีละ 5 แห่ง (สิ้นปีนี้คาดมีสาขาทั้งสิ้น 47 แห่ง เพิ่มจากปีก่อนที่มี 42 แห่ง) โดยงบลงทุนเปิดสาขาใหม่ตั้งไว้ที่ปีละ 150 ลบ.
  • บริษัทยังมีแผนเพิ่มศักยภาพทำกำไรให้สูงขึ้นด้วยการเพิ่มสินค้าใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูงเข้ามาจำหน่ายและจะบริหารต้นทุนสินค้าด้วยการสต็อกสินค้ารอขายให้เพียงพอเพื่อลดต้นทุนให้ไม่แพงมากเกินไป โดยยังคงตั้งเป้ามีอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 17% อีกทั้งปัจจุบันบริษัทยังอยู่ระหว่างศึกษาการเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับซัพพลายเออร์ในการกระจายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร เพื่อต่อยอดธุรกิจในอนาคต

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 1Q66 คาดจะเป็นจุดเริ่มต้นที่กำไรปกติกลับมาเติบโต YoY หลังหดตัวต่อเนื่องมา 4 ไตรมาสปัจจัยหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่คาดพลิกบวก YoY หลังได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐทั้งการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเดือน ม.ค. อีก 200 บาท เป็น 400-500 บาท และโครงการช้อปดีมีคืน อีกทั้งธุรกิจท่องเที่ยวในเชียงรายยังสดใส ขณะที่ทั้งปี 2566 เราคงคาด TNP มีกำไรสุทธิ 166 ลบ. พลิกเติบโต 11%YoY ตามประมาณการเดิม
  • เรามอง TNP เป็นหุ้นค้าปลีกขนาดเล็กที่ยังมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside เกิน 10% จากกรอบราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 40-4.80 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER ที่ 21-23x) และล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันระหว่างกาลจากกำไรช่วง 2H65 หุ้นละ 0.045 บาท (XD 14 มี.ค. 66) คิดเป็น Div. Yield ราว 1.1% (หากรวมเงินปันผลที่จ่ายไปแล้วในช่วง 1H65 อีกหุ้นละ 0.035 บาท จะทำให้จ่ายเงินปันผลรวมปี 2565 ที่หุ้นละ 0.08 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 2.0% ตรงตามที่เราคาดไว้) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “หาจังหวะซื้อ” เพื่อรับกำไรที่กลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อแย่กว่าคาด, แผนขยายสาขาต่ำกว่าคาด
21/02/2023 NER ก่อนไปคิดอะไร
  • ปี 2566 มีเป้าหมายการเติบโตอย่างไร หลัง 4Q65 NER มีกำไรสุทธิ 368 ลบ. ลดลง 39.1%YoY และ 30.4%QoQ แย่กว่าคาด สาเหตุจาก 1) ยอดขายแย่กว่าคาด เนื่องจากปริมาณขายยางที่ 1.37 หมื่นตัน เพิ่มขึ้น 28.5%YoY และ 11.0%QoQ ถูกหักล้างด้วยราคาขายเฉลี่ยที่ 51.54 บาทต่อ กก. ลดลง 8.4%YoY และ 11.6%QoQ จึงทำให้ยอดขายโตเพียง 17.7%YoY และลดลง 1.9%QoQ และ 2) อัตรากำไรขั้นต้นลดลงอยู่ที่ 10% จาก 4Q64 ที่ 14.4% และจาก 3Q65 ที่ 13.4% หลังราคาขายลดลงเร็วกว่าต้นทุนวัตถุดิบ ทั้งนี้ปี 2565 NER มีกำไรสุทธิ 1,748 ลบ. ลดลง 5.5%YoY และประกาศจ่ายเงินปันระหว่างกาลจากกำไรช่วง 2H65 หุ้นละ 31 บาท (XD 20 เม.ย. 66) คิดเป็น Div. Yield ราว 5.3%

หลังไปได้อะไร

  • ผู้บริหาร NER ตั้งเป้าปี 2566 จะมีปริมาณขายยางราว 5.0 แสนตัน เติบโต 12%YoY แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีนและความต้องการรถยนต์ EV ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งบริษัทยังมุ่งขยายตลาดฐานลูกค้าใหม่ในยุโรป สหรัฐฯ และอินเดีย ซึ่งคาดจะหนุนคำสั่งซื้อยางให้เติบโตได้ ส่วนราคาขายยางคาดจะทยอยปรับตัวดีขึ้นจาก พ.ย. 65 และจะไปอ่อนตัวอีกครั้งใน 4Q66 ตามผลฤดูกาล ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นคาดจะใกล้เคียง 2H65 ที่ 11-12%
  • บริษัทมีแผนเพิ่มกำลังผลิตปีนี้อีก 5 หมื่นตันที่โรงงานเดิมแห่งที่ 2 และจะก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ซึ่งมีกำลังผลิต 1.728 แสนตัน ใช้งบลงทุน 700 ลบ. แหล่งเงินทุนจะมาจากกำไรสะสมและ CFO ซึ่งคาดจะเปิดดำเนินการใน 1Q67 ส่งผลให้สิ้นปี 2566 จะมีกำลังผลิตรวม 5.156 แสนตัน จากปี 2565 ที่ 4.656 แสนตัน และจะเพิ่มเป็น 6.884 แสนตันในปี 2567 ส่วนแผนจำหน่ายแผ่นปูรองปศุสัตว์ ปัจจุบันบริษัทนำกลับไปพัฒนาอีกครั้งเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าและแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น โดยตั้งเป้ารายได้ขายแผ่นปูรองปศุสัตว์ใน 1H66 เพียง 6 ลบ.

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • แม้ปี 2566 คาดปริมาณขายยางยังโต YoY จากอุปสงค์ที่ดีขึ้นตามการเปิดประเทศของจีนและความต้องการยางรถ EV รวมทั้งบริษัทหาลูกค้าใหม่ๆ เพิ่ม แต่มาร์จิ้นคาดชะลอตัวตามราคายางที่แนวโน้มลดลง YoY (ม.ค.-ก..พ. 66 ราคายางลดลง 15-20%YoY) และยังมีต้นทุนการเงินสูงกว่าคาดจากการออกหุ้นกู้เพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ย ดังนั้นเพื่อยึดหลักระมัดระวังเราจึงขอปรับลดประมาณการ โดยปี 66 คาด NER จะมีกำไรสุทธิ 1,887 ลบ. เติบโต 8%YoY
  • ภายใต้ประมาณการใหม่ กรอบราคาเป้าหมายปี 66 อยู่ที่หุ้นละ 60-6.10 บาท (อิงค่าเฉลี่ย PER เดิมที่ 5.5-6.0 เท่า) พบว่าไม่มี Upside แล้ว อีกทั้ง 1Q66 คาดกำไรปกติจะอ่อนตัว QoQ ตามฤดูกาล (4Q ปริมาณขายดีสุด) และลดลง YoY ตามราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง YoY ซึ่งทำให้ขาดปัจจัยกระตุ้นราคา กลยุทธ์ลงทุนช่วงสั้นจึงแนะนำให้หาจังหวะขายทำกำไรไปก่อน
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายางพารา, การถดถอยของเศรษฐกิจโลกและจีน, การแข็งค่าของเงินบาท
09/02/2023 KCE ก่อนไปคิดอะไร
  • KCE ประกาศกำไรสุทธิ 4Q65 ลดลง 6% QoQ มาอยู่ที่ 500 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 22% หลักๆ เป็นผลมาจากปริมาณขายแผงวงจร PCB ที่ลดลง 11.8% QoQ หลังจากลูกค้ากังวลสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า กดดัน Gross Margin ลดลงมาต่ำสุดในรอบหลายไตรมาสที่ 21.1% ใน 4Q65

หลังไปได้อะไร

  • แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 1Q66 คาดว่าจะอยู่ในทิศทางที่ลดลง QoQ (Gross margin คาดว่าจะต่ำกว่า 20%) ผลจากค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าขึ้นในช่วง 4Q65 ทำให้ KCE ต้องซื้อวัตถุดิบในราคาสูง ซึ่งจะกระทบ Gross margin โดยรวม แต่ชดเชยได้บางส่วนจากปริมาณขายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ โดยทางผู้บริหารมั่นใจว่า Gross margin จะกลับขึ้นมาดีขึ้นได้ตั้งแต่ 2Q66 เป็นต้นไป จากแนวโน้มค่าเงินที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดว่ากำไร 1Q66 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี
  • ผู้บริหาร KCE ประเมินรายได้จะเติบโต 4-6% ในปี 2566 จากแนวโน้มปริมาณความต้องการแผ่นวงจร PCB ที่เพิ่มขึ้น (ลูกค้ามีคำสั่งซื้อล่วงหน้ามากกว่า 10%) ซึ่งเรามองว่าเป็นไปได้ เนื่องจากเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของยอดขายรถยนต์ในยุโรปในเดือนม.ค. 2566 อาทิ ฝรั่งเศส (+9% YoY) อิตาลี (+19% YoY) นอกจากนี้สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศยุโรปคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในยุโรปจะเพิ่มขึ้น 5% yoy ในปี 2566 จาก Pent-up demand และคลายกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย หลังจากสถานการณ์วิกฤตพลังงานเริ่มคลี่คลาย ขณะที่ KCE เริ่มมีการเจรจากับซัพพลายเออร์ในการปรับลดค่า Supplement ลงในปีนี้ประมาณ 2-3 รอบ ก็ช่วยชดเชยการปรับลดราคาสินค้าให้กับลูกค้าที่มาเจรจาได้ระดับหนึ่ง (ลดลงประมาณ 1-2%)

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ KCE ในระยะกลางถึงยาว โดยจุดเด่นของ KCE คือเป็นผู้ผลิตแผงวงจรรายใหญ่ TOP10 ของโลก ให้กับผู้ผลิตรถยนต์โดยเฉพาะในประเทศยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งจะได้รับผลบวกจากปริมาณความต้องการแผงวงจรในรถยนต์เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยังมีส่วนประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (ที่ต้องใช้แผงวงจร) ต่อคันมากกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไปประมาณ 3-6 เท่า ด้วยเหตุนี้ KCE จึงมีแผนขยายการผลิตครั้งใหญ่ โดยเพิ่มกำลังการผลิตการผลิตแผงวงจรชนิดพิเศษที่มี margin สูงอีก 1 ล้านตารางฟุตต่อเดือน (จากปัจจุบันมีกำลังการผลิต 6 ล้านตารางฟุตต่อเดือน) คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในช่วง 2H67 ซึ่งจะเป็นการสอดรับกับปริมาณความต้องการแผงวงจรซับซ้อนสำหรับรถยนต์ที่เติบโตมากในอนาคต
  • ความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงมากขึ้น และสงครามความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการแผงวงจร PCB โดยรวม
  • ราคาหุ้น KCE ปรับฐานลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง เราแนะนำหาจังหวะเข้าซื้อที่ราคาระหว่าง 45-50 บาท (-1SD PE 2566 = 47 บาท) โดยเฉพาะช่วงรายงานผลประกอบการ 1Q66 ที่คาดว่าน่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี คาดว่าแนวโน้มจะกลับเติบโตดีอีกครั้งตั้งแต่ 2Q66 จาก Pent-up demand และคาดว่าจะดีต่อเนื่องไปถึงปี 2567 ที่มีการขยายกำลังการผลิตครั้งใหญ่
  • เราให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ฐาน PER ที่ 30 เท่าซึ่งเท่ากับ mean ในรอบ 5 ปีของ KCE ได้ราคาเป้าหมาย 61.00 บาทต่อหุ้น
09/02/2023 AU ก่อนไปคิดอะไร
  • อยากทราบถึงทิศทางผลการดำเนินงาน 4Q65 หลังราคาหุ้น AU ปรับขึ้นแล้วกว่า 9% นับตั้งแต่เราออกบทวิเคราะห์ครั้งแรก (30 พ.ย. 65) ซึ่งมองเริ่มสะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทซึ่งคาดจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

หลังไปได้อะไร

  • บริษัทเผย 4Q65 ยอดขายรวมมีแนวโน้มโตเด่น YoY จากมีฐานต่ำปีก่อนซึ่งได้รับผลกระทบจากล็อกดาวน์ (ยอดขายสาขาเดิมคาดโตอย่างน้อยราว 20%YoY) ส่วนยอดขายรวมที่โต QoQ มาจากปัจจัยฤดูกาลหลังเข้าสู่เทศกาลเฉลิมฉลอง ขณะที่แผนขยายสาขาปี 2565 เป็นไปตามเป้า โดย 4Q65 เปิดสาขา 5 แห่ง (พิษณุโลก, ขอนแก่น, terminal พระราม3, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์และสนามบินสุวรรณภูมิ) และ ธ.ค. 65 เปิดสาขาเซ็นทรัลลาดพร้าวที่ปิดรีโนเวทใน 3Q65 อีกทั้งเปิด After You Marketplace ที่ Cosmo Bazaar Lifestyle Mall
  • บริษัทยังตั้งเป้าปี 2566 ยอดขายรวมเติบโต 25%YoY สู่ระดับ 1.2 พันลบ. กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 แรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมและการรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ ซึ่งปีนี้มีแผนขยายสาขาร้าน After You ทั้งรูปแบบปกติ 5-6 สาขา, รูปแบบ Marketplace 15-20 สาขา รวมทั้งแฟรนไชส์แบรนด์ After You ในต่างประเทศ 3 สาขา (ฮ่องกงสาขาที่ 2 ใน 1H66 และอีก 2 แห่งแถบเอเชียใน 2H66) และแบรนด์ Mikka ในไทย 100 สาขา

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • 4Q65 คาดมีกำไรสุทธิราว 34 ลบ. แต่หากไม่รวมการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษเกี่ยวกับโบนัสของพนักงานในไตรมาสนี้ราว 5 ลบ. คาดจะมีกำไรปกติทำสถิติสูงสุดของปีนี้ที่ราว 39 ลบ. เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ จาก 3 ลบ. ใน 4Q64 และเติบโต 17%QoQ ตามผลฤดูกาล ทั้งนี้การเติบโตของกำไรปกติ YoY เกิดจากมีฐานกำไรต่ำปีก่อน อีกทั้งไตรมาสนี้ยอดขายรวมยังโตดีจากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้บริการจำนวนมากและยังรับรู้ยอดขายสาขาใหม่ที่มีเพิ่มขึ้น
  • เรายังคงประมาณการเดิม โดยคาดปี 2565 AU มีกำไรปกติ 122 ลบ. เพิ่มจากปี 2564 ที่มีกำไร 4 ลบ. ขณะที่ปี 2566 คาดกำไรปกติเพิ่มเป็น 190 ลบ. (+56%YoY) และแตะ 237 ลบ. (+24%YoY) กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2567 แรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมหลังกิจกรรมเศรษฐกิจกลับมาปกติ การออกสินค้าใหม่และการรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดดีขึ้นหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาจำนวนมากและการกลับมาทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นทานที่ร้านดีกว่าซื้อกลับและ Delivery)
  • เรามอง AU เป็นหุ้นเล็กที่มีศักยภาพเติบโตดีและกำไรจะกลับเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง โดยปี 66-70 คาดกำไรโตเฉลี่ยปีละ 25% ซึ่งยังมี Upside Risk จากการที่นักท่องเที่ยวจีนกลับมาเที่ยวไทยได้เร็วกว่าคาด (เดิมคาดจีนเปิดประเทศ 2H66) ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงยังคงแนะนำ “ซื้อ” โดยมีราคาเป้าหมายปี 2566 ที่หุ้นละ 13 บาท (วิธี DCF ซึ่งหากคิดเป็น PEG จะอยู่ที่ 1 เท่า) และคาดจะกลับมาจ่ายเงินปันผลได้อีกครั้งจากกำไรปี 2565 อีกอย่างน้อย 0.07 บาทต่อหุ้น (ปีก่อนงดจ่ายปันผล) คิดเป็น Yield ปีละ 0.6% ทั้งนี้เทคนิคมีแนวรับ 11.60/11.30 บาท
  • ความเสี่ยงสำคัญ คือ การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด, ธุรกิจร้านขนมหวานและร้านกาแฟแข่งขันสูง, ความเสื่อมนิยมในตัวสินค้า และ/หรือ กระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น
03/02/2023 SNNP ก่อนไปคิดอะไร
  • ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาจากการออกบทวิเคราะห์ครั้งล่าสุของเรา ราคาหุ้นมีการปรับเพิ่มขึ้น 27% คาดสะท้อนทิศทางผลประกอบการของ 4Q65 ที่เราเคยคาดไว้ว่าจะทำ New High ได้ที่ 157 ล้านบาทจากการฟื้นตัวของยอดขายและอัตราการทำกำไรขั้นต้น

หลังไปได้อะไร

  • แนวโน้มการทำกำไรของ 4Q65 และปี 2566 มีโอกาสทำได้ดีกว่าคาดเดิมเนื่องจากต้นทุนหลักหลายรายการเริ่มมีแนวโน้มที่ลดลง เช่น ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ของ Jele ที่ลดลงมากว่า 12% จากช่วง Peak ที่ต้นปี 2565 รวมถึงราคาแป้งและต้นทุนการขนส่ง

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • จากแนวโน้มของอัตราการทำกำไรขั้นต้นที่ดีกว่าที่เราคาดไว้ เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิของปี 2565 เพิ่มขึ้น 1% เท่ากับ 525 ล้านบาท (+20% YoY) ทำจุดสูงสุดใหม่ โดยคาดว่าใน 4Q65 SNNP จะมีกำไรสุทธิเท่ากับ 162 ล้านบาท (+34% YoY และ +14% QoQ) รายได้คาดยังทำได้แข็งแกร่งที่ 1,599 ล้านบาท (+32% YoY และ +9% QoQ) โดยมีสัดส่วนรายได้จากในประเทศที่ 75% ต่างประเทศที่ 25% ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศใน คาดเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ โดยยอดขายจาก 2 ประเทศหลักที่ SNNP มีโรงงานตั้งอยู่คือ เวียดนาม และกัมพูชา อัตราการทำกำไรขั้นต้นคาดฟื้นตัวเท่ากับ 3% ฟื้นตัวจาก 27.3% ใน 3Q65
  • เราคาดว่าทิศทางของต้นทุนหลักในปี 2566 โดยเฉลี่ยจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเรามีการปรับลดต้นทุนและคาดว่าอัตราการทำกำไรขั้นต้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 8% จากประมาณการเดิมที่ 27.5% โดยคาดว่าแนวโน้มของอัตราการทำกำไรขั้นต้นใน 2H66 จะดีกว่า 1H66 เมื่อโรงงานใหม่ในประเทศเวียดนามผลิตเต็มกำลังทุกสินค้าครบโดยคาดว่ากลุ่มเบนโตะจะเริ่มผลิตช่วง 2Q66 และกลุ่ม Jele เริ่มผลิตใน 2H66 ซึ่งการผลิตในเวียดนามมีต้นทุนวัตถุต่ำกว่าและการทำการตลาดแบบ Mass Product คาดจะหนุนยอดขายและส่งผลให้ในระยะยาวอัตราการทำกำไรดีขึ้น
  • ดังนั้นเราคาดรายได้ของปี 2566 คาดรายได้ 6,260 ล้านบาท (+13% YoY) โดยสัดส่วนรายได้จากในประเทศ : ต่างประเทศจะปรับเป็น 30:70 เมื่อโรงงานเวียดนามผลิตครบทุนกลุ่มสินค้า และกำไรสุทธิจากการปรับประมาณการแล้วคาดที่ 692 ล้านบาท (+30% YoY) ทำจุดสูงสุด
  • ความเสี่ยง การบริหารต้นทุน ความผันผวนของค่าเงิน
  • เราคงคำแนะนำ ซื้อ โดยเราใช้สมมติฐาน PER ที่ 5 เท่า (+1SD) ราคาเป้าหมายปี 2566 เท่ากับ 25.50 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 23.10 บาท/หุ้น และเราคาดหวังที่เห็นการเปิดธุรกิจเสริมอาหารในปี 2566 เพื่อต่อยอดการเติบโตรวมไปถึงการเติบโตของตลาดต่างประเทศ
19/01/2023 SECURE ก่อนไปคิดอะไร
  • แนวโน้มผลประกอบการ 4Q65 จะเป็นอย่างไร ภายหลังจากที่ค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าในช่วงปลายปี 2565 รวมถึงแนวโน้มผลประกอบการและกลยุทธ์ทางธุรกิจในปี 2566 และสถานการณ์ Chip shortage ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

หลังไปได้อะไร

  • เราคาดกำไรใน 4Q65 อยู่ที่ 15 ล้านบาทเติบโต 3% QoQ และ 25.6% YoY โดยถือว่าเป็นจุดสูงสุดของปี 2565 โดยปัจจัยสนับสนุนผลประกอบการไตรมาสนี้มาจาก การฟื้นตัวของรายได้ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 240 ล้านบาท เติบโต 17.5% QoQ และ 19% YoY ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ Chip shortage ที่เริ่มดูดีขึ้นทำให้ปริมาณงานส่งมอบให้ลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของ Gross margin นั้นคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 17% จาก 14.2% ใน 3Q65 จากการที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าจาก Bt37.8/US$ สู่ระดับ Bt34.6/US$ ทำให้ต้นทุนในการซื้อสินค้าลดลง ในส่วนของ SG&A ค่อนข้างที่จะทรงตัว QoQ และ YoY อยู่ที่ระดับ 22 ล้านบาท โดยถ้าเราคาดการณ์ถูกกำไรปี 2565 จะอยู่ที่ 40.4 ล้านบาท ลดลง 36.3% YoY ดีกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 33 ล้านบาท โดยงบจะประกาศในวันที่ 22 กุมภาพันธ์
  • ในปี 2566 นั้นทางผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ที่ 1 พันล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากสถานการณ์ Chip shortage ที่ดีขึ้นต่อเนื่องจากการเปิดประเทศของประเทศจีน ในส่วนของความต้องการด้าน Cybersecurity ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในปี 2566 บริษัทมีกลยุทธ์ในการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจมากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพิงสินค้าด้าน Cybersecurity ที่เป็น Hardware โดยจะเน้นสินค้าที่เป็น Software มากขึ้น โดยเป้าหมายรายได้ปี 2566 ของบริษัทสูงกว่าที่เราคาดไว้ที่ 918 ล้านบาท โดยเราคาดการณ์กำไรปี 2566 อยู่ที่ 58 ล้านบาท เติบโต 77% YoY

ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน

  • ถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น1% YTD ตามภาพการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่ม Tech ในสหรัฐรวมถึงแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทเองที่ดูดีขึ้น เราเชื่อว่าราคาหุ้นจะยังมี Momentum เชิงบวกต่อเนื่องได้ เนื่องจากภาพรวมการฟื้นตัวของผลประกอบการ 4Q65 ดีกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลง YoY แต่ด้วยความที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วทำให้การฟื้นตัวของ Gross margin ทำได้ดีกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้า
  • เรายังคงคำแนะนำซื้อที่ราคา 20-23 บาทต่อหุ้นอิง PE ที่ 35-40x ปี 2566
  • ความเสี่ยงคือสถานการณ์ Chip shortage รวมถึงค่าเงินบาทถ้ากลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็วอีกครั้งจะกระทบในส่วนของ Gross margin ของบริษัท